ผู้เขียน หัวข้อ: คัดค้าน คนนอกบริหารแพทยสภา 2560  (อ่าน 750 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
คัดค้าน คนนอกบริหารแพทยสภา 2560
« เมื่อ: 25 กันยายน 2016, 20:21:07 »


สวัสดีครับ ผมหมอกิตติศักดิ์ และทีมงาน
เป็นกลุ่ม แพทย์ที่ปฎิบัติงานจริง ทำงานร่วมกับประชาชน และผู้ป่วย อยู่ทุกวันครับ

พวกเราได้ทราบ ถึงการที่มีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง ผลักดันการแก้ไขกฎหมาย พรบ.วิชาชีพเวชกรรม ให้มีการแต่งตั้งคนนอกซึ่งเป็นพวกตนเอง เข้ามาบริหารแพทยสภา

ซึ่งการเคลื่อนไหวดังกล่าว จะทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม และเป็นการฉวยประโยชน์ จากการนำคนนอกเข้ามาบริหารแพทยสภา องค์กรวิชาชีพ

องค์กรวิชาชีพ ในประเทศไทยนั้น มีหลายองค์กรครับ อาทิเช่น แพทยสภา ทันตแพทยสภา สภาวิชาชีพเสภัชกรรม สภาการพยาบาล สภาเทคนิคการแพทย์ เนติบัณฑิตยสภา สภาทนายความ สภาการบัญชี สภาสถาปนิก สภาวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย กรรมการตุลาการ และ อื่นๆ
ซึ่งโดยหลักการแล้ว กรรมการบริหารต้องเป็นคนในวิชาชีพนั้นๆ จึงจะเข้าใจ จารีต วัฒนธรรม มารยาท จรรยาบรรณ ของวิชาชีพ
และในทุกสภาวิชาชีพ มักมีการแต่งตั้ง อนุกรรมการ ที่มีอาชีพอื่นๆ มาร่วมได้ รวมทั้งส่วนของภาคประชาชน อยู่แล้ว

การเคลื่อนไหวของกลุ่มคนดังกล่าวนั้น จึงเป็นการแทรกแซง สภาวิชาชีพ โดยเริ่มต้น จากแพทยสภา ซึ่งเป็นสภาที่ถูกบิดเบือนข้อมูลให้เข้าใจผิดได้ง่าย ว่าเป็นต้นเหตุปัญหา ค่ารักษาพยาบาลแพง ปัญหาการรักษาไม่มีคุณภาพ ต้นเหตุปัญหาสังคม ครีมเถื่อน ต่างๆ

ทั้งที่จริงๆแล้ว แพทยสภาไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาดังกล่าวเลย เป็นหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข ที่ต้องดำเนินการทั้งหมด ค่ารักษาแพง รัฐมนตรีสาธารณสุขก็ตั้งกรรมการแก้ไขแล้ว การจับครีมเถื่อน การรักษาเถื่อน ก็เป็นหน้าที่ของกองประกอบโรคศิลป์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ไม่เกี่ยวกับแพทยสภา

แพทยสภา โดย พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525

มีวัตถุประสงค์ และหน้าที่ดังนี้

มาตรา 7 แพทยสภามีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1. ควบคุมการประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมให้ถูกต้องตามจริยธรรม แห่งวิชาชีพเวชกรรม
2. ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในทางการ แพทย์
3. ส่งเสริมความสามัคคี และผดุงเกียรติของสมาชิก
4. ช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่ และให้การศึกษาแก่ประชาชน และองค์กรอื่น ในเรื่องที่เกี่ยวกับการแพทย์และการสาธารณสุข
5. ให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับปัญหาการแพทย์และการสาธารณสุข
6. เป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทย

มาตรา 8 แพทยสภามีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
2. พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
3. รับรองปริญญา ประกาศนียบัตรในสาขาวิชาแพทยศาสตร์ หรือวุฒิบัตรใน วิชาชีพเวชกรรมของสถาบันต่าง ๆ
4. รับรองหลักสูตรต่าง ๆ สำหรับการฝึกอบรมในวิชาชีพเวชกรรมของสถาบันทางการแพทย์
5. รับรองวิทยฐานะของสถาบันทางการแพทย์ที่ทำการฝึกอบรมใน (4)
6. ออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบ วิชาชีพเวชกรรมสาขาต่าง ๆ และออกหนังสือแสดงวุฒิอื่น ๆ ในวิชาเวชกรรม

