ผู้เขียน หัวข้อ: การรวมศูนย์อำนาจคือหายนะของประเทศ (นพ.ประเวศ วะสี)  (อ่าน 1572 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
"ศ.ประเวศ"ระบุ วิกฤตการณ์ประเทศมาจากหลายสาเหตุ แต่แก่นคือการรวมศูนย์อำนาจคือหายนะของประเทศ พรรคการเมืองใดจริงใจ กระจายอำนาจสู่ชุมชนท้องถิ่น

๑ หายนะของประเทศเกิดจากการรวมศูนย์อำนาจ

 แม้วิกฤตการณ ์ของประเทศจะเกิดจากสาเหตุหลายอย่าง แต่แก่นของมันคือการรวมศูนย์อำนาจของประเทศ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาใหญ่ ๆ อย่างน้อย ๕ ประการ คือ

 (๑)  ชุมชนท้องถิ่นอ่อนแอ   หากชุมชนท้องถิ่นเข็มแข็งจัดการต ัว เองได้ จะจัดการปัญหาต่าง ๆ ไ ป ได้ ๘๐-๙๐ เ ปอร์เซ็นต์ ไม่ต้อ ง มาแก้กันที่ส่วนกลาง ทุกวั น นี้ปัญหาจากทั่วประเทศ พุ่ง เข้ามาที่นายกรัฐมนต รี ซึ่งเป็นจุดรวมศูนย์อำนาจ นายกรัฐมนตรีทุกคนจะถ ู กปัญหา ท่วมทับ จนหมดสภาพ ปัญหาต่างๆ แก้ไม่ได้จริง บ้านเมืองวิกฤตมากขึ้นๆ

(๒)  ทำให้เกิดสภาพรัฐล้มเหลว ระบบราชการที่รวมศูนย์อำนาจมีสมรรถนะต่ำคอรั ป ชั่นสูง จึงไม่สามารถแก้ปัญหาความยากจน ไม่สามารถอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากร รวมทั้ง ไม่สามารถจัดการการใช้อย่างเป็นธรรมและยั่งยืน ไม่สามารถอำนวยความยุติธรรมแก่สังคม ไม่สามารถแก้ปัญหาความรุนแรง เช่น ปัญหาชายแดนใต้ ฯลฯ เข้าข่ายรัฐล้มเหลว ทำให้เกิดความระ ส่ำ ระส ่ าย โกลาหล และวิกฤต

(๓)  ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างอำนาจรัฐรวมศูนย์กับวัฒนธรรมท้องถิ่น วัฒนธรรม คือวิถีชีวิตร่วมกั น ของกลุ่มชนที่สอดคล้องกับส ิ่ งแวดล้อมหนึ่ง ๆ สิ่งแวดล้อมแต่ล ะ แห่งไม่ เหมือ น กัน วัฒนธรรมจึงหลากหลายไปตามท้องถิ่นต่าง ๆ อำนาจรัฐรวมศ ู นย์ขัดแย้งกับ ความหลากหลาย ทางวัฒนธรรมของ ท้องถิ่น มีผล ทำลายระบบการอยู่ร่วมกัน ระหว่าง คนกับคน และคนกับส ิ่ งแวดล้อม เกิดวิกฤตการณ์ทางสังคมเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อมทั่วประเทศ และนำไปสู่ความรุนแรง เช่น ความรุ น แรงที่จังหวัดชายแดนใต้ ไ ฟ ใต้จะดับไม่ได้ตราบใดที่ ยังไม่กระจายอำนาจไป สู่ ชุมชนท้องถิ่น

(๔)  ทำให้ระบบการเมืองไร้คุณภาพ   เพราะอำนาจรัฐรวมศูนย์ดึงดูดให้นักธุรกิจการเมืองทุ่มทุนขนาดใหญ่เพื่อเข้า มากินรวบอำนาจ ทำให้เกิดระบบธนาธิปไตย และความไร้คุณภาพของระบบการเมืองไทย ที่สมรรถนะต่ำคอร์รัปชั่นสูง แก้ปัญหาบ้านเมืองไม่ได้ การแย่งอำนาจรวมศูนย์ทำให้เกิดการต่อสู้ทางการเมืองรุนแรงนำไปสู่ความแตกแยก

(๕)  ทำให้ทำรัฐประหารง่าย อำนาจรัฐรวมศูนย์ทำรัฐประหารง่าย   แต่ถ้ากระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นโดยทั่วถึงจะทำรัฐประหารไม่ได้   เพราะไม่รู้จะยึดอำนาจตรงไหน

