ผู้เขียน หัวข้อ: สรุปความเห็นจากแบบสอบถาม การสัมมนาภาวะฉุกเฉินในโรงพยาบาล (๑๘ มีนาคม๒๕๕๙)  (อ่าน 2113 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
ปัญหาเร่งด่วนของระบบสาธารณสุขในความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล มีหลายเรื่อง แต่ที่จัดว่าเรื่องฉุกเฉินและเร่งด่วน ที่ควรจะต้องได้รับการดูแลและแก้ไข มีอยู่สองเรื่อง

เรื่องแรก คือ ปัญหาของห้องฉุกเฉิน ห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาลระดับต่างๆในภาครัฐ มีผู้ป่วยมารับการตรวจรักษามากจนแออัด ประกอบกับมีการใช้ความรุนแรงต่อบุคลากรในห้องฉุกเฉินมากขึ้นและรุนแรงขึ้นทั้งที่เป็นข่าวในสื่อมวลชน และที่ไม่เป็นข่าว ปัญหาเหล่านี้ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการรักษาพยาบาล กระทบต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและกระทบต่อความปลอดภัยของบุคลากรด้วย ซึ่งจริงๆแล้วปัญหานี้ไม่ใช่เป็นเรื่องเฉพาะของห้องฉุกเฉินเท่านั้น แต่สะท้อนถึงปัญหาของทั้งโรงพยาบาลและปัญหาของระบบสาธารณสุขโดยรวมด้วย

เรื่องที่ควรจะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เรื่องที่สอง คือ เรื่องภาระงานและชั่วโมงการทำงานของบุคลากร เป็นที่ทราบกันดีว่า ปริมาณผู้ป่วยที่มารับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลต่างๆมีมากขึ้นเป็นลำดับ แต่ปริมาณบุคลากรไม่ได้เพิ่มขึ้นมากพอกับปริมาณภาระงานที่เพิ่มขึ้นได้ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของบุคลากรโดยตรงและแน่นอนกระทบต่อคุณภาพการรักษาผู้ป่วยด้วย









« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 พฤษภาคม 2016, 23:46:14 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
การสัมมนาภาวะฉุกเฉินในโรงพยาบาล (๑๘ มีนาคม ๒๕๕๙) สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไปฯ ร่วมกับแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ  ณ ห้องประชุมนายแพทย์ไพจิตร ปวะบุตร
มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน ๑๗๐ คนจาก ๓๓๙ คน

ประเด็น  “Overwork and long work hour”
-   บุคลากรเกือบทั้งหมดมีภาระงานที่มากเกินไป(๙๘%) หนึ่งในสามบอกว่าจะทนไม่ไหวอยู่แล้ว(๓๕ %)
-   ภาระที่มากเกินไปส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพ สุขภาพและความปลอดภัยของบุคลากร
-   เกือบครึ่งคิดว่า การกำหนดชั่วโมงการทำงานอาจแก้ปัญหาภาระงานที่มากเกินไปได้
-   ความคิดเห็นของบุคลากรต่อมาตรการคุ้มครองอื่นๆ หากไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ในระยะอันใกล้
           ๙๒% เพิ่มค่าตอบแทน         ๘๓%ช่วยเหลือเมื่อถูกฟ้อง             ๖๘%เพิ่มสวัสดิการอื่นๆ

ประเด็น  “Overcrowding in emergency room”
-   เกือบทั้งหมดตอบว่า ห้องฉุกเฉินมีความแออัด (๙๔%)
-   สาเหตุสำคัญ คือ ผู้ป่วยไม่ฉุกเฉินมารับการตรวจรักษาที่ห้องฉุกเฉินมากเกินไป (๙๕%)
-   ผลกระทบจากความแออัดมากที่สุด คือ ทำให้ผู้ป่วยไม่พอใจ และทำให้ผู้ป่วยอยู่ในภาวะเสี่ยง

ประเด็น  “Violence in emergency room”
-   เกือบทั้งหมดพบกับเหตุการณ์ที่มีผู้กระทำความรุนแรงต่อบุคลากรสาธารณสุข
        ทางวาจามากที่สุด (๙๔%)รองลงมา คือ สื่อสาธารณะ(๗๔%)
-   ส่วนใหญ่คิดว่าเหตุการณ์ที่มีผู้กระทำความรุนแรงต่อบุคลากรสาธารณสุขมีผลกระทบต่อการทำงาน
-   บุคลากรเพียง ๑๓% ที่รู้สึกว่าห้องฉุกเฉินที่ปฏิบัติงานอยู่ปลอดภัย
-   ห้องฉุกเฉินส่วนใหญ่ขาดเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และไม่มีปุ่มสัญญาณขอความช่วยเหลือ