ผู้เขียน หัวข้อ: ตระกูล ส คือใคร?  (อ่าน 1662 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
ตระกูล ส คือใคร?
« เมื่อ: 30 สิงหาคม 2016, 02:18:40 »
หลายคนที่ติดตามข่าวสาธารณสุข ไม่ว่าจะเรื่องการเลือกตั้งเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือข่าวการที่ คสช. ใช้มาตรา 44 แก้ปัญหาใน สสส. หรือ สปสช. ได้แก่การปลดเลขาธิการ สปสช. และ การปลดบอร์ด สสส. จำนวนเจ็ดคนพร้อมกัน และหลายคนคงสงสัยว่า ตระกูล ส คือใคร
       
        บทความนี้เป็นการอัพเดทบทความเดิม ชื่อ “องค์การอิสระและองค์การเอกชนในเครือข่ายตระกูล ส : การไขว้ตำแหน่งและการขัดกันแห่งผลประโยชน์” ซึ่งได้เคยนำเสนอใน www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000118009 มาก่อน
       
        หากจะกล่าวง่ายๆ สั้นๆ ตระกูล ส คือ สมาชิกขององค์การอิสระและองค์การมหาชน ตลอดจน องค์การเอกชน จำนวนหนึ่งในกระทรวงสาธารณสุขที่มีความเชื่อมโยงใยถึงกันและกัน มีการจัดประชุมตั้ง war room กันทุกวันอาทิตย์อย่างต่อเนื่องยาวนานมามากกว่า 30 ปี ในด้านหนึ่ง การก่อเกิดขึ้นของตระกูล ส ก็เพราะระบบราชการที่หย่อนยานไร้ประสิทธิภาพของกระทรวงสาธารณสุขเองในอดีต ทำให้ตระกูล ส เติมโตขึ้นมาอย่างเข้มแข็งและทำให้กระทรวงสาธารณสุขแตกแยกออกเป็นสองเมือง เรียกว่า “สองนคราสาธารณทุกข์” องค์การกลุ่มตระกูล ส นี้ ได้แก่ สปสช สช สพฉ สสส สวรส IHPP HITAP เป็นต้น
       
       War room นี้จัดตั้งกันมายาวนานต่อเนื่อง มีสมาชิกหมุนเวียนเข้าออกแต่แกนนำหลักไม่เคยเปลี่ยนแปลง บางคนอาจจะมาเป็นครั้งคราว เท่าที่ได้สัมภาษณ์ผู้หลักผู้ใหญ่หลายท่าน ไม่ว่าจะเป็น นักธุรกิจชื่อดัง นายทหารระดับอดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด หลายคนเคยเข้าไปใน War room ดังกล่าวที่โรงแรม Rose Garden สามพราน
       
       กลุ่มบ้านสามพรานแห่งตระกูล ส นี้ มักเป็นสมาชิกของชมรมแพทย์ชนบทด้วย ได้แก่ นพ.มงคล ณ สงขลา นพ.สุวิทย์ วิบูลย์ผลประเสริฐ นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล เป็นต้น ประธานกลุ่มตระกูล ส คือ นายแพทย์ประเวศ วะสี ซึ่งจะนั่งเป็นหัวโต๊ะในการประชุมที่โรงแรม Rose Garden แทบทุกครั้งหากสัปดาห์ใดที่นายแพทย์ประเวศ วะสี ป่วยหรือติดธุระมักจะเลื่อนการประชุมออกไป
       
       สิ่งที่ท่านได้เห็นด้านล่างนี้คือรายชื่อสมาชิกบ้านสามพราน ตระกูล ส ซึ่งจัดประชุมกันทุกวันอาทิตย์ สมาชิกหลักได้แก่
       
       นายแพทย์ประเวศ วะสี ประธานมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ที่ปรึกษา สสส. และประธานบ้านสามพรานตระกูล ส อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท อดีตประธานมูลนิธิแพทย์ชนบท อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สวรส อดีตที่ปรึกษากรรมการ สสส. ประธานมูลนิธิเด็ก ที่ปรึกษาคณะกรรมการมูลนิธิพัฒนาไท อดีตผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานทางการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข อดีตคณะกรรมการอำนวยการโครงการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุขแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข ประธานกรรมการที่ปรึกษามูลนิธิสัมมาชีพ และ ประธานกรรมการมูลนิธิหมอชาวบ้าน
       
