ผู้เขียน หัวข้อ: ปลอดไขมันทรานส์ Trans Fat Free Thailand!  (อ่าน 10651 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
ปลอดไขมันทรานส์ Trans Fat Free Thailand!
« เมื่อ: 01 สิงหาคม 2016, 01:49:34 »


องค์การอนามัยโลก(ค.ศ.๒๐๐๙)ได้สรุปความเห็นเกี่ยวกับไขมันทรานส์ ว่า ผู้ผลิตอุตสาหกรรมด้านอาหารและภัตตาคาร ควรหลีกเลี่ยงการใช้ไขมันทรานส์ และรัฐบาลประเทศต่างๆควรจะสนับสนุนให้มีการใช้ไขมันชนิดอื่นๆมาแทนไขมันทรานส์ เนื่องจากมีข้อมูลอย่างชัดเจนว่า ไขมันทรานส์มีผลเสียต่อสุขภาพอย่างมาก จึงจำเป็นต้องมีการเอาไขมันทรานส์ออกจากส่วนประกอบที่ใช้ในการผลิตอาหารของคนเรา(1) ซึ่งก่อนหน้านี้ (ค.ศ.๒๐๐๓)ได้แนะนำให้บริโภคไขมันทรานส์ น้อยกว่า ๑% ของปริมาณพลังงานที่บริโภคอาหารไปในแต่ละวัน (หรือประมาณ ๒-๒.๕ กรัมของไขมันทรานส์) เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มโรคไม่ติดต่อ( Non-communicable diseases) โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจ(2,3)

ไขมันทรานส์ คือ อะไร?

เราแบ่งไขมันที่เราใช้บริโภคกันอยู่เป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้เป็น
๑.   ไขมันไม่อิ่มตัว(แยกกลุ่มย่อยได้เป็น ไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว เช่น น้ำมันมะกอก กับไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันรำข้าว น้ำมันงา)
๒.   ไขมันอิ่มตัว(น้ำมันที่ได้จากสัตว์สี่เท้า  นม เนยแท้ ครีมแท้ และน้ำมันพืช เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม)
๓.   ไขมันทรานส์

ไขมันทรานส์ที่กล่าวถึง คือ ไขมันทรานส์ที่ผลิตในอุตสาหกรรมด้านอาหารโดยการนำเอาน้ำมันพืชไม่อิ่มตัวมาผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนเพียงบางส่วน (partially hydrogenation)ทำให้ได้ไขมันที่เป็นกึ่งของแข็งที่อุณหภูมิห้อง มีจุดหลอมเหลวและจุดเกิดควันสูง ไม่เหม็นหืนง่าย เก็บไว้ได้นาน ทนความร้อนสูงได้นานโดยไม่เปลี่ยนสี และที่สำคัญ มีราคาถูก

ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนเพียงบางส่วน คือ เนยเทียม(Margarine) เนยขาว (Shortening) ครีมเทียม (Non-diary creamer) ดังนั้นอาหารที่มีสิ่งเหล่านี้เป็นส่วนประกอบจะมีไขมันทรานส์อยู่ด้วย



ส่วนไขมันทรานส์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติก็พบได้ แต่น้อย โดยพบได้ในเนื้อและนมของสัตว์ที่เคี้ยวเอื้อง ซึ่งแบคทีเรียในทางเดินอาหารของสัตว์จำพวกนี้สร้างขึ้นมา

จากการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.๑๙๙๔ มีการประเมินว่า คนจำนวนมากกว่า ๓๐,๐๐๐ คนต่อปีในอเมริกาที่เสียชีวิตเนื่องจากโรคหลอดเลือดหัวใจโดยมีสาเหตุจากการบริโภคไขมันทรานส์ (4) และคาดว่าจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น ๑๐๐,๐๐๐ คน ในปี ค.ศ.๒๐๐๖(5)

องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (๑๙๙๐) ได้ประเมินว่า  ๙๕% ของคุกกื้(Prepared cookies)  ๑๐๐%ของขนมปังกรอบ(Crackers)  ๘๐%ของผลิตภัณฑ์อาหารเช้าแช่แข็ง(Frozen breakfast products)  มีไขมันทรานส์ และน้ำมันที่ใช้ทอดอาหารในภัตตาคารต่างๆมีไขมันทรานส์เป็นจำนวนมาก