จะเห็นชัดว่า แพทยสภา ก็เปรียบเสมือนสถาบันโรงเรียนแพทย์ ที่ดูแลการผลิตแพทย์เฉพาะทาง ควบคุมแนวทาง วิชาการการรักษา การประกอบวิชาชีพ และดูแลจริยธรรม แพทย์ ตัดสินคดีจริยธรรมแพทย์เพียงเท่านั้น


การเสนอให้คนนอกมาเป็นกรรมการบริหารแพทยสภา จึงไม่ได้เกี่ยวข้องกับปัญหาที่พวกเขาอ้างแต่อย่างไร เป็นการตั้งใจบิดเบือนข้อมูลเพื่อเสนอพวกตนเองเป็นกรรมการบริหาร (พวกเขาเป็นอนุกรรมการได้อยู่แล้ว น่าสงสัยทำไมไม่มาเป็น และสร้างเรื่องแก้กฎหมายเช่นนี้)

ผมยังค้นคว้าข้อมูล พบว่าแพทยสภา เคยเชิญคนกลุ่มนี้ มาประชุมร่วม เพื่อแสดงความคิดเห็น พิจารณาเรื่องราวต่างๆ คนกลุ่มนี้ก็ปฏิเสธ จึงชัดเจนว่า พวกเขาไม่ได้มีจุดประสงค์ที่ต้องการปฏิรูปแพทยสภาจริง แต่ต้องการมาเกี่ยวข้องกับการตัดสินคดีจริยธรรมแพทย์

การตัดสินจริยธรรมแพทย์ โดยแพทยสภา จะเกี่ยวข้องกับ การนำไปสู่ การเอาเงินชดเชย หากสืบประวัติคนกลุ่มนี้ จะพบว่า พวกเขามีประวัติ สนับสนุน พรบ.กองทุนชดเชยผู้เสียหายทางการแพทย์ ด้วย (พรบ.ใหม่ที่จะให้มีการกันเงินไว้เยียวยาผู้เสียหายทางการแพทย์)

หากคนพิจารณาคดีความแพทย์เป็นพวกเขาเอง เขาก็ชี้มูลความผิดจริยธรรม ให้ผิดได้ สะดวกขึ้น เวลาส่งฟ้องศาล และสามารถเรียกร้องเงินชดเชย จากกฎหมาย พรบ.กองทุนชดเชยผู้เสียหาย (ที่เขาร้องให้จัดตั้งมาก่อนหน้านี้ แอบทำเหมือนกับที่ทำในครั้งนี้ และเรื่องรอพิจารณาอยู่ในสภานิติบัญญัติ)


กลุ่มกระผมจึงมีความกังวลกับ กฎหมายที่เขาเสนอไปยัง ประธาน สนช. (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) ว่าหากมีการแก้กฎหมาย ให้คนนอกเป็นแพทยสภาจริง

1. สถานะแพทย์กับคนไข้จะเปลี่ยนไป จาก อดีต แพทย์กับผู้ป่วยเอื้ออาทรต่อกัน เป็น ระแวงกัน ว่าจะถูกกรรมการแพทยสภาคนนอกชี้มูลให้ผิด ตามใจหรือไม่?

2. ค่ารักษาพยาบาล ทุกภาคส่วนจะสูงขึ้น เนื่องจาก แพทย์ต้องปกป้องตัวเองจากกรรมการคนนอก ด้วยการส่งตรวจเพิ่มเติมมากมาย ประชาชน ที่ทุกข์ร้อน ก็จะรับค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และรอคิวนานขึ้น

รวมทั้ง แพทย์อาจต้องมีค่าใช้จ่ายเพื่อป้องกันตัวเอง เพิ่มขึ้น เช่นการทำประกันวิชาชีพป้องกันการฟ้องร้อง ยิ่งขยายให้ปัญหาความสัมพันธ์แพทย์ผู้ป่วย แย่ลง