       นายแพทย์วิจารณ์ พานิช อดีตเลขาธิการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สวรส กรรมการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สวรส อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสส ประธานมูลนิธิ HITAP ประธานมูลนิธิ IHPP ที่ปรึกษาพิเศษ ของ สกว. อดีตประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล อดีตคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข สปสช. อดีคคณะกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สช.
       นายแพทย์สุวิทย์ วิบูลย์ผลประเสริฐ กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
       นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ อดีตเลขาธิการสภาสุขภาพแห่งชาติ
       นายแพทย์โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ อดีตผู้จัดการแผนงานวิจัยสังคมและสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข
       นายแพทย์วินัย สวัสดิวร อดีตเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติซึ่งถูกปลดจากตำแหน่งโดยมาตรา 44
       ทันตแพทย์กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ อดีตผู้จัดการ สสส ซึ่งชิงลาออกไปสมัครเป็นผู้อำนวยการ TPBS ในขณะที่ สสส. มีปัญหาการใช้เงินผิดประเภทและมีผลประโยชน์ทับซ้อน
       นายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขและเลขาธิการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
       นายแพทย์พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส)
       นายแพทย์ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล อดีตเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
       นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน อดีตกรรมการชมรมแพทย์ชนบท ประธานมูลนิธิแพทย์ชนบท กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสส อดีตรองประธาน สสส คนที่ 2 ก่อนถูกปลดโดยมาตรา 44 อดีตกรรมการบอร์ด สปสช. อดีตประธานอนุกรรมการ พัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในระยะพึ่งพิง สปสช อดีตกรรมการในอนุกรรมการบริหารยุทธศาสตร์ สปสช อดีตกรรมการในอนุกรรมการพัฒนาสิทธิ ประโยชน์ฯ สปสช กรรมการบอร์ด สช. อดีตประธานบอร์ดองค์การเภสัชกรรม อดีตเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และรองประธานมูลนิธิเด็ก
       นายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท 2 สมัย อดีตเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรรมการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, กรรมการมูลนิธิสื่อสร้างสรรค์
       พญ.สุพัตรา ศรีวณิชชากร ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน องค์กรในสังกัด สวรส
       นายแพทย์วีระพันธุ์ สุพรรณไชยมาตย์ อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลขอนแก่น อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (บอร์ดสสส.) คนที่ 2
       นายแพทย์สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข อดีตรักษาการเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ) กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
       นายแพทย์ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท อดีตเลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค อดีตอนุกรรมการสิทธิมนุษยชน ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
       นายแพทย์ประทีป ธนกิจเจริญ อดีตรองเลขาธิการ สปสช. อดีตรักษาการเลขาธิการ สปสช
       นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ หัวหน้าโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ หรือ HITAP
       นายแพทย์ภูษิต ประคองสาย ผู้อำนวยการ สำนักการสาธารณสุขระหว่างประเทศ (IHPP)
       พญ.วัชรา ริ้วไพบูลย์ ผู้อำนวยการสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) หน่วยงานในสังกัด สวรส
       นายแพทย์เทียม อังสาชน อดีตผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งอยู่ภายใต้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์)
       ผศ. นพ. เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
       รศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชสังคมและบริหาร คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
       
       ทั้งนี้การเข้าเป็นสมาชิกบ้านสามพราน ตระกูล ส เป็นไปตามความสมัครใจและมีความสัมพันธ์กันอย่างไม่เป็นทางการ โดยที่มีการเข้าและออกจากบ้านสามพรานตามความสมัครใจของแต่ละบุคคล
       
       สมาชิกตระกูล ส นอกจากกลุ่มแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์แล้ว ยังมีองค์การเอกชน หรือ Non-government organization: NGO อีกเป็นจำนวนมาก ดังแสดงในตาราง เกณฑ์ในการรวบรวมข้อมูลคือ การมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับองค์การอิสระ ตระกูล ส ซึ่งน่าจะจัดว่าเป็นเครือข่ายกันได้ หรือมีการรับเงินจากหน่วยงานองค์การอิสระตระกูล ส และชื่ออยู่ในรายงานการตรวจสอบของสตง
       
       ทั้งนี้บุคคลที่มีชื่อในตาราง มิได้จำเป็นต้องเป็นสมาชิกตระกูล ส ทุกคน หลายคนเข้ามาอาสาช่วยงานด้วยความปรารถนาดีต่อประเทศชาติ และหลายคนก็มีความสัมพันธ์อันดีกับสมาชิกบ้านตระกูล ส หลายคนมาเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง จึงได้รวบรวมมานำเสนอไว้ให้ผู้อ่านได้พิจารณาตัดสินเอาเองว่าใครเป็นสมาชิกบ้านสามพราน ตระกูล ส กันบ้าง






อาจารย์ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
       สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
       สาขาวิชา Business Analytics and Intelligence
       คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
21 กรกฎาคม 2559
http://manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9590000072352

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
นายแพทย์สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ได้เขียนไว้ใน "จากสหพันธ์แพทย์ชนบท ถึงชมรมแพทย์ชนบทและมูลนิธิแพทย์ชนบท" เมื่อปี พ.ศ. 2530 มีข้อความตอนหนึ่งเล่าถึงต้นกำเนิดของมูลนิธิแพทย์ชนบทว่า

"........หลังจากตั้งชมรมแพทย์ชนบท มาได้ประมาณ 2 ปี พี่ ๆ ทั้งหลายที่ร่วมกันก่อตั้งก็มีความคิดกันขึ้นมาว่า น่าจะมีองค์กรที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย เพื่อรองรับงานต่าง ๆ ที่ชมรมกำลังทำอยู่ ประกอบกับมีการสนับสนุนทางความคิดและกำลังใจ จากผู้ใหญ่หลาย ๆ ท่าน อาทิเช่น อจ.นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว , อจ.นพ.ไพโรจน์ นิงสานนท์ , อจ.นพ.ประเวศ วะสี และพี่ปรีชา ดีสวัสดิ์ จึงได้เกิดการเคลื่อนไหวที่จะตั้ง "มูลนิธิแพทย์ชนบท" ขึ้น

ในการประชุมสมาชิกชมรมแพทย์ชนบทภาคอีสาน ที่เขื่อนลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา เมื่อปลายปี พ.ศ. 2523 ก็มีการประชุมจัดตั้งมูลนิธิขึ้นด้วย ที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับการจัดตั้งมูลนิธิแพทย์ชนบท และพี่มานิตย์ ประพันธ์ศิลป์ ประธานชมรมแพทย์ชนบทในขณะนั้นก็รับที่จะเป็นผู้ประสานงานในการก่อตั้งมูลนิธิแพทย์ชนบทขึ้น

ปัญหาสำคัญก็คือ การจัดหาทุนจดทะเบียนในระยะเริ่มแรกจำนวนอย่างน้อย 1 แสนบาท

ความดังกล่าว ทราบถึง ท่าน อจ.พญ.จินดาภา สายัณหวิกสิต อดีตอาจารย์แพทย์ที่ศิริราชซึ่งมีความรัก ความเข้าใจในแพทย์ชนบทอย่างมาก ท่านได้แสดงความจำนงที่จะบริจาคเงินจำนวน 1 แสนบาทเพื่อก่อตั้งมูลนิธิ การประสานการจัดตั้งมูลนิธิจึงได้ดำเนินการต่อไป จนกระทั่งสามารถจดทะเบียนตั้งมูลนิธิแพทย์ชนบทได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2525 โดยมี อจ.นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว เป็นประธานมูลนิธิ และพี่มานิตย์ ประพันธ์ศิลป์ เป็นเลขานุการ

