ผู้เขียน หัวข้อ: สรุปเนื้อหาการสัมมนา สปสช.(12มีค)-อภิปราย1-นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ(สปสช)  (อ่าน 2504 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
ผู้อภิปรายคนแรกคือ นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสปสช. ได้กล่าวถึงงบประมาณของหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเริ่มต้นในปีแรก 27,612 ล้านบาท (หลังจากหักเงินเดือนบุคลากรออก) เพิ่มเป็น  89,385 ล้านบาทในปี 2553 คิดเป็นอัตราเพิ่มสูงถึง 224%  โดยอ้างการสำรวจว่า ประชาชนมีความพึงพอใจ 89.3 % ในขณะที่ผู้ให้บริการ(บุคลากรทางการแพทย์) มีความพึงพอใจ 60.3%

แต่ในขณะเดียวกัน นพ.ประทีปยังได้อ้างว่า มีจำนวนแพทย์ลาออกจากระบบของกระทรวงสาธารณสุขเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน  และมีผู้ป่วยที่ได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้นตามม.41 รวมทั้งสิ้น  2,265 คน ในจำนวนนี้ เสียชีวิต 1263 คน พิการ 356 คน และบาดเจ็บ 646 คน โดยผู้ป่วยสูตินรีเวช ได้รับความช่วยเหลือมากที่สุด

*****หมายเหตุผู้เขียน(พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา) สิ่งที่นพ.ประทีปไม่ได้กล่าวถึงคือ งบประมาณช่วยเหลือเบื้องต้นยังมีเหลืออยู่มาก และความเสียหายจากผู้ป่วยด้านสูติศาสตร์ ส่งผลกระทบต่อแพทย์ โดยตรง ทำให้แพทย์รุ่นใหม่ไม่อยากเรียนต่อด้านสูติศาสตร์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างแน่นอนในอนาคตที่จะมีจำนวนผู้เชี่ยวชาญด้านสูติศาสตร์ดูแลรักษาผู้ป่วยน้อยลง

นพ.ประทีปยังได้กล่าวถึงว่า แนวโน้มวัสดุคงคลังและหนี้สินของโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสธ. (สป.สธ.)ก็เพิ่มขึ้น และอ้างว่า แนวโน้มเงินสดคงเหลือของโรงพยาบาลสังกัดสป.สธ.ก็เพิ่มขึ้นถึ42,968 ล้านบาท และสปสช.ได้พัฒนาคุณภาพบริการในหลายๆโรค เช่น การพัฒนาเครือข่ายบริการ การบริการเฉพาะโรคต่างๆ
***** หมายเหตุผู้เขียน  การดำเนินงานของสปสช. ขัดต่อพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 ที่กำหนดให้ สปสช.เป็นผู้จ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขให้แก่หน่วยบริการเท่านั้น และกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้นที่มีหน้าที่ในการพัฒนาบริการ ไม่ใช่สปสช.

นอกจากนั้นนพ.ประทีปยังได้กล่าวถึงว่า ความเสี่ยงของระบบหลักประกันสุขภาพคือ งบประมาณจากรัฐบาลที่ต้องเพิ่มขึ้น  ต้องพึ่งการบริการทางการแพทย์จากกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งไม่ทราบว่ามีมาตรฐานแบบใดบ้าง (อ้างว่าไม่ได้กำหนดไว้ชัดเจนในพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)
รวมทั้งกล่าวหาว่า แพทยสภาซึ่งควรจะควบคุมมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ กลับคอยปกป้องแพทย์  ส่วนสปสช.มีหน้าที่ซื้อบริการ

และยังได้กล่าวว่าสวัสดิการข้าราชการใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นมาก จนมีข่าวว่ากระทรวงการคลังต้องหาทางที่จะคุมงบประมาณของสวัสดิการข้าราชการ ในขณะที่งบประมาณของหลักประกันสุขภาพสามารถควบคุมได้ดีกว่า และกล่าวว่าสิทธิประกันสังคมก็ควรจะได้รับสิทธิไม่น้อยกว่าหลักประกันสุขภาพ
นพ.ประทีปยังได้กล่าวว่า ความเสี่ยงของกระทรวงสาธารณสุขคือ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2550 จะเป็นผู้กำหนดนโยบาย ด้านการแพทย์และสาธารณสุข

พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 จะเป็นผู้บริหารระบบการบริการสาธารณสุข
 และพ.ร.บ.แผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ จะเป็นผู้รับผิดชอบให้บริการสุขภาพ

  ***** หมายเหตุผู้เขียน ซึ่งความหมายของการกล่าวเช่นนั้น ก็คือ ต่อไปนี้ กระทรวงสาธารณสุขก็จะไม่มีความจำเป็นที่จะดำรงอยู่ต่อไป เพราะไม่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการแพทย์และสาธารณสุขแล้ว

today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด
เห็นด้วยกับ อ.เชิดชู ครับ