3.โอกาสที่พวกเขาจะแทรกแซง ตัดสินให้แพทย์ผิดจริยธรรม จะมีเพิ่มมากขึ้น และ เขามีโอกาสหาประโยชน์เพิ่มเติมจากการร้องเรียนแพทย์ได้ ดังที่ประวัติทำมาตลอดชีวิต

              แพทยสภาเป็นด่านหน้าเท่านั้น หากล้มแพทยสภาได้ คนกลุ่มนี้ย่อมคืบคลานเข้าไปในได้ทุกสภาวิชาชีพ เพื่อเอื้อประโยชน์แก่พวกตนเอง โดยอ้างคำว่า "เพื่อประชาชน" เตรียมแทรกแซงสร้างความปั่นป่วนให้เกิดกับสภาวิชาชีพอื่นๆ เพื่อที่จะได้เข้าไปเอาประโยชน์ได้ง่าย

ดังนั้น โดยหลักการแล้ว

 " ผู้บริหารสภาวิชาชีพใด ต้องมาจากผู้ประกอบวิชาชีพนั้นๆ ทั้งสภา ทันตแพทย์ เภสัชกร ทนายความ วิศวกร พยาบาล สถาปนิก บัญชี เทคนิคการแพทย์ แพทย์แผนไทย คนนอกที่ขาดความรู้ความเข้าใจมาบริหาร จะตัดสินใจเรื่องต่างๆผิดเพี้ยนได้ "

        แต่ก็ต้องเปิดโอกาสให้คนนอกวิชาชีพมาเป็นอนุกรรมการ ดังที่เป็นอยู่เดิม นั้นถูกต้องแล้ว
     

         จึงอยากเชิญชวนอีกครั้งครับ สมาชิกสภาวิชาชีพ ทุกสาขาวิชาชีพ ประชาชนทั่วไป และบุคลากรสาธารณสุข ทุกฝ่าย ลงชื่อเกิน หมื่นคน ต่อต้าน การชุบมือเปิบ ของ NGOs ของกลุ่มคนที่ไม่มีงานสุจริตทำ แต่คิดจะหาผลประโยชน์ให้ตนเองด้วยการแก้ไขกฎหมาย

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการ ร่วมกันลงชื่อ

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
23 ก.ย. 2016 — เรียน คุณปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ผู้ริเริ่มแคมเปญ "ปฏิรูปแพทยสภา" แต่ เนื้อหามีการสอดไส้ ให้องค์กรผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่ปฏิเสธหากผลักดันให้ คุณสารี อ่องสมหวัง เลขาธิการองค์กรฯ มาเป็นกรรมการแพทยสภา และ คุณปรียนันท์ คือผู้ร่วมกับ มือกฎหมายฟ้องชนะโรงพยาบาลชุมชน หลายกรณี จนทำให้แพทย์และบุคลากรสาธารณสุขได้รับผลกระทบทั่วประเทศ

เรื่อง ขอให้คุณปรียนันท์และเครือข่าย NGOs ยุติบทบาท

ผม นพ. กิตติศักดิ์ ฯ และคณะทำงาน เป็น ผู้ริเริ่มแคมเปญคัดค้านการเคลื่อนไหวของ คุณปรียนันท์ นะครับ ผมไม่มีความเกี่ยวข้องกับแพทยสภา นอกเสียจากเป็นสมาชิกซึ่งเคารพบทบาทหน้าที่ของอาจารย์แพทย์ และไม่เคยมีเหตุขัดแย้งกับ คุณปรียนันท์ มาก่อน
รวมทั้ง ผมไม่ได้ลงสมัครกรรมการแพทยสภา แต่เห็นแก่ความเป็นธรรมจึงออกมาเคลื่อนไหวครับ


เนื่องจากกระทู้ ของท่านมีการอัพเดท และ ได้กล่าวไว้ว่า “ ถ้าสามารถหาเหตุผลมาหักล้างได้ 5 ข้อ คุณ ปรียนันท์และกลุ่มจะยุติบทบาท ทันที ( ผม ขอให้ท่านช่วยรักษาคำพูดด้วยนะครับ )

ขอตอบที่คำถามทีละข้อนะครับ แต่ก่อนจะตอบคำถามกับประชาชนทั้งประเทศ ให้เข้าใจถูกต้อง
บางท่าน ไม่ทราบด้วยซ้ำว่าแพทยสภา คืออะไร ทำอะไร มีไว้เพื่ออะไร ผมอยากใคร่ขอเรียนชี้แจง โดยยกเนื้อหา จาก กฎหมาย พรบ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 ดังต่อไปนี้