หลังจากนั้นไม่ถึง 2 ปี

พี่มานิตย์ ประพันธ์ศิลป์ ตัวจักรสำคัญในการก่อตั้ง "สหพันธ์แพทย์ชนบท" "ชมรมแพทย์ชนบท" และ "มูลนิธิแพทย์ชนบท" ก็โอนไปรับราชการที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การดำเนินงานของมูลนิธิแพทย์ชนบทในระยะแรก ๆ ซึ่งเป็นระยะการก่อร่างสร้างตัว ยังมีกิจกรรมไม่มากนักเนื่องจากขาดทั้งเงินทุนและกำลังคน ในระยะแรกจึงเป็นไปในรูปการจัดหาทุนและสนับสนุนการจัดพิมพ์วารสาร และจุลสารของชมรมแพทย์ชนบท รวมทั้งจัดตั้ง "กองทุน นพ.กนกศักดิ์ พูลเกษร" เพื่อมอบรางวัลให้แก่แพทย์ที่ปฏิบัติงานในท้องถิ่นทุรกันดารและเสี่ยงภัย

งานในระยะต่อมา ได้ขยายกิจกรรมให้กว้างขึ้น โดยร่วมกับชมรมแพทย์ชนบท จัดทำทำเนียบแพทย์โรงพยาบาลชุมชน จัดหาทุนสนับสนุนโรงพยาบาลชุมชนในเขตทุรกันดารและเสี่ยงภัย จัดหาทุนเพิ่มเติมโดยการจัดพิมพ์บัตร ส.ค.ส.การติดต่อกับสมาคมแพทย์ไทยในสหรัฐอเมริกา และจัดทำโครงการพัฒนาอนามัยแม่และเด็ก ร่วมกับชมรมแพทย์ชนบท และแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย โดยการสนับสนุนของแพทยสมาคมแห่งสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการช่วยเหลือแพทย์ชนบทด้วย.............."

จากหลักฐานสำคัญคือ รายงานกาประชุมคณะกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบท ครั้งที่ 1/2525 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2525 ทำให้ทราบจุดกำเนิดของมูลนิธิแพทย์ชนบทที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนี้

".........ประธานได้แจ้งความเป็นมาของการก่อตั้งมูลนิธิว่า กรรมการก่อตั้งได้ประชาสัมพันธ์เรื่องมูลนิธิทางโทรทัศน์ช่อง 9 เมื่อต้นปี 2524 หลังจากนั้นก็ได้รับบริจาคเงินเพียงพอที่จะจดทะเบียนเป็นมูลนิธิ จึงได้ขออนุญาตจัดตั้งมูลนิธิจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้รับใบอนุญาตเลขที่ ต. 228/2524 ออกให้ ณ วันที่ 2 กันยายน 2524 จากนั้นจึงได้จดทะเบียนจากระทรวงมหาดไทยเพื่อให้มีฐานเป็นนิติบุคคล ซึ่งได้รับเลขทะเบียนจากกรุงเทพมหานคร ทะเบียนลำดับที่ 1719 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2525 มีคณะกรรมการเริ่มแรก 12 คน ............."

จึงถือได้ว่า วันเกิดที่แท้จริงของมูลนิธิแพทย์ชนบทคือ วันที่ 2 กันยายน 2524 ส่วนวันที่ 15 มีนาคม 2525 เป็นวันที่มูลนิธิแพทย์ชนบท ได้รับอนุญาตให้ตั้งเป็น "นิติบุคคล" ตามกฎหมาย

มูลนิธิแพทย์ชนบทได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ในตราสาร 4 ข้อ ดังนี้คือ

    เพื่อสนับสนุนการบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในชนบท
    เพื่อสนับสนุนการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขในชนบท
    เพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขในชนบท
    เพื่อส่งเสริมขวัญและกำลังใจของแพทย์ที่ปฏิบัติงานอยู่ในชนบท

ในช่วง 1 ปีแรกของการจัดตั้งมูลนิธิขึ้น มีความพยายามที่จะจัดทำโครงการต่าง ๆ เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ ได้แก่ โครงการสนับสนุนการดำเนินงานของโรงพยาบาลชุมชน โครงการเยี่ยมเยียนโดยแพทย์อาวุโส โครงการสนับสนุนงานวิจัยที่เกี่ยวกับโรงพยาบาลชุมชน และโครงการแก้ปัญหาฉุกเฉินในโรงพยาบาลชุมชน เป็นต้น แต่การดำเนินการจริงยังทำได้ไม่มากนัก เพราะมูลนิธิมีเงินทุนค่อนข้างน้อย ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าว ชมรมแพทย์ชนบทยังมีความคล่องตัวสูงในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามทิศทางเดียวกันนี้ มูลนิธิจึงยังไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก

สำหรับคณะกรรมการชุดก่อตั้ง 12 คน มี นพ.ปรีชา ดีสวัสดิ์ ทำหน้าที่เป็นเหรัญญิกและ นพ.มานิตย์ ประพันธ์ศิลป์ เป็นเลขานุการ โดยมี นายอรุณ บุญมาก ทำหน้าที่ช่วยงานเลขานุการและประสานงานเรื่องต่าง ๆ ในนามของมูลนิธิแพทย์ชนบทอย่างต่อเนื่องหลายปีติดต่อกัน โดยมี นางสาววารุณี เจนาคม เจ้าหน้าที่กองกลางเป็นผู้ช่วยอีกแรงหนึ่งมาโดยตลอด

ในปี 2537 มีการออกคำสั่งตั้งคณะกรรมการเพิ่มเติม เป็นการภายในอีก 3 คน คือ นพ.วิชัย โชควิวัฒน และ นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เป็นกรรมการ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ โดยตั้งให้ นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ เป็นกรรมการเดิม ทำหน้าที่เลขานุการแทน นพ.มานิตย์ ประพันธ์ศิลป์ ซึ่งโอนไปรับราชการที่ทบวงมหาวิทยาลัย

