ผู้เขียน หัวข้อ: สมุดปกขาว ติดตามความเป็นไปของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  (อ่าน 1720 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
บทนำ ทำไมต้องเขียนสมุดปกขาว
เมื่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช.ได้ออกคำสั่งที่ 19 /2558 ตามม.44 ของรัฐธรรมณูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2557 ให้นพ.วินัย สวัสดิวรเลขาธิการสปสช.หยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวและให้ย้ายมาปฏิบัติงานที่กระทรวงสาธารณสุขทำให้มีกระแสข่าวว่าจะมีการล้มระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า(ระบบ 30 บาทหรือบัตรทอง) และแม้ว่านายกรัฐมนตรีจะออกมายืนยันว่าไม่ล้ม แต่ต้องการปรับปรุงระบบ(1) แต่ก็ยังมีการส่งข้อมูลผ่านทางโซเชียลมีเดียว่าจะมีการล้มบัตรทอง และผู้เขียนเอง ได้ถูก “กล่าวหาว่าจะล้มบัตรทองด้วย” โดยมีการเอารูปของผู้เขียนเผยแพร่ไปใน facebook ว่าโฉมหน้าคนใจดำ คนที่จะยื่นเรื่องล้ม 30 บาท

ผู้เขียนได้รับรูปนี้มาจากเพื่อนส่งมาให้ว่า ผู้เขียนถูกโจมตีว่าเป็นคนใจดำ ไม่สงสารชาวบ้านตาดำๆ เพราะผู้เขียนไปยื่นล้ม 30บาท ผู้เขียนก็ไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก เพราะผู้เขียนรู้อยู่แก่ใจว่ามันไม่ใช่ความจริง
แต่อาจจะมีอีกหลายคนที่เข้าใจผิดและหลงเชื่อตามข่าวที่จงใจใส่ร้ายป้ายสีว่าผู้เขียนเป็นผู้ไปยื่นให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข “ล้มระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” ผู้เขียนจึงต้องมาเขียนบทความเพื่อชี้แจงเรื่องนี้ เพื่อชี้แจงให้ประชาชนทุกคนได้ทราบว่า ผู้เขียนไม่ได้ไปยื่นให้ “ล้ม 30 บาท”

เรียกว่าจะเขียนสมุดปกขาว บอกเล่าความเป็นมาและเป็นไปของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตั้งแต่ยุคก่อตั้งมาจนถึงยุคปัจจุบัน ตามเอกสารและหลักฐานที่จะพึงค้นคว้าหามาได้ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และคาดการณ์ในสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นจากผลพวงของการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ความจริงที่เกิดขึ้นก็คือ ผู้เชียนและสมาชิกกลุ่ม “พิทักษ์สิทธิพลเมือง” ได้เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี และได้ไปยื่นข้อเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในฐานะที่ดำรงตำแหน่งเป็น “ประธานกรรมการหลักประกันสุชภาพแห่งชาติ”( หรือเรียกกันเพื่อความเข้าใจง่ายๆว่า เป็นประธานบอร์ดสปสช.) ว่า "ขออย่าเลือกบุคคลที่ถูกปปท.ชี้มูลว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตประพฤติมิชอบเป็นเลขาธิการสปสช.คนใหม่"

ทั้งนี้ผู้เขียนและสมาชิกกลุ่มพิทักษ์สิทธิพลเมืองได้แถลงข่าว เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2559 ที่ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (2)และได้ไปยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ว่าขอให้ไม่เลือกบุคคลที่ปปท.ชี้มูลว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตเป็นเลขาธิการสปสช.

หลังจากนั้นในวันที่ 3 กรกฎาคม 2559(3) นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสปสช. และเป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อจากกรรมการสรรหาให้กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติรับรองว่าจะให้เป็นเลขาธิการสปสช.หรือไม่ ก็ได้แถลงข่าวว่า ผู้เขียนและพวกออกมาให้ข่าวที่ไม่จริง อ้างว่าคณะกรรมการติดตามตรวจสอบไม่พบการทุจริต

แต่นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ ได้ยอมรับเองแล้วว่า “คณะกรรมการตรวจสอบ ได้ชี้ว่ามีการใช้เงินไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ.ศ. 2545 เท่านั้น”

ผู้เขียนก็เลยมีคำถามว่า การใช้เงินไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ ถือว่าเป็นการ “ประพฤติมิชอบหรือไม่?” ถือเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจนทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน กล่าวคือทำให้งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีเหลือไปสำหรับใช้ในการรักษาผู้ป่วยน้อยลง และยังมีประเด็นชี้แจงว่า(3) สปสช.ไม่ได้ซื้อยาจากบริษัทเอกชน แต่ซื้อจากองค์การเภสัชกรรมเท่านั้น และไม่ได้รับผลประโยชน์จากเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐ รวมทั้งไม่ได้รับเงินจำนวน 169 ล้านบาทที่โอนไปจากสปสช.ไปให้สวรส.แล้วรองเลขาธิการสปสช.ก็ไปรับงบประมาณนี้จากสวรส. และอื่นๆตามรายละเอียดของข่าว และได้ดำเนินการฟ้องผู้เขียนที่ศาลจังหวัดนนทบุรีเป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.2496/2559 ไปแล้วนั้น

ซึ่งการชี้แจงของนพ.ประทีป ธนกิจเจริญก็คงต้องเก็บไว้ไปชี้แจงที่ปปช.ต่อไป

ส่วนคณะกรรมการสอบสวนและตรวจสอบที่นายกรัฐมนตรีตั้งขึ้นมาก็มีหลายคณะ จะมีผลการตรวจสอบอย่างไรผู้เขียนก็ยังไม่ทราบ สิ่งที่เราทราบก็มีตามที่แหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือของปปท.ได้บอกเราเท่านั้น

ผู้เขียนก็ยืนยันว่า กลุ่มเราได้รับการบอกกล่าวจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือในปปท.จริงว่า ได้ทำการสอบสวนกรณีทุจริตประพฤติมิชอบในการบริหารงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยผู้รับผิดชอบในการบริหารสปสช.ได้ถูกชี้มูลว่ามีความผิดและปปท.จะสรุปเรื่องนี้ส่งให้สำนักงานปปช.ดำเนินการสอบสวนตามกฎหมายต่อไป

ส่วนกรณืที่ผู้เขียนถูกฟ้องในคดีอาญาข้อหาหมิ่นประมาทโดยนพ.ประทีป ธนกิจเจริญนั้น ผู้เขียนก็ไม่ได้หนักใจอะไร เพราะเราได้ทำการแนะนำหรือให้ความเห็นต่อผู้มีอำนาจในการบริหารบ้านเมืองคือท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสธารณสุขในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพว่า “โปรดอย่าเลือกคนที่มีข้อครหาหรือน่าสงสัยว่าจะไม่มีความสุจริต มามีอำนาจในการบริหารสำนักงานที่มีงบประมาณสูงปีละเกือบ 2 แสนล้านบาท” นั้นเป็นการกระทำของผู้เขียนในฐานะพลเมืองดีที่ได้ให้ความเห็นโดยบริสุทธิ์ใจ และทำเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการและประชาชน เพื่อรักษางบประมาณแผ่นดินในกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการรักษาประชาชนที่เจ็บป่วยทุกบาททุกสตางค์ โดยไม่ตกไปเป็นผลประโยชน์ของผู้ใดหรือเฉพาะหมู่คณะใดเท่านั้น

ผู้เขียนมิได้ทำการนี้ เนื่องจากมีความโกรธเคืองต่อใครเป็นการส่วนตัว และผู้เขียนเองก็ไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนใดๆทั้งสิ้น มีแต่จะถูกใส่ร้ายป้ายสีว่าเป็นผู้จะ “ยื่นล้มระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” รวมทั้งต้องขึ้นโรงขึ้นศาลเพื่อสู้คดีที่ไม่ใช่เพื่อตนเอง แต่เพื่อประโยชน์ของสาธารณชนทั้งสิ้น

นอกจากการถูกฟ้องร้องแล้ว ผู้เขียนก็ยังถูกใส่ร้าย โดยการถูกกล่าวหา โดยไม่มีมูลความจริงว่าผู้เขียนเป็นคนใจดำ ไม่สงสารประชาชนตาดำๆ เพราะเป็นคนไปยื่นล้ม 30บาทอีกด้วย

ผู้เขียนคือพญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา จึงต้องเขียนสมุดปกขาว เพื่อบอกเล่าเหตุการณ์ว่า ทำไมจึงมีการกล่าวหาว่าผู้เขียนจะล้ม 30 บาท และมีคนอื่นอีกหรือไม่ที่ถูกกล่าวหาว่าจะล้ม 30 บาทแบบเดียวกันนี้ และใครบ้างที่เป็นผู้กล่าวหา

Churdchoo Ariyasriwatana
August 28

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
ในตอนที่2 ของการเล่าเรื่องขบวนการกล่าวหาว่าจะมีการล้มบัตรทองนั้น มีคำถามสำคัญอยู่ 5 คำถามที่ผู้เขียนพยายามจะหาคำตอบสำหรับคำถามนั้นๆโดยสังเขปดังนี้คือ
1.ใครบ้างที่ถูกกล่าวหาว่าจะล้ม 30 บาท?
2.ใครบ้างที่เป็นผู้กล่าวหาว่าจะมีคนล้มระบบ 30 บาท?
3.ขบวนการโจมตีว่าจะมีการล้มบัตรทองเกิดขึ้นเมื่อใดบ้าง?
4.มีการวางแผนจะล้มระบบ 30 บาทจริงหรือ?
5.ทำไมจึงมีการกล่าวหาว่าจะล้ม 30 บาท?

คำถามที่1 ว่ามีใครบ้างที่ถูกกล่าวหาว่าจะล้ม 30 บาท นั้น คำตอบหาได้จากข่าวและข้อมูลได้จาก google ซึ่งส่วนมากผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าจะล้ม 30 บาท ได้แก่รัฐบาลหรือนายกรัฐมนตรีที่กำลังบริหารประเทศอยู่ในขณะที่มีการกล่าวหานั้น รวมทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุขและกลุ่มบุคลากรสาธารณสุขที่เห็นด้วยกับการดำเนินการของรัฐบาลในยุคนั้น
เช่นในกรณีของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช.ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 สั่งย้ายนพ.วินัย สวัสดิวรออกจากการทำหน้าที่เลขาธิการสปสช. เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2558 ก็มีผู้กล่าวหาในทันทีว่านายกรัฐมนตรีจะล้มระบบ 30 บาท
โดยมีการกล่าวหาว่าผู้ที่ออกมาแสดงการสนับสนุนคำสั่งหรือแนวคิดของนายกรัฐมนตรี ก็จะถูกจัดเข้าเป็นกลุ่มผู้ที่จะล้ม 30บาทด้วย ได้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและกลุ่มบุคลากรสาธารณสุข รวมทั้งประธานกรรมาธิการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์
นอกจากนั้น ใครก็ตามที่แสดงความเห็นคัดค้านกลุ่มตระกูลส. ไม่ให้เข้ามามีอำนาจในการบริหารสำนักงานในตำแหน่งเลขาธิการสปสช. เช่นตัวผู้เขียนเรื่องนี้ ที่ได้ไปยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และเขียนจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรีว่า ขออย่าเลือกคนที่มีข้อครหาเรื่องการทุจริตประพฤติมิชอบตามการชี้มูลของปปท.มาเป็นเลขาธิการสปสช. ก็ถูกกล่าวหาทันทีว่าเป็นคนไปยื่นเรื่องให้ล้ม 30 บาท

นายวิทยา บุรณศิริ เมื่อครั้งยังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและประกาศให้กลับมาเก็บเงินค่าบริการสาธารณสุขจากประชาชนครั้งละ 30 บาทอีก ก็ถูกโจมตีว่าจะล้ม 30 บาท และเมื่อจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ก็ถูกโจมตีว่าจะล้มระบบ 30บาทด้วยเช่นกัน
สรุปก็คือ ถ้าผู้บริหารราชการแผ่นดินในขณะใด ต้องการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการบริหารจัดการของสปสช.ออกจากกลุ่มอำนาจในการบริหารสปสช.(คนที่คุณก็รู้ว่าคือกลุ่มชมรมแพทย์ชนบทหรือกลุ่มสามพรานฟอรั่มหรือกลุ่มสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา) ก็จะถูกใส่ร้ายหรือถูกโจมตีว่าเป็นผู้ที่จะล้มระบบ 30 บาทจากกลุ่มผู้บริหารสปสช.และพรรคพวก

ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่า ผู้บริหารสปสช.และพรรคพวกหรือคนที่สนับสนุน ก็จะไม่พอใจ เพราะกลัวว่าอำนาจการบริหารสปสช.จะถูกเปลี่ยนมือไปนอกกลุ่มตน ก็จะออกมาใส่ร้ายหรือโจมตีคนที่จะมีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงนั้น โดยเบี่ยงเบนประเด็นว่า รัฐบาลหรือรัฐมนตรีต้องการล้มระบบหลักประกันสุขภาพ
ทั้งนี้เพื่อแสดงว่ากลุ่มตระกูลส. รักประชาชน และกำลังต่อสู้รักษาสิทธิในระบบ 30 บาท เพื่อประชาชน
แต่เนื้อแท้แล้วคนที่ออกมาโจมตีว่าจะมีการล้มระบบ 30 บาท น่าจะมีสาเหตุมาจากการที่พวกเขารักตัวเอง อยากให้กลุ่มตัวเองมีอำนาจในการบริหารสปสช.ต่อไปเพื่อผลประโยชน์ในการมีอำนาจในการใช้เงินแผ่นดิน โดยอ้างผลประโยชน์ประชาชนบังหน้า

คำถามที่ 2 ใครบ้างที่เป็นผู้กล่าวหาว่าจะมีคนล้มระบบ 30 บาท
รายชื่อผู้ที่ออกมาให้ข่าวว่าจะมีการล้มระบบ 30 บาทก็ค้นหาได้ไม่ยากเช่นเดียวกัน ได้แก่
1.กลุ่มสส.พรรคเพื่อไทย และกลุ่มคนเสื้อแดง
2. กลุ่มตระกูลส.ที่ผูกขาดอำนาจในการบริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)มาตลอดเวลานับจากการอุบัติขึ้นของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในปีพ.ศ. 2545
3.กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
4. ชมรมแพทย์ชนบท
5.เครือข่ายสุขภาพ
6.คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในรัฐบาลนายกรัฐมนตรี นายทักษิณ ชินวัตร
7.ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ

ทั้งนี้มีเรื่องราวและข้อมูลของผู้ที่กล่าวหาว่าจะมีการล้มระบบหลักประกันสุขภาพอยู่อย่างชัดเจนตามเอกสารอ้างอิงเพื่ออ่านประกอยได้หลากหลายมาก ที่ผู้เขียนยกมาอ้าง นับเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น

คำถามที่ 3 การโจมตีว่าจะมีการล้มบัตรทองเกิดขึ้นเมื่อไหร่?
จะสังเกตุว่า มีการสร้างกระแสว่าจะมีการล้มบัตรทอง ในขณะที่มีการคัดเลือกกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ดผู้ทรงคุณวุฒิ) หรือการสรรหาเลขาธิการสปสช.คนใหม่ หรือเมื่อนายกหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขจะเปลี่ยนแปลงระบบการเงิน เช่น นายวิทยา บุรณศิริ จะสั่งให้สปสช.เก็บเงินค่าบริการสาธารณสุข หรือจะเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในปีพ.ศ. 2555
หรือนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชาสั่งย้ายเลขาธิการสปสช. หรือเสนอจะให้ประชาชนร่วมจ่าย รวมทั้งนพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร ในฐานะประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ยอมรับมติกรรมการบอร์ดไม่รับรองนพ.ประทีป ธนกิจเจริญให้เป็นเลขาธิการสปสช.คนใหม่ในปีพ.ศ. 2559 ก็จะถูกโจมตีว่าเป็นผู้จะล้มหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ส่วนตัวผู้เขียนเรื่องนี้ ก็ถูกกล่าวหาว่าจะล้มระบบ 30บาททั้งในปีพ.ศ. 2555 และปีพ.ศ. 2559 เพราะได้แสดงความเห็นสนับสนุนรัฐมนตรีวิทยา บุรณศิริในการที่จะเก็บเงินค่าบริการจาประชาชนที่ไม่ยากจน เพื่อให้มีงบประมาณเพิ่มขึ้นในระบบ และผู้เขียนก็ถูกใส่ร้ายว่าเป็นคนไปยื่นล้ม 30บาท ทั้งๆที่ความจริงนี้นผู้เขียนไปยื่นเรื่องว่า ขอร้องรัฐมนตรีอย่าเลือกคนที่ถูกปปท.ชึ้มูลว่าทุจริตประพฤติมิชอบไปเป็นเลขาธิการสปสช.เท่านั้น

คำถามที่ 4 มีการวางแผนจะล้มระบบ 30 บาทจริงหรือ?
คำตอบก็คือ ทั้งนายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในปี 2555 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน และนพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนปัจจุบัน ต่างก็ได้ปฏิเสธว่าจะไม่มีการล้มระบบ 30 บาท เพียงแต่ต้องการเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ขจัดการทุจริตประพฤติมิชอบ เพื่อให้ประชาชนได้รับการรักษาพยาบาลที่ได้มาตรฐาน และสามารถพัฒนาให้ระบบการบริการสุขภาพมีคุณภาพมาตรฐาน และระบบหลักประกันสุขภาพมีความยั่งยืน มีงบประมาณเพียงพอ เพื่อคุณภาพการรักษาผู้ป่วยให้มีมาตรฐานในระดับสากลต่อไป
ในส่วนของผู้เขียนในนามสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย(สผพท.)ที่ถูกกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพใส่ร้ายว่าจะล้มระบบ 30 บาท ในปีพ.ศ. 2555 ก็ได้ฟ้องกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในข้อหาหมิ่นประมาท และในปีพ.ศ.2559 ผู้เขียนก็ถูกใส่ร้ายว่าเป็นผู้ไปยื่นล้ม 30 บาท และผู้เขียนก็ถูกนพ.ประทีป ธนกิจเจริญฟ้องศาลในข้อหาหมิ่นประมาท คังกล่าวมาแล้วในตอนที่ 1

