ผู้เขียน หัวข้อ: 'เกาหลีใต้'เล็งออกกฎหมายห้ามสั่งงานนอกเวลา  (อ่าน 985 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
สภาเกาหลีใต้กำลังพิจารณาร่างกฎหมาย ที่ห้ามหัวหน้างานรบกวนลูกน้องถึงบ้าน หลังมีเสียงบ่นรบกวนเวลาส่วนตัว

ทั้งนี้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 12 คน จากพรรคฝ่ายค้านมินจู ส่งร่างกฎหมายที่ห้ามผู้จัดการสร้างความรำคาญให้แก่ทีมงานถึงที่บ้าน ให้กับสภาเมื่อวันพุธ (22 มิ.ย.) โดย ส.ส.12คน แถลงเหตุผลว่า ขณะนี้บริษัททั้งหลายต่างใช้โซเชียลมีเดีย และส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือสั่งงานลูกน้องแบบไม่รู้จักเวลา ทำให้พนักงานเกิดความเครียดอย่างรุนแรง

ร่างกฎหมายฉบับนี้ ห้ามบริษัทส่งข้อความที่เกี่ยวกับงานไปให้พนักงาน ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของการโทรศัพท์ ส่งข้อความ ส่งข้อความบนโซเชียลมีเดีย หรือแอพพลิเคชันข้อความบนโทรศัพท์มือถือ หลังหมดเวลาทำงาน

แถลงการณ์ดังกล่าว อ้างอิงข้อมูลจากแอพกาเกาทอล์ค ที่ชาวเกาหลีใต้นิยมใช้ถึง 80%  พ พร้อมระบุว่า ชาวเกาหลีใต้กว่า 80% มีสมาร์ทโฟน ถือเป็นอัตราสูงสุดประเทศหนึ่งของโลก อีกทั้งเกาหลีใต้ ยังมีวัฒนธรรมองค์การแบบบ้างาน จนกลายเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงาน นอกจากนี้ เจ้านายยังคาดหวังมากเกินไปว่า ลูกน้องจะต้องตอบรับคำสั่งในทันที ไม่สนใจว่าเป็นวันหยุด หรือเป็นเวลาดึกดื่น ประชาชนหลายคนจึงเรียกร้องสิทธิที่จะไม่ติดต่องานหลังเวลาทำงาน ซึ่งร่างกฎหมายนี้ จะช่วยให้พนักงานมีเวลาส่วนตัวไม่ถูกที่ทำงานรุกล้ำ

นอกจากเกาหลีใต้แล้ว หลายประเทศ ทั้งฝรั่งเศส และเยอรมนี ต่างมีกฎหมายคล้ายคลึงกันนี้ ที่ห้ามไม่ให้ส่งอีเมล์งานหลังเวลาทำงาน


กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 24 มิถุนายน 2559

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
เกาหลีใต้กำลังอยู่ในช่วงของการพิจารณาร่างกฎหมายเกี่ยวกับการคุกคามของหัวหน้าต่อพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของพวกเขาที่กำลังอยู่ในช่วงพักผ่อนที่บ้าน ภายหลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการร้องเรียนเพิ่มมากขึ้น เกี่ยวกับความไม่สมดุลกันระหว่างเวลาทำงานและเวลาสำหรับในการใช้ชีวิตส่วนตัวของประชาชนในประเทศแห่งนี้

ร่างกฎหมายเกี่ยวกับการสั่งห้ามเจ้านายหรือหัวหน้าในการคุกคามพนักงานหรือลูกน้องขณะพักผ่อนที่บ้าน ถูกยื่นเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อวันพุธที่ผ่านมา โดยมีนักกฎหมายจำนวน 12 คน ให้การสนับสนุนเห็นด้วยในหลักการจากพรรคมินโจซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน

“เมื่อได้มีช่องทางการสื่อสารที่รวดเร็วทันสมัยในสังคมมากขึ้น เช่น การส่งข้อความทางมือถือ เพื่อใช้ในการสั่งงาน โดยไม่รู้จักเวลาต่อพนักงาน อาจเข้าขั้นเป็นที่วิกฤติ” พวกเขากล่าวในช่วงแถลงข่าว