ในช่วงปี 2528 เป็นต้นมา งานเริ่มมีความเข้มข้นขึ้น มีการจัดตั้งกองทุนนายแพทย์กนกศักดิ์ พูลเกษร ขึ้น เพื่อมอบรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติแก่พทย์ชนบทที่ปฏิบัติงานด้วยความอดทน ตั้งใจ และเสียสละ ในเขตเสี่ยงภัยและทุรกันดารซึ่งโครงกานี้ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

นอกจากนั้นก็มีการจัดหาเงินสมทบทุนมูลนิธิด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น จัดทำทำเนียบแพทย์โรงพยาบาลชุมชนจำหน่าย จัดทำเทปเพลงหมอบ้านอกจำหน่าย และจัดพิมพ์ ส.ค.ส.จำหน่าย เป็นต้น

ในปี 2529 เริ่มีการอนุมัติทุนสนับสนุนการทำวิจัยเกี่ยวกับโรงพยาบาลชุมชน มีการบริจาคเงินให้โรงพยาบาลจัดหาครุภัณฑ์และจัดทำโครงการริเริ่มต่าง ๆ และผลักดันให้เกิดปาฐกถาพีร์ คำทอน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2529

ในปี 2530 - 2531 การดำเนินงานมีความเข้มข้นสูงสุด มีการตั้งกรรมการใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น ได้แก่ นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ (ซึ่งต่อมาทำหน้าที่เลขานุการต่อจาก นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ) นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ , พญ.สุพัตรา ศรีวณิชชากร , นพ.สุริยะ วงศ์คงคาเทพ และ นพ.ทรงกิจ อติวนิชยพงศ์ เป็นอาทิ

มีการขอรับบริจาคเงินจากแพทย์ไทยในสหรัฐอเมริกา ร่วมกับสมาคมแพทย์อเมริกาจัดทำดครงการวิจัยเพื่อพัฒนาการอยู่รอดของเด็กไทย ร่วมปฐมนิเทศแพทย์จบใหม่ สนับสนุนทุนวิจัยช่วยเหลือเกื้อกูลแพทย์ชนบท เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลชุมชนและครอบครัว ในกรณีประสบภัยต่าง ๆ

โครงการที่กล่าวได้ว่าประสบความสำเร็จค่อนข้างสูง คือ การเป็นองค์กรแกนกลางจัดวิ่งรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ทั่วประเทศเมื่อเดือนตุลาคม 2530 เพื่อขอประชามติสนับสนุนโครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กระตุ้นให้รัฐบาลเอาใจใส่และเข้ามาแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง

อีกโครงการหนึ่งที่ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาก็คือ โครงกาเยี่ยมแพทย์โรงพยาบาลชุมชน

ในแง่ของการบริหารงาน ได้มีการจัดทำ "แผนการดำเนินงานของมูลนิธิ ปี พ.ศ. 2530 - 2531" ขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อให้การทำงานเป็นระบบและชัดเจนมากขึ้น ซึ่งผู้มีส่วนสำคัญในการจัดทำและผลักดันแผนฉบับนื้คือ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ และ นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ โดยมี นพ.สุริยะ วงศ์คงคาเทพ เข้าทำหน้าที่ช่วยดูแลงานของมูลนิธิมากขึ้นด้วย มีผลทำให้มูลนิธิมีผลงานชัดเจนที่สุดในรอบ 12 ปีที่ผ่านมา

ในช่วงต่อมา การดำเนินงานของมูลนิธิฯ ค่อนข้างเงียบเหงาและซาลงไปมาก ทั้งนี้อาจด้วยเหตุผลปัจจัยหลายประการ ซึ่งเข้าได้กับหลักความจริงที่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีความความเปลี่ยแปรไปตามเหตุปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่มีสิ่งใดจะคงที่อยู่ได้ตลอดไป

อย่างไรก็ตาม ในช่วงปี พ.ศ. 2535 - 2536 ได้ นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ เข้ามาช่วยทำหน้าที่ดูแลกิจการบริหารทั่วไปของมูลนิธิฯ ทำให้การดำเนินงานปกติต่าง ๆ เป็นไปได้ด้วยความเรียบร้อย

ในช่วงปี พ.ศ. 2537 - 2540 มูลนิธิฯ ยังคงมี ศ.นพ. เสม พริ้งพวงแก้ว เป็นประธานกรรมการ แต่ได้มอบหมายให้ นพ.ไพโรจน์ นิงสานนท์ รองประธานกรรมการ ทำหน้าที่แทนค่อนข้างจะเต็มตัว มี นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เป็นเลขาธิการ นพ.ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ และ นพ.สมชัย วิโรจน์แสงอรุณ เป็นผู้ช่วยเลขาธิการ โดยมี นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ทำหน้าที่เหรัญญิก

ในช่วงนี้มูลนิธิฯ ได้รับเงินอุดหนุนองค์กรเอกชนจากกระทรวงสาธารณสุข ค่อนข้างต่อเนื่อง ทำให้มูลนิธิฯสามารถจัดทำโครงการ/กิจกรรมได้ค่อนข้างมาก แต่ส่วนใหญ่เป็นโครงการ/กิจกรรมที่ไม่ใหญ่มากนัก

ในช่วงนี้มูลนิธิฯมีการจัดระบบบริหารงานที่เป็นระบบชัดเจนยิ่งขึ้น มีการจัดทำแผนงานประจำปี มีการจัดระบบงานของสำนักงานมูลนิธิฯ โดยมอบหมายให้ นางวงเดือน จินดาวัฒนะ ทำหน้าที่หัวหน้าสำนักงานมูลนิธิ (แบบบางเวลา) และจ้างเจ้าหน้าที่ประจำ 1 คน

