ผู้เขียน หัวข้อ: ทบทวนข่าวเกี่ยวกับสำนักงานประกันสังคม(สปส)  (อ่าน 1371 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
ค้านเอาเงิน สปส.จ่าย สปสช.หากโอนผู้ประกันตนไปบัตรทอง

           ที่กระทรวงแรงงาน นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.แรงงาน กล่าวถึงมติของบอร์ดสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ที่มีมติให้ตั้งทีมเจราจากับตัวแทนของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เรื่องการโยกผู้ประกันตน เข้าระบบ สปสช. ว่า เป็นเรื่องของบอร์ดทั้ง 2 ทีม ที่จะต้องไปเจรจากัน ซึ่งตนก็ให้นโยบายไปแล้วว่า จะต้องทำให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์ที่ดีที่สุด แต่ทั้งนี้ ก็ยอมรับความคิดเห็นของผู้ประกันตน

            ส่วนกรณีที่มีบอร์ด สปสช.ระบุว่า หากจะให้ผู้ประกันตนโยกไปอยู่ในระบบ จะต้องจ่ายเงินให้กับ สปสช.ประมาณ 2 หมื่นล้านบาทนั้น ซึ่งในเรื่องดังกล่าวเป็นเงินของผู้ประกันตน ส่วนตัวจึงคิดว่าควรที่จะมีสิทธิ์ในการเลือกว่าจะเข้าสู่การรักษาพยาบาลใน ระบบใด แต่เชื่อว่าไม่ได้มีผู้ประกันตนทั้ง 100% ที่ต้องการโยกไปอยู่ในระบบ สปสช.

            ด้านนายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า บอร์ด สปส.ได้ตั้งตัวแทน เพื่อไปดำเนินการเจรจากับบอร์ด สปสช.จำนวน 4 คน ปรดกอบด้วย ตัวแทนจาก สปส.ตัวแทนฝ่ายนายจ้าง ตัวแทนฝ่ายนายจ้าง ตัวแทนภาครัฐ ซึ่งการพูดคุยคงต้องใช้นะยะเวลานานพอสมควร เนื่องจากนะนี้ยังมีรายละเอียดที่ไม่ชัดเจนว่ามีเหตุผลว่าทำไมต้องย้ายไป อยู่ในระบบ สปสช.และต้องทำอย่างไรให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิและบริการเหมือนที่เป็นอยู่

            ส่วนกรณีที่มีการออกมาระบุว่าหากมีการโอนย้ายผู้ประกันตนมาอยู่กับ สปสช.และสปส.ต้องจ่ายเงินไปให้สปสช.ราว 20,000 ล้านบาทนั้น ถามว่ามีเหตุผลอะไรที่จะต้องจ่ายเงินในส่วนนี้ เพราะหากเป็นเช่นนั้น สปส.สามารถจัดการเองได้  ไม่ต้องให้เขาจัดการแทน

            “อย่ามาฉวยโอกาสเอาเงินส่วนนี้ไป เพราะเป็นเงินของผู้ประกันตน ก่อนหน้านี้มีการพูดถึงอีกประเด็นหนึ่ง แต่พอมาถึงตอนนี้กลับมาพูดคนละประเด็น”ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าว

            ด้าน น.ส.สารี อ๋องสมหวัง ชมรมผู้พิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน กล่าวว่า หาก สปส.จะต้องเอาเงินในส่วนของการรักษาสุขภาพ มาจ่ายให้กับทาง สปสช.อีก ก็นับว่าเป็นเรื่องที่น่าผิดหวัง เพราะทาง สปสช.น่าจะรู้ดีและเข้าใจถึงการรักษาที่รัฐต้องเข้ามาจัดการให้มากกว่านี้ จึงขอเรียกร้องให้ทบทวนเรื่องนี้ เพราะทาง สปสช.จะมองตามมาตรา 10 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติอย่างเดียวไม่ได้ แต่ สปสช.ต้องคำนึงถึงการเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐานที่รัฐต้องจัด ให้โดยไม่ได้กำหนดให้ประชาชนต้องร่วมจ่าย

19/4/2011
..................................................................
สปส.เล่นหุ้นได้กำไรเกือบ2หมื่นล้าน