คำถามที่ 5 ทำไมจึงมีการกล่าวหาว่าจะล้ม 30 บาท
คำตอบก็น่าจะเป็นเพราะกลุ่มคนที่มีอำนาจบริหารสปสช.อยู่ กลัวว่าการเปลี่ยนแปลงใดๆในการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จะทำให้พวกเขา “หลุดจากวังวนอำนาจ” และหมดโอกาสที่จะได้รับผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งกินตามน้ำหรือการทุจริตประพฤติมิชอบ จึงต้องหาทางที่จะไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ เพื่อรักษาเก้าอี้และอำนาจในการบริหารกองทุนของกลุ่มตนไว้ และการที่จะหาเสียงจากประชาชนมาสนับสนุนการกล่าวอ้างว่าจะมีการล้ม 30 บาท ก็เพื่อจะให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าจะสูญเสียสิทธิในการรักษาฟรี แต่สปสช.ไม่เคยพูดถึงว่าการรักษาฟรีนั้นมีคุณภาพมาตรฐานหรือไม่
นอกจากนั้นผู้ที่ผสมโรงกล่าวหาว่าจะมีการล้มระบบ 30 บาท อาจจะเป็นกลุ่มการเมืองที่อยู่ตรงข้ามกับรัฐบาล เช่นสส.พรรคเพื่อไทยหรืออดีตรมต.สาธารณสุขเช่นคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หรือคนที่ “หลงเชื่อ”ว่าความขัดแย้งในระบบสาธารณสุขเกิดขึ้นเนื่องจากมีการทะเลาะกันของหมอ 2 กลุ่มในระบบสปสช.กับหมอในกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากเขาไม่เข้าใจข้อเท็จจริงของการบริหารระบบ 30 บาท หรืออาจสนิทสนมกันเป็นการส่วนตัว หรือมีผลประโยชน์ร่วมหรือได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกลุ่มตระกูลส. เช่นดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ เป็นต้น

จากการติดตามการทำงานของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมาตั้งแต่เริ่มต้น จะเห็นได้ว่าคณะผู้บริหารกองทุนได้แก่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้น มีอยู่หลายคนที่เป็นกรรมการ(บอร์ด) อยู่หลายปี กล่าวคือเข้ามาเป็นกรรมการจนครบ 2 วาระติดต่อกัน เมื่อกฎหมายกำหนดให้เป็นกรรมการได้ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน คนๆนั้นก็จะเปลี่ยนไปเป็น กรรมการควบคุมคุณภาพมาตรฐานอีก 2 วาระติดต่อกัน และยังมีตำแหน่งเป็นอนุกรรมการอีกหลายคณะ และกลุ่ม บุคคลเหล่านี้ ล้วนเป็นกลุ่มคนที่เคยเป็นกรรมการในสำนักงานอิสระตระกูลส. เช่นสวรส. สสส. สปสช. สช. สพฉ. ฯลฯ รวมทั้งเป็นแกนนำในกลุ่มสามพรานฟอรั่ม แกนนำในเครือข่ายพํฒฯศักยภาพผู้นำสร้างสุขภาวะ หรือกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกลุ่ม NGO สาธารณสุขแทบทั้งสิ้น

จึงเห็นได้ว่า เมื่อมีการกล่าวหาว่าจะล้มระบบ 30บาทนั้น มักจะเกิดกระแสนำมาก่อนจากบุคลในกลุ่มตระกูลส. หรือกลุ่มคน(อ้าง)รักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือคนที่สนับสนุนหรือได้รับการแบ่งปันผลประโยชน์จากเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือคนที่ไม่รู้ทันความคิดของกลุ่มตระกูลส. เช่นดร.ปราโมทย์ นาครทรพร ที่หลงเชื่อกลุ่มตระกูลส. เพราะหลงเชื่อว่าคนเหล่านี้เป็นคนดี และการขัดแย้งกันเกิดขึ้นเพราะหมอสองกลุ่มต้องการแก่งแย่งกันบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพไม่พยายามหาข้อมูลว่า สาเหตุแห่งการขัดแย้งส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะการขาดธรรมาภิบาลในการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพของสปสช. ที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหาราชการของกระทรวงสาธารณสุข ทำให้เกิดความเสียหายต่อมาตรฐานการรักษาผู้ป่วย โดยมีการแอบแฝงหาผลประโยชน์จากกองทุนหลักประกันสุจภาพแห่งชาติ มาอย่างยาวนาน ฉะนั้นเมื่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาประกาศจะปราบคอรัปชั่น กลุ่มบุคลากรสาธารณศุขจึงเห็นเป็นโอกาสดีที่จะกวาดล้างการทุจริตประพฤติมิชอบและการคอรัปชั่นออกจากระบบ 30บาทและจากองค์กรตระกูลส. และท่านนายกฯก็คงจะได้รับรู้เบาะแสหรือเส้นทางการทุจริตคอรัปชั่นที่น่าเชื่อถือได้ว่ามีมูล จึงได้สั่งย้ายเลขาธิการสปสช.ออกไป
แต่คนที่ถูกสั่งย้ายโดยมาตรา 44 มีหลายคน แต่ทำไมจึงมีประเด็นขัดแย้งจนโยงใยไปถึงการจะล้มระบบ 30 บาทไปเฉพาะในกรณีย้ายเลขาธิการสปสช.เท่านั้น และเบี่ยงเบนประเด็นไปโจมตีทั้งคนสั่งย้ายและคนที่เห็นด้วยกับการสั่งย้าย ว่าจะล้มระบบ ไม่เหมือนการสั่งย้ายบุคคลอื่นๆ เช่นการสั่งย้ายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ก็ไม่เห็นจะมีใครไปเบี่ยงเบนประเด็นว่านายกรัฐมนตรีจะล้มระบบการปกครองท้องถิ่นในระบบผู้ว่ากทม.เลย
น่าสนใจไหมว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนี้?

Churdchoo Ariyasriwatana
29 สค 2559

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
สมุดปกขาว เกี่ยวกับการล้มระบบ 30 บาท ตอนที่ 3
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 25 กันยายน 2016, 21:24:00 »
สมุดปกขาว เกี่ยวกับการล้มระบบ 30 บาท
ตอนที่ 3

การอุบัติของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ทำให้เกิดความสุ่มเสี่ยงต่อการวิบัติของมาตรฐานการแพทย์ไทย

ก่อนจะพูดถึงความเสี่ยงต่อการวิบัติของมาตรฐานการแพทย์ไทยภายหลังจากการมีกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และมีกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ก็จะขอทบทวนเรื่องการจัดบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขของไทยพอสังเขปดังนี้

ระบบบริการสาธารณสุขไทยก่อนการมีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ระบบบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขของไทยก่อนจะมีระบบหลักประกันสุขภาพนั้น มีวิวัฒนาการมาอย่างยาวนานตั้งแต่ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช ที่ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างโรงพยาบาลศิริราช และโรงเรียนราชแพทยาลัย และเริ่มมีการจัดบริการตามแบบแผนแพทย์ทางตะวันตก โดยได้ทรงตั้งกรมพยาบาลขึ้นในปีพ.ศ. 2531มีหน้าที่จัดการศึกษาวิชาแพทย์ ควบคุมโรงพยาบาลอื่นๆ และจัดการปลูกฝีเป็นทานแก่ประชาชน
ในระยะแรกกิจการด้านการแพทย์และสาธารณสุขถูกรวมอยู่กับกระทรวงธรรมการ ต่อมาย้ายไปสังกัดกระทรวงนครบาล และกระทรวงมหาดไทยเรื่อยมาจนถึงพ.ศ. 2485 จึงได้จัดตั้งกระทรวงสาธารณสุขขึ้น
กระทรวงสาธารณสุขนับย้อนหลังไป 50 ปี

ในปีพ.ศ. 2508 กระทรวงสาธารณสุข มี 2 หน่วยงานใหญ่ที่รับผิดชอบในการจัดบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขแก่ประชาชน ได้แก่ กรมการแพทย์ และกรมอนามัย ทั้งนี้มีการแบ่งความรับผิดชอบในการจัดบริการสาธารณสุขดังนี้
1. กรมการแพทย์ จะดูแลรับผิดชอบในการบริหารราชการในโรงพยาบาลจังหวัดทุกจังหวัด รวมทั้งโรงพยาบาลจังหวัดในอำเภอที่ห่างไกล ทำหน้าที่ในการรักษาพยาบาลประชาชนที่เจ็บป่วยอย่างดีที่สุดในจังหวัด
2. กรมอนามัย จะดูแลรับผิดชอบในการบริหารราชการในส่วนของ อนามัยอำเภอ สถานีอนามัยตำบล ทำหน้าที่รักษาพยาบาลระดับต้น( ระดับ ปฐมภูมิ หรือ primary healthcare) รวมทั้งภาระหน้าที่อื่นๆทางด้านสาธารณสุข

ต่อมามีการปรับปรุงระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ยุบรวมกรมต่างๆ ทำให้สำนักงานปลัดกระทรวงสธารณสุขมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ ในการบริหารราชการในการจัดการของโรงพยาบาลทั้งหมด กล่าวคือ
2.1 โรงพยาบาลจังหวัด ที่แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือโรงพยาบาลทั่วไป (general hospital) และโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ (Hospital and Medical center) 80 แห่ง แต่เรียกกันสั้นๆว่า “โรงพยาบาลศูนย์” และแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า Regional Hospital จึงทำให้ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถพัฒนาให้โรงพยาบาลศูนย์ เป็น “ศูนย์การแพทย์อย่างแท้จริง”

2.2 โรงพยาบาลประจำอำเภอ เรียกว่า โรงพยาบาลชุมชน (Community Hospital) สถานีอนามัยตำบล ซึ่งบางแห่งได้ยกระดับเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ให้การรักษษพยาบาลแบบผสมผสานครบวงจร ตั้งแต่การ ส่งเสริมสุขภาพ ดูแลจัดการสิ่งแวดล้อม ป้องกันโรค และอุบัติเหตุ ตรวจคัดกรองก่อนเกิดโรค ให้การรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วยและฟื้นฟูสุขภาพ
ในส่วนของกรมการแพทย์นั้นได้ถูกปรับบทบาทให้เป็นกรมวิชาการ รับผิดชอบดูแลโรงพยาบาลในระดับตติยภูมิ รวมทั้งโรงพยาบาลเฉพาะทาง ที่ตั้งอยู่ในในกรุงเทพมหานคร

การจัดสรรงบประมาณในการบริหาราชการแผ่นดินของกระทรวงสาธารณสุข

กระทรวงสาธารณสุขมีอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในกฎหมายปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพอนามัย การป้องกันควบคุมและรักษาโรคภัย การฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข

1. การจัดสรรงบประมาณก่อนปีพ.ศ. 2545กระทรวงสาธารณสุขได้รับงบประมาณในการบริหารราชการตามภาระหน้าที่ที่กำหนดไว้ ซึ่งหน้าที่สำคัญในการดูแลรักษาประชาชนนั้น เป็นภารกิจหลักของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

หมายเหตุ เมื่อเขียนว่า ดูแลรักษาประชาชน ผู้เขียนหมายถึง Healthcare กล่าวคือเป็นดูแลรักษาแบบครบวงจร ได้แก่การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ตรวจคัดกรองก่อนเกิดโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และการฟื้นฟูสุขภาพ

โดยโรงพยาบาลต่างๆได้รับงบประมาณในการดำเนินการให้การดูแลรักษาประชาชนจากงบประมาณแผ่นดิน และโรงพยาบาลยังสามารถเรียกเก็บค่า “ค่าบริการ” จากประชาชนได้ตามระเบียบที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยอัตราค่าใช้จ่ายนั้นเรียกเก็บในราคาไม่สูงนัก เพื่อเป็นสวัสดิการแก่ประชาชน แต่มีการยกเว้นไม่เก็บค่าบริการในผู้ป่วยเด็ก ผู้พิการ หรือผู้ยากไร้
เงินค่าบริการที่เรียกเก็บจากผู้ป่วยนี้ โรงพยาบาลเก็บไว้ใช้จ่ายในการพัฒนาโรงพยาบาลหรือใช้เป็นค่าตอบแทนนอกเวลาราชการแก่บุคลากรของโรงพยาบาล หรือใช้จ่ายอื่นๆตามระเบียบของกระทรวงสาธารณสุข ที่เหลือก็สามารถเก็บไว้เป็นทุนสำรองของโรงพยาบาลเพื่อใช้จ่ายในกิจการของโรงพยาบาล โดยรัฐบาลได้จัดงบประมาณเฉพาะให้แก่โรงพยาบาล สำหรับให้การดูแลรักษาประชาชน ซึ่งไม่มีเงินพอจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลเมื่อตนเจ็บป่วย เช่นผู้ที่มีรายได้น้อย หรือผู้ที่ควรได้รับการช่วยเหลือเกื้อกูล เช่นเด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ

2.การจัดสรรงบประมาณสำหรับกระทรวงสาธารณสุขภายหลังการออกกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในปีพ.ศ. 2545

ต่อมาเริ่มมีแนวคิดในการ “ประกันสุขภาพ” โดยกระทรวงสาธารณสุขได้เริ่มขายบัตรประกันสุขภาพแก่ประชาชนที่ต้องการซื้อ “ประกันสุขภาพ” ไว้จ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลในเวลาเจ็บป่วย

และในที่สุด ประชาชนจำนนห้าหมื่นรายได้เข้าชื่อกันเสนอร่างกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกอบกับแกนนำชมรมแพทย์ชนบท ได้นำเสนอแนวคิดของหลักประกันสุขภาพต่อนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรวัตร สภาผู้แทนราษฏรจึงได้มีมติให้ตรากฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในปีพ.ศ. 2545

ผลกระทบต่อประชาชนจากพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545

1. ประชาชนได้รับสิทธิในการรักษาความเจ็บป่วยโดยต้องจ่ายเงินสมทบครั้งละ 30 บาท ต่อมาในปีพ.ศ. 2550 นพ.มงคล ณ สงขลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณศุขได้ยกเลิกการจ่ายเงินครั้งละ 30 บาท ทำให้ประชาชน 48 ล้านคน ได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาลโดยไม่ต้องจ่ายเงินสมทบ

2 ประชาชนไม่ได้รับการรักษาทุกโรคอย่างมีคุณภาพมาตรฐาน เนื่องจากคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ใช้อำนาจตามมาตรา18(1,3) กำหนดมาตรฐานการให้บริการสาธารณสุข รวมทั้งกำหนดประเภทและขอบเขตในการให้บริการสาธารณสุขที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต
จึงทำให้แพทย์ไม่สามารถให้การรักษาผู้ป่วยได้ตามมาตรฐาน ทั้งนี้เนื่องจากสปสช.จะไม่ยอมจ่ายเงินค่ารักษาผู้ป่วยนอกเหนือจากที่สปสช.ประการศกำหนด
เกิดเป็นข้อจำกัดในการทำงานของโรงพยาบาล เนื่องจากภายหลังมีกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแล้ว โรงพยาบาลต่างๆที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ไม่ได้รับงบประมาณในการทำงานดูแลรักษาผู้ป่วยในระบบ 30บาทเลย ต้องทำการรักษาผู้ป่วยไปแล้ว จึงจะสามารถขอรับเงินค่ารักษานั้นจากสปสช. ถ้าโรงพยาบาลรักษู้ป่วยตามมาตรฐานทางการแพทย์ แต่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่อนุญาต สปสช.ก็จะไม่จ่ายเงินค่ารักษาผู้ป่วยนั้น

เช่น สปสช.ออกระเบียบให้รักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย โดยการล้างไตทางช่องท้องเป็นวิธีแรกทุกราย ซึ่งอาจไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยบางคน แต่ถ้าไม่ใช้วิธีนี้ ก็จะเบิกค่ารักษาไม่ได้ จนทำให้ผู้ป่วยมีอัตราตายสูงมาก(2) แม้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญออกมาคัดค้านหรือเรียกร้องให้สปสช.ยกเลิกระเบียบนี้ สปสช.ก็ไม่ยอมยกเลิก

แสดงว่า คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสปสช.ไม่มีความ “รับผิดชอบต่อประชาชน” ไม่สนใจว่าประชาชนจะได้รับการรักษาทุกโรคอย่างมีมาตรฐานตามการโฆษณาชวนเชื่อของสปสช.หรือไม่
และยังมีตัวอย่างความเสียหายที่มีต่อผู้ป่วยในระบบ 30 บาท ที่ต้อง “รับยาเท่าที่สปสช.กำหนดเท่านั้น” จนทำให้ผู้ป่วยในระบบ 30 บาท มีอัตราตายสูงกว่าผู้ป่วยในระบบสวัสดิการข้าราชการอย่างชัดเจน(3)

ผลกระทบของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 ที่มีต่อกระทรวงสาธารณสุข

1. กระทรวงสาธารณสุขมีภาระงานเพิ่มขึ้น แต่ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณโดยตรงในการทำงานตามภาระหน้าที่ ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขนั้นถูกตัดงบประมาณในการดำเนินการบริหารจัดการโรงพยาบาลออกทั้งหมด รวมทั้งเงินเดือนของข้าราชการและบุคลากรก็ถูกโอนไปรวมไว้ใน “กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” อีกด้วย
ทำให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นกระทรวงเดียวในประเทศไทย ที่ไม่ได้รับงบประมาณแผ่นดินโดยตรงจากสำนักงบประมาณ เกิดมีปรากฏการณ์ว่ามีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทำหน้าที่เหมือน “พ่อค้าคนกลาง” รับงบประมาณแผ่นดินมาแล้วทำหน้าที่ “จ่ายงบประมาณแผ่นดิน”ที่จำเป็นในการทำงานของกระทรวงสาธารณสุข ส่งให้โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่มีหน้าที่ในการให้บริการดูแลรักษาประชาชนที่มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

และสปสช.ก็ทำตัวเหมือนพ่อค้าคนกลางจริงๆ กล่าวคือ เมื่อได้รับงบประมาณตามอัตราค่าเหมาจ่ายรายหัวแล้ว แทนที่จะส่งเงินให้แก่โรงพยาบาลตามที่กฎหมายกำหนด สปสช.(โดยคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) ก็ได้กระทำการที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหลายประเด็น เช่น การแบ่งกองทุนย่อยหลายสิบกองทุน และห้ามไม่ให้ใช้เงินรักษาผู้ป่วยข้ามกองทุน ออกระเบียบการรับ-โอนเงินตามอัตราราคากลางที่กำหนด และไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นจากโรงพยาบาลและผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขให้แก้ไขการบริหารจัดการที่ขาดธรรมาภิบาล (Good Governance) ของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสปสช. จนก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนงบประมาณในการจัดบริการดูแลรักษาประชาชนของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาลอื่นๆที่รับรักษาผู้ป่วยในระบบ 30 บาท

กฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจึงนับว่าเป็นอุปสรรคในการบริหารราชการแผ่นดินของกระทรวงสาธารณสุข แต่การบริหารจัดการของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ยิ่งซ้ำเติมให้เกิดปัญหาแก่กระทรวงสาธารณสุขมากยิ่งขึ้น

ซึ่งจะขอสรุปปัญหาอุปสรรคในการทำงานของโรงพยาบาลที่ต้องรับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติดังนี้