มูลนิธิแพทย์ชนบทได้ย้ายสำนักงานจากวังเทวะเวสม์ (กระทรวงฯเก่า) มาอยู่ที่สำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข ชั้น 3 อาคาร 4 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี

จากการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบท ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2540 มีการเลือกกรรมการทดแทนกรรมการที่ครบวาระจำนวนครึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด และมีการปรับเปลี่ยนกรรมการบริหารใหม่เป็นดังนี้

    นายแพทย์ไพโรจน์ นิงสานนท์ ประธานกรรมการ
    นายแพทย์มรกต กรเกษม รองประธานกรรมการ
    นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการ
    นายแพทย์บุญชัย สมบูรณ์สุข รองเลขาธิการ
    นายแพทย์พงศธร พอกเพิ่มดี รองเลขาธิการ
    นายแพทย์สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ เหรัญญิก
    นายแพทย์ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ รองเหรัญญิก

โดยมีศาสตราจารย์นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว เป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
สาส์นจากประธานมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 30 สิงหาคม 2016, 02:33:10 »
  มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติตั้งขึ้นด้วยความคาดหมายล่วงหน้า กล่าวคือเมื่อ 2 ทศวรรษที่แล้ว มูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์ โดย นายแพทย์สก็อต ฮอลสเตท รองผู้อำนวยการฝ่ายวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้ให้ทุนสนับสนุนกระทรวงสาธารณสุขตั้ง คณะกรรมการระบาดวิทยาแห่งชาติ ขณะนั้นคนไทย ได้ร่วมกันคิดสถานภาพขององค์กร ว่าควรอยู่ภายใต้ระบบราชการ หรือเป็นองค์กรอิสระ ทางฝ่ายร็อกกีเฟลเลอร์ ต้องการให้อยู่กับกระทรวงสาธารณสุข แต่คนไทยจำนวนหนึ่ง ซึ่งคิดว่าต่อไป จะไม่ยั่งยืน ได้ร่วมกันก่อตั้งมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติรองรับไว้ด้วย โดยความเห็นชอบ ของรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุข และปลัดกระทรวงสาธารณสุขในสมัยนั้น โดย นายแพทย์ไพโรจน์ นิงสานนท์ ดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิคนแรก และ นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เป็นเลขาธิการ

            เมื่อคณะกรรมการระบาดวิทยาแห่งชาติ ถูกมรสุมทางการเมือง โดยรัฐมนตรีท่านหนึ่งสั่งยุบ งานของคณะกรรมการ ระบาดวิทยาแห่งชาติก็โอนมาเป็นงาน ของมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ตามความคาดหมาย โดย คุณหมอจันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ เลขานุการคณะกรรมการ ระบาดวิทยาแห่งชาติ ได้เข้ามาทำงานมูลนิธิ ซึ่งมีความสำคัญยิ่งในการเปลี่ยนผ่านองค์กรงานทางด้าน สุขภาพ ในประเทศไทย ต้องนับว่ามีองค์กรอิสระหรือกึ่งอิสระมาทำงานมากกว่าสาขาอื่น ๆ เช่น คณะกรรมการระบาดวิทยาแห่งชาติ สวรส. สสส. สปรส. มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ สำนักงานหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ

            และมีการทำงานถักทอกันเป็นเครือข่าย ข้ามพรมแดนสาขาวิชา และพรมแดนของสถาบัน ทำให้อยู่ในฐานะที่จะผลักดัน การสร้างเสริมสุขภาพ ให้เกิดขึ้นแก่ปวงชนชาวไทย อันถือเป็นเรื่องยากอย่างยิ่งเรื่องหนึ่ง ฉะนั้นการเรียนรู้ที่จะจัดการ ตัวเราเอง จัดการความรู้ และจัดการองค์กร จึงเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง สำหรับการทำงานทุกเรื่อง    


            นายแพทย์ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล เป็นเลขาธิการก็ดีหรือนายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เลขาธิการคนปัจจุบันก็ดี ได้นำบทบาทของมูลนิธิ ไปในทางจัดการการวิจัยสร้างความรู้มากยิ่งขึ้น ในระยะหลัง สกว.ได้ขอให้มูลนิธิรับจัดการสนับสนุน การวิจัยสุขภาพ ในส่วนของ สกว.ให้ด้วย

            นายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เป็นผู้อำนวยการคนแรกของ สวรส. มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการจัดการการวิจัยมาก ที่สำคัญคือก่อให้เกิด ความศรัทธาและร่วมมือจากคนที่เป็นผู้นำในการวิจัยสุขภาพอย่าง นายแพทย์อารี วัลยะเสวี นายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา นายแพทย์ธาดา ยิบอินซอย นายแพทย์วิจารณ์ พานิช เป็นต้น กลุ่มคนเหล่านี้ทำให้มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติมีฐานะพิเศษอย่างหนึ่ง แต่ละคนแต่ละองค์กร จะมีฐานะหรือจุดแข็ง เฉพาะแตกต่างกัน และควรทำงานที่สอดคล้องกับจุดแข็งของตน ๆ มีผู้เสนอว่ามูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติควรทำในสิ่งที่คนอื่นทำไม่ได้ นั่นคือประสานความร่วมมือระหว่างสถาบัน ให้ทำงานในเรื่องยาก ๆ แต่สำคัญยิ่งสำหรับประเทศ ในกาลอันวิกฤตที่ประเทศไทย จะต้องรักษาดุลยภาพ ของตนเองไว้ให้ได้ ท่ามกลางกระแสความผันผวนกระแทกกระทั้น ทั้งจากภายใน และภายนอก จำเป็นที่คนไทยจะต้องตระหนักรู้ว่าใช้แต่ความเห็น แก้ปัญหาของประเทศไม่ได้ ต้องใช้ความรู้ การจัดการให้มีการสร้างความรู้ที่สอดคล้องกับปัญหา ทำความรู้ให้อยู่ในรูปใช้งานได้ ใช้ความรู้ให้ถูกต้อง ประเมินผลการใช้ความรู้ และนำผลไปปรับตัว อย่างต่อเนื่อง เป็นกระบวนการที่จะทำให้แก้ปัญหาได้จริง ในการนี้จำเป็นต้องมีบุคคล และหน่วยที่ทำงานความรู้เชื่อมโยง กันเป็นเครือข่ายเต็มสังคม เหมือนโครงสร้างสมอง หรือประดุจมีดวงดาวเต็มท้องฟ้า มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ เปรียบเสมือนเทียนดวงเล็ก ๆ ดวงหนึ่งเท่านั้น

