ผู้เขียน หัวข้อ: พรบ.หลักประกันสุขภาพ ยังไม่ได้ข้อสรุป 2บอร์ดเลื่อนประชุม  (อ่าน 1221 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
ประชุมร่วมนัดแรก ผู้แทนสองบอร์ด "สปส.-สปสช." ไม่ได้ข้อสรุป ม.10 พ.ร.บหลักประกันสุขภาพฯ มีมติเลื่อนประชุมครั้งหน้า 9 มิ.ย. ให้แต่ละบอร์ดกลับไปทำการบ้านเสนอใหม่อีกครั้ง...

 

10 พ.ค. ที่สำนักงานประกันสังคม (สปส.) มีการประชุมร่วมผู้แทนของคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) นำโดย นายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) และคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) นำโดย นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานคณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์ บอร์ด สปสช. เพื่อหารือถึงประเด็นมาตรา 10 ของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมในการให้บริการสาธารณสุขแก่ผู้ประกันตน โดยการประชุมยาวนานร่วม 2 ชั่วโมง ซึ่งบรรยากาศภายในการประชุม มีนายพนัส ไทยล้วน ประธานฝ่ายลูกจ้าง บอร์ด สปส. ไม่เห็นด้วยกับแนวทางตามมาตรา 10 โดยเกรงว่า หากนำผู้ประกันตนไปรวมอยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ บัตรทอง จะส่งผลต่อการรับบริการทั้งสิทธิประโยชน์ ความแออัดของโรงพยาบาล การได้รับบริการต่างๆ

นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานคณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์ บอร์ด สปสช. ในฐานผู้แทนเจราจาฝ่ายบอร์ด สปสช. และยังเป็นหนึ่งในกรรมการแพทย์ บอร์ด สปส. กล่าวภายหลังประชุมว่า การประชุมครั้งนี้ มีมติให้ตนและเลขาธิการ สปส.เป็นประธานร่วมการหารือในแต่ละครั้ง ซึ่งครั้งนี้ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อสรุปชัดเจน เนื่องจากเป็นการประชุมครั้งแรก แต่เบื้องต้นได้ข้อสรุปในหลักการ 3 เรื่อง ได้แก่ 1.การเจรจาจะต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ เน้นหลักมาตรา 10 และมาตรา 66 รวมทั้งหมายเหตุท้าย พ.ร.บ.ซึ่งมีสาระสำคัญในเรื่องการลดปัญหาสิทธิซ้ำซ้อน และการจัดทำระบบใหม่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งต้องลดค่าใช้จ่ายในการบริหาร

"ประเด็นการลดสิทธิซ้ำซ้อน ปัจจุบันไม่ใช่ปัญหามากนัก แต่จะมุ่งไปที่การเพิ่มประสิทธิภาพ ความเท่าเทียมกัน เพื่อลดปัญหาการไปรับบริการแล้วถูกถามว่าอยู่ในสิทธิใด ซึ่งไม่ถูกต้อง แพทย์ไม่ควรมีการถามถึงสิทธิ แต่ควรทำหน้าที่ในการให้บริการรักษา ขณะเดียวกันต้องมีการดำเนินการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ประกันตน และต้องให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อระบบสาธารณสุขในภาพรวมของประเทศ" นพ.วิชัย กล่าว

นพ.วิชัย กล่าวอีกว่า 2. ในการหารือเพื่อให้บรรลุตามหลักการทุกประเด็นต้องให้ได้ฉันทามติทั้งสองฝ่าย หากไม่ได้ให้รอไปก่อน และ 3. จากการหารือครั้งนี้ได้มีการหยิบยกประเด็นต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์มากในแง่ของการแสดงความคิดเห็น การแสดงความห่วงใยของทั้งสองฝ่าย ซึ่งนำไปสู่การเตรียมพร้อมในการประชุมครั้งหน้า ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 9 มิถุนายน 2554 ที่สปสช. โดยได้มอบหมายแต่ทั้งสองหน่วยงานไปทำการบ้าน เพื่อนำมาหารือในประเด็นของตน คือ สปส.มีความห่วงใยในเรื่องใดบ้างเกี่ยวกับการหารือเรื่องนี้ และ สปสช.มีความพร้อมในแง่ใดในการบริหาร อย่างไรก็ตาม แม้ครั้งนี้จะยังไม่ได้ข้อสรุปลึกซึ้ง แต่อย่างน้อยก็เป็นสัญญาณที่ดีที่ได้รับทราบความคิดเห็นของทั้งสองฝ่าย ส่วนผลจะออกมาอย่างไร ยังไม่ทราบ ทั้งหมดเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ตามกฎหมาย หากได้รับผลลัพธ์อย่างไรต้องเสนอให้ทั้งสองบอร์ด

ส่วนจะมีประชาพิจารณ์ หรือสอบถามผู้ประกันตนหรือไม่ เรื่องนี้ยังไม่ได้หารือ ผู้สื่อข่าวถามว่า มีข้อห่วงใยในมาตรา 10 หรือไม่ นพ.วิชัย กล่าวว่า ยังไม่ได้เจาะลึกเรื่องนี้ เพียงแต่มอบหมายให้แต่ละหน่วยงานไปดำเนินการหน้าที่ของตน เพื่อเสนอในการประชุมครั้งต่อไป

ไทยรัฐออนไลน์ 11 พค 2554