ผู้เขียน หัวข้อ: จีนแซงหน้าสหรัฐฯ ส่งนาฬิกาอะตอม “เที่ยงตรงที่สุดในโลก”ขึ้นสู่อวกาศ ให้เวลาแม่นยำ  (อ่าน 855 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
เซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์รายงาน (16 ก.ย.) จีนปล่อย “นาฬิกาอะตอม” ขึ้นสู่ห้วงอวกาศ ดำรงความแม่นยำได้เป็นเวลาถึง 1 พันล้านปี
       
       ในปี 2557 สถาบันแห่งชาติของมาตรฐานและเทคโนโลยี (National Institute of Standards and Technology : NIST ) ของประเทศสหรัฐฯ ได้นำ “นาฬิกาอะตอม” รุ่นเอ็นไอเอสที-เอฟ 2 (NIST-F2) ออกใช้งาน โดยได้รับการขนานนามให้เป็น “นาฬิกาที่เที่ยงตรงที่สุดในโลก” ด้วยความเที่ยงตรงที่จะไม่คาดเคลื่อนหรือเกินมาแม้แต่วินาทีเดียว ในรอบเวลา 300 ล้านปี เพื่อเป็นประโยชน์ในการใช้งานคู่กับดาวเทียมและการเดินทางในอวกาศ ซึ่งต้องการความแม่นยำด้านเวลาสูง
       
       อย่างไรก็ดี เมื่อไม่นานมานี้ นักวิจัยจีนในนครเซี่ยงไฮ้ ได้พัฒนา “โคลด์ อะตอมิค คล็อค อิน สเปซ” (Cold Atomic Clock in Space : Cacs) นาฬิกาอะตอมรุ่นใหม่ สำหรับใช้งานบนอวกาศเรือนแรกของโลก มีความเที่ยงตรงเหนือ นาฬิกาอะตอม “รุ่นเอ็นไอเอสที-เอฟ 2” ของสหรัฐฯถึง 3 เท่า โดยสามารถดำรงความแม่นยำได้เป็นเวลาถึง 1 พันล้านปี
       
       ทั้งนี้ จีนได้ปล่อยนาฬิกาอะตอม Cacs ขึ้นสู่ห้วงอวกาศพร้อมกับห้องปฏิบัติการทางอวกาศ “เทียนกง 2” ที่ศูนย์ส่งดาวเทียมจิ่วฉวน กลางทะเลทรายโกบี ในคืนวันพฤหัสบดี (15 ก.ย.) ที่ผ่านมา
       
       รายงานระบุว่า นาฬิกาอะตอม Cacs มีน้ำหนักเบา สามารถยกขึ้นได้ด้วยแรงคนเพียง 2 คน และเล็กพอที่จะใส่ในรถยนต์ได้ ในขณะที่ นาฬิกาอะตอมรุ่นเอ็นไอเอสที-เอฟ 2 ของสหรัฐฯ มีขนาดใหญ่โตถึง 2.5 เมตร พร้อมน้ำหนักมหาศาล และยังต้องติดตั้งอุปกรณ์เสริมเต็มห้องปฎิบัติการ ทั้งนี้ สภาพไร้แรงโน้มถ่วงบนอวกาศ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้นาฬิการุ่นใหม่ของจีนมีประสิทธิภาพสูงกว่านาฬิกาอะตอมของสหรัฐฯ
       
       “สีว์ เจิน” นักวิจัยโครงการนาฬิกาอะตอม Cacs ระบุว่า ในปัจจุบัน “ระบบดาวเทียมนำทางเป่ยโต้ว” (Beidou Satellite System) ระบบนำทางและข้อมูลสภาพอากาศและลักษณะพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของจีน ยังมีความแม่นยำสู้เทคโนโลยีจีพีเอส (Global Positioning System: GPS) ของสหรัฐอเมริกาไม่ได้ อย่างไรก็ดี การคิดค้นนาฬิกาอะตอมรุ่นใหม่ของจีน จะช่วยเสริมสร้างสมรรถนะของเป่ยโต้วให้สูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญในอนาคต
       
        สีว์กล่าวต่อไปว่า ห้องปฏิบัติการทางอวกาศ “เทียนกง 2” และนาฬิกาอะตอม Cacs เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า จีนได้เปลี่ยนสถานะจาก “ผู้ตาม” กลายมาเป็น “ผู้บุกเบิก” ในวงการอวกาศโลกแล้ว

โดย MGR Online       
16 กันยายน 2559