ผู้เขียน หัวข้อ: ล่ารายชื่อปฏิรูป ‘แพทยสภา’ ดันแก้ กม. ‘เพิ่มคนนอก-กก.เป็นได้ไม่เกิน 2 วาระ’  (อ่าน 700 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
“ปรียนันท์” เปิดแคมเปญรณรงค์ปฏิรูป “แพทยสภา” เหตุผูกขาดกรรมการ ดำรงตำแหน่งไม่มีวาระ เอื้อประโยชน์พวกพ้อง-โรงพยาบาลเอกชน เสนอ 1.ให้มีคนนอกเข้าไปเป็นกรรมการแพทยสภา ในสัดส่วน 50% 2.ลดจำนวนคณะกรรมการลงเพื่อความคล่องตัว 3.กำหนดให้กรรมการดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระ

นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ เปิดเผยว่า แพทยสภาในปัจจุบันไม่ได้ทำหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชนตามหลักการที่ถูกต้อง จึงถูกประชาชนตั้งข้อสงสัยว่าไม่มีความเป็นกลาง เอาแต่มุ่งแต่ปกป้องวิชาชีพเดียวกัน เช่น มีมติให้แทบทุกคดีที่ประชาชนร้องเรียนเป็นคดีไม่มีมูล หรือเคยมีกรณีนายกแพทยสภานำทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไปเบิกความสู้กับคนไข้ในศาล รวมทั้งการต่อต้าน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข อย่างชัดเจน

นางปรียนันท์ กล่าวว่า แพทยสภาคือสภาวิชาชีพที่ก่อตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบว่าการประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้มาตรฐานหรือไม่ มีกรรมการทั้งหมด 56 คน แบ่งเป็น กรรมการโดยตำแหน่ง 28 คน และกรรมการจากการเลือกตั้งอีก 28 คน ซึ่งทั้ง 56 คนนั้นเป็นแพทย์ทั้งสิ้น ไม่มีคนนอกอยู่ร่วมด้วยแต่อย่างใด

“ยุคปัจจุบันกรรมการกลุ่มที่มีบทบาทมากที่สุดคือกลุ่มที่มาจากการเลือกตั้ง ส่วนใหญ่มีส่วนเกี่ยวข้องและมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน แต่ละคนเป็นกรรมการหลายสมัยนานนับ 10-20 ปี เนื่องจาก พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ไม่ได้กำหนดว่าดำรงตำแหน่งได้ไม่เกินกี่วาระ” นางปรียนันท์ กล่าว

นางปรียนันท์ กล่าวอีกว่า การที่กรรมการอยู่ในตำแหน่งนานเกินไปทำให้เกิดการสร้างอิทธิพล ผูกขาดอำนาจ เล่นพรรคเล่นพวก และมีเครือข่ายกุมอำนาจในระดับนโยบายแทบทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเมื่อกรรมการเกี่ยวข้องกับธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน จึงยิ่งไม่สามารถแก้ปัญหาโรงพยาบาลเอกชน ค่ายาและค่ารักษาแพงได้

นางปรียนันท์ กล่าวว่า หลายประเทศทั่วโลกมีปัญหาในลักษณะเดียวกัน โดยเฉพาะเรื่องความไม่เชื่อมั่นต่อแพทยสภา ตัวอย่างหนึ่งในประเทศอังกฤษคือรัฐบาลมีความกังวลว่าความไม่เชื่อมั่นต่อสภาวิชาชีพจะส่งผลถึงความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย จึงริเริ่มให้มีคนนอกเข้าไปเป็นกรรมการแพทยสภาในสัดส่วน 25%

อย่างไรก็ตาม ต่อมาพบว่าสามารถสร้างความไว้วางใจและเรียกศรัทธาคืนมาจากประชาชนได้ จึงเพิ่มสัดส่วนคนนอกเข้าไปเป็นกรรมการ 50% คือวิชาชีพ 6 คน คนนอก 6 คน รวมทั้งสิ้น 12 คน โดยปัจจุบันประเทศอังกฤษเป็นต้นแบบให้อีกหลายประเทศนำไปปฏิรูปแพทยสภา เช่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฮ่องกง มาลาวี แคนาดา นิวซีแลนด์ ฯลฯ เป็นต้น

“พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ของประเทศไทย มีอายุ 34 ปีแล้ว อีกทั้งปัจจุบันบริบทของสังคมไทยเปลี่ยนไป จึงสมควรที่จะปฏิรูปแพทยสภาไปพร้อมๆ กับการปฏิรูปประเทศ และการปฏิรูประบบสาธารณสุข จึงขอเสนอว่า
1.ให้มีคนนอกเข้าไปเป็นกรรมการแพทยสภา ในสัดส่วน 50%
2.ลดจำนวนคณะกรรมการลงเพื่อความคล่องตัว
3.กำหนดให้กรรมการดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระ” นางปรียนันท์ กล่าว

ทั้งนี้ นางปรียนันท์ ได้เปิดแคมเปญรณรงค์ปฏิรูปแพทยสภาผ่าน www.change.org ตั้งแต่วันที่ 31 ส.ค.2559 โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะล่ารายชื่อให้ครบ 1 หมื่นชื่อ โดยปัจจุบันได้แล้วกว่า 7,497 ชื่อ ภายในระยะเวลาเพียง 13 วัน ซึ่งหากได้รายชื่อครบถ้วนแล้วจะส่งต่อประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อดำเนินการปรับแก้กฎหมายต่อไป

Mon, 2016-09-12
https://www.hfocus.org/content/2016/09/12719

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
"ปฏิรูปแพทยสภา" ต้องมีคนนอกเข้าไปเป็นกรรมการ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 25 กันยายน 2016, 20:24:29 »

พี่น้องเคยคิดไหม ทำไมเจ้าของรพ.เอกชนที่รวยล้นฟ้า ต้องมาเป็นกรรมการแพทยสภา ทั้งที่ไม่มีเงินเดือน?