หมายเหตุ เมื่อพูดคำว่า ดูแลรักษาประชาชน ผู้เขียนหมายถึง Healthcare กล่าวคือเป็นดูแลรักษาแบบครบวงจร ได้แก่การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ตรวจคัดกรองก่อนเกิดโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และการฟื้นฟูสภาพ)

1.ปัญหาจากพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545
1.1 การกำหนดให้มีคณะกรรมการจากทั้งข้าราชการประจำตามตำแหน่ง กรรมการจากสภาวิชาชีพ กรรมการจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการจากองค์กรเอกชน โดยที่ไม่ได้เป็น “ผู้แทนของประชาชนอย่างแท้จริง” จึงทำให้มีการ “เล่นพรรคเล่นพวก”ในการสรรหากรรมการ จะเห็นได้ชัดเจนว่ามีกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์บางกลุ่ม และกลุ่มสมาชิกองค์กรเอกชนที่ร่วมเสนอกฎหมาย หมุนเวียนกันมาเป็นกรรมการซ้ำซากสลับตำแหน่งกันไปมาตลอดระยะ 15 ปีที่ผ่านมา

1.2 คณะกรรมการส่วนใหญ่จึงถูกชี้นำโดยกลุ่มกรรมการหน้าเก่าที่วนเวียนมาเป็นกรรมการและพรรคพวกตลอดมา

1.3 กรรมการมีอำนาจ “ในการกำหนดขอบเขตของบริการสาธารณสุข”ตามมาตรา 18(3)” กล่าวคือจะให้ “สิทธิในการรักษาผู้ป่วย” แค่ไหนก็ได้ แต่คณะกรรมการฯและสปสช.กลับไปโฆษณาว่า “รักษาทุกโรค” ซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริง ทำให้ประชาชนเข้าใจผิด ทั้งนี้เพื่อสร้าง “ความนิยมสปสช.”ในหมู่ประชาชน เหมือนนักการเมืองหรือการโฆษณาเกินจริงหลอกลวงประชาชน

1.3 งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่เพียงพอต่อการจัดบริการสาธารณสุข
1.4 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและปลัดกระทรวงสาธารณสุขไม่มีอำนาจในการ “สั่งการ”ให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติบริหารงานตามนโยบายของรัฐบาลได้ เพราะทั้งรัฐมนตรีและปลัดกระทรวงต่างก็มีเพียงคนละ 1 เสียงในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเท่านั้น

เราจึงเห็นว่ามี “ปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐมนตรี(เช่นในยุครัฐมนตรีวิทยา บุรณศิริ ที่อยากจะกลับมาเก็บเงิน 30 บาทอีก ก็ทำไม่ได้ และยังถูกกล่าวหาว่าจะ “ล้ม 30 บาทเสียอีก หรือในยุคปลัดกระทรวงณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ก็มีเรื่องความขัดแย้งระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับสปสช.จนปลัดกระทรวงถูกสั่งย้ายออกไปนั่งตบยุงอยู่นาน กว่านายกรัฐมนตรีจะเข้าใจถูกต้องและย้ายนพ.ณรงค์กลับมาอยู่ในตำแหน่งเหมือนเดิมก็เกือบจะเกษียณอายุราชการแล้ว)

2.ปัญหาจากการบริหารงานของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสปสช.

เนื่องจากงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรมานั้น ไม่เพียงพอกับความจำเป็นในการให้บริการดูแลรักษาประชาชน ทำให้เกิดปัญหาแก่โรงพยาบาลที่ต้องทำงานให้บริการดูแลรักษาประชาชนดังนี้

2.1 ปัญหาในโรงพยาบาลศูนย์-โรงพยาบาลทั่วไป
2.1.1 งบประมาณไม่เพียงพอ กล่าวคือ งบประมาณที่ได้จากสปสช.น้อยกว่าค่าใช้จ่ายจริงในการดูแลรักษาผู้ป่วย

2.1.2 ปริมาณผู้ป่วยมากขึ้นทั้งผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลเองและผู้ป่วยที่ถูกส่งต่อมาจากโรงพยาบาลชุมชน จนทำให้มีผู้ป่วยล้นโรงพยาบาลทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน อาคารสถานที่ของโรงพยาบาลแออัดยัดเยียด สามารถไปดูได้ทุกโรงพยาบาลที่สังกัดประทรวงสาธารณสุข

2.1.3 ผู้ป่วยเสียเวลาในการรอรับการตรวจรักษา ไม่ว่าจะเป็นการตรวจร่างกายตามธรรมดา ต้องเสียเวลาเกือบทั้งวัน หรือการตรวจร่างกายผู้ป่วยด้วยวิธีพิเศษเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคที่ยุ่งยากซับซ้อน เช่น การทำการตรวจด้วย CT scan MRI Ultrasound การเอ๊กซเรย์ การส่องกล้องต่างๆ การตรวจพิเศษทางสมอง หัวใจ หลอดเลือด ต้องรอคิวตรวจเป็นเดือน เพราะผู้ป่วยมากมายมหาศาล การรอคอยในการไปรับการรักษาอาจทำให้การเจ็บป่วยรุนแรง จนเป็นผลเสียแก่ผู้ป่วย เช่นไส้ติ่งแตก เด็กเกิดใหม่มีภาวะสองขาดเลือด หรือตายโดยยังไม่สมควรตาย(ก่อนเวลาอันควร)

2.1.4 ภาวะสมองไหลไปสู่ภาคเอกชน
จากภาระงานที่เพิ่มมากขึ้น โดยไม่มีการบรรจุบุคลากรเพิ่มให้เหมาะสมกับปริมาณงานทำให้บุคลากรต้องทำงานมากเกินภาระงานของข้าราชการหรือบุคคลทั่วไป มีชั่วโมงการทำงานทั้งในเวลาและนอกเวลาราชการมากกว่า 2 เท่าของชั่วโมงการทำงานของบุคคลากรทั่วไป ทำให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง(Specialist) หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางต่อยอด (Sub-specialist) ลาออกไปอยู่เอกชน เนื่องจากมีภาระงานน้อยกว่าและค่าตอบแทนสูงกว่าหลายเท่า

2.1.5 ขาดการพัฒนาบุคลากร จากภาระงานที่มากเกินไปทั้งในเวลาและนอกเวลาราชการ เนื่องจากรพ.ต้องรับภาระดูแลรักษาประชาชนตลอด 24 ชั่วโมงตลอดปี ทำให้บุคลากรที่ยังทำงานอยู่ไม่มีเวลาในการพัฒนาวิชากาiแพทย์น้อยลง ประกอบกับมีการฟ้องร้องบุคลากรทางการแพทย์มากขึ้น รวมทั้งมีการทำร้ายร่างกายบุ8ลากรในขณะปฏิบัติงาน เป็นสาเหตุส่งเสริมให้บุคลากรลาออกจากระบบราชการมากขึ้น

2.1.6 การรักษาผู้ป่วยขาดคุณภาพมาตรฐาน เนื่องจากสปสช.ออกระเบียบจำกัดรายการยา และการรักษาผู้ป่วยที่ขัดกับจริยธรรมและมาตรฐานในการรักษาผู้ป่วยดังที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น

2. ปัญหาในโรงพยาบาลชุมชน

2.1 แพทย์เฉพาะทางขาดแคลน เนื่องจากต้องรับผิดชอบในการรับการปรึกษาจากแพทย์ทั่วไป ถ้ามีแพทย์เฉพาะทางเพียงคนเดียว ก็ไม่สามารถที่จะรับผิดชอบได้ทุกวันตลอดปี

2.2 แพทย์ทั่วไปขาดความมั่นใจในการรักษาผู้ป่วย เนื่องจากคำพิพากษาของศาล ที่ตัดสินให้แพทย์ทั่วไปติดคุก หรือประมาทเลินเล่อยอย่างร้ายแรง ต้องจ่ายค่าเสียหาย และอาจจะต้องถูกไล่เบี้ย เพราะข้อหาว่าไม่ใช่แพทย์เฉพาะทาง จึงทำให้มีการปิดห้องผ่าตัดในโรงพยาบาลชุมชนทั้งหมด ทำให้ผู้ป่วยไปแออัดคับคั่งที่โรงพยาบาลท่วไปและโรงพยาบาลศูนย์

2.2 ขาดแคลนแพทย์ทั่วไป แพทย์ทั่วไปที่ประจำอยู่ในโรงพยาบาลชุมชนมาอยู่ตามมาตรการที่ถูกบังคับ ยังขาดประสบการณ์ จำนวนแพทย์มีน้อย และต้องการไปเรียนต่อสาขาเฉพาะทาง เพื่อความก้วหน้าในวิชาชีพ จึงทำให้อยู่ในรพ.ชุมชนไม่นาน

2.3 แพทย์ไม่มั่นใจในการรักษาผู้ป่วย เนื่องจากปัญหาการฟ้องร้องและการตัดสินของศาลจะมีผลกับชีวิตแพทย์ จึงเลือกที่จะส่งผู้ป่วยไปรักษาในโรงพยาบาลจังหวัด ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้ป่วยบางคน “เสียเวลานาทีทองที่จะรอดชีวิต”ไปอย่างไม่มีทางที่จะได้คืนมาแล้ว แพทย์เองก็ขาดโอกาสที่จะเรียนรู้และได้ประสบการณ์ในการรักษาผู้ป่วยเพื่อเพิ่มพูนทักษะและความรู้ใหม่ๆในการวิชาการแพทย์ เพราะไม่เคย “ลงมือรักษาและติดตามผลการรักษา” ซึ่งเป็นวิธีที่จะได้รับความรู้และความเชี่ยวชาญจากประสบการณ์จริง

3.ปัญหาต่อผู้ป่วยและมาตรฐานการแพทย์

3.1 การรักษาผู้ป่วยขาดมาตรฐาน ด้อยคุณภาพ
คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสปสช.รู้ว่างบประมาณในการรักษาผู้ป่วยมีน้อย แต่แทนที่จะหาทางให้มีงบประมาณเพิ่มขึ้น สปสช.กลับทำสิ่งที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย กล่าวคือ “ประหยัดงบประมาณโดยการลดมาตรฐานการรักษา” จำกัดรายการยา จำกัดรายการรักษา

2.3 ผลเสียหายแก่ผู้ป่วย ผลจากการ “ลดมาตรฐานการรักษา” ทำให้เกิดผลเสียหายต่อชีวิตและสุขภาพผู้ป่วย โดยที่ผู้ป่วยไม่ทราบ แต่แพทย์ที่รักษาผู้ป่วยและนักวิชาการแพทย์ที่ติดตามดูผลการรักษาผู้ป่วยต่างตระหนกที่รู้ความจริงนี้ เช่น การรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่สปสช.บังคับให้ต้องล้างไตทางช่องท้องทุกราย ก็ทำให้ผู้ป่วยตายมาก ตายเร็วกว่าการรักษาด้วยการฟอกเลือด การรักษาผู้ป่วยมะเร็ง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและสมองขาดเลือดในระบบ 30 บาท ก็มีผลให้ผู้ป่วยตายมากกว่าผู้ป่วยในระบบสวัสดิการข้าราชการ เนื่องจากข้อจำกัดในการใช้ยาของสปสช.

4.ปัญหาต่องบประมาณแผ่นดิน มีการตรวจสอบจากหลายหน่วยงานและหลายคณะกรรมการที่รัฐบาลตั้งขึ้นมา มีข่าวว่ามีหลายเรื่องที่ส่อไปในทางการบริหารที่ผิดกฎหมาย มีผลประโยชน์ทับซ้อน และขาดธรรมาภิบาลของสปสช. จนมีคำสั่งย้ายเลขาธิการสปสช.ออกจากตำแหน่งตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2558 แต่ก็ยังไม่มีผลสรุปสุดท้าย ซึ่งผู้เขียนในฐานะที่เฝ้าดูผลงานการปราบคิรัปชั่นของรัฐบาลและประชาชนอีกหลายๆคน ก็คงรอดูผลสรุปสุดท้ายเช่นเดียวกัน

5.ปัญหาอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดิน จะเห็นได้ว่า พ.ร.บ.ระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ. 2534 นั้น แบ่งการบริหารราชการแผ่นดินเป็นส่วนกลาง การบริหารราชการแผ่นดินของภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น โดยมีหน่วยงานราชการดำเนินการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ มีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การอำนวยความสะดวก และการตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยมีผู้รับผิดชอบต่อผลงาน และที่สำคัญต้องใช้วิธี และการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คำนึงถีงความรับผืดชอบของผู้ปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมของประชาชน การเปิดเผยข้อมูล การติดตามผลการตรวจสอบและการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงนั้นๆ คอยติดตามสั่งการและบังคับบัญชาให้ข้าราชการนำนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชน และรัฐมนตรีมีหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา(ผู้แทนของประชาชน)

แต่สปสช.เป็นองค์กรพิเศษที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญํติเฉพาะ อยู่นอกเหนือการบริหารราชการแผ่นดิน ไม่อยู่ในความควบคุมบังคับบัญชาของกระทรวงสาธารณสุข เพียงแต่อยู่ใต้ “การกำกับของรัฐมนตรี”เท่านั้น โดยรัฐมนตรีมีเสียงเพียง 1 เสียงเท่ากับกรรมการคนอื่นๆ รัฐมนตรีไม่สามารถ”สั่งการหรือบังคับบัญชาสปสช.ได้” ถ้าคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพไม่เห็นด้วยกับรัฐมนตรี ก็จะเป็นอุปสรรคต่อการนำนโยบายของรัฐบาลในด้านสาธารณสุขไปบังคับใช้

ทั้งนี้รัฐมนตรีมีอำนาจหน้าที่เพียง"กำกับ”ให้กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสปสช.ทำตามกฎหมายเท่านั้น

แต่ดูเหมือนว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขหลายๆคน ไม่เข้าใจในอำนาจหน้าที่ที่จะต้อง “กำกับ”ให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสปสช.ทำงานตามกฎหมาย ตราบจนกระทั่งปรากฎผลการตรวจสอบจากคณะกรรมการตรวจสอบหลายคณะ(4,5,6 ) ว่าสปสช.ทำผิดกฎหมายหลักประกันสุขภาพมากมายหลายประเด็น จนมีคำสั่งหัวหน้าคสช.ตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2558 ให้ย้ายเลขาธิการ สปสช.ออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2558

แต่จนบัดนี้ในเดือนกันยายน 2559 ก็ยังไม่มีความชัดเจนหรือการสรุปให้ประชาชนรับทราบว่า คณธกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสปสช. ได้ทำผิดกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จนเป็นผลต่อความเสียหายต่อการบริหารราชการแผ่นดินของกระทรวงสาธารณสุข เกิดความเสียหายต่อประชาชน มาตรฐานการแพทย์ และความเสียหายต่องบประมาณแผ่นดินอย่างไรบ้าง และรัฐบาลจะแก้ไขอย่างไร และจะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเหล่านี้ในอนาคตได้อีกหรือไม่/อย่างไร

เอกสารอ้างอิง
1.พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545
2. http://thaipublica.org/.../capd-first-policy-high-risk.../ กรรมาธิการสาธารณสุขแนะสปสช.ทบทวนหลักเกณฑ์ล้างไตทางช่องท้อง ติงควรเคารพการวินิจฉัยของแพทย์ (14 มีนาคม 2555)
3. http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx... จดหมายเปิดผนึกถึงประธานและกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 3 กรกฎาคม 2559
4. http://thaipublica.org/2015/03/public-health-services-57/ เปิดรายงานดีเอสไอ ระบุสปสช.ไม่มีหน้าที่ซื้อยา แถมเอาเงินส่วนลดจากองค์การเภสัชกรรมไปใช้เอง เที่ยวต่างประทศ ซื้อรถตู้ ให้เงินวิจัย – 4 ปีได้เงินไปกว่า 240 ล้านบาท
5. http://thaipublica.org/.../oag-national-health-transparency/ สตง.ตรวจสอบการดำเนินงานของสปสช. ระบุไม่โปร่งใส ใช้งบสุขภาพถ้วนหน้า เหมาจ่ายรายหัวผิดประเภทเกือบ 100 ล้าน
6. http://thaipublica.org/2015/07/public-health-services-58/ เปิดรายงานข้อเท็จจริงผลการตรวจสอบของคตร.ก่อนมีคำสั่งย้ายเลขาสปสช.