ในปี ค.ศ.๒๐๐๓ องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาออกกฎให้มีการแสดงปริมาณไขมันทรานส์ในฉลากของอาหารโดยให้บังคับใช้ในปี ค.ศ.๒๐๐๖

มีการสำรวจปริมาณไขมันทรานส์ในอาหารของคนอเมริกันในปี ค.ศ.๒๐๐๖ (6)

อาหาร ๑๐๐ กรัม                                                         ไขมันทรานส์ (กรัม)

เนยขาว (shortenings)                                                       ๑๐-๓๓
เนยเทียม    (margarine/spreads)                                           ๓-๒๖
ขนมปัง/เค้ก  (breads/cake products)                                   ๐.๑-๑๐
คุกกี้/ขนมปังกรอบ    (cookies/crackers)                                   ๑-๘
ขนมขบเคี้ยว  (snacks)                                                         ๐-๔



ในที่สุดในปีที่ผ่านมา(ค.ศ.๒๐๑๕)  องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้ประกาศว่า ไขมันทรานส์ ไม่ปลอดภัยสำหรับการบริโภค และให้ยุติการใช้ไขมันทรานส์ในอุตสาหกรรมอาหารภายในปี ค.ศ.๒๐๑๘

สำหรับประเทศไทย จำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจขาดเลือด (I20-I25) ในปี พ.ศ.๒๕๕๐ มีจำนวนหมื่นเศษๆ (๑๓,๐๘๗ คน) และเพิ่มขึ้นเป็นเกือบสองหมื่นคน (๑๘,๙๒๒ คน) ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ แต่ไม่มีการวิเคราะห์ว่ามาจากสาเหตุใดบ้าง มาจากการบริโภคไขมันทรานส์จำนวนเท่าใด (7)


ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลจะต้องดูแลประชาชน ให้ปลอดภัยจากอันตรายในการบริโภคอาหารที่มีไขมันทรานส์ โดยเริ่มจากให้ประชาชนได้รู้ว่า อาหารที่จะบริโภคมีไขมันทรานส์ หรือไม่ ถ้ามี มีปริมาณเท่าใด เพื่อให้ประชาชนจะได้มีโอกาสเลือกที่จะบริโภคอาหารที่ปลอดภัย  นั่นคือ ต้องออกกฎหมายบังคับให้มีการแสดงปริมาณไขมันทรานส์ในฉลากของอาหาร


นายแพทย์ประดิษฐ์ ไชยบุตร
ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไปฯ
๑ สิงหาคม ๒๕๕๙


เอกสารอ้างอิง
(1)   WHO Scientific Update on trans fatty acids : summary and conclusion. European Journal of
Clinical Nutrition (2009)63,568-575
(2)   Diet, nutrition and the prevention of chronic diseases : report of a Joint WHO/FAO Expert Consultation. WHO Technical Report Series, No. 916.Geneva: World Health Organization; 2003
(3)   Fats and fatty acids in human nutrition: report of an expert consultation. FAO Food and Nutrition Paper 91. Rome: Food and Agriculture Organization of the United Nations; 2010
(4)   Willett WC, Ascherio A (1995). "Trans fatty acids: are the effects only marginal?". American Journal of Public Health 85 (3): 411–412.
(5)   Zaloga GP, Harvey KA, Stillwell W, Siddiqui R (2006). "Trans Fatty Acids and Coronary Heart Disease". Nutrition in Clinical Practice 21 (5): 505–512
(6)   Maria Teresa Tarrago-Trani, Katherine M. Phillips, Linda E. Lemar, Joanne M. Holden "New and Existing Oils and Fats Used in Products with Reduced Trans-Fatty Acid Content" Journal of the American Dietetic Association 2006, Volume 106, pp. 867–880
(7)   ข้อมูลจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 03 สิงหาคม 2016, 23:41:26 โดย pradit »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
การรณรงค์เรื่องไขมันทรานส์ในสหรัฐอเมริกา
ลำดับเหตุการณ์สำคัญ ในระยะ 20 ปี ของความพยายามจนประสบผลสำเร็จ

1981
กลุ่มนักวิจัยชาวเวลส์ ได้คาดว่า ไขมันทรานส์อาจเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคหัวใจ

1990
นักวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดได้เตือนถึงอันตรายของไขมันทรานส์

