ผู้เขียน หัวข้อ: 'แพทยสภา'ชี้ทางออก'กลูโคซามีน'  (อ่าน 1424 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9755
    • ดูรายละเอียด
'แพทยสภา'ชี้ทางออก'กลูโคซามีน'
« เมื่อ: 12 พฤษภาคม 2011, 22:33:00 »
เมื่อวันที่ 11 พ.ค. นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา เปิดเผยว่า ได้ทำหนังสือลงวันที่ 10 พ.ค. ถึงอธิบดีกรมบัญชีกลาง กรณีที่มีหนังสือมายังแพทยสภาขอให้พิจารณาประสิทธิ ภาพของการใช้ยากลูโคซามีนเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาสิทธิในการเบิกจ่ายของสิทธิสวัสดิการข้าราชการ โดยกรณีนี้แพทยสภาได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษาทบทวน รับรองประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของยาแบบองค์รวม เพื่อพิจารณาศึกษา ทบทวน รับรองประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของยากลูโคซามีน ได้ข้อสรุปว่า

1. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ขึ้นทะเบียนกลูโคซามีนเป็นยา
2. หลักฐานงานวิจัยของกรมบัญชีกลางเกี่ยวกับกลูโคซามีน ยังไม่เป็นที่ยอมรับกว้างขวาง ซึ่งมีการตั้งค่าการวิจัยที่สูงกว่าความเป็นจริง และมีการเปรียบเทียบกับยาหลอกอาจจะไม่เป็นมาตรฐานที่ถูกต้อง รวมทั้งผู้ทำวิจัยยังไม่เป็นที่ยอมรับหรืออาจมีผลประโยชน์ทับซ้อน
3. ยากลูโคซามีนสามารถใช้ได้ผลกับผู้ป่วยที่มีอาการของโรคข้อเข่าเสื่อมในระยะกลางและใช้ในระยะสั้น รวมถึงยากลูโคซามีนไม่ใช่เป็นยาป้องกันข้อเข่าเสื่อม
4. ยากลูโคซามีนมีข้อจำกัดในการใช้ ควรมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนในการใช้ยา โดยสามารถใช้ยาช่วงแรก 3 เดือน หากไม่ได้ผลให้หยุดยา หากได้ผลให้ใช้ต่อจนถึง 6 เดือนแล้วจึงหยุดยา และ 
5. มีงานวิจัยขององค์กรวิชาชีพนานาชาติทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผลเกี่ยวกับการใช้ยากลูโคซามีน
   
นพ.สัมพันธ์  กล่าวต่อว่า ข้อเสนอเชิงนโยบายคือ
1. กรณีที่มีการทุจริตเกี่ยวกับเรื่องยา เห็นควรให้ดำเนินการตามกฎหมายโดยเคร่งครัด
2. ให้กำหนดแนวทาง วิธีการและข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนในการจ่ายยากลูโคซามีน หรือกลุ่มยาที่มีราคาแพง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้ยาสูงสุด
3. เห็นควรให้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายจ่ายตรง โดยเฉพาะเรื่องของการจ่ายยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติให้งดการเบิกจ่ายตรง โดยให้สำรองจ่ายไปก่อนแล้วนำหลักฐานไปเบิกกับหน่วยงานต้นสังกัดได้ หรือกำหนดเพดานที่สามารถเบิกจ่ายตรงได้ โดยมิต้องสำรองจ่าย
4. แพทยสภาเป็นองค์กรวิชาชีพที่มีหน่วยงานต่าง ๆ อยู่ภายใต้กำกับดูแลและมีเครือข่ายทางวิชาการที่พร้อมจะให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อกรมบัญชีกลางเกี่ยวกับดุลพินิจในการใช้ยาทุกกลุ่ม
5. ให้มีกระบวนการให้ความรู้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมทุกระดับ ทุกสถาบันในเรื่องการใช้ยากลูโคซามีนให้ถูกต้องเหมาะสม และเป็นไปตามแนวทางปฏิบัติที่กำหนดโดยแพทยสภา หรือราชวิทยาลัย
6. มาตรการงดการเบิกจ่ายกลูโคซามีนของกรมบัญชีกลาง มีผลกระทบต่อสิทธิข้าราชการ จึงสมควรมีการปรึกษาหารือกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบ และ
7. การสร้างความร่วมมือ ร่วมใจ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพที่ตรงที่สุดในการใช้ยาและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน.

เดลินิวส์
12 พฤษภาคม 2554