1 กย 2559

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
สมุดปกขาว 4

เกี่ยวกับการจะล้มหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

การบังคับใช้ยาของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นการละเมิดสิทธิผู้ป่วย และละเมิดสิทธิมนุษยชน

การแก้ไขปัญหาการบังคับใช้ยาหรือการรักษาตามระเบียบของสปสช.เท่านั้น

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา

บทความตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้กล่าวถึงผลกระทบจาก “การบริหารงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ”ของสปสช.ภายใต้ความรับผิดชอบของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยและประชาชน ทำให้เสียหายต่อสุขภาพ กล่าวคือผู้ป่วยไม่ได้รับยาหรือการรักษาที่มีคุณภาพมาตรฐานหรือเหมาะสมกับอาการป่วยของผู้ป่วยแต่ละคน

กฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย สนับสนุน และส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ (มาตรา 38) ฉะนั้นคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จะต้อง “ส่งเงินจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่หน่วยบริการ”เท่านั้น

ทั้งนี้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จะต้องจัดให้มีการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการตามมาตรา 44

โดยหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ มีอำนาจหน้าที่ ตามมาตรา 45 ให้บริการสาธารณสุข รวมทั้งการใช้วัคซีน ยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การรักษษที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ

โดยหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการและหน่วยบริการที่รับการส่งต่อผู้รับบริการ มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขจากกองทุนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด (มาตรา 46)

จะเห็นได้ว่ากฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไม่ได้กำหนดให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสปสช.มีหน้าที่ในการจัดซื้อยา เวชภัณฑ์ หรืออุปกรณ์ที่จะใช้สำหรับผู้ป่วยแล้วให้โรงพยาบาล(หน่วยบริการ)ไปเบิกสิ่งของดังกล่าวมาจากสปสช.แต่อย่างใด
และกฎหมายไม่ได้กำหนดให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทำการ “แบ่งกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ”ออกเป็นกองทุนย่อยๆแต่อย่างใด
และกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไม่ได้อนุญาตให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสปสช.นำเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไป “จ่าย”ให้แก่หน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่หน่วยบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานหลักประกันสขภาพแห่งชาติแต่อย่างใด

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมานั้น คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสปสช.ได้ “บริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ”ไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดไว้ ดังที่ล่าวมาข้างต้น กล่าวคือ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสปสช. เอาเงินกองทุนฯไปซื้อยา อุปกรณ์การแพทย์เอง แบ่งกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นกองทุนย่อยๆหลายสิบกองทุน และสปสช.โยเลขาธิการและรองเลขาธฺการทำหน้าที่แทนเลขาธิการได้ทำสัญญษจ่ายเงินกองทุนให้แก่มูลนิธิและองค์กรต่างๆที่ไม่ได้ “ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการของสปสช” มากมายหลายแห่ง
จึงเห็นได้ว่าคณธกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสปสชได้บริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายหลายประเด็นดังกล่าว

การที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสปสช.ได้ดำเนินการบริหารกองทุนโดยผิดกฎหมายเช่นนี้ อาจจะมีแรงจูงใจจากการที่จะได้รับเปอร์เซ็นต์จากการซื้อยา เวชภัณฑ์และอุปกรณ์การแพทย์ที่สปสช.ดำเนินการจัดซื้อ และนำไปใช้เป็นประโยชน์แก่สปสช.โดยมิชอบ (1)

ยังพบว่าสปสช.บังคับให้รพ.ไปเบิกยาจากองค์การเภสัชกรรม ที่ทำหน้าที่ในการ “จัดหา (ซื้อ)ยามาส่งต่อให้สปสช. ตามรายการยาที่สปสช.กำหนดเท่านั้น โรงพยาบาลไม่สามารถเลือกใช้ยาอื่นสำหรับรักษาผู้ป่วยนอกเหนือจากที่สปสช.สั่งซื้อมาจากองค์การเภสั๙กรรมสำหรับผู้ป่วยหลายๆโรค เช่นโรคมะเร็ง หัวใจขาดเลือด เบาหวาน หรือขดลวดถ่างเส้นเลือดหัวใจฯลฯ

สปสช.ยังนำเงินไปซื้อวัคซีนสำหรับใช้ในโครงการป้องกันโรค และเอาไปบริจาคให้หน่วยทหาร เนื่องจากจัดซื้อมาเกินความจำเป็นที่จะใช้ (เหลือใช้และจะหมดอายุ)

จึงเห็นได้ว่ามีการรั่วไหลของเงินกองทุนออกไปจากสปสช.โดยมิชอบ ทำให้งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเหลือไปถึง “หน่วยบริการ”น้อยกว่าที่รัฐบาลจัดสรรมาให้

นอกจากนี้สปสช.แบ่งกองทุนย่อยหลายสิบกองทุน ทำให้โรงพยาบาลหลายแห่งไม่มีเงินซื้อยามาจ่ายให้ผู้ป่วย(2)

การที่ผู้ป่วยไม่ได้รับยาที่เหมาะสมที่สุดในการรักษาความเจ็บป่วย ทำให้ผลลัพท์การรักษาผู้ป่วยในระบบ 30 บาทเลวกว่าผลลัพทธ์ในการรักษาผู้ป่วยในระบบสวัสดิการข้าราชการ (3)
ทั้งนี้ยาที่สปสช.กำหนดมีอยู่ตามรายการในบัญชียาหลักแห่งชาติเท่านั้น ในขณะที่ปัจจุบันมียาใหม่ๆที่ผลิตขึ้นมาและมีประสิทธิผลสูงกว่ายาที่มีอยู่เดิม สามารถใช้รักษาโรคได้ดีขึ้น แต่สปสช.ก็จะไม่อนุญาตให้ใช้ อ้างว่าเป็นยา “ราคาแพง” ทำให้ผู้ป่วยขาดโอกาสที่จะหายจากโรค หรือทำให้ผู้ป่วยตายเร็วกว่าผู้ป่วยในระบบสวัสดิการข้าราชการ ที่ไม่มีข้อจำกัดในการใช้ยาตามดุลพินิจของแพทย์

การแก้ไขความเสียหายต่อประชาชนสามารถแก้ไขได้คือ
1.ยุติการบริหารงานที่ผิดกฎหมายโดยทันที และเรียกเงินคืนจากผู้ที่ทำการโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อนำเงินงบประมาณกลับเข้าสู่กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชนโดยแท้จริง

2. ยกเลิกระเบียบของสปสช.ที่กำหนดให้แพทย์ใช้ยาที่ไม่เหมาะสมกับอาการป่วยของผู้ป่วยแต่ละคน เพื่อให้การรักษาผู้ป่วยเป็นไปตามหลักวิชาการแพทย์ตามดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษา

3. การแก้ไขบัญชียาหลักแห่งชาติให้ทันสมัย
รัฐบาลควรจะรีบแก้ไขระเบียบที่ไม่ “ชอบธรรม” ของสปสช.โดยด่วน และรัฐบาล ต้องยื่นมือเข้ามาดูแลแก้ไขปัญหาในระบบบัญชียาหลักแห่งชาติให้มีความทันสมัย ก้าวไปพร้อมๆกับมาตรฐานการแพทย์ทั่วโลก ไม่ใช่หยุดนิ่งอยู่ที่เดิม เพราะการหยุดอยู่กับที่ในขณะที่ประเทศอื่นเขาก้าวหน้าไปเรื่อยๆ ก็เปรียบเหมือนกับประเทศของเรากำลังมีการถอยหลังเข้าคลองไปนั่นเอง
การตั้งคณะกรรมการจัดทำบัญชียาหลักแห่งชาติ ควรจะอาศัยผู้เชี่ยวชาญจาก “ราชวิทยาลัย”เฉพาะทางด้านการแพทย์ ให้เป็นกรรมการกำหนดรายการยาที่เหมาะสมและทันสมัยในการรักษาผู้ป่วยเฉพาะทางและผู้ป่วยทั่วไป และควรมีการทบทวนรายการบัญชียาหลักทุก 2-3 ปี
การที่จะ “ประหยัดงบประมาณในการรักษาผู้ป่วยนั้น” ไม่ใช่จะให้สปสช.หรือกรรมการบอร์ดหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ “คิดเอาเองว่ามีราคาไม่แพง”เท่านั้น แต่ควรที่จะให้องค์กรวิชาชีพ ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาโรค เป็นกรรมการในการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ในการรักษาโรคต่างๆ (Clinical Practice Guideline CPG) เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาโรคที่ทันสมัย มีประสิทธิผล มีความคุ้มค่า และมีมาตรฐาน และแนวทางการรักษานี้ควรมีการทบทวนทุก 5 ปี เป็นอย่างน้อย

4. การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาการผลิตยาในประเทศ
มีข้อมูลที่น่าสนใจว่าค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในประเทศไทยนั้น เป็นค่าใช้จ่ายด้านยาถึง 41 เปอร์เซ็นต์
เมื่อมีแนวทางการรักษาแล้ว ควรสนับสนุนและพัฒนาหรือปฏิรูปองค์การเภสัชกรรม ให้สามารถผลิตยา “เลียนแบบ” เพื่อประหยัดค่ายาที่จะต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ ไม่ย่ำอยู่กับที่ในการไปสั่งซื้อยาเลียนแบบจากต่างประเทศเหมือนในปัจจุบัน ส่วนยาใหม่ที่มีข้อมูลน่าเชื่อถือจากต่างประเทศว่ามีประสิทธิผลดีนั้น ก็ไม่ควรห้ามการใช้รักษาผู้ป่วย แต่ควรอนุญาตให้แพทย์พิจารณาใช้ได้ตามความเหมาะสม และแพทย์ควรรายงานผลการใช้ยานั้นๆ รวมทั้งเปิดโอกาสให้มีการวิจัยเรื่องประสิทธิผลของยานวัตกรรมใหม่เพิ่มขึ้น ลดขั้นตอนการขอนำยาใหม่เข้ามาเพื่อทำการศึกษาวิจัย รวมทั้งเร่งรัดการให้ใบอนุญาตจดทะเบียนสำหรับยาใหม่ที่มีการรับรองผลจากต่างประเทศแล้ว เพื่อให้สามารถนำมาศึกษาวิจัยในประเทศได้ด้วย เพื่อที่จะได้ใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณานำยาใหม่ๆเหล่านั้น ที่มีประสิทธิผลสูงกว่ายาเดิม นำเข้ามาเพิ่มในบัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อเป็นประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยให้ทันสมัยเพื่อผลการรักษาที่ดีมีมาตรฐานในระดับสากลต่อไป จะได้ก้าวทันโรคและโลก ไม่ถูกทิ้งตามหลังโรงพยาบาลเอกชน(ในประเทศ) และประเทศอื่น

เอกสารอ้างอิง
1. http://thaipublica.org/2015/03/public-health-services-57/ เปิด รายงานดีเอสไอระบุ สปสช. ไม่มีหน้าที่ซื้อยา-เวชภัณฑ์ แถมเอาเงินส่วนลดจากองค์การเภสัชไปใช้เอง เที่ยวต่างประเทศ ซื้อรถตู้ ให้เงินทำวิจัย – 4 ปี ได้เงินไปกว่า 240 ล้านบาท
2. http://www.matichon.co.th/news/255161 ‘หมอเจตน์’หารือ’7รพ.สธ.’ขาดทุนขั้นวิกฤต ชี้เหตุงบบัตรทอง เสนอทางออกแก้ปัญหา
3. http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx... สภาประกันสุขภาพ การรวมกองทุนสุขภาพเพื่อลดความเหลื่อมล้ำตามแนวคิดของ TDRI หรือ รัฐประหารทางการแพทย์เพื่อรวมศูนย์อำนาจ?

7 กย 2559

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
สมุดปกขาว 5
เกี่ยวกับการจะล้มระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ใครบ้างเป็นกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา

พ.ร.บ.หหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 กำหนดให้มีกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมาจากผู้ดำรงตำแหน่งจากราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากองค์กรเอกชน และผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งหมดรวมกันเท่ากับ 32 คน โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการ
เราจะเห็นว่ากรรมการที่มาจากองค์กรเอกชน 5 คน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีกเจ็ดคน คือตัวแปรสำคัญที่เป็นผู้ “กำกับทิศทางในการทำงานของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพที่แท้จริง” และถ้าผู้แทนผู้ประกอบอาชีพด้านการแพทย์และสาธารณสุข มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกับกรรมการจาก 2 กลุ่มดังกล่าวข้างต้นแล้ว ก็สามารถควบคุมการทำงานของคณธกรรมการฯได้เลย เพราะในการทำงานใดๆนั้น รัฐมนตรีหรือประธานกรรมการมีไม่สามารถ “สั่งการ”ให้คณะกรรมการทำงานได้ ต้องทำตามมติ “เสียงข้างมาก” โดยประธานก็มีเพียง 1 เสียงเท่ากันกรรมการคนอื่นๆ
จึงเห็นได้ว่า กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ผ่านมานั้น มีรายชื่อของบุคคลในกลุ่มตระกูลส.(1) ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาเป็นกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมากที่สุด(2)

นอกจากกลุ่มตระกูลส.จะเข้ามาเป็นกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแล้ว ยังหมุนเวียนกันเข้ามาเป็นกรรมการ “ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข”(2) ทั้งๆที่ไม่ใช่ผู้มีความรู้ในด้านการแพทย์และสาธารณสุขโดยตรง บางคนก็เป็นกรรมการมาตลอดเวลา 3 วาระ กล่าวคือเป็นทั้งกรรมการหลักและกรรมการควบคุมได้แก่ นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ (เป็นทั้งกรรการผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการจากองค์กรเอกชน) นส.สารี อ๋องสมหวัง นส.สุภัทรา นาคะผิว นส.ยุพดี สิริสินสุข ดำรงตำแหน่ง 2 วาระ ได้แก่ นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ(กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการจากองค์กรเอกชน) นางสุนทรี เซ่งกิ่ง นายนิมิตร เทียนอุดม ดำรงตำแหน่ง 1 วาระ ได้แก่นายจอน อึ้งภากรณ์ นส.บุญยืน ศิริธรรม นส.สุรีรัตน์ ตรีมรรคา นส.กรรณิการ กิจติเวชกุล
แลถ้ามาดูตำแหน่งเลขาธิการสปสช. ก็จะมีแค่ 2 คนเท่านั้นที่เป็นเลขาธิการสปสช. ได้แก่นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เป็นเลขาธิการคนแรก และถึงแก่กรรมในขณะดำรงตำแหน่งในวาระที่ 2 และนพ.วินัย สวัสดิวร เป็นเลขาธิการคนที่ 2 และดำรงตำแหน่งติดต่อกัน 2 วาระ และถูกคำสั่งมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2557 ให้ออกจากตำแหน่งจนครบวาระ

จึงเห็นได้ว่า การทำงานของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและเลขาธิการสปสช.และสปสช.นั้นอยู่ในการควบคุมของบุคคลนกลุ่มตระกูลส.ตลอดมา และมีความพยายามที่จะสืบทอดอำนาจการควบคุมสปสช.โดยการหมายมั่นปั้นมือจะให้นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธฺการสปสช.เข้ามาเป็นเลขาธิการสปสช.คนที่ 3 ให้ได้ แม้ไม่ผ่านมติรับรองจากคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (3) ก็ปรากฎว่ากรรมการจากภาคเอกชน(กลุ่มตระกูลส.) ออกมาบอกว่าคะแนนมีปัญหาและไม่ยอมรับมติบอร์ด

ในขณะที่นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ ก็ไปยื่นฟ้องศาลปกครองให้ไต่สวนฉุกเฉิน(4) เพื่อขอให้ศาลยกเลิมติบอร์ดและคุ้มครองไม่ให้กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทำการสรรหาเลขาธิการคนใหม่

จากที่เขียนมาข้างต้น จึงเห็นได้ชัดเจนว่า กลุ่มบุคคลตระกูลส.คือผู้กุมอำนาจในการบริหารงานของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสปสช.ตลอดมา และคนเหล่านี้ผลัดเปลี่ยนกันทำหน้าที่หลายบทบาท กล่าวคือถ้าไม่สามารถชนะมติในกรรมการหลักก็จะมารวมตัวกันเป็น “กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” ออกมา(5) ให้ความเห็นคัดค้านหรือโจมตีคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(5) และมีผู้อ้างเป็น “เครือข่ายสุขภาพชุมชน” (6) นำโดยนพ.สุวัฒน์ วิริยพงศ์สุกิจอดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท ได้ออกมากล่าวว่า การล้มประทีปไม่ให้เป็นเลขาสปสช.เท่ากับเป็นบันไดขั้นแรกของการ “ล้มบัตรทอง” และการเคลื่อนไหวของชมรมแพทย์ชนบท(7) เคลื่อนไหวไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพราะบอร์ดมีมติไม่รับรองหมอประทีปเป็นเลขาสปสช.

จึงเห็นได้ว่า กลุ่มคนตระกูลส.และชมรมแพทย์ชนบท ที่ “ผูกขาดการเป็นกรรมการและเลขาธิการสปสช”ตลอดมา ไม่ต้องการให้คนอื่นที่ไม่ใช่กลุ่มดังกล่าว เข้ามาบริหารสปสช.

การบริหารสปสช.และคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ผ่านมา จึงตกอยู่ในการ “กำกับทิศทาง”จากกลุ่มคนตระกูลส.มาตลอด

นี่จึงอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสปสช.ทำการละเมิดสิทธิผู้ป่วยตลอดมา จากการกำหนดการรักษาได้ตามที่สปสช.กำหนดเท่านั้น ไม่มีรัฐมนตรีคนไหนหรือครม.ชุดไหน สามารถแก้ไขการบริหารของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสปสช.ได้เลยตลอดเวลา 14 ปีนับแต่มีระบบ 30 บาท

ตัวอย่างแห่งการละเมิดสิทธิผู้ป่วยและส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตในอัตราที่สูงมากของสปสช.ก็ตือวิธีการที่สปสช.ออกระเบียบบังคับให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายต้อง “ยอมรับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องเป็นวิธีการแรกเท่านั้น ทำให้เกิดผลเสียหายแก่ผู้ป่วยมากมายมีอัตราตายสูง และมีผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไตออกมาให้ความเห็นว่าควรจะยกเลิกข้อบังคับนี้ แต่ทำไมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจึงไม่ดำเนินการยกเลิกระเบียบนี้ ทั้งๆที่มีผู้ทักท้วงมากมาย(8,9)

รวมทั้งการ “บังคับให้โรงพยาบาล”ต้องใช้ยาและการรักษาเท่าที่สปสช.กำหนดนั้น” นอกจากจะทำให้เกิดผลเสียหายแก่ผู้ป่วยเช่นในกรณีที่สปสช.บังคับให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ต้องรับการรักษาโดยการล้างไตทางช่องท้องก่อนเท่านั้น การออกระเบียบข้อบังคับในการใช้ยา หรือเครื่องมือแพทย์ตามที่สปสช.กำหนดหรือซื้อมาให้โรงพยาบาลนั้น นับเป็นการบริหารกองทุนที่ขัดต่อหลักการธรรมาภิบาล กล่าวคือ ไม่ถูกกฎหมาย ไม่มีคุณธรรม/จริยธรรม ไม่โปร่งใส (สปสช.จะปฏิเสธความรับผิดชอบ และมักจะอ้างเสมอว่า “ตีความกฎหมายไม่เหมือนกัน” ) ไม่รับฟังความคิดเห็นจากโรงพยาบาล ซึ่งต้องรับงบประมาณจากสปสช. บริหารงานแบบมีเงินรั่วไหลออกนอกระบบ ไม่ประหยัด ไม่คุ้มค่า มีผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest) และไม่รับผิดชอบ(อ้างว่ามีงบประมาณเท่าไรสปสช.ก็บริหารได้ การที่โรงพยาบาลขาดทุนเป็นเรื่องของโรงพยาบาล สปสช.ไม่เกี่ยว)
คำถามสำคัญก็คือทำไมสปสช.และคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจึงสามารถดำเนินการในสิ่งที่ไม่ถูกต้องมาได้อย่างยาวนานโดยไม่มีรัฐบาลไหนจะยื่นมือเข้าไปแก้ไขเลย

จนถึงรัฐบาลนี้ เริ่มมีการตรวจสอบสปสช.อย่างเข้มข้น โดยหลายหน่วยงานที่ตรวจสอบ ได้รายงานผลการตรวจสอบให้นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช.ทราบ จนมีคำสั่งตามมาตรา 44 ให้ย้ายเลขาธิการสปสช.ออกไปจากตำแหน่ง
แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้าในการสอบสวนและดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้แต่อย่างไร

ผู้เขียนพยายามหาคำตอบว่าทำไมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงไม่แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพ และไม่แก้ไขการบริหารงานที่ไร้ธรรมาภิบาลของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเลย

ซึ่งน่าจะสรุปได้ว่า การที่มีกลุ่มบุคคลตระกูลส. เป็นผู้กุมอำนาจการเป็นกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และเลขาธิการสปสช.มาอย่างยาวนาน ตั้งแต่เริ่มต้นระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมาจนถึงปัจจุบัน น่าจะเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าวแก่ประชาชน จากการบริหารงานที่ขาดหลักธรรมาภิบาลของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสปสช.นั่นเอง