1993
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อประโยชน์สาธารณะ (CSPI) กระตุ้นให้ องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา(U.S. FDA) กำหนดให้มีการระบุปริมาณไขมันทรานส์ (Trans fat หรือ partially hydrogenated oil PHO)ในฉลากอาหาร

1994
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฯ (CSPI) เรียกร้องอย่างเป็นทางการต่อ องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา(U.S. FDA) ให้มีการระบุปริมาณไขมันทรานส์ให้ฉลากอาหาร

1999
องค์การอาหารและยาฯ(FDA) แนะนำให้ระบุปริมาณไขมันทรานส์ในฉลากข้อมูลด้านโภชนาการของอาหาร

2002
สถาบันด้านการแพทย์(Institute of Medicine IOM) แนะนำชาวอเมริกันให้บริโภคไขมันทรานส์ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

2003
- ประเทศเดนมาร์ก เป็นประเทศแรกที่ออกกฎหมายลดไขมันทรานส์ในอาหาร
- องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา(U.S. FDA) ประกาศให้อุตสาหกรรมด้านอาหารระบุปริมาณไขมันทรานส์ในฉลากอาหารภายในปี
2006
- Steven Joseph นักกฎหมายชาวแคลิฟอร์เนีย ฟ้อง บริษัท Mcdonald เพราะไม่ได้เปลี่ยนไขมันทรานส์เป็นไขมันที่ปลอดภัยกว่าในอาหารอย่างที่ประกาศต่อสาธารณะไว้ และขู่ว่า จะฟ้อง บริษัท Kraft ที่ไม่เปิดเผยปริมาณไขมันทรานส์ใน โอริโอ คุกกี้ (Oreo cookies)

2004
- ศูนย์วิทยาศาสตร์ฯ(CSPI) เรียกร้องให้ องค์การอาหารและยาฯ(FDA) ห้ามการใช้ ไขมันทรานส์ (partially hydrogenated oil)ในอาหาร และต้องการให้ภัตตาคารร้านอาหาร เปิดเผยการใช้ไขมันทรานส์
- ศูนย์วิทยาศาสตร์ฯ(CSPI) ได้ลงโฆษณาในนิตยสารTime วิพากษ์วิจารณ์ บริษัท Mcdonald อย่างรุนแรง ที่ผิดสัญญาประชาคมที่จะไม่ใช้ไขมันทรานส์

2005
ศาลรัฐแคลิฟอร์เนีย พิพากษาให้ บริษัท Mcdonald จ่ายเงิน 7 ล้านดอลล่าสหรัฐ ให้แก่สมาคมโรคหัวใจของอเมริกา เพื่อการรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องที่เกี่ยวกับไขมันทรานส์

2006
- กฎหมายที่ให้ระบุปริมาณไขมันทรานส์ในฉลากอาหารมีผลบังคับใช้
- ศูนย์วิทยาศาสตร์ฯ(CSPI) ได้ทำการสำรวจพบว่า เฟรนฟราย ในโรงอาหารของโรงพยาบาลต่างๆ และโรงอาหารในสำนักงานใหญ่ของกระทรวงเกษตร (U.S. Department of Agriculture) ในกรุงวอชิงตัน มีไขมันทรานส์ในปริมาณสูง
- ศูนย์วิทยาศาสตร์ฯ(CSPI) ฟ้องบริษัท KFC ที่ไม่เปิดเผยการใช้ไขมันทรานส์ในการทอดไก่
- คณะกรรมการด้านสาธารณสุขของมหานครนิวยอร์คลงมติห้ามใช้ไขมันทรานส์ในอาหารที่จำหน่ายในภัตตาคารร้านอาหารในมหานครนิวยอร์ค

2007
- บริษัทคริสโค(ผู้ผลิตเนยขาว Shortening รายใหญ่ของอเมริกา) ได้ปรับสูตรเนยขาวให้มีไขมันทรานส์น้อยกว่า0.5 กรัมต่อชิ้น(แพค)ของผลิตภัณฑ์
- บริษัทสตาร์บัค ยุติการใช้ไขมันทรานส์
- ศูนย์วิทยาศาสตร์ฯ(CSPI)ฟ้องบริษัทเบอร์เกอร์คิง ที่ไม่ยอมเปิดเผยการใช้ไขมันทรานส์ในการทอดอาหาร (เป็นการเร่งให้บริษัทเปลี่ยนแปลงเป็นอาหารปลอดไขมันทรานส์ในปี ค.ศ. 2008)