            หน้าที่ของคนไทยทั้งหมด คือช่วยกันสร้างเทียนแห่งปัญญาให้มากดวง และเชื่อมต่อจูน คลื่นกันให้เกิดแสงเลเซอร์แห่งปัญญา เป็นพลังให้ประเทศไทยรักษาดุลยภาพไว้ได้ท่ามกลางกระแสวิกฤตดุลยภาพ คือปรกติภาพ สุขภาพ และความยั่งยืนขอให้ท่านมีความสุข และพลังสร้างสรรค์สิ่งดีงาม ให้บ้านเมืองของเรา

 

            ๑. ต้นทางของความคิดในการก่อตั้งมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติิ

            ในช่วงทศวรรษ ๒๕๒๐ ประเทศไทยต้องเผชิญทั้งปัญหาไฟสงคราม คือสงครามเวียตนามและกัมพูชา และปัญหาสาธารณสุขที่ต้นเหตุหลัก ของการเจ็บป่วยมิได้มาจากเชื้อโรคอีกต่อไป หากมาจากพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมลง และถือเป็นวิกฤตของสังคม ที่รัฐมิอาจแก้ไขได้เพียงลำพัง และมิใช่ด้วยการทุ่มงบประมาณลงไป หากต้องมาจากการใช้ความรู้และความร่วมมือ
ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๒๗-๒๕๒๙ มีการจัดตั้งองค์กรอิสระ ขึ้นหลายองค์กร ทั้งเพื่อเคลื่อนไหวสังคมและมุ่งจัดการความรู้ เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางปัญญา แก่สังคม โดยในด้านพัฒนาชนบทนั้น

             รัฐบาลไทยได้ร่วมมือกับองค์กรสนับสนุนความช่วยเหลือระหว่างประเทศของรัฐบาลแคนาดา (Canadian International Development Agency: CIDA) จัดตั้ง "กองทุนพัฒนาท้องถิ่นไทย-แคนาดา" (Local Development Assistance Program: LDAP) ขึ้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนองค์กร สถาบัน และกลุ่มต่างๆ ที่ดำเนินการด้านการพัฒนาท้องถิ่น ให้สามารถขยายขีดความสามารถที่เอื้อประโยชน์ต่อชุมชน ทั้งในระดับหมู่บ้าน ท้องถิ่นและประเทศโดยรวม ต่อมาได้ขยายบทบาทของกองทุนดังกล่าวให้เป็นสถาบันนิติบุคคล ภายใต้ซื่อว่า "มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา" พร้อมกับก่อตั้ง สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (สทพ.) เพื่อดำเนินงานต่อไป

            สำหรับองค์กรที่ทำการวิจัยเชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนการกำหนดนโยบายระยะยาว อันมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และเผยแพร่ผลงานวิจัย ต่อภาครัฐบาลและเอกชน และถือว่าเป็นสถาบันวิจัยเชิงนโยบายแห่งแรกของประเทศไทยคือ มูลนิธิเพื่อการพัฒนา ประเทศไทย ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ โดยความริเริ่มของสำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ มี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีขณะนั้น และ มร.ปิแอร์ ทรูโด นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศแคนาดา เป็นประธานร่วมในพิธีลงนาม ในข้อตกลง ให้ความช่วยเหลือเพื่อมอบทุนดำเนินการจัดตั้งสถาบันในระยะเริ่มแรก ในช่วงเวลาเดียวกันงานด้านสาธารณสุข ก็ได้มีการคิด เรื่ององค์กรอิสระ และเป็นกลางพอที่เชิญผู้เกี่ยวข้อง มาร่วมสร้างและพัฒนานโยบาย เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ในการพัฒนา สาธารณสุข

            ๒. จากผลึกแห่งความคิดสู่การจัดตั้งองค์กร

            ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๓๐ นายแพทย์ไพโรจน์ นิงสานนท์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ประเวศ วะสี พร้อมกลุ่มแพทย์และนักวิชาการทางด้านสุขภาพ มีความเห็นพ้องกันว่า ประเทศไทยควรมีหน่วยงานอิสระ ที่ทำหน้าที่ระดมสมอง ของฝ่ายต่าง ๆ โดยเน้นหนักในการพัฒนาส่วนที่เป็นนโยบาย เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในระบบสาธารณสุขของไทย จนเมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๓๑ ได้มีการประชุมร่วมกันของคณะผู้ก่อตั้ง เพื่อร่วมกันจัดทำตราสาร (ปัจจุบันเรียนว่า "ข้อบังคับ") และขออนุญาต ให้ดำเนินการจัดตั้ง ได้ไปยังคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และขออนุญาตจดทะเบียนโดยกรุงเทพมหานคร กระบวนการ ในการจัดตั้งมูลนิธิสาธาณสุข แห่งชาติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๓๔ รวมใช้เวลากว่า ๓ ปี

            ๓. พร้อมด้วยพลังสมอง แต่พร่องปัจจัยสนับสนุน

            ในช่วงเวลาเดียวกันของปี พ.ศ.๒๕๓๐ นั้นเอง มูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์ (Rockefeller Foundation) ซึ่งดำเนินโครงการระบาดวิทยานานาชาติ (International Clinical Epidemiology Network) ในหลายประเทศ อาทิ ประเทศเม็กซิโก, แอฟริกาใต้ ฯลฯ มีแนวคิดที่จะตั้งกรรมการระบาดวิทยา ขึ้นในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการใช้ทฤษฎี และความรู้ทางระบาดวิทยา ให้เป็นประโยชน์ แนวคิดนี้สอดคล้องกับแนวคิด ของการก่อตั้งมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ

            ประกอบกับในช่วงต้นของการก่อตั้งมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติยังไม่ได้งบประมาณสนับสนุนในการดำเนินงานจากองค์กรใด จึงมีแนวคิดที่จะเสนอให้มูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์ นำงบประมาณที่จะจัดตั้งคณะกรรมการระบาดวิทยาแห่งชาติ มาสนับสนุนการดำเนินงาน ของมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ โดยผู้ที่ทำหน้าที่ไปเจรจากับ นายแพทย์สก็อต ฮอลสเตท ผู้บริหารของมูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์ ก็คือ นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ และนายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ ณ โรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัล แต่ไม่สำเร็จ

             เนื่องจากวัตถุประสงค์หลัก ของโครงการ คือ การส่งเสริมการใช้ทฤษฎีและความรู้ทางระบาดวิทยา จึงต้องจัดตั้งคณะกรรมการ ระบาดวิทยาแห่งชาติ (The National Epidemiology Board of Thailand - NEBT) ขึ้นดำเนินงานตามวัตถุประสงค์นั้น โดยมี ศาสตราจารย์ นพ.ประเวศ วะสี ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการ

            อย่างไรก็ตาม การเดินหน้าหาทุนยังคงดำเนินต่อไป รวมถึงการเจรจากับผู้บริหารของโครงการ International Health Policy Program (IHPP) ที่ส่งเสริมนโยบายสาธารณสุขที่เกิดจากการวิจัยและการใช้ความรู้ อันตรงกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ แต่ก็ไม่สามารถได้งบประมาณเพื่อดำเนินการอย่างจริงจัง

           กิจกรรมของมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๖ จึงเน้นไปที่การร่วมทำงาน ร่วมวิจัย และจัดประชุม ที่มีความสำคัญ (เช่น การประชุมสมัชชาสาธารณสุขไทย ครั้งที่ ๑) กับหน่วยงานอื่น ๆ รวมทั้งคณะกรรมการระบาดวิทยาแห่งชาติ" …ไปร่วมกิจกรรมที่มุ่งเน้น การแก้ไขนโยบาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมของคณะกรรมการระบาดวิทยาแห่งชาติ เช่น นโยบาย เรื่องสมองไหล นโยบายเรื่องว่าควรจะมีวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีหรือไม่ เนื่องจากตอนนั้นไวรัสตับอักเสบบี ยังไม่ได้เข้ามาอยู่ในโปรแกรม การฉีดวัคซีน ของประเทศ การควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงเป็นในลักษณะไปร่วมมือกับฝ่ายอื่น ๆ ทำในเรื่องของการระดมสมองเป็นหลัก…" (บทสัมภาษณ์นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์)

   

             ๔. ยุคของการรวมตัว

             เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๖ มีการยุบคณะกรรมการระบาดวิทยาแห่งชาติ (ในช่วงเวลาต่อเนื่องกับการจัดตั้งสถาบันวิจัย ระบบสาธารณสุขที่พระราชบัญญัติมีผลใช้บังคับและมีการแต่งตั้งผู้อำนวยการคนแรกคือ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๓๕) จึงมีการโอนทั้งบุคลากร แผนการดำเนินงาน และงบประมาณ มาเป็นส่วนหนึ่งของมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
"…แนวคิดอาจารย์ประเวศก็คือ พอยุบคณะกรรมการระบาดวิทยา ส่วนของคณะกรรมการไม่ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของมูลนิธิฯ แต่มายุบเป็น THRI ขณะเดียวกันก็มีผู้ที่เกษียณอายุ ๒ ท่าน คือ อาจารย์หทัย และอาจารย์มรกต อาจารย์ประเวศมีแนวคิดในการทำงานว่า ต้องมีผู้ใหญ่ 1 คน คนหนุ่ม 1 คน ทำงานประกบกันในทุกเรื่อง จึงเกิดเป็น ๓ สถาบันดังชื่อที่ประตูทางเข้า คือของอาจารย์หทัยชื่อสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย ของอาจารย์มรกตคือสถาบันวิชาการเพื่อการคุ้มครอง ผู้บริโภคด้านสุขภาพ …"(สัมภาษณ์ นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์)

             จากแนวคิดดังกล่าว มูลนิธิสาธารสุขแห่งชาติได้จัดตั้ง "สถาบันวิจัยสาธารณสุขไทย - สวสท. (Thailand Health Research Institute -THRI)" เป็นองค์กรในกำกับในช่วงหลังจากการยุบคณะกรรมการระบาดวิทยาเพียง ๒ เดือน เพื่อทำงานสำคัญที่ต่อเนื่องจากคณะกรรมการ ระบาดวิทยาแห่งชาติ โดยมี ศ.นพ.ประเวศ วะสี เป็นประธานคนแรก และมี พญ.จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ (เป็นผู้ทำงานหลักคนหนึ่ง ในการผลักดันงานของคณะกรรมการระบาดวิทยา) เป็นตัวหลักในการดูแลงานของสถาบันฯ ซึ่งรวมไปถึงการดูแลงาน ของมูลนิธิสาธารณสุข แห่งชาติในภาพรวมอีกด้วย เมื่อ ศ.นพ.ประเวศ วะสี เป็นประธานมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ศ.นพ.อารี  วัลยะเสวี ได้มาทำหน้าที่ประธาน สวสท. โดยมี รศ.นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล เป็นเลขานุการ

อีกเกือบครบขวบปีหลังจากการจัดตั้ง สวสท. ก็ได้มีการจัดตั้งอีก 2 สถาบัน คือ
-สถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย - สสท. (Thailad Health Promotion Institute-THPI) โดยมี นพ.หทัย ชิตานนท์ ประธาน และ คุณภัทรา จุลวรรณา เป็นเลขานุการ สสท. อีกทั้งมี อาจารย์ลักษณา เติมศิริกุลชัย ร่วมทำงานอย่างเข้มแข็ง

- สถาบันวิชาการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ - สวคส. (Institute of Health Consumer Protection - IHCP) โดยมี นพ.มรกต กรเกษม ประธาน และ นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ เป็นเลขานุการ

             ๕. จากเลขาธิการคนแรกสู่คนปัจจุบัน

             หลังจาก นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ทำหน้าที่เป็นเลขาธิการของคณะผู้ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๐ เป็นต้นมาจนได้จัดตั้ง ตามกฎหมายเป็นเลขาธิการ ถึงต้นปี พ.ศ.๒๕๓๖ จึงได้โอนงานในบทบาทของเลขาธิการให้แก่ พญ.จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ และมีผู้รับหน้าที่เลขาธิการต่อ ๆ กันมา คือ นายแพทย์สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ (เมย. ๒๕๓๙ - พย.๒๕๓๙) นายแพทย์ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล (พย.๒๕๔๐ ถึง เมย.๒๕๔๒) และนายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ (๑๑ เมษายน ๒๕๔๓ จนถึงปัจุบัน)

 

             ๑. ภารกิจเปลี่ยน แต่ความมุ่งมั่นคงเดิม

            ภารกิจในระยะแรกของการจัดตั้งมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ คือ การร่วมจัดเวทีวิชาการ เพื่อผลักดันนโยบายในด้านกว้าง ไม่ได้ลงลึกในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่เมื่อมีการจัดตั้ง สถาบันวิจัยธารณสุขไทย จึงมีการดำเนินการด้านการวิจัย เช่น วิจัยการพัฒนาระบบ สาธารณสุข วิจัยโรคติดต่อ วิจัยอนามัยสิ่งแวดล้อม วิจัยโรคไม่ติดต่อ โดยการสร้างเครือข่าย วิชาการ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ

             มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ มีการปรับเปลี่ยนทิศทางภารกิจในยุคที่ นายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศม์ เป็นเลขาธิการ ไปสู่ภารกิจใน ๓ ด้าน คือ การจัดการงานวิจัย การจัดการความรู้ และการสื่อสาร โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการสร้างสังคมบนฐานความรู้เพื่อสุขภาพ" (Knowledge -based Society for Health) โดยงานในบางส่วนลงลึกในเรื่องงานวิจัย ด้านคลินิกวิทยามากขึ้น อาทิ สนับสนุนการวิจัยเรื่องโรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคไข้เลือดออก โรคธาลัสซีเมีย โรคกระดูพรุน เป็นต้น หากแต่ยังให้ความสำคัญกับการวิจัยในเชิงนโยบาย เช่น โครงการชีวจริยธรรม โครงการพัฒนาระบบวิจัยของประเทศ เป็นต้น

            ในช่วงปี พ.ศ.๒๕๔๔ เป็นต้นมามูลนิธิสาธาณณสุขแห่งชาติ โดยได้รับการสนับสนุน จากองค์กรให้ทุน เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ศูนย์พันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยีแห่งชาติ (ไบโอเทค) องค์การอนามัยโลก ฯลฯ
   

มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ดำเนินการจดทะเบียน เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ โดยกำหนดวัตถุประสงค์สำคัญ ๆ ประกอบด้วย
1. สนับสนุนการประชุมและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อให้ได้ข้อยุติในนโยบายสำคัญ ๆ ที่มีผลต่อการพัฒนาสาธารณสุขของชาติ
2. สนับสนุนให้เกิดการตระหนักถึงความสำคัญในการใช้วิจัยสาธารณสุขเพื่อพัฒนาระบบงานและบริการสาธารณสุข
3. ส่งเสริมและฝึกอบรมให้เกิดผู้เชี่ยวชาญในด้านเสริมสร้างสุขภาพดีถ้วนหน้า ทั้งในและนอกประเทศ
4. เพื่อดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์ หรือร่วมมือกับองค์การการกุศลอื่น ๆ เพื่อสาธารณสุขประโยชน์
5. ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด

เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๕ คณะกรรมการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติได้มีมติให้ทบทวนและแก้ไขวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ เพื่อให้การดำเนินงานของมูลนิธิได้สร้างประโยชน์ต่อสังคมมากขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. บริหารจัดการเพื่อให้เกิดการสร้างความรู้ และใช้ความรู้ในการพัฒนาระบบ
2. สุขภาพในเรื่องที่มีความสำคัญสูง
3. สนับสนุนให้สังคมและกลุ่มต่าง ๆ ในระบบสุขภาพ ตระหนักและให้ความสำคัญในการใช้ความรู้เพื่อประกอบการตัดสินใจ การวางแผน และการดำเนินงาน
4. ส่งเสริมและฝึกอบรมให้เกิดผู้มีความรู้ความชำนาญในการบริหารจัดการเพื่อสร้างระบบสุขภาพที่อยู่บนฐานของความรู้ ทั้งในและต่างประเทศ
5. ดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์ โดยร่วมมือกับองค์การกุศลอื่น ๆ ที่มีเป้าหมายสาธารณประโยชน์
6. ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด

             ๒. สองภารกิจสำคัญ

            จัดเวทีเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับสาธารณชนและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะในแต่ละเรื่อง โดยใช้องค์ความรู้เป็นตัวกลางในการสื่อสาร สร้างเครือข่ายและร่วมมือกับหน่วยงานและองค์กรต่างๆ เพื่อร่วมสร้างและร่วมใช้ประโยชน์จากความรู้




่่่j.joo

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 9
    • ดูรายละเอียด
Re: ตระกูล ส คือใคร?
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 06 กันยายน 2016, 11:04:59 »
เพิ่งจะรู้นะเนี้ย ขอบคุณมากๆ
แทงบอลออนไลน์กันดีกว่า แทงบอลฟรี ได้เงินอีก
แทงบอลออนไลน์