ผู้เขียนเห็นว่าคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะต้องแสดงความรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดจากการบริหารงานของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสปสช. ที่ไม่สามารถรักษาคุณภาพมาตรฐานการบริการสาธารณสุข และก่อให้เกิดความเสียหายแก่คุณภาพประชาชนจากระเบียบข้อบังคับในการรักษาผู้ป่วยที่ละเมิดสิทธิผู้ป่วยที่สมควรจะได้รับการรักษาตามมาตรฐานและประชาชนต้องได้รับรู้ข้อมูลในการรักษาพยาบาลตามที่เป็นจริง โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ไม่อึมครึมหรือไม่ตรงกับข้อเท็จจริงเหมือนที่เกิดขึ้นตลอดมาดังกล่าวแล้ว
เริ่มจากการเลือกเลขาธิการคนใหม่ให้ไม่ใช่คนตระกูลส.เป็นคนแรก

เอกสารอ้างอิง

1. http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx... ตระกูลส.คือใคร
2. http://www.thaiday.com/Daily/ViewNews.aspx... ขอเรียกร้องให้ รมว.สาธารณสุขตรวจสอบด่วน! เกี่ยวกับกระบวนการสรรหากรรมการบอร์ด สปสช. และกรรมการควบคุม
3. http://www.matichon.co.th/news/199825 “หมอประทีป” วืดเก้าอี้เลขาฯ สปสช. กก.สัดส่วนภาคปชช.ร้องวุ่นคะแนนมีปัญหา
4. http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx... “หมอประทีป” ฟ้องศาลปกครอง ปูดมีล็อกสเปกเก้าอี้ สปสช.ไว้แล้ว
5. http://prachatai.com/journal/2016/06/66098 กลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ห่วงล็อคสเปคเลือกเลขาธิการ สปสช
6. http://www.matichon.co.th/news/204683 ไม่จบ! เครือข่ายสุขภาพฯ เชื่อล้ม ‘ประทีป’ นั่งเลขาฯสปสช. เหตุต้องการตัดแขนขา ‘บัตรทอง’. 7.http://news.thaipbs.or.th/clip/2366 เลือกเลขาฯ สปสช.วุ่น แพทย์ชนบทเคลื่อนไหว "ไม่ไว้วางใจ" รมว.สาธารณสุข
8. http://thaipublica.org/.../statistics-patient-died.../ เปิดสถิติผู้เสียชีวิตล้างไตทางช่องท้องสูง 40 %
9. http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx... จดหมายเปิดผนึกถึงประธานและกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

9 กย 2559

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
สมุดปกขาว 6
เกี่ยวกับระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นอุปสรรคต่อการจัดบริการสาธารณสุขอย่างไร?
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
คำตอบต่อคำถามข้างบนว่า พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นอุปสรรคต่อการจัดบริการสาธารณสุขอย่างไร? ก็จะเห็นได้ว่ากระทรวงสาธารณสุขมีภารกิจหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณสุขสำหรับประชาชน แต่เมื่อมักฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แล้ว กระทรวงสาธารณสุขไม่ได้รับงบประมาณโดยตรงในการทำงานตามภารกิจหน้าที่ของกระทรวง แม้แต่เงินเดือนของบุคลากรสาธารณสุข ก็ต้องไปขอจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
และคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้นก็ไม่ได้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากการบริหารกองทุนหลักประกันสุถขภาพแห่งชาตินั้น ต้องทำตามมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และรัฐมนตรีก็มีเสียงเพียง 1 เสียง เท่ากับกรรมการคนอื่นๆ ฉะนั้นถ้ากลุ่มกรรมการหลักปรปะกันสุจภาพแห่งชาติเสียงข้างมากตกลงแบบใด้ ก็ต้องทำตามมติเหล่านี้เท่านั้น
แต่มีกลุ่มกรรมการหลักประกันสุขภาพจากกลุ่มตระกูลส. (ชมรมแพทย์ชนบทและNGO) ที่สามารถผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาเป็นกรรมการซ้ำซาก และยึดตำแหน่งเลขาธิการสปสช.ไว้อย่างเหนียวแน่นและคนกลุ่มนี้ยังเข้ามาเป็นอนุกรรมการต่างๆคนละหลายคณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คณะอนุกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ แล้วนำเสนอซึ่งจะรับเรื่องราวจากอนุกรรมการชุดต่างๆเพื่อนำมา”ชง” เสนอต่อการประชุมคณะกรรมการ ซึ่งมักจะทำตามที่คณะอนุฯชุดนี้เสนอ แก่คณะกรรมการ ซึ่งทำให้กลุ่มบุคคลตระกูลส.สามารถ “ควบคุมการบริหารงานในสปสช.ได้อย่างยาวนาน”
บทความตอนที่แล้ว ได้กล่าวถึงว่า กลุ่มบุคคลตระกูลส. หรือกลุ่มชมรมแพทย์ชนบทและ NGO สาธารณสุข ต่างผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาเป็นกรรมการ(บอร์ด)หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นส่วนมาก ในขณะที่เลขาธิการสปสช.นั้น มาจากกลุ่มตระกูลส.ทั้ง 2 คน
และถ้ามาดูผู้ดำรงตำแหน่งในสปสช.ไม่ว่าจะเป็นรองเลขาธิการสปสช. ผู้ช่วยเลขาธิการสปสช.และเจ้าหน้าที่อื่นๆของสปสช.นั้น จะเข้ามาทำงานในสปสช.ได้ ก็ต้องเป็นพวกเดียวกันมาก่อน หรือถ้าไม่ใช่ก็ต้องกลายเป็นพวกเดียวกัน เนื่องจากในกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมาตรา 31 ได้บัญญัติให้เลขาธิการสปสช.เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารสำนักงานให้เป็นไปตามระเบียยบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด นโยบาย มติ และประกาศของคณะกรรมการ และเป็นผู้บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของสำนักงานทุกตำแหน่ง
มาตรา 36 กำหนดให้เลขาธิการสปสช.มีอำนาจหน้าที่ตาม(1) บรรจุ แต่งตั้ง ลด เลื่อน ตัดเงินเดือนหรือค่าจ้าง ลงโทษทางวินัยเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของสำนักงาน ตลอดจนให้เจ้าหน้าที่และลูกจ้างของสำนักงานออกจากตำแหน่ง ทั้งนี้ตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด
จะเห็นได้ว่า เลขาธิการสปสช.มีอำนาจในการบังคับบัญชาและให้คุณให้โทษแก่พนักงานของสปสช.ทั้งหมด มีหน้าที่ในการเก็บรักษาและการใช้จ่ายเงินของสำนักงาน รวมทั้งจัดการเรื่องการเงิน บัญชี และการพัสดุของสำนักงาน รวมทั้งจัดให้มีการตรวจสอบภายในและรายงานผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการทราบปีละครั้ง
โดยที่ไม่ต้องรายงานให้คณะกรรมการอนุมัติ เพียงแต่แจ้งให้ทราบเพียงปีละครั้งเท่านั้น จึงนับได้ว่า เลขาธิการสปสช.จะขยายตำแหน่งและอัตรากำลังของเจ้าหน้าที่สปสช.ได้ตามที่ต้องการ โดยที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีการประชุมกันแค่เดือนละครั้ง การทำงานต่างๆของเลขาธิการสปสช.จึงทำตามที่คณะอนุกรรมการชุดต่างๆเสนอมา ซึ่งเราก็เห็นได้ชัดว่า คณะอนุกรรมการชุดต่างๆนั้น ก็เสนอแต่งตั้งโดยเลขาธิการสปสช. โดยรายชื่ออนุกรรมการต่างๆนั้น ส่วนมากก็คือสมาชิกกลุ่มตระกูลส.และ NGO สาธารณสุข
ซึ่งในการประชุมกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้น เลขาธิการสปสช.ก็จะจัดทำระเบียบวาระการประชุมตามที่คณะอนุกรรมการชุดต่างๆเสนอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือคณะอนุกรรมการประสานนโยบายและยุทธศาสตร์ ที่มีนพ.วิชัย โชควิวัฒน์เป็นประธานอนุกรรมการ
ถ้ากรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่ได้อ่านและศึกษารายละเอียดอย่างถี่ถ้วน ก็น่าจะทำให้ ทิศทางการทำงานของคณธกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นไปตามแนวทางของกลุ่มชมรมแพทย์ชนบททั้งสิ้น
จึงเห็นได้ว่าตัวบทกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้น ก่อให้เกิดปัญหาอุปสรรคต่อการจัดบริการสาธารณสุขได้ง่าย เราะมีกลุ่มบุคคลเข้าไปใช้อำนาจบริหารจัดการตามความเห็นของกลุ่ม โยคณะกรรมการส่วนใหญ่ไม่ได้เฉลียวใจ
จะเห็นได้ว่า มีการตรวจสอบจากคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาการบริหารงานและการใช้จ่ายงบประมาณของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 11/ 2558 ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2558 และได้นำเสนอลการตรวจสอบในหลายประเด็น ซึ่งประเด็นที่น่าสนใจคือ
1.มีการจ่ายเงินให้กับหน่วยงานหรือองค์กรที่ไม่มีสิทธิจะได้รับเงินตามกฎหมาย(1)
มีรายละเอียดจาการตรวจสอบของคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ(คตร.)ที่น่าสนใจหลายกรณี เช่น มีการจ่ายเงินให้แก่มูลนิธิแพทย์ชนบท โดยผู้ทำสัญญาจ่ายเงินได้แก่รองเลขาธิการสปสช.ซึ่งอดีตเคยเป็นกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบท และผู้ทำสัญญารับเงินคือประธานมูลนิธิแพทย์ชนบทซึ่งในขณะเดียวกันก็เป็นกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติด้วย ซึ่งเข้าข่ายการประพฤติมิชอบ(ทำผิดกฎหมาย) และการมีผลประโยชน์ทับซ้อน
2.การทุจริตประพฤติมิชอบในการจัดซื้อยา เวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์ เช่นการจัดซื้อยาแบบ VMI (2) (Vender Managed Inventory)ที่ให้องค์การเภสัชจัดซื้อ แล้วให้โรงพยาบาลไปเบิกยา เวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์จากองค์การเภสัช ที่สปสช.อ้างว่าประหยัดงบประมาณได้ แต่ยาที่ได้มานี้อาจมีผลทำให้การรักษาผู้ป่วยไม่ดี เพราะยาที่ได้ไม่เหมาะสมหรือขาดมาตรฐาน แต่สปสช.ได้เปอร์เซ็นต์การซื้อยาจากองค์การเภสัช ซึ่งเป็นการผิดกฎหมายเนื่องจากกฎหมายไม่ได้ให้อำนาจสปสช.ไปซื้อยา เวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์เอง(3) รวมไปถึงระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการที่กำหนดให้เบิกจ่ายสเต็นท์ (ขดลวดถ่างเส้นเลือดหัวใจ)แบบ เดียวกับของสปสช. ที่แพทย์พบว่ามีปัญหาหลุดรั่ว และขดลวดไหลเข้าสู่อวัยวะผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตหรืออัมพาต(4) โดยแพทย์ได้เรียกร้องให้กรมบัญชีกลางยกเลิกระเบียบการจัดซื้อเวชภัณฑ์แบบสปสช.
และยังมีรายงานการวิจัยของ TDRI ที่ระบุชัดเจนว่า ผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีอัตราตายสูงกว่าผู้ป่วยในระบบสวัสดิการข้าราชการ(ดังกล่าวแล้วในตอนที่ 5)
3. การโอนเงินจำนวนมากให้แก่โรงพยาบาล 200 แห่งในวันเดียวกันก่อนสิ้นปีงบประมาณ และเรียกกลับคืนของสปสช(5). น่าจะเป็น“การตกแต่งบัญชี”(6) ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (เพื่อให้สปสช.มีผลงานบริหารกองทุนดี และได้รับผลประโยชน์จากการได้รับโบนัส) ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
4.การเอางบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไปใช้เป็นค่าเสื่อม และเอาไปใช้ช่วยเหลือผู้ให้บริการ รวมทั้งการเอางบประมาณไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายประจำในการดำเนินกิจการของโรงพยาบาล เช่นค่าจ้างลูกจ้างชั่วคราว ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการของเจ้าหน้าที่ ค่าตอบแทนภาระงาน ค่าสาธารณูปโภค ค่าจ้างเหมาบริการ และค่าพัฒนาบุคลากร ก็เป็นการทำผิดกฎหมาย
และมีข้อเสนอแนะให้แก้ไขกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในกรณีที่มีความจำเป็นจะต้องทำเช่นนี้
ต่อมาเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2559 ได้มีประกาศของหัวหน้าคสช. ที่ 37/2559 โดยใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2557 ว่ามีเหตุขัดข้องบางประการทำให้เป็นอุปสรรคต่อความคล่องตัวในการบริหารและประสิทธิภาพของการให้บริการของหน่วยบริการ ส่งผลกระทบถึงการให้บริการด้านการแพทย์และการสาธารณสุขแก่ประชาชนโดยรวม สมควรแก้ไขข้อขัดข้องในขณะนี้โดยเร็ว เพื่อประโยชน์ต่อการบริการสาธารณสุขของประเทศ และประชาชนผู้รับบริการในระหว่างที่จะได้มีการดำเนินการแก้ไขกฎหมายวาด้วยหลักประกันสุขภาพต่อไป
จากคำสั่งคสช.ฉบับนี้ แสดงให้เห็นว่ากฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ก่อให้เกิดปัญหาอุปสรรคในการจัดบริการสาธารณสุขของโรงพยาบาล(หน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ) นอกจากนั้นแล้วคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติยังได้บริหารงานผิดวัตถุประสงค์ของกฎมายหลักประกันแห่งชาติ ทำให้การบริหารงานของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติก่อให้เกิดปัญหาอุปสรรคในการจัดบริการประชาชนของหน่วยบริการ
ในการบริหารงานที่ผิดกฎหมายและวัตถุประสงค์ต่อกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินี้ บางกรณีอาจจะทำไปเพื่อแก้ปัญหาของหน่วยบริการ แต่ยังมีอีกหลายกรณีที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทุจริตประพฤติมิชอบดังกล่าวแล้วข้างต้น
นอกจากนั้นในคำสั่งคสช.ฉบับที่ 37/ 2559 นี้ ยังกำหนดให้เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสามารถนำมาใช้จ่ายเป็นค่าบริการบำบัดทดแทนไตด้วยการล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องได้อีก ทั้งๆที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคไตได้ออกมาเรียกร้องให้ยุติการบังคับให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายต้องยอมรับการบำบัดด้วยการล้างไตทางหน้าท้องอย่างต่อเนื่อง เพราะมีอัตราตายสูงและไม่เหมาะกับผู้ป่วยทุกคน
ที่สำคัญยังมีการร้องเรียนเรื่องการทุจริตและความบกพร่องในการจัดซื้อน้ำยาล้างไตทางช่องท้อง ที่ทำให้ผู้เชี่ยวชาญโรคไต คือนพ.ดำรัส โรจนเสถียร ได้ร่วมมือกับผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรมนพ.สุวัช เซียศิริวัฒนา ผู้อำนวยการอง์การเภสัชกรรมคนใหม่ (ต่อจากนพ.วิฑิต อรรถเวชกุล) เพื่อพัฒนาปรับปรุงการบริหารสติคสินค้าที่ไม่สามารถส่งน้ำยาได้ตรงตามความต้องการจริง (7) รวมทั้งแก้ไขปัญหาที่ผู้ป่วยมีอัตราตายสูง
แต่ไม่นานโครงการพัฒนาการบริหารจัดการน้ำยาล้างไตก็หยุดชะงักไป และผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรมก็ถูก บีบให้ลาออกจากตำแหน่ง (8)และมีการแต่งตั้งบอร์ดองค์การเภสัชกรรมใหม่ มีการแต่งตั้งผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรมคนใหม่ เรื่องการพัฒนาการบริหารจัดการเรื่องน้ำบยาล้างไตก็เลยยุติไป ไม่มีการกล่าวถึงอีก
ฉะนั้น ถ้าหัวหน้าคสช.สนใจที่จะแก้ปัญหาในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่เป็นอุปสรรคในการบริหารราชการของกระทรวงสาธารณสุขและคุณภาพมาตรฐานการรักษาผู้ป่วยแล้ว นอกจากการแก้ไขพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติแล้ว น่าจะต้องยุติปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบก่อนและต้องเรียกเงินที่ใช้ไปโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายกลับคืนมาสู่กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อนำไปใช้ในการ “จ่ายเป็นค่าบริการสาธารณสุข”แก่ “หน่วยบริการ” เพื่อให้หน่วยบริการต่างๆมีงบประมาณไปซื้อยา เวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์ที่ได้มาตรฐานเหมาะสมกับการรักษาผู้ป่วยแต่ละคน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย
โปรดยุติการรักษาผู้ป่วยแบบเหมาโหลโดยด่วน

เอกสารอ้างอิง
1. http://thaipublica.org/2015/01/public-health-services-52/ เจาะ งบ สปสช. ใช้เงินเหมาจ่ายรายหัวประชาชนผิดประเภท แจกทำวิจัยและไม่ใช่หน่วยบริการตามกม.มีชื่อ”นพ.สมศักดิ์”รมช.สาธาธารณสุข – คตร. สั่งปลัดสาธารณสุขเร่งรัด สปสช. หาคนผิดลงโทษ
2. http://healthnewsdaily.blogspot.com/2012/09/vmi-13.html ฟุ้งระบบ VMI ลดค่าใช้จ่ายด้านยาไป 13,000 ล้านบาท
3. http://thaipublica.org/2015/03/public-health-services-57/ เปิด รายงานดีเอสไอระบุ สปสช. ไม่มีหน้าที่ซื้อยา-เวชภัณฑ์ แถมเอาเงินส่วนลดจากองค์การเภสัชไปใช้เอง เที่ยวต่างประเทศ ซื้อรถตู้ ให้เงินทำวิจัย – 4 ปี ได้เงินไปกว่า 240 ล้านบาท
4. http://www.mcot.net/site/content... ชี้เสต็นท์สปสช.มีปัญหา เรียกร้องกรมบัญชีกลางแก้ระบียบ
5. . http://www.thaiclinic.com/cgibin/wb_xp/YaBB.pl... สปสช.โอนเงินกว่า 1,000 ล้านบาทให้แก่รพ. 200 แห่งในวันเดียว
6. http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx... ความไม่รู้หรือความจงใจในการลงบัญชีที่ไม่ถูกต้องที่ สปสช.?
7. http://thaipublica.org/2014/08/dumras-gpo-capd/ องค์การ เภสัชกรรม-นพ.ดำรัส โรจนเสถียร แจงโครงการนำร่องลดการตายผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง ชี้ตัวเลขไทยสูงปริ๊ด 28% เทียบทั่วโลกอยู่ที่ 5%
8. https://www.hfocus.org/content/2014/11/8533 มติชนสัมภาษณ์พิเศษ 'นพ.สุวัช เซียศิริวัฒนา' ปมร้อน เลิกจ้าง ผอ.อภ.