         ปัญหาใหญ่ๆ ที่เกิดจากการรวมศูนย์อำนาจรัฐทั้ง ๕ ประการนี้นำประเทศไปสู่หายนะ

 ๒. ป้องกันหายนะโดยการกระจายอำนาจให้ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง

คนข้างบนที่ไม่เคยสัมผัสความเป็นจริงข้างล่าง   ไม่รู้ดอกว่าคนข้างล่างนั้น “ ตื่น ” ขึ้นมาจัดการตัวเองแล้ว คนข้างบนคุ้นเคยกับมายาคติและความเลวร้ายต่างๆ ข้างบน   ไม่รู้หรอกว่าข้างล่างมีสิ่งดีๆ เยอะ

ใน ระดับชุมชน   กำลังมีการรวมตัวของผู้นำชุมชนเป็น สภาผู้นำชุมชน   ทำการสำรวจชุมชน ทำแผนชุมชน   เสนอให้ สภาประชาชน คือที่ประชุมของคนทั้งหมู่บ้านรับรองแผน   คนทั้งชุมชนช่วยกันขับเคลื่อนการพัฒนาตามแผน   ทำให้การพัฒนาอย่างบูรณาการทั้ง ๘ เรื่องพร้อมกันไป คือ เศรษฐกิจ-จิตใจ-สังคม-วัฒนธรรม-สิ่งแวดล้อม-สุขภาพ-การศึกษา-ประชาธิปไตย   ควรสังเกตว่ากระบวนการนี้เป็นประชาธิปไตยทางตรงที่คนทั้งหมู่บ้านมีส่วนร่วม โดยตรง   ประชาธิปไตยชุมชน เป็นประชาธิปไตยสมานฉันท์และสร้างสรรค์ที่สุด

ในระดับท้องถิ่น   องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั้ง ๓ ประเภท คือ อบต.   เทศบาล   และ อบจ. ซึ่งมีเกือบ ๘,๐๐๐ องค์กร   กำลังทำอะไรดีๆ มากขึ้นเรื่อยๆ และเรียนรู้จากกันทำให้ก้าวหน้าและเข้มแข็งขึ้นเป็นลำดับ   ประชาธิปไตยท้องถิ่น ( Local democracy ) เป็นฐานของประชาธิปไตยระดับชาติ ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ร.๗ ทรงปรารถนาจะให้เกิดขึ้น

ชุมชนท้องถิ่น   ปกคลุมทุกตารางนิ้วของประเทศ   ถ้าเข้มแข็งและจัดการตัวเองได้ ก็จะทำให้ฐานของประเทศมั่นคง   สามารถรองรับประเทศทั้งหมดให้สมดุลและยั่งยืน

          ชุมชนท้องถิ่นจัดการตัวเองจึงเป็นหนทางสู่การอภิวัฒน์ประเทศไทย

  ๓. สมัชชาชุมชนกับการปฏิรูป   สมัชชาท้องถิ่นกับการปฏิรูป

คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปได้จัดตั้งคณะกรรมการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อการปฏิรูป และคณะกรรมการเครือข่ายองค์กรชุมชนเพื่อการปฏิรูป   คณะกรรมการทั้งสองได้ทำงานเครือข่ายองค์กรท้องถิ่นและองค์กรชุมชนทั่วประเทศ และจัดประชุมสมัชชาชุมชนท้องถิ่นจัดการตัวเองสู่การอภิวัฒน์ประเทศไทยและ สมัชชาองค์กรชุมชนเพื่อการปฏิรูป   สมัชชาทั้ง ๒ มีข้อเสนอนโยบายซึ่งขอดูได้จากสำนักงานปฏิรูป และมีองค์กรที่ทำหน้าที่เลขานุการของคณะกรรมการทั้ง ๒ คือ พอช. (สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน) และ สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ)

ควรมีการออก พรบ.ชุมชนท้องถิ่นจัดการตัวเอง เพื่อปลดล็อคกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการกำหนดอนาคตและการจัดการตัวเองของชุมชนท้องถิ่น   ต้องปฏิรูปการเงินการคลังเพื่อท้องถิ่น เพื่อให้ท้องถิ่นมีกำลังทำภารกิจได้อย่างทั่วถึง ต้องปฏิรูปบทบาทองค์กรภาครัฐจากการลงไปทำเอง มาเป็นสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นเชิงนโยบายและเชิงวิชาการ รวมทั้งสร้างกลไกทางนโยบายที่จะนำข้อเสนอทางนโยบายของชุมชนท้องถิ่นไปเป็น นโยบายระดับชาติ   เช่น มีสภาชุมชนท้องถิ่นระดับชาติที่บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีต้องเข้าร่วมประชุม เพื่อรับข้อเสนอเชิงนโยบายที่มาจากชุมชนท้องถิ่น