ร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อปกป้องหรือป้องกันการส่งข้อความที่เกี่ยวกับการทำงานผ่านเครื่องมือสื่อสาร หรือผ่านโลกโซเชียล โดยผ่านแอพลีเคชั่นต่างๆ ของเครื่องมือถือนอกเวลาการทำงาน

ข้อมูลดังกล่าวมีเป้าหมายเกี่ยวกับแอพลีเคชั่นการสื่อสารชนิดหนึ่งที่ชื่อ KakaoTalk  ที่กำลังได้รับการนิยมอย่างแพร่หลาย ที่มีผู้ใช้มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของคนเกาหลีใต้

นักกฎหมายคนหนึ่งกล่าวว่า ค่อนข้างมีคนจำนวนมากที่รับการตอบรับการสั่งงาน ถึงแม้ว่าจะอยู่ในช่วงของการพักผ่อนวันหยุดหรือในช่วงที่ดึกดื่นก็ตาม

“มีจำนวนที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ที่ได้เข้ามาร้องเรียนในเรื่องดังกล่าว ที่ถูกคุกคามสิทธิในนอกเวลาทำงาน” ซึ่งหากตามเนื้อหาในร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว พนักงานสามารถที่จะใช้ชีวิตส่วนตัวตามปกติได้ โดยไร้การคุกคามจากที่ทำงานใดๆ”

ในร่างดังกล่าวยังครอบคลุมไปถึงการส่งอีเมล์นอกเวลาทำงานกำลังจะถูกพิจารณาใช้ในบางประเทศอีกด้วย เช่น ฝรั่งเศส และเยอรมัน ซึ่งประชาชนชาวเกาหลีใต้กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ที่ใช้เครื่องมือถือมากที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง

ที่มา http://www.bharian.com.my/node/167834

โดย อับดุลเลาะ วันอะฮ์หมัด -
27 มิถุนายน 2016
http://www.fatonionline.com/3169

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
 เอเอฟพี - เกาหลีใต้กำลังพิจารณากฏหมายที่จะห้ามเจ้านายรบกวนพนักงานขณะอยู่บ้าน หลังจากมีเสียงร้องเรียนมากขึ้นเกี่ยวกับภาระเรื่องชีวิตการทำงานที่ไม่สมดุลของประเทศนี้
       
       กฏหมายที่ห้ามบรรดาผู้จัดการ มิให้ไปรบกวนพนักงานขณะอยู่บ้านได้ถูกส่งเข้ารัฐสภาในวันพุธ โดยได้รับการเสนอจาก ส.ส. 12 รายของพรรคมินจูที่เป็นฝ่ายค้าน
       
       "มีหลายบริษัทใช้โซเชียลมีเดียและข้อความทางโทรศัพท์ในการสั่งงาน โดยไม่สนเวลาในขณะนั้น ความเครียดที่เกิดขึ้นกับพนักงานนั้นได้เพิ่มขึ้นถึงระดับที่ร้ายแรง" คำแถลงของ 12 ส.ส. จากพรรคมินจู ระบุ
       
       กฏหมายนี้จะหาหนทางห้ามบริษัทต่างๆ มิให้ส่งข้อความเกี่ยวกับเรื่องงานไปให้พนักงาน หลังจากหมดชั่วโมงการทำงาน ทั้งการโทรศัพท์ การส่งข้อความตัวหนังสือ การใช้โซเชียลมีเดีย หรือการใช้แอปพลิเคชัน
       
       เอกสารมีการอ้างอิงถึง KakaoTalk แอปพลิเคชันสนทนาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของชาวเกาหลีใต้
       
       คำแถลงของบรรดา ส.ส.พรรคมินจู ยังระบุด้วยว่า มีพนักงานจำนวนมากที่ถูกโทรสั่งงานบ่อยครั้ง แม้ว่าจะเป็นวันหยุดหรือเป็นช่วงเวลาดึกมาก
       
       "ผู้คนมากมายเรียกร้องสิทธิ์ในการงดติดต่อหลังชั่วโมงทำงาน กฏหมายนี้จะทำให้ชีวิตส่วนตัวของพนักงานปลอดจากการรุกล้ำของบริษัท" คำแถลงระบุ
       