2008
อาร์โนลด์ ชวาเซเนกเกอร์ ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย ลงนามในกฎหมายห้ามใช้ไขมันทรานส์ในภัคตาคารร้านอาหารในรัฐแคลิฟอร์เนีย

2010
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฯ(CSPI) ร่วมกับมหาวิทยาลัยฮาเวิร์ด ตีพิมพ์ผลการศึกษาใน New England Journal of Medicine พบว่าอุตสาหกรรมด้านอาหารได้มีการดำเนินการทดแทนไขมันทรานส์ด้วยไขมันที่ดีต่อสุขภาพกว่า

2011
บริษัทวอลมาร์ท(บริษัทค้าปลีกขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา) ได้ประกาศให้ผู้ส่งสินค้ามาจำหน่ายลดและเลิกการใช้ไขมันทรานส์ภายในปี ค.ศ.2015

2012
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา(CDC) ศึกษาพบว่า ปริมาณไขมันทรานส์ในเลือดของคนอเมริกันได้ลดลง 58เปอร์เซ็นต์ ในช่วงระหว่างปี 2000 และ 2009 (หลังจากมีการรณรงค์เรื่องไขมันทรานส์)

2013
- บริษัทลองจอห์น ซิลเวอร์ (บริษัทอาหารฟาสต์ฟูดรายใหญ่) ประกาศ จะยุติการใช้ไขมันทรานส์ภายในสิ้นปี หลังจากที่ศูนย์วิทยาศาสตร์( CSPI) ออกข่าวว่าเมนู Big catch (ของร้านลองจอห์น) เป็นเมนูอาหารที่เลวที่สุดในอเมริกาเพราะมีไขมันทรานส์ในปริมาณที่สูงมาก
- องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา(U.S. FDA)ให้ความเห็นเบื้องต้นว่า ไขมันทรานส์ไม่ปลอดภัยสำหรับการบริโภค (No longer GRAS or "generally recognized as safe")

2015
องค์การอาหารและยาฯ(FDA) ประกาศว่า ไขมันทรานส์ไม่ปลอดภัย (is not GRAS) ให้เวลาอุตสาหกรรมด้านอาหารยุติการใช้ไขมันทรานส์ภายใน 3 ปี (คือ ในปี ค.ศ. 2018)


https://www.facebook.com/praditc/media_set?set=a.1214148398636466.1073741859.100001239514505&type=3&pnref=story


story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
คดีที่แมคโดนัลด์ถูกฟ้องเรื่อง ไขมันทรานส์
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 19 สิงหาคม 2016, 10:50:52 »

ในการรณรงค์เรื่องไขมันทรานส์ในสหรัฐอเมริกา คดีที่แมคโดนัลด์ถูกฟ้อง เป็นเรื่องที่โด่งดังมาก

บริษัทแมคโดนัลด์(สหรัฐอเมริกา)ได้ประกาศในเดือนกันยายน ปี ค.ศ.2002 ว่า บริษัทจะเปลี่ยนน้ำมันในการปรุงอาหารโดยใช้น้ำมันที่มีไขมันทรานส์น้อยลง และจะเปลี่ยนให้เสร็จสิ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ.2003
แต่ไม่มีการเปลี่ยนน้ำมันในการปรุงอาหารของบริษัทแมคโดนัลด์ จึงมีผู้ฟ้องร้องบริษัทแมคโดนัลด์ในเดือนตุลาคม ค.ศ.2003 ว่าไม่ได้มีความพยายามที่จะแจ้งต่อสาธารณะถึงการไม่ได้เปลี่ยนดังกล่าว (misleading the public)

ความรู้สึกของประชาชนบางส่วน " ฉันหวังว่าฉันจะรู้ (ว่าแมคโดนัลไม่ได้เปลี่ยนน้ำมันในการปรุงอาหาร) ฉันคิดว่า แมคโดนัลด์ไม่ได้ใช้ไขมันทรานส์แล้ว นั่นคือเหตุผลที่ฉันไปกินอาหารที่แมคโดนัลด์ทุกสัปดาห์ ....damn it to hell!!"


https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1222086997842606&set=a.1222086991175940.1073741860.100001239514505&type=3&theater

PrintLada

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 2
    • ดูรายละเอียด
Re: ปลอดไขมันทรานส์ Trans Fat Free Thailand!
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 22 สิงหาคม 2016, 16:22:07 »
เสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่หรอครับ