12 กย 2559

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
สมุดปกขาว 7

กลุ่มตระกูลส. และเป้าหมายเปลี่ยนสังคมแนวดิ่งเป็นแนวราบ
ผ่านการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสาธารณสุข

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ใครคือผู้ขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสาธารณสุข?
จะเห็นได้ว่ากลุ่มตระกูลส.เป็นผู้ครองอำนาจในการเป็น “ผู้บริหารระดับสูง” ในองค์กรอิสระด้านสาธารณสุขทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็น เลขาธิการสปสช. ผู้อำนวยการสวรส. ผู้จัดการสสส. เลขาธฺการสช. เลขาธิการสพฉ. ฯลฯ
เมื่อมีข่าวเผยแพร่ทั่วไปว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า 30บาททำโรงพยาบาลเจ๊ง แต่ก็จะไม่เลิก 30บาท(1,2,3) แต่ต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้มีงบเพิ่ม จะเอาทุกอย่างแล้วจะเอางบมาจากไหน? และถามว่าประเทศไทยมีความพร้อมหรือยัง แล้วอีก 190 ประเทศทั่วโลกทำไมเขาจึงไม่ทำกันแบบประเทศไทย?(3) ก็เลยต้องมาทบทวนประวัติศาสตร์ ว่าระบบสาธารณศุขไทยเดินมาถึง “การเจ๊ง” ได้อย่างไร?

ระบบสาธารณสุขก่อน “30 บาท”
ก่อนที่จะมีระบบ 30บาท กระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานสูงสุดระดับชาติ ในการรับภาระดำเนินการในด้านการบริหารจัดการด้านการแพทย์ สาธารณสุข และการจัดบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขแก่ประชาชน ตามนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของกระทรวงสาธารณสุขในฝ่ายการเมือง และปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในฝ่ายข้าราชการประจำที่จะควบคุมการทำงานของข้ราชการและบุคลากรทุกระดับของกระทรวง ให้ทำงานเพื่อประชาชนตามนโยบายของรัฐบาล โดยกระทรวงสาธารณสุขก็ได้รับงบประมาณแผ่นดินในการบริหารจัดการดำเนินการตามภารกิจหน้าที่เหมือนกับกระทรวงอื่นๆทุกกระทรวงในประเทศไทย

ระบบสาธารณสุขหลัง “ 30 บาท”
แต่เมื่อมีกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแล้ว กระทรวงสาธารณสุขกลายเป็นเป็ดง่อย ไม่ได้รับงบประมาณในการดำเนินงานตามภารกิจให้บริการแก่ประชาชน มี “เจ้านาย”เพิ่มขึ้นเป็นคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและเลขาธิการสปสช. ที่ไม่มี “อำนาจสั่งการ”กระทรวงสาธารณสุขตามกฎหมาย แต่ใช้ “อำนาจที่มีเงินงบประมาณในมือ” มาบังคับให้กระทรวงสาธารณสุขต้องทำตามกฎระเบียบของสปสช.(ทั้งที่ถูกต้องตามกฎหมายและไม่ถูกต้องตามกฎหมาย) จนเกิดปัญหาการขาดดุลงบประมาณ ไม่มีเงินจัดบริการสาธารณสุขอย่างมีคุณภาพมาตรฐานได้ จนนายกรัฐมนตรีกล่าวว่ารพ.จะเจ๊งดังกล่าวข้างต้น
ประเทศไทยเดินมาถึงจุดที่เป็นอยู่วันนี้ก็เพราะมีการ “จัดตั้งขบวนการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสาธารณสุข”
การจัดตั้ง “ขบวนการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสาธารณสุข”
เริ่มจากการรวมตัวของแพทย์ อาจารย์แพทย์และวิชาการหลายคน ได้รวมตัวกันตั้ง “มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ” (มสช.) ขึ้น โดย “โอนเงินงบประมาณทั้งสิ้นมาจากสำนักระบาดวิทยาแห่งชาติ” ที่ถูกรัฐมมนตรีสาธารณสุข(นายบุญพันธ์ แขวัฒนะ)สั่งยุบ เนื่องจากสำนักระบาดวิทยาแห่งชาติที่มีศ.นพ.ประเวศ วะสี เป็นประธานกรรมการระบาดวิทยาแห่งชาติ ไม่ยอมส่งงบการเงินของสนง.(ได้รับเงินจากมูลนิธิต่างประเทศและงบประมาณจากกระทรวงสาธารณสุข) ให้แก่กระทรวงสาธารณสุข (4)
จะเห็นได้ว่าประธานมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติคนปัจจุบันคือศ.นพ.ประเวศ วะสี ได้อธิบายถึงการจัดตั้งมสช. และการดำเนินงาน “ถักทอเครือข่าย” จนประสบความสำเร็จในการ “จัดตั้งองค์กรอิสระทางสาธารณสุข” ได้แก่ สวรส. สสส. สปรส. สปสช.และต่อมาก็มีสช.(สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ) สพฉ.(สำนักงานการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ)
องค์กรตระกูลส.สามารถขยายเครือข่าย “ผู้เลื่อมใส ยกย่องสรรเสริญ และเป็นพรรคพวก” โดยใช้เงินงบประมาณแผ่นดินจากการ “แจกทุนวิจัย” จากสวรส. สกว. สสส. สปสช. การแจกเงินทำโครงการ การสนับสนุนด้านการเงินทั้งทางตรงและทางอ้อมมากมาย การจัดประชุมมวลชนผ่านทาง “สมัชชาสุขภาพ” การตั้งมูลนิธิไปรอรับทุนจากองค์กรตระกูลส.มากมายหลายสิบ(หรือร้อย)มูลนิธิ และการสร้างองค์กรลูกมากมายหลายสิบองค์กร
องค์กร “ลูก” ของสวรส.มีจำนวนมากมายหลายสิบองค์กร และเมื่อสวรส.หา “ช่องทางเข้าถึงรัฐบาล”ได้ องค์กรลูกของสวรส.ก็ออกมาจัดตั้งเป็นองค์กรอิสระ เช่น สรพ.(สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล) และยังตั้งองค์กรเครือข่ายในกระทรวงสาธารณสุข เช่น สวปก. สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ หรือ IHPP( International Health Policy Program) และยังสามารถ “ถักทอเครือข่าย” ออกไปนอกงานของสาธารณสุข ได้แก่ (สกว.)สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ( สวทช.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กสทช.( สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) และยังมีการประสานงานกับ NGO ในการจัดตั้ง “มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค” รวมทั้งการดำเนินการ “ขยายเครือข่าย”อย่างต่อเนื่อง โดยอาศัย”งบประมาณแผ่นดิน” ที่จัดสรรมาให้ “องค์กรอิสระ” ที่สมาชิกกลุ่มเป็นผู้บริหารระดับสูงสุดขององค์กร” ออกมาทำโครงการเพื่อขยายเครือข่าย อาจจะใช้งบประมาณเหล่านี้ มาจัดตั้งมูลนิธิ หรือทำโครงการต่างๆ เช่น มูลนิธิอิศรา มเป็นเครือข่ายด้านสื่อสารมวลชน เพื่อประชาสัมพันธ์งาน มูลนิธิภิวัฒน์สาธารณสุข ทำ web hfocus โครงการเครือข่ายพัฒนาผู้นำการสร้างสุขภาวะแนวใหม่ (คศน.)(5) รวมทั้งการขยายเครือข่ายไปยังภาคประชาชน เช่นกรณีของสวรส. และสสส.ที่ลงไปทำกิจกรรมร่วมกับประชาชน และการส่งคนในกลุ่มเข้าไปเป็นรัฐมนตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐบาลที่มาจากการ “ยึดอำนาจของทหาร” เช่น นพ.พลเดช ปิ่นประทีป ในยุครัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้ออกพ.ร.บ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2551 และมาเป็นประธานกรรมการองค์การนี้ หรือนพ.มงคล ณ สงขลา เข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และออกระเบียบให้เลขาธิการสปสช.จัดซื้อพัสดุได้ ครั้งละ 1,000 ล้านบาท หรือนพ.รัชตะ รัชตนาวินและนพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ มาเป็นรมว.และรมช.ในยุครัฐฐาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ฯลฯ
การ”ถักทอเครือข่าย”ที่ว่านี้ ก็คือการไปร่วมก่อตั้ง หรือ “ส่งคนในกลุ่ม”ออกไปเป็นกรรมการในองค์กรนั้นๆซึ่งสามารถค้นหาความเกี่ยวข้องกับกลุ่มคนเหล่านี้ได้ไม่ยาก
จึงเห็นได้ว่าศ.นพ.ประเวศ วะสี ได้สร้างเครือข่ายไว้มากมายแทบจะทุกองค์กร โดยเรียกว่า “กลุ่มประชาสังคม” ที่สามารถจัดตั้งองค์กรที่มีชื่อย่อตั้งต้นจากส. พวกเขาเรียกตัวเองด้วยความภาคภูมิใจว่า “ตระกูลส.” (6)
โดยสรุปตระกูลส.ประกอบไปด้วยสมาชิกร่วมก่อตั้ง และสมาชิกรุ่นหลังซึ่งอาจจะเป็นผู้เลื่อมใสในผลงาน รวมทั้งผู้ได้รับผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยผลประโยชน์นั้นอาจจะถูกกฎหมาย (สีขาว) มีผลประโยชน์ทับซ้อน (สีเทา ซึ่งพวกเขามักจะอ้างว่า “ตีความกฎหมายไม่เหมือนกัน) หรือ ผิดกฎหมาย (สีดำ)
1.สมาชิกอาวุโสและแกนนนำ คือศ.นพ.ประเวศ วะสี และอีกหลายๆคน
2. แพทย์จากสมาชิกชมรมแพทย์ชนบท และเครือข่ายที่เข้ามาเป็นกรรมการ อนุกรรมการ ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ในองค์กรตระกูลส.
3.ผู้รับทุนจากมูลนิธิ และนำไปจัดตั้งมูลนิธิใหม่
4. NGOกลุ่มต่างๆ
5.ผู้บริหารระดับสูงในองค์กรตระกูลส. กรรมการ อนุกรรมการ และเจ้าหน้าที่ในองค์กรเหล่านั้น
การดำเนินการของเครือข่ายเหล่านี้มีเป้าหมายสุดท้ยคืออะไร?
การจัดตั้งองค์กรอิสระนอกราชการ ทำให้พวกเขาสามารถขยายเครือข่ายและ “ขับเคลื่อน”การปฏิรประบบการแพทย์และสาธารณสุข รวมทั้งมีส่วนเข้าไปเป็นรัฐมนตรี “สมาชิกสภาปฏิรูปประเทศ” สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในยุคทหารยึดอำนาจได้เสมอ และสามารถผลักดันให้มีการออกกฎหมายได้ทั้งในยุคเลือกตั้ง และยุคทหารได้ตลอดมา
ผลดีจากการทำงานของพวกเขามีบ้างไหม?
คำตอบก็คือ ประชาชนได้ประโยชน์จากการมีหลักประกันสุขภาพ แต่เมื่อก่อนประชาชนได้รับสวัสดิการในราคาถูก และคนจน พิการ ด้อยโอกาส เด็ก คนชรา ได้รับการยกเว้นการจ่ายเงิน (แต่ตอนหลังพวกเขามาบิดเบือนว่า “ประชาชนไม่ต้องการเป็น “ขอทาน”สุขภาพ )
แต่ความตั้งใจที่จะแก้ระบบสาธารณสุขแบบนี้ กลับทำร้ายคุณภาพมาตรฐาน และทำลายความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ การประเมินผลลัพทธ์ของระบบก็ประเมินแค่ “ความพึงพอใจ” ไม่เคยรับรองมาตรฐานการบริการด้านสาธารณสุขแก่ประชาชน ประชาชนได้รับสิทธฺในการรับบริการสุขภาพ แต่สิทธฺที่จำกัดด้วยจำนวนเงินนั้นเองได้กลับไปทำลายสุขภาพประชาชนในหลายๆโครงการ เช่า การรักษาไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย การผ่าตัดต้อกระจก การใส่เส้นลวดขยายหลอดเลือดหัวใจ ฯลฯ
และการบริหารสปสช.ทำให้งบประมาณหายไปจากระบบไปสู่องค์กรที่ไม่ใช่หน่วยบริการรักษษผู้ป่วย (ที่ขาดงบประมาณอยู่แล้วให้ขาดงบประมาณยิ่งขึ้น ทั้งที่เป็นสีขาว สีเทา และสีดำคังกล่าว ซึ่งนายกพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กำลังต้องการปราบการคอรัปชั่นและทุจริตประพฤติมิชอบของข้าราชการ พ่อค้า เอกชน ประชาชน แต่จะปราบปรามพฤติกรรมสีเทาและสีดำในองค์กรตระกูลส.ดังกล่าวได้หรือไม่? เพื่อยุติความเสียหายในระบบสาธารณศุขและความเสียหายต่อสุขภาพของประชาชน

เป้าหมายสุดท้าย “เปลี่ยนสังคมจากแนวดิ่งเป็นแนวราบ”
แต่เป้าหมายสุดท้ายของศ.นพ.ประเวศ วะสี ยังไม่จบแค่นี้ เพราะขาได้แจกหนังสือ(6)ที่เขาเขียนในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในปีนี้ว่า เชาต้องการเปลี่ยนสังคมจากแนวดิ่งเป็นแนวราบ ผ่านกฎหมายปฏิรูปสังคม แบบประชาธิปไตยทางตรง ให้ครม.มาประชุมรับฟังประชาชนแต่ไม่มีสิทธิออกเสียง
แต่ไม่รู้ว่าประชาชนที่มาประชุมเพื่อเสนอความเห็นให้ครม.นั้น จะถูก “เลือกตั้ง”มาเป็นผู้แทนประชาชนจริง หรือเป็นประชาชนที่กลุ่มตระกูลส.เลือกมา แบบการประชุมสมัชชาสุขภาพทั่วประเทศของสำนักงานสุขภาพแห่งชาติ
และคำถามสุดท้ายคือ มันเป็นเป้าหมายของ “การปฏิวัติของประชาชน”หรือไม่

เอกสารอ้างอิง
1. http://news.mthai.com/hot-news/politics-news/451734.html ‘ประยุทธ์’ เหน็บ ประกัน 30 บาทรักษาทุกโรค ทำโรงพยาบาลเจ๊งหลายแห่ง ชี้ ยังไม่พร้อมที่จะทำ
2. https://www.youtube.com/watch?v=ibXJ4kepCPM 1. ท่านประยุทธ์โวยโครงการ 30บาทรักษาทุกโรคสร้างความเสียหายให้โรงพยาบาล
3. http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx... “บิ๊กตู่” ตีกลับข้อสรุป “นพ.ณรงค์” ไปเขียนให้ชัด ลั่นไม่เลิก 30 บาทแต่ถามชาติพร้อม-งบพอหรือไม่
4. http://www.thainhf.org/?module=page&page=detail&id=2 สาส์นจากประธานมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
5. http://www.wasi.or.th/wasi/index.php?page=about&group_=06... เครือข่ายพัฒนาศักยภาพผู้นำสร้างสุขภาวะ”
6. หนังสือปฏิรูปสังคม โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี แจกในการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2559 ที่ศูนย์ประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี

16 กย 2559

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
สมุดปกขาว 8
ทำไมเลขาธิการสปสช.จึงมีแต่สมาชิกตระกูลส.เท่านั้น
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ในรอบ 15 ปีที่ผ่านมาในระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีการจัดตั้งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)ในปีพ.ศ. 2545 นั้น จะเห็นได้ว่ามีผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสปสช.เพียง 2 คน คือนพ.สงวน นิตารัมภ์พงศ์ และนพ.วินัย สวัสดิวร ซึ่งทั้งสองคนนี้ก็เป็นสมาชิกตระกูลส.ทั้ง 2 คน
นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์คือแกนนำคนสำคัญของชมรมแพทย์ชนบทและมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ และเป็นผู้ที่มวลสมาชิกชมรมแพทย์ชนบทยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งการประกันสุขภาพ” (1) และเป็นผู้ไปนำเสนอโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติต่อนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร และได้รับการสนับสนุนให้ออกกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยกำหนดให้ประชาชนที่ไปรับการรักษา(ที่สถานพยาบาลที่ได้ขึ้นทะเบียนกับสปสช.) จ่ายเงินครั้งละ 30 บาท ซึ่งต่อมากลายเป็นสโลแกนในการหาเสียงว่า “30 บาทรักษาทุกโรค”
นพ.สงวนจึงได้เป็นเลขาธิการสปสช.เป็นคนแรก และพวกเขาเองได้ร่างกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มาตรา31 กำหนดให้เลขาธิการสปสช.มีอำนาจเต็มในการบริหารกิจการของสำนักงานให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด นโยบาย มติ และประกาศของคณะกรรมการ และเป็นผู้บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของสำนักงานทุกตำแหน่ง
มาตรา 35 เลขาธิการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดำรงตำแหน่งในระดับสูงและให้ถือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งต้องห้ามมิให้ดำเนินกิจการที่เป็นการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามทุจริตด้วย
และมาตรา 36 (1) เลขาธิการมีอำนาจหน้าที่บรรจุ แต่งตั้ง ลด ตัดเงินเดือน หรือค่าจ้าง ลงโทษทางวินัยเจ้าหน้าที่และลูกจ้างสำนักงาน ตลอดจนให้เจ้าหน้าที่และลูกจ้างของสำนักงานออกจากตำแหน่ง ทั้งนี้ตามข้อบังคัฐที่คณะกรรมการกำหนด และในกรณีของเจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในสำนักงานตรวจสอบ ให้ฟังความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบประกอบการพิจารณาด้วย
จึงเห็นได้ว่าเลขาธิการสปสช.มีอำนาจเต็มในการ “สั่งการ”ที่เกี่ยวกับการกำหนดตำแหน่ง/อัตรากำลัง ตั้งอัตราเงินเดือนและค่าตอบแทน เลือกบุคคลมาดำรงตำแหน่ง และลงโทษเจ้าหน้าที่และลูกจ้างทุกคน โดยไม่ต้องขอ “อนุมัติจากผู้ใดเลย” ทั้งๆที่ตำแหน่งเลขาธิการสปสช.นั้น แท้จริงแล้ว เป็นเพียง “เลขานุการของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” เท่านั้น ควรที่จะต้องแก้ไขกฎหมาย เพื่อที่จะกำหนดให้การบริหารสปสช.ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมและกำกับของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติด้วย
นอกจากฎหมายจะให้อำนาจสูงสุดแก่เลขาธิการสปสช.ในการบริหารสำนักงานแล้ว เลขาธิการสปสช.ยังได้รับ “อำนาจสูงขึ้นอีก”ในยุคของรัฐมนตรีสธ.ที่ชื่อนพ.มงคล ณ สงขลา (แกนนำตระกูลส.) กล่าวคือนพ.มงคล ณ สงชลา ประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพในขณะนั้น ได้ออกประกาศระเบียบพัสดุ ให้เลขาธิการสปสช.มีอำนาจสั่งจ่ายเงินซื้อยาและเวชภัณฑ์ได้ครั้งละไม่เกิน 1,000 ล้านบาท โดยไม่ต้องขออนุมัติจากคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(2) ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เป็นไปตามประกาศของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ฉะนั้นเลขาธิการสปสช.จึงอาจทำการได้หลายอย่างโดยไม่ต้องขออนุมัติคณะกรรมการฯเลย เช่นการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในทุกสาขาของสปสช.เขตตามจังหวัดต่างๆ การแต่งตั้งที่ปรึกษา การกำหนดเงินเดือนของเจ้าหน้าที่ต่างๆ โดยที่ไม่จำเป็นต้องขออนุมัติจากคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเลย
และสตง.ได้ชี้ประเด็นว่าสปสช.มีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรสูงเกินกว่าหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
การที่เลขาธิการสปสช.มีอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการบริหารสำนักงานนี่เอง จึงทำให้มวลสมาชิกของกลุ่มตระกูลส.ต้องการให้สมาชิกกลุ่มที่ “ไว้ใจได้” มาเป็นเลขาธิการเท่านั้น และเลขาธิการก็สามารถตั้ง “พรรคพวก”ของกลุ่มมาเป็นรองเลขาฯผู้ช่วยเลขา และเจ้าหน้าที่และพนักงานได้ทุกตำแหน่ง โดยไม่ต้องขออนุมัติหรือขอความเห็นจากคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแต่อย่างใด
จะเห็นได้ว่าเมื่อนพ.วินัย สวัสดิวร ถูกคำสั่งม.44 ย้ายออกจากตำแหน่ง สปสช.ก็ยังแต่งตั้งเขามาเป็นที่ปรึกษาสปสช. และเมื่อนพ.ประทีป ธนกิจเจริญ ไม่ได้รับการรับรองให้เป็นเลขาธิการสปสช. ก็มีการแต่งตั้งให้กลับมาเป็นที่ปรึกษาสปสช.ได้อีก เนื่องจากเป็นคนกลุ่มเดียวกัน อยากจะตั้งมาดำรงตำแหน่งอะไรในสำนักงานก็ได้ ไม่ต้องขออนุญาตขากใครและไม่ต้องเกรงใจใคร
แม้เมื่อนางเนตรนภิส สุชนวนิชรองเลขาธิการสปสช.จะเกษียณอายุราชการ ก็ยังแต่งตั้งให้นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา ผู้ที่กำลังทดลองงานในตำแหน่งรองเลขาธิการสปสช.ยังไม่ครบ 4 เดือนตามระเบียบของสปสช. ให้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งเลขาธิการสปสช. เป็นการแต่งตั้งพวกเดียวกัน ให้มา “สืบทอดอนาจในการบริหารสปสช.”ต่อจากตนเองก่อนเกษียณอายุงาน
ซึ่งจะเห็นได้ว่านพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนานี้เป็นผู้ที่แสดงออกถึงความใกล้ชิดกับนพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสปสช.ที่ถูกคำสั่งมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2557 ให้ออกจากตำแหน่ง นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา ได้ออกมาให้การสนับสนุนนพ.วินัย สวัสดิวรอย่างเปิดเผย (3)
เขาจึงได้รับการคัดเลือกจากตำแหน่งผู้อำนวยการสปสช.เขต 9 จังหวัดนครราชสีมา ให้เข้ามาทำหน้าที่ทดลองงานในตำแหน่งรองเลขาธิการสปสช. และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองเลขาธิการสปสช.ในขณะที่ยังไม่ครบกำหนดเวลาทดลองงาน ซึ่งเป็นผลการ “ทิ้งทวน”ของนางเตรนภิส สุชนวณิช รองเลขาธิการสปสช.ที่จะเกษียณอายุ จึงต้องแต่งตั้ง “ทายาทตระกูลส.” ให้มาทำหน้าที่ผู้บริหารสูงสุดของสปสช.สืบทอดอำนาจของกลุ่มต่อไป
และเมื่อนพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา รองเลขาธิการสปสช.ทำหน้ที่รักษาการเลขาธิการสปสช. ก็ได้แต่งตั้งรองเลขาธิการสปสช.อีก 4 ตำแหน่ง และผู้ช่วยเลขาธิการสปสช.อีก 2 ตำแหน่ง
จึงเห็นได้ว่าตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงในสปสช.นั้น เลขาธิการสปสช.มีอำนาจเต็มในการแต่งตั้งและขยายตำแหน่งได้โดยเอกเทศ ไม่ต้องขอความเห็นชอบจากผู้ใดตามที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
เมื่อกลุ่มตระกูลส.สามารถจัดสรรให้กลุ่มของตนมาเป็นเลขาธิการสปสช.แล้ว ก็สามารถ “ควบคุม”การแต่งตั้ง เพิ่มอัตรากำลัง และขยายตำแหน่งเจ้าหน้าที่ ลูกจ้างหรือบุคลากรทุกระดับของสปสช.ได้ทุกคน ตามที่พวกเขาได้เขียนไว้แล้วในกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ฉะนั้นจึงเห็นได้ว่าตำแหน่งเลขาธิการสปสช.มีความสำคัญมากในการที่จะสามารถ “รวบอำนาจในการบริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไว้เพียงผู้เดียว” ซึ่งเมื่อเริ่มตั้งสำนักงานในปีพ.ศ. 2545 นั้น นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เป็นเลขาธิการสปสช.และมีอำนาจสิทธิขาดในการบริหารสำนักงานและจัดสรรอัตรากำลังและตำแหน่งบุคลากรของสปสช.ได้อย่างมากมาย
เมื่อนพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ หมดวาระเป็นเลขาธิการสมัยแรก ได้มีการสรรหาเลขาธิการสปสช.คนใหม่ ปรากฎว่าคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ลงคะแนนเลือกนพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ และนพ.พินิจ หิรัญโชติ คนละ 12 คะแนนเท่ากัน โดยในขณะนั้น ประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ลงคะแนน 2 ครั้ง คือลงคะแนนครั้งแรกที่ผลคะแนนเท่ากัน นพ.มงคล ณ สงขลา จึงได้ออกเสียงอีกครั้งหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาดให้นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ได้เป็นเลขาธิการสปสช.เป็นวาระที่ 2
ต่อมาเมื่อนพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ถึงแก่กรรมในขณะดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่ 2 ก็ได้เปิดให้มีการรับสมัครและสรรหาเลขาธิการคนใหม่ และกรรมการสรรหาได้คัดเลือกให้ผู้สมัคร3 คนเสนอให้กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพิจารณา คือนพ.วินัย สวัสดิวร รองเลขาธิการสปสช. นพ.สุรจิต สุนทรธรรมและนพ.พลเดช ปิ่นประทีป และคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเลือกนพ.วินัย สวัสดิวรเป็นเลขาธิการสปสช.เป็นคนที่ 2 และเขาได้ดำรงตำแหน่งจนครบวาระ 4 ปี
การ“ควบคุมและกำกับทิศทาง”ในการบริหารสปสช.โดยกลุ่มบุคคลตระกูลส.ในฐานะอนุกรรมการประสานยุทธศาสตร์
ในช่วงที่นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ล้มป่วยและต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล ได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพิ่มเติมอีกเป็น 13 คณะ โดยกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่มาจากกลุ่มตระกูลส. จะมีตำแหน่งเป็นอนุกรรมการอยู่คนละหลายคณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุกรรมการที่สำคัญคืออนุกรรมการประสานยุทธศาสตร์ที่มีนพ.วิชัย โชควิวัฒนแกนนำคนสำคัญของชมรมแพทย์ชนบทและประธานมูลนิธิแพทย์ชนบท เป็นประธานอนุกรรมการประสานยุทธศาสตร์ โยอนุกรรมการชุดนี้มีอำนาจหน้าที่สำคัญคือ
1.พัฒนาและจัดทำข้อเสนอในภาพรวมของการพัฒนายุทธศาสตร์ของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
2.ประสานยุทธศาสตร์ที่เกิดขึ้นโดยคณะกรรมการชุดต่างๆให้เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน เพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบ
3.พิจารณากลั่นกรองเรื่องที่จะนำเสนอขอความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
4.กำกับ ติดตามการบริหารงาน และส่งเสริมสนับสนุน รวมทั้งอนุมัติกรอบและแผนการพัฒนาโครงสร้างระบบงาน และอัตรากำลังชองสปสช.
5.แต่งตั้งคณะทำงานที่เกี่ยวข้องตามความจำเป็น
6 .ปฏิบัติภารกิจอื่นๆตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมอบหมาย
ซึ่งเมื่อดูถึงตัวบุคคลในคณะอนุกรรมการประสานยุทธศาสตร์ชุดนี้ ประกอบไปด้วยนพ.ไพจิตร ปวะบุตร นายอัมมาร สยามวาลา พลโทพิศาล เทพสิทธา ศ.วิจิตร ศรีสุพรรณ นายจอน อึ้งภากรณ์ นายยุทธ โพธารามิก นายสุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ผศ.สำลี ใจดี นส.สุรีรัตน์ ตรีมรรคา ซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่สำคัญตามที่กำหนดไว้ตามคำสั่งแต่งตั้งอนุกรรมการดังข้างต้นแล้วนั้น จะเห็นได้ว่าคณะอนุกรรมการประสานยุทธศาสตร์นั้น เปรียบเสมือนเป็นผู้“กำกับทิศทาง”ในการบริหารสปสช.ให้แก่เลขาธิการสปสช.นั่นเอง ในตอนแรกก็เพื่อแบ่งเบาภารกิจของเลขาธิการสปสช.ที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล และก็ทำหน้าที่นี้ต่อมา นัยว่าเพื่อช่วย “กำกับทิศทาง”ในการทำหน้าที่ตามภารกิจของเลขาธิการสปสช.
การสืบทอดทายาทตระกูลส.ในการดำรงตำแหน่งเลขาธิการสปสช.
เมื่อนพ.วินัย สวัสดิวรครบวาระการดำรงตำแหน่งเลขาธิการสปสช.เป็นสมัยแรก มีการสรรหาเลขาธิการสปสช.อีกครั้ง ในการประชุมเพื่อลงมติเลือกผู้ที่กรรมการสรรหาเสนอมา 3 คน เพื่อให้กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติลงมติเลือก 1 ใน 3 คนนี้มาเป็นเลขาธิการสปสช. ได้มีกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติคนหนึ่งขออภิปรายเกี่ยวกับนพ.วินัย สวัสดิวร ในกรณีถูกสตง.ตรวจสอบพบว่ามีการบริหารงานผิดพลาดระหว่างดำรงตำแหน่งในสมัยแรก ซึ่งนับเป็นกรณีสำคัญที่ควรนำมาพิจารณาว่าสมควรจะได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการสปสช.อีกเป็นสมัยที่สองหรือไม่ แต่ประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในขณะนั้นคือนายวิทยา บุรณศิริ ไม่ยอมให้อภิปราย โดยอ้างว่าจะเกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้สมัคร
ซึ่งนับว่าเป็นกรณีสุ่มเสี่ยงต่อความเสียหายในการบริหารสำนักงานถ้ากรรมการเลือกคนที่เคย “บริหารงานผิดพลาด” มารับผิดชอบในการบริหารงานในตำแหน่งเดิม เป็นอย่างยิ่ง
แต่เมื่อไม่มีการอนุญาตให้อภิปรายในกรณีบริหารงานผิดพลาด จึงทำให้นพ.วินัย สวัสดิวรได้รับเลือกเป็นเลขาธิการสปสช.เป็นวาระที่ 2 เหมือนกับเป็นการ “ล็อกสเปค” เลขาธิการสปสช.เอาไว้ในกลุ่มตระกูลส.ได้สำเร็จอีกวาระหนึ่ง
แต่นพ.วินัย สวัสดิวรก็ถูกตรวจสอบจากกรรมการหลายคณะที่ตั้งขึ้นในยุครัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และในที่สุดถูกคำสั่งตามาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2557 ย้ายออกจากตำแหน่งจนหมดวาระ
ความพยายามสืบทอดตำแหน่งเลขาธิการสปสช.ของกลุ่มตระกูลส.
เมื่อมีการสรรหาเลขาธิการสปสช.คนใหม่ในปีนี้ นพ.ประทีป ธนกิจเจริญรองเลขาธิการสปสช.ที่ได้รับแต่งตั้งให้รักษาการเลขาธิการสปสช. ได้ลาออกจากตำแหน่งรักษาการเลขาธิการ และลงสมัครเข้ารับการสรรหาเป็นเลขาธิการสปสช. ซึ่งในระหว่างการสรรหา ได้มีการอ้างคุณสมบัติของผู้จะมาดำรงตำแหน่งเลขาธิการสปสช. ตามมาตรา32(12) ทำให้ผู้ที่ได้รับการสรรหาอีกคนหนึ่งถูกตัดสิทธิไม่ได้รับการเสนอชื่อให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพิจารณา เพราะคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่ามีคุณสมบัติต้องห้ามตามาตรา 32(12)
ทำให้นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ สมาชิกชมรมแพทย์ชนบท และรองเลขาธิการสปสช.เป็นผู้สมัครเข้ารับการสรรหาคนเดียวที่ถูกเสนอชื่อมาให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติลงมติว่าจะแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการสปสช.หรือไม่
แต่เมื่อคณะกรรมการไม่ลงมติรับรองด้วยคะแนนเสียงไม่รับน้อยกว่ารับเพียง 1 คะแนน ก็เกิดข้อครหาจนถึงกับนพ.ประทีป ธนกิจเจริญนำไปฟ้องศาลปกครองเพื่อให้ยกเลิกเพิกถอนมติของกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้ตัวเองได้เป็นเลขาธิการสปสช.
เรื่องข้อครหาในการนับคะแนนการลงมติรับหรือไม่รับนพ.ประที)ให้มาเป็นเลขาธิการสปสช.นี้จะไม่เกิดขึ้นเลย ถ้าประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร)จะใช้สิทธิในการออกเสียงของตนเองได้ถึง 2 ครั้ง คือครั้งแรกออกเสียงลงมติพร้อมกับกรรมการคนอื่นๆ และถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ประธานกรรมการก็สามารถใช้สิทธิออกเสียงชี้ขาดได้อีกครั้งหนึ่ง ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 17 (ตามประวัติศาตร์ที่นพ.มงคล ณ สงขลา ได้เคยทำมาแล้ว)
เมื่อคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่รับรองผู้ที่กรรมการสรรหาเสนอมา ก็ได้ดำเนินการประกาศรับสมัครบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็นเลขาธิการสปสช.อีกครั้ง คราวนี้มีผู้มาสมัครทั้งสิ้น 9 คน โดยมีนพ.เกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบทมาสมัครเข้ารับการสรรหา โดยมีรายชื่อผู้รับรองทั้งหมด 8 คน ซึ่งล้วนเป็นผู้มีชื่อเสียงและรู้จักกันดีในแวดวงสาธารณสุขว่าส่วนใหญ่แล้ว คนเหล่านี้เป็นกลุ่มบุคคลตระกูลส. ได้แก่ นพ.วิชัย โชควิวัฒนนพ.ประทีป ธนกิจเจริญ นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ นพ.ศิริวัฒน์ ทิพยธราดล นพ.โสภณ เมฆธน นพ.อำนวย กาจีนะ และนพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ
นอกจากนั้นยังมีผู้สมัครอีกคนคือนพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา รักษาการเลขาธิการสปสช.ก็ลงสมัครแข่งขันด้วย จึงต้องรอดูว่ากรรมการสรรหาจะตรวจสอบประวัติการทำงานและความสุจริตโปร่งใสของผู้สมัครเข้ารับการสรรหาทุกคน ก่อนที่จะมีการสัมภาษณ์และการแสดงวิสัยทัศน์หรือไม่ เพราะตำแหน่งเลขาธิการสปสช.นั้นมีอำนาจเด็ดขาดตามกฎหมายที่ควบคุมการทำงานในองค์กรที่มีเงินงบประมาณหมุนเวียนปีละไม่ต่ำกว่า 150,000 ล้านบาท ในขณะที่การตรวจสอบไม่มีประสิทธิผลอย่างรวดเร็วดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน การสรรหาผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งเลขาธิการสปสช.นั้น น่าจะยึดในหลักการที่สำคัญที่สุดก็คือ ต้องเลือกผู้ที่มีความสุจริต โปร่งใส มีธรรมภิบาลในการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มาทำหน้าที่รับผิดชอบอันสำคัญนี้ เพื่อบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้เกิดผลประโยชน์ไปถึงมือประชาชนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยอย่างแท้จริง

เอกสารอ้งอิง
1.หนังสือแสงดาวแห่งศรัทธา พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพนพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์
2. http://thaipublica.org/2011/10/national-health-board/ อดีตประธานสปสช. ระบุบอร์ดสปสช. มีอำนาจล้น – เลขาสปสช. อนุมัติเงินได้ครั้งละ 1 พันล้าน มากกว่านายกรัฐมนตรีและรมต.
3. http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx... ชวนส่งไปรษณียบัตรถึง “บิ๊กตู่” ขอ “หมอวินัย” คืน สปสช

21 กย 2559

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
สมุดปกขาว 9
ว่าด้วยการประกันสุขภาพ
ความพยายามที่จะรวมกองทุนสุขภาพ