ต้องยอมรับว่าแพทย์เหล่านี้เป็นนักธุรกิจคิดเหนือชั้น การเข้าไปกุมอำนาจในระดับนโยบาย ทำให้รู้ว่านโยบายใดจะกระทบกับธุรกิจ นโยบายใดจะดึงเงินเข้ากระเป๋า การขึ้นที่สูงทำให้เห็นช่องโหว่ที่จะทำกำไร

จะมีสักกี่คนที่เข้าไปเพื่อพัฒนารพ.รัฐบาล ให้กลายเป็นคู่แข่งรพ.เอกชน หรือช่วยผลักดันร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขเพื่อไม่ให้หมอลาออก ในเมื่อจ้องดูดหมอออกจากรพ.รัฐไปฟรี ๆ โดยไม่ได้ลงทุนผลิตเอง

เหตุนี้การเลือกตั้งกรรมการแพทยสภา จึงดุเดือดไม่ต่างจากการเมือง และขึ้นชื่อเรื่องปกป้องกันเองเพื่อคะแนนนิยม

เหตุนี้เราจึงแก้ปัญหาค่ายาและค่ารักษาแพงไม่ได้เสียที

---

"แพทยสภา" คือสภาวิชาชีพ ที่ก่อตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525  เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ ว่าการประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้มาตรฐานหรือไม่

องค์ประกอบของคณะกรรมการแพทยสภา ประกอบด้วยกรรมการโดยตำแหน่งจำนวน 28 คน จากการเลือกตั้งจำนวน 28 คน รวม 56 คน เป็นแพทย์ทั้งสิ้น ไม่มีองค์ประกอบที่เป็นคนนอกอยู่เลย

ยุคปัจจุบันกรรมการกลุ่มที่มีบทบาทมากที่สุด คือกลุ่มที่มาจากการเลือกตั้ง ส่วนใหญ่มีส่วนเกี่ยวข้องและมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน  แต่ละคนเป็นกรรมการหลายสมัยนานนับ 10-20 ปี เนื่องจาก พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ไม่ได้กำหนดว่าดำรงตำแหน่งได้ไม่เกินกี่วาระ

ในการทำหน้าที่ของแพทยสภายุคปัจจุบัน จึงมักถูกประชาชนตั้งข้อสงสัยว่าไม่มีความเป็นกลาง ปกป้องวิชาชีพเดียวกัน โดยไม่ได้คุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชน ตามหลักการที่ถูกต้องและควรจะเป็น

หลายประเทศทั่วโลกล้วนมีปัญหาเดียวกัน รัฐบาลประเทศอังกฤษกังวลว่า ความไม่เชื่อมั่นต่อสภาวิชาชีพ จะส่งผลถึงความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย  จึงริเริ่มให้มีคนนอกเข้าไปเป็นกรรมการแพทยสภาในสัดส่วน 25% ต่อมาพบว่าสามารถสร้างความไว้วางใจและเรียกศรัทธาคืนมาจากประชาชนได้ จึงเพิ่มสัดส่วนคนนอกเข้าไปเป็นกรรมการ 50:50 คือวิชาชีพ 6 คน คนนอก 6 คน รวมทั้งสิ้น 12 คน เป็นต้นแบบให้อีกหลายประเทศนำไปปฏิรูปแพทยสภา เช่นประเทศสิงคโปร์, อินโดนีเซีย, ฮ่องกง, มาลาวี, แคนาดา, นิวซีแลนด์ ฯลฯ เป็นต้น

พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ของประเทศไทย มีอายุ 34 ปีแล้ว อีกทั้งปัจจุบันบริบทของสังคมไทยเปลี่ยนไป จึงสมควรที่จะปฏิรูปแพทยสภา  ไปพร้อม ๆ กับการปฏิรูปประเทศ และการปฏิรูประบบสาธารณสุข

จึงเรียนมายังประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้โปรดเสนอให้มีการแก้ไข พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 ดังต่อไปนี้

1.ให้มีประชาชนทั่วไปเข้าไปเป็นกรรมการแพทยสภา ในสัดส่วน 50:50

2.ลดจำนวนคณะกรรมการลง เพื่อความคล่องตัว

3.กำหนดให้กรรมการดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระ

ประชาชนทุกคนมีโอกาสเจ็บป่วย การเข้ารับการรักษาพยาบาลมีโอกาสเกิดเหตุไม่พึงประสงค์ขึ้นได้ หากหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบมาตรฐานการรักษาพยาบาล มีความโปร่งใสเป็นธรรมและมีธรรมาภิบาล นอกจากจะช่วยลดความขัดแย้งระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยลงได้แล้ว ยังจะเป็นการส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์อันดีและคืนความสงบสุขให้กับสังคมได้อีกด้วย

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการ


แคมเปญรณรงค์นี้จะถูกส่งไปที่:
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ


ปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ได้เริ่มสร้างเรื่องรณรงค์นี้