 ๔.เครือข่ายสภาประชาชน เครือข่ายสภาองค์กรท้องถิ่น ประชาธิปไตยฐานกว้างทั้งแผ่นดิน

เรามักบ่นกันว่าเรามีนักการเมืองที่มีคุณภาพน้อย เล่นกันอยู่ไม่กี่คน ถึงต้องเอาพ่อแม่ลูกเมียพี่น้องเป็นตัวแทน เพราะเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีฐานแคบ   ชุมชนท้องถิ่นคือฐานกว้าง มีผู้นำตามธรรมชาติที่เป็นทั้งคนเก่งและคนดีจำนวนมากในชุมชนท้องถิ่น   ถ้าเราตั้งระบอบประชาธิปไตยให้มีฐานกว้าง   จะเกิดพลังประชาธิปไตยมหาศาลทั้งแผ่นดิน

สภาประชาชน และสภาผู้นำชุมชน ๘๐,๐๐๐ หมู่บ้าน
 
ประชาธิปไตยชุมชน
 
ประชาธิปไตยท้องถิ่น
 
ประชาธิปไตยระดับชาติ
 
รัฐสภา สมาชิก ๕๐๐-๑๕๐ คน
 
สภาองค์กรท้องถิ่น เกือบ ๘,๐๐๐ องค์กร
 
                                                            

ประชาธิปไตย ๓ ระดับควรเชื่อมโยงกัน

 สภาประชาชนคือที่ประชุมของคนทั้งหมู่บ้าน มีประมาณ ๘๐,๐๐๐หมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านมีสภาผู้นำชุมชน หมู่บ้านละ๔๐-๕๐ คน ผู้นำชุมชนทั้ง ๘๐,๐๐๐หมู่บ้านจึงมีประมาณ ๔ ล้านคน ถ้าสภาผู้นำชุมชนและสภาประชาชนทั้ง ๘๐,๐๐๐ หมู่บ้าน เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย จะเป็นเครือข่ายประชาธิปไตยชุมชนอันไพศาล

ท้องถิ่นเกือบ ๘,๐๐๐ แห่ง ทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น มีนักการเมืองท้องถิ่นกว่า ๑๐๐,๐๐๐ คน เครือข่าย อปท.และสภาท้องถิ่น ถ้าเชื่อมโยงกันทั้งหมดจะเป็นเครือข่ายประชาธิปไตยท้องถิ่นอันไพศาล

ถ้าประชาธิปไตย ๓ ระดับทำงานเชื่อมโยงกัน คือ ประชาธิปไตยชุมชน ประชาธิปไตยท้องถิ่น ประชาธิปไตยระดับชาติ จะเป็นระบอบประชาธิปไตยฐานกว้าง เป็นประชาธิไตยที่จะแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศให้ออกจากความทุกข์ยากได้จริง

 ๕.ระบบการศึกษาควรส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น

ระบบการศึกษาเป็นระบบที่ใหญ่และมีศักยภาพในตัวมาก มีครูบาอาจารย์ มีนักวิชาการ นิสิตนักศึกษา นักเรียนจำนวนมาก ที่แล้วมาระบบการสึกษาเหมือนผู้ยืนดู ดูบ้านเมืองวิกฤตและหายนะมากขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่รู้จะทำอะไร เพราะมองแต่ข้างบน เห็นแต่การเมืองระดับชาติที่ตนเองไม่รู้จะทำอะไรได้ ถ้าระบบการศึกษามองไปที่ข้างล่าง ที่ชุมชนท้องถิ่น ระบบการศึกษาจะสามารถร่วมทำงานกับชุมชนท้องถิ่นในการจัดการตัวเอง เมื่อชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็งจัดการตนเองได้ ประเทศก็จะพ้นวิกฤต เพราะมีฐานที่แข็งแรงทั้งเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และประชาธิปไตย

นโยบายหนึ่งมหาวิทยาลัยต่อหนึ่งจังหวัด เพื่อให้มีอย่างน้อยหนึ่งมหาวิทยาลัยทำงานกับหนึ่งจังหวัด เป็นการที่ให้มหาวิทยาลัยทำงานโดยเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง ในพื้นที่มีชุมชนท้องถิ่น ในการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่นนั้นต้องการวิชาการเป็นอันมาก ถ้ามหาวิทยาลัยทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่น มหาวิทยาลัยจะเข้าไปเชื่อมกับพลังประชาธิปไตยอันไพศาลดังกล่าวในข้อ ๔ การทำงานกับชุมชนท้องถิ่นจะทำให้มหาวิทยาลัยเข้าใจประเด็นทางนโยบาย ที่แล้วมามหาวิทยาลัยเกือบไม่มีบทบาททางนโยบายเลย เพราะไม่ได้เอาความเป็นจริงของสังคมไทยเป็นตัวตั้ง ถ้ามหาวิทยาลัยเป็นพลังทางนโยบายจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนประเทศไปสู่จุดลงตัว ใหม่ ประเด็นนโยบายใหญ่ที่สุดขณะนี้คือการกระจายอำนาจให้ชุมชนท้องถิ่นจัดการตน เอง

