ผู้เขียน หัวข้อ: สรุปเนื้อหาการสัมมนา สปสช.(12มีค)-ช่วงที่3-รศ.นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์(จุฬาฯ)  (อ่าน 2710 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
ต่อมาเป็นการบรรยายของรศ.นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ รองอธิการบดีจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ได้กล่าวว่า การกำหนดงบประมาณในระบบหลักประกันสุขภาพแบบปลายปิด โดยใช้หลักเกณฑ์เหมาจ่ายรายหัวต่อปี ของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้น มีข้อดีคือสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้แต่ประชาชนอาจจะมีความเสี่ยงต่อบริการที่ไม่มีคุณภาพ

        โดยได้ยกตัวอย่างจากยุโรปและอเมริกา ว่างบประมาณปลายปิดจะเสี่ยงต่อการรักษาที่ล่าช้า ผู้ป่วยที่อาการรุนแรง/มีความเสี่ยงสูงอาจไม่ได้รับการรักษา และจะถูกส่งต่อไปหา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ (เพราะเกรงว่าจะต้องใช้เงินในการรักษามากเกินงบประมาณ)

      โรงพยาบาลต้องคลำกระเป๋าเงินไปด้วย ว่าจะมีเงินพอใช้หรือไม่ในการรักษาผู้ป่วย ในขณะที่คิดหาวิธีจะรักษาผู้ป่วยให้เหมาะสมกับจำนวนเงินในกระเป๋า

***** นอกจากนี้ นพ.จิรุตม์ ยังได้อ้างถึง ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในปีพ.ศ. 2547 เปรียบเทียบอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพ(บัตรทอง) ประกันสังคมและระบบสวัสดิการข้าราชการ  ว่า adjusted CFR (Case Fatality Rate)  (ปรับตามอายุแล้ว) ในระบบบัตรทองสูงสุดเมื่อเทียบกับอีก 2 ระบบ  และ SMR (Standardized Mortality Ratio) ของระบบบัตรทองก็สูงสุดเช่นเดียวกัน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02 เมษายน 2010, 00:57:04 โดย pradit »

today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด
โค๊ด: [Select]
อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพ(บัตรทอง) ประกันสังคมและระบบสวัสดิการข้าราชการ  ว่า adjusted CFR (Case Fatality Rate)  (ปรับตามอายุแล้ว) ในระบบบัตรทองสูงสุดเมื่อเทียบกับอีก 2 ระบบ  และ SMR (Standardized Mortality Ratio) ของระบบบัตรทองก็สูงสุดเช่นเดียวกัน

เพราะว่า ขณะที่คิดหาวิธีจะรักษาผู้ป่วยให้เหมาะสมกับจำนวนเงินในกระเป๋า  แต่คลำกระเป๋าเงินไม่เจอใช่ไหมครับ อ.จิรุตม์