วัตถุประสงค์ของแพทยสภา

มาตรา 7 แพทยสภามีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

1. ควบคุมการประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมให้ถูกต้องตามจริยธรรม แห่งวิชาชีพเวชกรรม

2. ส่งเสริมการศึกษา การวิจัย และการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในทางการ แพทย์

3. ส่งเสริมความสามัคคี และผดุงเกียรติของสมาชิก

4. ช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่ และให้การศึกษาแก่ประชาชน และองค์กรอื่น ในเรื่องที่เกี่ยวกับการแพทย์และการสาธารณสุข

5. ให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับปัญหาการแพทย์และการสาธารณสุข

6. เป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทย


อำนาจหน้าที่ของแพทยสภา

มาตรา 8 แพทยสภามีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

1. รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม

2. พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม

3. รับรองปริญญา ประกาศนียบัตรในสาขาวิชาแพทยศาสตร์ หรือวุฒิบัตรใน วิชาชีพเวชกรรมของสถาบันต่าง ๆ

4. รับรองหลักสูตรต่าง ๆ สำหรับการฝึกอบรมในวิชาชีพเวชกรรมของสถาบันทางการแพทย์

5. รับรองวิทยฐานะของสถาบันทางการแพทย์ที่ทำการฝึกอบรมใน (4)

6. ออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบ วิชาชีพเวชกรรมสาขาต่าง ๆ และออกหนังสือแสดงวุฒิอื่น ๆ ในวิชาเวชกรรม



จากข้างต้น หน้าที่ ของแพทยสภา มี แค่ 6 ข้อ ครับ

คราวนี้มาถึงการถามตอบ 5 ข้อที่ คุณ ปรียนันท์ บอกว่าถ้าตอบได้ จะยุติบทบาท

ข้อ 1 คุณปรียนันท์ ถามว่า
แพทยสภานอกจากไม่ทำหน้าที่ตามวัตถุประสงค์และตามอำนาจหน้าที่ กลับตั้งตนเป็นปฏิปักษ์กับคนไข้และญาติผู้ได้รับเคราะห์กรรมเหล่านั้นทุกวิถีทาง ถูกต้องไหม?

ผมขอตอบ:

ที่ผ่านมาแพทยสภา ได้ทำตามอำนาจหน้าที่ ที่กฎหมายระบุไว้ ทุกข้อ แต่แพทยสภา ไม่สามารถไป ก้าวก่าย อำนาจหน้าที่หน่วยงานอื่น ที่อยู่ในระบบสาธารณสุข ยกตัวอย่างเช่น ระบบการบริการสาธารณสุข , ระบบค่ารักษา ซึ่งแพทยสภาไม่ได้มีอำนาจตรงนั้น แล้วที่คุณปรียนันท์ ต้องการ คือถ้าเข้ามาบริหารแพทยสภา แล้วจะทำให้ค่ารักษาพยาบาล ถูกลง คุณปรียนันท์ คงมาผิดที่ ครับ เพราะฉะนั้น ประชาชนไทย โปรดอ่าน และพิเคราะห์ให้ดี นะครับ
แพทยสภา จะเป็นปฎิปักษ์ กับประชาชนได้ อย่างไร แพทยสภาไม่ได้ เป็นผู้กำหนดนโยบาย บริการ ประชาชน แพทยสภา ควบคุม บริหารแพทย์ ด้าน วิชาการ ด้านจริยธรรมอย่างเดียว ครับ และ การบริการประชาชน แพทยสภา เป็นแค่ผู้ให้ข้อมูลวิชาการด้านการแพทย์ แก่แพทย์ มาตรฐานการรักษาประชาชนเท่านั้น

แพทยสภาเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบจริยธรรมแพทย์ โดยมีอนุกรรมการจากประชาชน หลายอาชีพ นักกฎหมาย อดีตอัยการ ทนายความ ประชาชนทั่วไป แพทยสภาเคยเชิญคุณปรียนันท์ประชุมก็ปฏิเสธเอง