       กฏหมายที่คล้ายแบบนี้ ได้ถูกใช้ในหลายประเทศ อาทิ เยอรมันและฝรั่งเศส โดยมีการห้ามส่งอีเมลล์หลังชั่วโมงการทำงานปกติ
       
       คำแถลงระบุว่า ชาวเกาหลีใต้มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์มีสมาร์ทโฟน ทำให้เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการถูกรุกล้ำมากที่สุดในโลก เมื่อจับคู่กับวัฒนธรรมองค์กรที่ให้คนทำงานหนัก จึงก่อให้เกิดระบบที่ละเมิดสิทธิ์พนักงาน
       
       ในปี 2014 ชั่วโมงการทำงานโดยเฉลี่ยของพนักงานเกาหลีใต้นั้นอยู่ที่ 2,124 ชั่วโมง ซึ่งในบรรดาประเทศสมาชิก โออีซีดี ถือว่ามากเป็นอันดับ 2 รองจากเม็กซิโก ขณะเดียวกันก็สูงกว่าค่าเฉลี่ย 1,770 ชั่วโมง
       
       ช่วงที่ผ่านมามีรายงานฉบับหนึ่งที่ชื่อ "เหล่าพนักงานผู้หวาดกลัว KakaoTalk" ของสถาบันแรงงานและสังคมเกาหลี ระบุว่า ลูกจ้างถูกบีบให้ทำงานเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 11 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จากการใช้อุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์
       
       "เราได้มาถึงจุดที่การทำงานในช่วงสุดสัปดาห์หรือหลังชั่วโมงการทำงาน โดยไม่มีการจ่ายค่าแรง กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดามากขึ้นทุกที" รายงานระบุ
       
       "การใช้อุปกรณ์สมาร์ทดีไวซ์ในการทำงาน ได้ทำให้เส้นแบ่งระหว่างงานกับชีวิตครอบครัวนั้นไม่ชัดเจน ซึ่งนำไปสู่ผลกระทบเชิงลบต่อการรักษาสมดุลของงาน-ครอบครัว และงาน-การใช้ชีวิต" รายงานระบุ
       
       เกาหลีใต้ภาคภูมิใจกับเทคโนโลยีล้ำสมัยของตน ตั้งแต่อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงไปจนถึงสมาร์ทโฟนซัมซุง อย่างไรก็ตาม การรับเทคโนโลยีดิจิตอลทุกอย่างย่อมแลกมาด้วยการจ่ายบางอย่าง เช่นโทรศัพท์และแท็บเล็ตได้กลายมาเป็นออฟฟิศเคลื่อนที่ซึ่งจะไม่มีวันปิดของบรรดาลูกจ้าง
       
       แต่ก็มีบางบริษัทที่ดำเนินการเอง ในเรื่องที่จะไม่รบกวนพนักงานนอกเวลาการทำงาน โดยไม่รอให้มีกฏหมายบังคับ
       
       LG Uplus ผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สายที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของเกาหลีใต้ ได้ขู่ที่จะลดตำแหน่งหรืออาจถึงขั้นไล่ออก สำหรับบรรดาผู้จัดการที่ส่งข้อความผ่าน KakaoTalk ไปให้ลูกน้องหลัง 20.00 น.
       
       "เราอยากช่วยให้พนักงานเพลิดเพลินกับชีวิตส่วนตัวของพวกเขาในช่วงค่ำ ซึ่งมันอาจช่วยในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ของพวกเขา" เบก ยอง-แด โฆษกของบริษัทฯ กล่าว
       
       ส่วนสำคัญในการฟื้นเศรษฐกิจเกาหลีใต้จากความเสียหายเพราะสงครามเกาหลี อย่างแนวคิดเรื่องการทำงานหนัก ถูกผลักดันต่อต้านทีละเล็กทีละน้อยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
       
       มีความพยายามที่จะโปรโมทชีวิตที่ปลอดจากความเครียดและการรับข้อมูลข่าวสารมากเกินไป อาทิ รายการทีวี "สเปซ-เอาท์ คอมเพทิชัน" ที่ผู้เข้าร่วมจะต้องห้ามพูดคุยหรือใช้อุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์เป็นเวลาหลายชั่วโมง


โดย MGR Online       24 มิถุนายน 2559