โฆษกกระทรวงแรงงาน ยืนยันกรณีนำเงินลงทุนในตลาดหุ้นของสำนักงานประกันสังคมมีผลกำไรชัดเจนกว่า 17,000 ล้าน แม้จะมีหุ้นบางตัวขาดทุนไปบ้างก็นับเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากการลงทุนต้องมีความเสี่ยงขาดทุนเพียงตัวเดียวถือเป็นเรื่องที่ยอม รับได้ ชี้เป็นการขาดทุนทางบัญชีเท่านั้นคือยังไม่มีการซื้อ-ขาย ในอนาคตหุ้นตัวนี้อาจพุ่งขึ้นมาก็ได้
นายไพโรจน์ สุขสัมฤทธิ์ รองปลัดกระทรวงแรงงานในฐานะโฆษกกระทรวง กล่าวถึงกรณีการนำเงินของสำนักงานประกันสังคมไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ โดยเฉพาะการลงทุนในหุ้นไทยธนาคารแล้วประสบปัญหาไม่ได้รับกำไรว่า การลงทุนนั้นมีความเสี่ยง กล่าวคือต้องมีทั้งตัวที่กำไรและตัวที่ขาดทุน การที่เอาหุ้นที่ขาดทุนเพียงตัวเดียวมาเป็นประเด็นนั้นไม่ถูกต้อง ควรจะมองในภาพรวมที่พบว่าสำนักงานประกันสังคมทำกำไรจากการลงทุนในปี 2549 กว่า 17,000 ล้านบาท ดังนั้นการลงทุนในหุ้นของไทยธนาคารแล้วไม่ได้รับกำไรนั้นถือว่าเป็นเรื่อง ที่สามารถยอมรับได้ อีกทั้งการลงทุนดังกล่าวยังพบว่าเป็นเพียงการขาดทุนในทางบัญชีเท่านั้น นั่นก็คือมีการซื้อหุ้นมาเก็บไว้แต่ยังไม่มีการปล่อยขายแต่อย่างใด ซึ่งในอนาคตหุ้นตัวนี้อาจมีราคาในตลาดหลักทรัพย์สูงขึ้นมาอีกก็ได้

21/3/2007
.................................................................
สปส.แจงให้บริการตามมาตรฐาน ย้ำให้บริการผู้ประกันตนอย่างเท่าเทียม/จี้สอบโรงพยาบาล

นาย สุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ที่ผ่านมา สปส.ได้รับข้อร้องเรียนจากผู้ประกันตนเกี่ยวกับบริการทางการแพทย์อยู่เป็น ระยะ ในส่วนของสถานพยาบาลในโครงการประกันสังคมจะต้องให้ผู้ประกันตนได้รับการ บริการทางการแพทย์ตามมาตรฐานการรักษา และการสั่งจ่ายยาไม่ต่ำกว่ามาตรฐานบัญชียาหลักแห่งชาติและไม่เรียกเก็บเงิน เพิ่มจากผู้ประกันตน รวมทั้งมีมาตรการควบคุมคุณภาพสถานพยาบาลให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด โดยมีการตรวจสอบมาตรฐานการบริการของสถานพยาบาลอย่างต่อเนื่อง โดยมีทีมอาจารย์ที่ปรึกษาด้านการแพทย์ พร้อมทั้งมีเจ้าหน้าที่ของสำนักงานประกันสังคมเข้าไปตรวจสอบเพื่อดูความ พร้อมของสถานพยาบาลด้านมาตรฐานการรักษา มาตรฐานในการจ่ายยา และมาตรฐานในการวินิจฉัยโรคของแพทย์ รวมไปถึงระยะเวลาการรอพบแพทย์ไม่ควรเกิน 30 นาที สำหรับสถานพยาบาลที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดจะได้รับการลงโทษดังนี้ คือ
(1) ว่ากล่าวตักเตือน
(2) ลดจำนวนโควตาผู้ประกันตนลงในปีต่อไป
(3) ส่งเรื่องให้แพทย์สภา
(4) ยกเลิกสัญญาจ้าง