๖. สมาคม อบต. – สมาคมสันนิบาตเทศบาล – สมาคม อบจ. พร้อมแล้วสำหรับการปฏิรูปประเทศ

ทั้ง ๓ สมาคมองค์กรท้องถิ่นร่วมกับคณะกรรมการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการ ปฏิรูปของคณะกรรมการสมัชชาปฎิรูป ได้จัดสมัชชาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการปฏิรูปในทุกภาคและระดับชาติ   เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการตัวเองของท้องถิ่น   และมีข้อเสนอเชิงนโยบายที่ชัดเจนที่เขาจะร่วมกันขับเคลื่อนไปสู่การกระจาย อำนาจไปสู่ท้องถิ่นโดยแท้จริง   ผู้นำท้องถิ่นที่มีประสบการณ์สูงในการบริหารจัดการเรื่องของท้องถิ่น ในวันข้างหน้าจะขึ้นมาเป็นผู้นำระดับชาติ   ที่จะแก้ความตีบตันทางการเมือง   ในการขาดแคลนผู้นำที่มีความสามารถและความสุจริตสูง

ผู้นำระดับชาติของสหรัฐอเมริกาและของจีนจำนวนมากมาจากผู้นำท้องถิ่นที่ ผ่านการพิสูจน์ด้วยการทำงานมาแล้ว   คาร์เตอร์ เรแกน บุช คลินตัน ล้วนเคยเป็นผู้บริหารท้องถิ่นมาก่อน เจียงเจ๋อหลิน และหูจินเทา ล้วนพิสูจน์ตัวเองมาก่อนด้วยการบริหารท้องถิ่น   ของเราเรียนลัดปุ๊บปั๊บมาเป็นรัฐมนตรี   โดยไม่ได้พิสูจน์ตัวเองว่ามีความสามารถและความสุจริตแต่อย่างใด   การกระจายอำนาจไปสู่ชุมชนท้องถิ่นจึงมีสำคัญมากต่อคุณภาพของประชาธิปไตยของ เรา

๗. พรรคการเมืองใดจริงใจต่อการกระจายอำนาจบ้าง

ในการเลือกตั้ง ๒๕๕๔ ที่กำลังจะมาถึงในอนาคตอันใกล้   ขอให้สื่อมวลชนทุกแขนงช่วยกันตั้งคำถามดัง ๆ ว่า “พรรคการเมืองใดจริงใจต่อการกระจายอำนาจบ้าง”   ผมเชื่อว่าลึกๆ แล้วพรรคการเมืองก็ต้องการทำเรื่องดีๆ เพราะนอกจากเกิดผลดีต่อประเทศชาติบ้านเมืองแล้ว ตัวเองก็ยังได้คะแนนด้วย   แต่เรื่องดีๆ มักคิดไม่ออกหรือทำยาก

แต่บัดนี้ไม่จริงแล้ว   คณะกรรมการปฏิรูปทั้ง ๒ คณะได้ระดมคนมาคิดประเด็นนโยบายดี ๆ ที่พรรคการเมืองสามารถเลือกไปใช้ได้

 เรื่องกระจายอำนาจก็ง่ายนิดเดียว   พรรคการเมืองใดสนใจเรื่องนี้ก็ไปทำงานร่วมกับ ๓ สมาคมองค์กรท้องถิ่น คือ สมาคม อบต. สมาคม สันนิบาตเทศบาล และสมาคม อบจ. หรือคณะกรรมการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการปฏิรูป เครือข่ายเหล่านี้เขาทำงานกันมาจนชัดเจนแล้วว่าประเด็นนโยบายของการกระจาย อำนาจมีอะไรบ้าง   พรคคการเมืองเพียงแต่ไปต่อเชื่อมกับเขาเท่านั้น

นอกจากได้ทำเรื่องดีๆ แล้ว ยังได้คะแนนเสียงอีกด้วย

กรุงเทพธุรกิจ
20 เมษายน 2554
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 เมษายน 2011, 22:16:56 โดย story »