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา

เกิดอะไรขึ้นกับระบบสาธารณสุขและการประกันสุขภาพของไทย?
ประเด็นหลักของการเปลี่ยนแปลงในระบบการบริการสาธารณะด้านการแพทย์และสาธารณสุขของไทยหลังจากการอุบัติขึ้นของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติก็คือ
งบประมาณสำหรับการรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วยเกือบทั้งหมดของกระทรวงสาธารณสุขถูกจัดสรรให้ไปอยู่ในการควบคุมของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นี้ ซึ่งมีการบริหารที่ขาดหลักธรรมาภิบาล และเต็มไปด้วยผลประโยชน์ทับซ้อนและซับซ้อนดังที่เราทราบกัน อันเป็นเหตุให้สถานบริการของกระทรวงสาธารณสุขจำนวนมากต้องประสบปัญหาการขาดแคลนงบประมาณสำหรับการให้บริการที่มีคุณภาพแก่ประชาชน ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ สำนักงานนี้ถือเอาการทำงานและผลงานของสถานบริการของกระทรวงสาธารณสุขมา ทำการประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อต่างๆในทำนองว่าเป็นงานและผลงานของตนเอง ทำให้ประชาชนทั่วไปมีความเข้าใจผิดในบทบาทของสำนักงานนี้ มีความนิยมชมชอบสปสช. ซึ่งเป็น เป็นการกระทำที่ขาดจริยธรรมอย่างยิ่ง
ในขณะเดียวกันกับที่กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำงานในการให้บริการแก่ประชาชนต้องทำงานด้วยความยากลำบากและขาดแคลนทรัพยากรทุกอย่าง ขาดเงิน ขาดบุคลากร และขาดการพัฒนาอาคารสถานที่ ครุภัญฑ์ เวชภัณฑ์ จนทำให้การบริการแก่ประชาชนเกิดความล่าช้า ไม่คล่องตัว และขาดคุณภาพมาตรฐาน อันเป็นผลพวงจากความขาดแคลนทรัพยากรในการทำงานดังกล่าว ทำให้ประชาชนเกิดความเสียหายและมีทัศนะคติในด้านลบต่อโรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ ทำให้เกิดปัญหาฟ้องร้องมากขึ้น ซึ่งส่งผลไปถึงการเกิดปัญหา “สมองไหลไปสู่ภาคเอกชน”อย่างต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น
แต่ถึงแม้ว่าบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขซึ่งทำงานดูแลรักษาประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศจะทราบปัญหานี้ดี แต่ดูเหมือนว่าผู้บริหารรัดับสูงของกระทรวงสาธารณศุขจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ (หรือไม่แก้ไขจากรากเหง้าของปัญหา) ในขณะที่กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผู้บริหารสปสช.และเจ้าหน้าที่ของสปสช.(ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มตระกูลส.) ยังมีความพยายามที่จะ “รวมศูนย์อำนาจในการบริหารกองทุนประกันสุขภาพภาครัฐทั้งหมด” ไว้ในอุ้งมือของกลุ่มตระกูลส.มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน เพื่อให้ประสบความสำเร็จให้จงได้

ระบบการประกันสุขภาพภาครัฐ 3 ระบบ
ตามที่ทราบกันดีอยู่แล้ว ประเทศไทยมีระบบประกันสุขภาพอยู่ 3 ระบบ คือระบบสวัสดิการข้าราชการ ระบบประกันสังคม และระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าระบบ 30 บาท หรือบัตรทอง ซึ่งจะกล่าวถึงระบบทั้ง 3 พอเข้าใจโดยย่อดังนี้
1.ระบบสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลข้าราชการ
ระบบสวัสดิการข้าราชการเป็นระบบแรกและเป็นระบบที่ไม่มีกองทุน แต่ผู้มีสิทธิในระบบสวัสดิการข้าราชการนี้ สามารถเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้ตามที่จ่ายจริงจากกรมบัญชีกลางกระทรวงการคลัง แต่ต่อมางบประมาณส่วนนี้พิ่มมากขึ้นทำให้รัฐบาลออกพ.ร.ฎ.ใหม่จำกัดสิทธิการเบิกค่ารักษาพยาบาลลงเหลือ “เท่าที่กรมบัญชีกลางกำหนด” เท่านั้น ทำให้ผู้มีสิทธิในระบบสวัสดิการข้าราชการต้อง “ร่วมจ่าย” ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นตามระเบียบของกรมบัญชีกลาง
2.ระบบประกันสังคม ผู้มีสิทธิได้รับการประกันสุขภาพในระบบประกันสังคมได้แก่ลูกจ้างเอกชน ที่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากับนายจ้างและรัฐบาลตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายประกันสังคม โดยมีกองทุนกำหนดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลไว้เป็นงบประมาณปลายปิดตามอัตราเหมาจ่ายรายหัว และค่าเหมาจ่ายผู้ป่วยใน ผู้ป่วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงตามระเบียบของสนง.ประกันสังคม
3.ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งทุกคนทราบดีว่าเป็นระบบที่เกิดขึ้นในยุคนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรในปีพ.ศ. 2545 โดยมีประชาชนเป็นผู้ร่วมเข้าชื่อเสนอร่างพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร แต่เมื่อกลุ่มชมรมแพทย์ชนบทได้นำเสนอหลักการประกันสุขภาพแห่งชาติ และนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรเห็นด้วย ทำให้รัฐสภารับรองออกมาเป็นกฎหมายใช้บังคับในปีพ.ศ. 2545 ในขณะที่ NGO กลุ่มหนึ่งได้รวบรวมรายชื่อประชาชนจำนวน 50.000 กว่าคนได้เข้าชื่อเสนอร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ด้วย และได้เข้าไปเป็นกรรมาธิการแปรญัตติและในที่สุดได้เข้ามาเป็นกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและอนุกรรมการฯอีกคนละหลายปีหลายคณะ
ความพยายามในการที่จะ “ควบรวมกองทุนสุขภาพ”
ดังที่กล่าวในตอนต้นแล้วว่าคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสปสช.ได้บริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติโดยขาดหลักธรรมาภิบาล และก่อให้เกิดปัญหาแก่ประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์อย่างมากมาย
แต่ทั้งๆที่รู้ว่าปัญหาในระบบการแพทย์ สาธารณสุขและการประกันสุขภาพของไทยนั้น ล้วนมีรากเหง้ามาจากการบริหารที่ขาดหลักธรรมาภิบาลของสปสช. แต่กลุ่มตระกูลส.เองที่เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ก็ยังมีความพยายามที่จะรวบอำนาจในการบริหารระบบการประกันสุขภาพเป็นกองทุนเดียว ซึ่งเป็นความประสงค์ของคนกลุ่มนี้มาตั้งแต่การเขียนกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยเขียนไว้ในมาตรา 9,10, ให้มีการจัดทำพระราชกฤษฎีกา เพื่อควบรวมสวัสดิการข้าราชการและประกันสังคม ส่งเงินให้แก่กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติต่อไป
การจัดตั้งสำนักงานตรวจสอบการรักษาพยาบาล(สพตร.)
เพื่อจะให้มีการดำเนินการตามมาตรา 9 และ10 กลุ่มตระกูลส.ได้พยายามออกข่าวเรื่อง “ความเหลื่อมล้ำในระบบการประกันสุขภาพ”ต่างๆนาๆ และพยายามเสนอแนวคิดว่าระบบสวัสดิการข้าราชการนั้นมีค่าใช้จ่ายต่อหัวมากกว่าในกองทุนหลักกประกันสุขภาพแห่งชาติและกองทุนประกันสังคม จนสามารถทำการจัดตั้ง “สำนักงานตรวจสอบการรักษาพยาบาล”ในสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) ซึ่งได้นำเสนอว่าแพทย์ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ได้แก่ โรงพยาบาลของโรงเรียนแพทย์ สั่งจ่ายยานอกบัญชียาหลัก 65% โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์(1) ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขสั่งจ่ายยานอกบัญชียาหลัก 63% และใบสั่งยาจากรพ.อื่นๆก็สั่งจ่ายยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติอีก 69 % เฉลี่ยแล้วแพทย์สั่งยานอกบัญชียาหลัก 66%
สพตร.ได้พยายามที่จะควบคุมแพทย์ไม่ให้สั่งยานอกบัญชียาหลักให้แก่ผู้ป่วยในระบบสวัสดิการข้าราชการ (ปัจจุบันรายงานนี้ใน “website”ที่รายงานเรื่องนี้ไม่สามารถเปิดดูได้ และมีการออกข่าวเรื่องที่แพทย์ร่วมทำการทุจริตในการสั่งจ่ายยา และส่งเรื่องให้ DSI สอบสวน แต่ก็ไม่ปรากฎว่ามีการทุจริตเป็นจำนวนหลายกรณีดังทีสพตร.พยายามออกข่าว

การจัดตั้งสำนักงานพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (สพคส.)
ต่อมาเพื่อเป็นการ “ต่อยอด” ผลงานของสพตร. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) ได้จัดตั้งสำนักงานพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ(2) ขึ้นในสวรส.ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีในปีพ.ศ. 2553(2) โดยอ้างตาม “ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2552”โดยมีความพยายามที่จะ “ทำให้เกิดระบบการเงินการคลังรวมหมู่” โดยให้รัฐจัดให้มีกลไกระดับชาติทำหน้าที่วางแผนการเงินการคลังด้านสุขภาพของประเทศในระยะยาว โดยคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติได้นำวาระนี้เสนอต่อนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพแห่งชาติ” (สพคส.) ขึ้นและมีนพ.เทียม อังสาชน ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานนี้ และมีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการในการที่จะ “รวมหมู่ระบบการเงินการคลังในการประกันสุขภาพ” แต่ต่อมา(3) มติครม.ในรัฐบาลนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้ยกเลิกองค์กรนี้ไป
นับเป็นความพยายามของคนตระกูลส.(4) ที่พยายามจะรวบอำนาจการบริหารการเงินการคลังของระบบการแพทย์และสาธารณสุขหรือเรียกใหม่ว่า “ระบบสุขภาพ”มาอยู่ภายใต้การควบคุมหรือ “อุ้งมือ” ของกลุ่มตระกูลส. ตลอดมา ถ้ารัฐบาลไม่ “รู้ทันเป้าหมาย”ของคนกลุ่มนี้ ก็จะตั้งคนในกลุ่มมาเป็นรัฐมนตรีสาธารณสุข เช่นในยุครัฐบาลประยุทธ์ 1 ที่แต่งตั้งนพ.รัชตะ รัชตนาวินและนพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ (แกนนำชมรมแพทย์ชนบทอาวุโส) และนพ.เทียม อังสาชน ก็เข้ามาเป็นที่ปรึกษารมช.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างปลัดกระทรวงสาธารณสุขและสปสช. จนในที่สุดรัฐมนตรีทั้ง 2 คนก็ถูกปรับออกจากรัฐบาลไป
การเสนอร่างพ.ร.บ.สภากำกับการประกันสุขภาพภาครัฐพ.ศ. ....
แต่ในระหว่างที่รัฐมนตรี 2 คนยังไม่ถูกปรับออกนั้น กลุ่มตระกูลส.ได้แก่นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ(แกนนำอาวุโสของชมรมแพทย์ชนบท) และดร.อัมมาร สยามวาลา (5) ก็ได้อ้างผลการศึกษาเปรียบเทียบความเหลื่อมล้ำด้านผลลัพธ์ทางสุขภาพระหว่างระบบสวัสดิการข้าราชการและระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่ามีความเหลื่อมล้ำเนื่องจากผู้ป่วยในระบบสวัสดิการข้าราชการมีชีวิตรอดมากกว่าผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (30 บาท) และได้มีการเสนอให้จัดทำร่าง พ.ร.บ. กำกับระบบประกันสุขภาพภาครัฐเพื่อเป็นกลไกกลาง
แต่เมื่อมีการเผยแพร่ร่างพ.ร.บ.กำกับบระบบประกันสุขภาพภาครัฐพ.ศ. .... ออกมา ก็ปรากฎอย่างชัดเจนว่า เป็นความพยายามของกลุ่มตระกูลส.ที่จะมาดำรงตำแหน่งเลขาธิการของสภาประกันสุขภาพแห่งชาติควบ 2 วาระ (ตามแบบของกฎหมายสวรส. สสส. สปสช. สช. สพฉ. และองค์กรตระกูลส.อื่นๆ ที่พวกเขาทำสำเร็จมาแล้ว แต่ในร่างพ.ร.บ.ใหม่นี้ พวกเขาเพิ่มวาระให้ยาวนานชึ้นอีก 1 ปี เป็นวาระละ 5 ปี
รวมทั้งเพิ่มอายุเมื่อเริ่มดำรงตำแหน่งจากอายุไม่เกิน 60 ปีเป็นม่เกิน 65 ปี (เหมือนที่พวกเขาไปแก้ระเบียบในพกฎหมายสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้นพ.พลเดช ปิ่นประทีป ได้รับตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติในปีนี้ ทั้งนี้พราะพวกเขาเริ่มแก่กันแล้ว แต่ยังยึดติดตำแหน่งอยู่)
และกำหนดให้ดำรงตำแหน่งได้ 2 วาระรวมเป็น 10 ปี เท่ากับอยู่ได้ถึงอายุตัว 75 ปี และยังกำหนดไว้ในร่างกม.นี้ว่า กรรมการที่มาจากตำแหน่งเช่นรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีนั้นสามารถออกความเห็นในการประชุมได้ แต่ห้ามออกเสียงในการลงมติ แสดงว่าพวกเขาต้องการทำงานนอกเหนือการควบคุมของรัฐบาล และอยู่ได้ยาวนาน ไม่ว่ารัฐบาลไหนจะครบวาระหรือออกไปด้วยสาเหตุอะไร แต่พวกเขายังมีอำนาจบริหารระบบสาธารณศุขต่อไปจนครบ 10 ปี เพื่อจะส่งไม้ต่อไปยังสมาชิกรุ่นเยาว์กว่าได้ชั่วกาลนาน
จึงทำให้มีหน่วยงานแพทยสภา สำนักกฎหมายการแพทย์ สหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.) กลุ่มพิทักษ์สิทธิพลเมืองและนักกฎหมายหลายคนที่ได้ติดตามเรื่องนี้ได้ออกมาแสดงความเห็นในการประชุม และทางสื่อต่างๆ เพื่อคัดค้านร่างกฎหมายฉบับนี้
และเมื่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีได้ปรับรัฐบาลประยุทธ์ 1 ออกไป และเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขใหม่ ทำให้ไม่มีการพูดถึงร่างพ.ร.บ.สภาประกันสุขภาพแห่งชาติอีกต่อไป
การพยายามควบรวมกองทุนประกันสุขภาพภาครัฐอย่างต่อเนื่อง
แต่ความพยายามของกลุ่มตระกูลส.ยังไม่หยุดยั้งเพียงแค่นี้ เพราะว่าเมื่อมีการทำรัฐประหารและมีการจัดตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) กลุ่มตระกูลส.ได้เข้ามาเป็นสมาชิกสปช.หลายคน ในหลายคณะ ที่สำคัญหก็คือสปช.ค้านการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
ซึ่งจะชูธงการปฏิรูปว่า “ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม” และได้เสนอแนวทางการปฏิรูปด้านการแพทย์และสาธารณสุขไว้หลายประเด็น โยที่ยังไม่สามารถดำเนินการได้
แต่หลังจากที่สภาปฏิรูปแห่งชาติถูกยุบไป คสช.(คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ)ก็ได้จัดตั้งสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศขึ้น (สปท.) โดยมีเป้าหมายสำคัญ 7 ด้าน ในด้านที่ 7 นี้มีเป้าหมายพื่อให้เกิดการปฏิรูปด้านต่างๆ ทั้ง ๑๑ ด้าน (ที่สปช.เสนอไว้แล้ว)โดยคำนึงถึงความสำคัญเร่งด่วนและความสัมฤทธิ์ผลของการปฏิรูปภายในระยะเวลาที่เหลืออยู่
การยกร่างพ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติ
ซึ่งในการ “ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสุขภาพนั้น” ได้มีความพยายามที่จะ “รวมศูนย์อำนาจ” ในการบริหารด้านการแพทย์และสาธารณสุขหรือที่เรียกว่า การรวมศูนย์อำนาจในการกำกับทิศทางการบริหารระบบสุขภาพ ที่นำเสนอโดยคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(คสช.) โดยมีแนวคิดว่าในประเทศไทยมีหลายกระทรวงที่ได้จัดให้มีการบริการสาธารณะภาครัฐด้านการแพทย์และสาธารณสุข กล่าวคือมีโรงพยาบาลที่จัดตั้งและบริหารงานโดยมหาวิทยาลัยในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ มีโรงพยาบาลของกระทรวงกลาโหม มหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เทศบาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกระทรวงสาธารณสุข นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลของสภากาชาดไทย มีสถานพยาบาลเอกชนต่างๆมากมาย จึงสมควรที่จะจัดตั้งหน่วยงานใหญ่ขึ้นมาควบคุมการทำงานของโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลทั้งหมดนี้ ตามที่สปช.และคสช. (คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ)เสนอผ่านสปช.และสปท. รวมทั้งได้เสนอผ่านกรรมาธิการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วย โดยกมธ.สธ.สนช. ร่วมกับคณะอนุกรรมาธิการพิจารณากฎหมายเพื่อการปฏิรูปด้านสาธารณสุข ในกมธ.สธ.สนช.ได้จัดสัมมนาเรื่อง “การรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดทำร่างพ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ....” ขึ้นในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559 ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น
แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ไม่มีการแจกร่างพ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. .... ล่วงหน้าเพื่อให้ผู้ที่ได้รับเชิญเข้าสัมมนาได้พิจารณาหรือทำความเข้าใจก่อนที่จะได้ไปเสนอความเห็นในที่ประชุมสัมมนาแต่อย่างใด ซึ่งอาจจะทำให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาไม่อาจจะให้ความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับผลดีผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นจากฎหมายฉบับนี้ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์
ผู้ที่ติดตามดูการเปลี่ยนแปลงในระบบการแพทย์ สาธารณสุขและการประกันสุขภาพภาครัฐ รวมทั้งประชาชนทั่วไป ควรจะให้ความสนใจไปร่วมสัมมนาที่จัดโดยกมธ.สธ.สนช. ในวันเวลาและสถานที่ดังกล่าว เพื่อที่จะได้ร่วมแสดงความคิดเห็นว่าร่างพ.ร.บฉบับนี้ จะทำให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารด้านการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน หรือว่าจะทำให้เป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขเหมือนที่เกิดมาแล้วจากการบริหารที่ขาดหลักธรรมาภิบาลของสปสช. ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
โดยสรุป กลุ่มตระกูลส.ได้พยายามที่จะ “รวมศูนย์อำนาจ” ในการบริหารจัดการด้านการแพทย์และสาธารณศุขให้ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติ ผ่านทุกๆองค์กร ดังกล่าวแล้ว ซึ่งมีคำถามว่าจทำเพื่อประชาชนและประเทศชาติหรือทำเพื่อการมีอำนาจและช่องทาง “กินดีอยู่ดี” ของกลุ่มตระกูลส.เท่านั้น

 เอกสารอ้างอิง
1. http://thaipublica.org/.../government-should-review.../ รัฐบาลควรทบทวน “รายการยา”ในบัญชียาหลักแห่งชาติโดยด่วน
2. http://www.hpc4.go.th/.../reform/fiscalFinance4Health.pdf สำนักพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพแห่งชาติ
3. http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1417094756 นพ.เทียม อังสาชน ผู้อำนวยการสพคส.
4. http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx... ตระกูลส.คือใคร
5. https://www.hfocus.org/content/2015/11/11239 นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ : ความกลมกลืนหลักประกันสุขภาพ ทางเลือกเพื่อลดไม่เท่าเทียม
6. http://tdri.or.th/tdri-insight/20150605/ ดันตั้งองค์กรกลางควบรวม 3 กองทุนสุขภาพภาครัฐ

25 กย 2559