แพทยสภาคัดค้านประชาชน ไม่เท่ากับ แพทยสภาคัดค้านคุณปรียนันท์ นะครับ เพราะกรณีหลัง เขาอาจมีเหตุผลอื่นเช่นกลัวการอ้างชื่อประชาชนไปทำอะไรเสียหายแทน

ข้อ 2 คุณปรียนันท์ ถามว่า
คนไข้และญาติพยายามเสนอทางออกให้มีระบบชดเชยความเสียหายแทนการฟ้องร้อง เพื่อไม่ให้กระทบกับหมอที่เราต้องช่วยกันรักษาเอาไว้ในระบบ แต่แพทยสภากลับต่อต้าน ถูกต้องไหม?

อยากตอบว่า ตามวัตถุประสงค์ ของแพทยสภา คือแพทยสภามีหน้าที่ให้แค่คำปรึกษา แพทยสภาให้คำปรึกษาที่เป็นกลางมาตลอดโดยอ้างอิงจาก หลักฐานเชิงประจักษ์

ข้อนี้คงตอบได้ชัดครับว่าคนตัดสิน หาทางออก การชดเชยผู้เสียหาย จึง ไม่ใช่แพทยสภา เป็นรัฐบาลและกระทรวง

แพทยสภาอาจคัดค้านคุณปรียนันท์เพราะกลัวมีการกันงบปีละหลายพันล้านไปบริหารและจ่ายให้กับคนกลุ่มน้อย มิใช่ประชาชนจริง ผมตอบแทนเขาไม่ได้

ข้อ 3 คุณปรียนันท์ถามว่า

การมีผลประโยชน์ทับซ้อนในธุรกิจการแพทย์ของกก.แพทยสภา ทำให้ต้องแสดงตนปกป้องผลประโยชน์ ส่งผลทำให้ค่ายาและค่ารักษาแพงโดยไร้การควบคุม ถูกต้องไหม?

สามารถตอบนะครับ ว่า
ผลประโยชน์ทับซ้อนไม่มี แพทยสภาไม่ได้คุมสถานพยาบาล แพทยสภาไม่ได้คุมเรื่องค่ารักษาครับ ไม่มีอำนาจหน้าที่เลยแม้แต่นิด อำนาจอยู่ที่ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข และนโยบายรัฐบาล

เพราะฉะนั้น คนที่มานั่งเป็นกรรมการแพทยสภา โดนเลือกตั้งจากแพทย์ทั่วประเทศ โดยคะแนนเสียงส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นระบอบประชาธิปไตย ไม่ได้ฮั่วกันมา หรือ จองต่ำแหน่งได้ นะครับ มีการเลือกตั้งนะครับ อีกอย่างกรรมการแพทยสภา เราไม่ได้ห้ามว่าจะต้องมีฐานะทางบ้านอย่างไร จะให้กรรมการทุกคนยากจน ไม่ได้ เพราะเป็นการ ละเมิดสิทธิ์ ถ้าใครถูกเลือกจากแพทย์ทั่วประเทศ เราก็ต้องยอมรับให้เค้าทำงาน ซึ่ง ทำงานตามกรอบแพทยสภา การที่คุณปรียนันท์ กล่าวถึง พวกเขาทำงานแพทยสภา ยังไงเค้าก็ไม่ได้เป็นผู้ตัดสินเรื่องค่ารักษาครับ

และ แพทยสภาก็มี กรรมการจำนวน 56 ท่าน เป็นปูชนียบุคคล ที่ทำงานจริง เพื่อ ประชาชนทั่วประเทศ มีประชาชนรัก เคารพมาก เพียงแต่ประชาชนเหล่านั้น ไม่ได้ใช้เฟชบุ้คในการโจมตีแพทยสภา


ข้อ 4 คุณปรียนันท์ถามว่า
การมีผลประโยชน์ทับซ้อนในธุรกิจการแพทย์ของกก.แพทยสภา ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนารพ.รัฐบาลให้ไปในทิศทางที่ถูกต้องและควรจะเป็นรวมทั้งการดูดหมอออกจากรพ.รัฐไปโดยไม่ได้ผลิตเอง ถูกต้องไหม?