นายสุรินทร์ กล่าวต่อว่า การร้องเรียนของผู้ประกันตนในบางกรณี เกิดจากความเข้าใจผิดของผู้ประกันตน เช่น ต้องการเข้าห้องพิเศษ ส่วนนี้ถือว่าเกินจากมาตรฐานที่กำหนดไว้ซึ่งผู้ประกันตนต้องจ่ายส่วนเกิน สำหรับในกรณีที่มีการร้องเรียนว่ามีการให้ยาราคาถูกแก่ผู้ประกันตนนั้น สปส.ขอยืนยันว่าการให้บริการเป็นไปตาม มาตรฐานการรักษาและการบริการทางการแพทย์ของสถานพยาบาลในโครงการประกันสังคม จะต้องให้ผู้ประกันตนได้รับบริการทางการแพทย์ตามมาตรฐานการรักษา และการสั่งจ่ายยาไม่ต่ำกว่ามาตรฐานบัญชียาหลักแห่งชาติและไม่เรียกเก็บเงิน เพิ่มจากผู้ประกันตนตามสัญญาจ้างให้บริการทางการแพทย์ที่กำหนดว่า สถานพยาบาลมีหน้าที่ให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนอย่างเต็มกำลังความ สามารถของแพทย์ และจัดหายา เวชภัณฑ์ ครุภัณฑ์ รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ เพื่อให้บริการทางแพทย์แก่ผู้ประกันตนอย่างเพียงพอจนสิ้นสุดการรักษา โดยไม่จำกัดจำนวนเงินค่าใช้จ่าย และจำนวนครั้งที่เข้ารักษา โดยสถานพยาบาล จะไม่เก็บค่าบริการทางการแพทย์จากผู้ประกันตน

อย่างไรก็ตามกรณีที่ผู้ประกันตนได้รับบริการที่ไม่ดีจากสถานพยาบาลในโครงการ ประกันสังคม ขอให้แจ้งข้อเท็จจริง เช่น ชื่อ - นามสกุล เลขที่บัตรประชาชน วันเวลาที่รับการรักษา และชื่อ - นามสกุลของแพทย์ผู้ให้การรักษา โดยส่งข้อร้องเรียนมายังสำนักงานประกันสังคมโดยแจ้งเจ้าหน้าที่สายด่วน กระทรวงแรงงาน โทร.1506 ได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ ศูนย์สารนิเทศ โทร. 02 956-2533-5 กองประสานการแพทย์ฯ โทร. 02 956 2504-6 หรือร้องเรียนผ่านเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th ทั้งนี้สำนักงานประกันสังคมจะรับเรื่องทันทีเพื่อติดตามและแจ้งผลกลับทุก กรณี

29/5/2007
.........................................
สปส.ย้ำกองทุนเป็นของนายจ้าง-ผู้ประกันตน หากปรับเป็นองค์กรมหาชนต้องเกิดประโยชน์สูงสุด

จากที่มีข้อเสนอแนะจากที่ปรึกษาชมรมโรงพยาบาลเอกชนเพื่อการพัฒนาระบบ งานบริการประกันสังคม อุปนายกสมาคมทันตแพทย์เอกชนไทยและนักวิชาการมูลนิธิอารมณ์พงษ์พงัน เกี่ยวกับการสนับสนุนให้สปส.เป็นองค์กรมหาชนและได้มีการกล่าวพาดพิงถึงผู้ บริหารสปส.ว่าไม่รับฟังความเห็นของนายจ้าง ผู้ประกันตนนั้น

นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า การปรับให้สปส.เป็นองค์กรมหาชนนั้น ขณะนี้สปส.ได้จ้างสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์ ผู้อำนวยการโครงการทำวิจัยกรณีศึกษาความเป็นไปได้ในการให้สำนักงานประกัน สังคมเป็นหน่วยงานอิสระ ซึ่งได้นำเสนอผลการวิจัยต่อที่ประชุมคณะกรรมการประกันสังคม แต่ยังมีบางประเด็นที่ไม่ชัดเจนและให้มีการศึกษาเพิ่มเติม อาทิ วิธีการสรรหาคณะกรรมการประกันสังคม การปรับเปลี่ยนสถานะของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ เป็นต้น ซึ่งหลังจากที่ได้มีการศึกษาเพิ่มเติมแล้วจึงจะจัดทำประชาพิจารณ์เพื่อรับ ทราบความคิดเห็นจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สถาบันผู้รับจ้างดังกล่าวนำไปปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ

ตลอดจนรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการก่อนนำเสนอคณะกรรมการประกัน สังคมต่อไป หากคณะกรรมการประกันสังคมเห็นชอบจึงจะเสนอขอความเห็นชอบจากกระทรวงแรงงาน เพื่อนำเข้าค.ร.ม.และออกเป็นร่างพระราชบัญญัติฯต่อไป นายสุรินทร์ กล่าวต่อไปว่า กองทุนประกันสังคมเป็นของนายจ้าง ผู้ประกันตนทุกคน

หากการปรับเป็นองค์กรมหาชนแล้วเกิดประโยชน์ต่อผู้ประกันตนก็ยินดี แต่ในระหว่างนี้ต้องรอผลการวิจัยซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาเพิ่มเติม ส่วนที่มีผู้กล่าวหาว่าข้าราชการหวงอำนาจจึงไม่อยากให้ปรับเป็นองค์กรมหาชน นั้น ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เพราะกองทุนฯไม่ได้เป็นของข้าราชการแต่เป็นของนายจ้าง ผู้ประกันตน ผู้บริหารกระทรวงแรงงานทุกคนย่อมฟังเสียงเจ้าของเงิน คือ นายจ้าง ผู้ประกันตนอยู่แล้ว ดังนั้นหากผลการวิจัยที่ศึกษามาอย่างรอบคอบแล้ว ผลออกมาว่าเป็นประการใด ผู้บริหารสปส.ยินดีให้การสนับสนุนโดยเฉพาะจะต้องเกิดผลดีแก่นายจ้าง ผู้ประกันตน

31/5/2007
.....................................................
สปส.โชว์ฝีมือ งานปี50เดินหน้า ลูกจ้างเพิ่ม4% เงินทะลุ2หมื่นล้าน

นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า ตั้งแต่เดือน มกราคม ถึงเดือน เมษยน 2550 มีสถานประกอบการมาขึ้นทะเบียนกับ สปส.ทั้งหมดจำนวน 378,954 แห่ง ผู้ประกันตนจำนวน 9 ล้านคน เก็บเงินสมทบได้ 31,593.31 ล้านบาท ขณะเดียวกัน สปส.ได้จ่ายเงินทดแทนกรณีว่างงานให้กับคนที่ออกจากงานไปแล้ว 43,105 คน รวมเป็นเงิน 525 ล้านบาท โดยแยกเป็นถูกเลิกจ้าง 15,911 คน ลาออกเอง 25,844 คน และสิ้นสุดสัญญาจ้าง 1,350 คน ซึ่งหากเปรียบเทียบตั้งแต่ปี 2548-2550 ในช่วงเดียวกันพบว่ามีแนวโน้นสูงขึ้นมาก กล่าวคือ ในเดือน เม.ย.2548 จ่ายเงินทดแทนจำนวน 19,550 คน 62.8 ล้านบาท ส่วนเดือน เม.ย. 2549 สปส.จ่ายประโยชน์ทดแทนให้ แก่ผู้ประกันตน 27,124 คน เป็นเงิน 87.32 ล้านบาท นายสุรินทร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับสถานประกอบการจำนวนผู้ประกันตนและ

อัตราเงินสมทบขณะนี้ยังคงมีอัตราเพิ่มขึ้น โดยสถานประกอบการมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.63 โดยในปี 2549 มีสถานประกอบการทั้งสิ้นจำนวน 375,705 แห่ง ในปี 2550 เพิ่มขึ้นเป็น 378,954 แห่ง ส่วนผู้ประกันตนมีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.64 ในปี 2549 มีจำนวนผู้ประกันตน 8,860,183 คน ปี 2550 เพิ่มเป็น 9,01,8442 คน ส่งผลให้ยอดเงินลงทุนเพิ่มขึ้นโดยในปี 2549 จำนวน 403,281 ล้านบาท ปี 2550 เพิ่มเป็น 427,243 ล้านบาท

21/6/2007
.....................................................
แนวหน้า