ผมขอตอบ:

การที่แพทย์ท่านใดจะอยู่ในระบบได้หรือไม่นั้น แพทยสภา ไม่ได้เป็นสาเหตุ เลยครับ แพทยสภาไม่เคยออกประกาศเอื้อเอกชน หรือรณรงค์ให้ใครทำเอกชน อาจารย์ 90% มาจากภาครัฐบาล

แพทยสภามีหน้าที่ตามที่ระบุ ไม่ได้มีหน้าที่ สั่งหมอคนไหนให้ทำงานเอกชน หรือรัฐบาล ซึ่งถ้ามีหลักฐานการสั่งการแบบนั้น แพทยสภาย่อมถูกจัดการไปนานแล้ว

แพทย์หลายท่านหากไม่ทำงานเอกชน เขาไม่มีรายได้เหมือน ngo ที่รับเงินมูลนิธินะครับ และตำแหน่งราชการมีจำกัด หากแพทย์ ที่ไม่ได้ทำงานราชการจะให้เขาทำอะไร คุณปรียนันท์ กล่าวว่าดูด หมออะไรนั้น ผมว่า คุณปรียนันท์ควรศึกษาโพลแล้วครับว่าปัญหาของหมออยู่ที่ตรงไหน และภาระงานมีมาก การทำเอกชนก็ช่วยประชาชน แบ่งเบาภาระรัฐบาลได้ด้วย ผมอยู่ต่างจังหวัด ผมทราบดีครับ และเราไม่ได้มีปัญหาถูกร้องเรียนจากเครือข่ายท่านเท่าไร มีแต่ท่าน ที่ต่อว่าแพทยสภา ข้างเดียวตลอด

ข้อ 5 คุณปรียนันท์ถามว่า

การทำให้สภาวิชาชีพกลายเป็นองค์กรที่แตะต้องไม่ได้ แม้กระทั่งการปลุกระดมแพทย์ให้ไม่ยอมรับอำนาจศาลครั้งแล้วครั้งเล่า ทั้งที่มีทางอื่นที่จะกระทำได้ สร้างความขัดแย้งให้กับสังคม ถูกต้องไหม?

ผมขอตอบนะครับว่า

แพทยสภาทำหน้าที่อยู่ในกรอบของแพทยสภา และไม่เคยลุล่วงอำนาจ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเลย โปร่งใสพอควรแพทย์สมาชิกด่าได้วิจารณ์ได้ แพทย์สภาไม่เคยไปสร้างสังคม ให้เกิดความขัดแย้ง แต่อย่างใด มีแต่ท่านก่อความขัดแย้ง มาตลอดยี่สิบปี แล้วพูดซ้ำๆว่า เกิดความขัดแย้ง ระหว่างแพทย์กับประชาชน


อนึ่ง ท่านถามผม 5 ข้อ ผมขอถามคุณปรียนันท์ ขอถามแค่ 1 ข้อพร้อมหลักฐานพยานเชิงประจักษ์ ตอบให้เคลียนะครับ

คุณปรียนันท์ ต้องการอะไร จาก การที่ส่งคนนอก เข้ามาบริหารแพทยสภา เนื่องจากแพทยสภา ไม่ได้มีสิทธิ์อำนาจไป ควบคุมราคาค่ารักษาทั้งรัฐบาลแและเอกชน โดยทั้งทางตรงและทางอ้อมใดใด
หรือเพียงต้องการ กำหนดเรื่องคดีจริยธรรมให้เกิดการชดเชยเยียวยาเฉพาะกลุ่มของท่านเอง และมีงานให้กลุ่มของท่านทำ ในการสั่งการแพทย์ทำตามใจทั่วประเทศ

หรือ ท่านอยากให้แพทยสภาล่มจม โครงสร้างนี้หายไป วงการแพทย์และสาธารณสุขไทยจะล้มเหลว เท่านั้นเอง

หรือ คุณปรียนันท์ มีองค์กรอื่นที่ผลิตแพทย์แทนแพทยสภา ซึ่งผลิตแพทย์มาแล้ว 5 หมื่นคน รักษา คนไทย หลายพันล้านครั้ง กรณีที่คุณปรียนันท์ฟ้องร้อง นับไม่ได้กับ 0.001% ของ สิ่งที่ วงการแพทย์และสาธารณสุขไทยทำตลอดมา จะเอาอย่างไร ควรพูดให้เคลียร์ครับ