ผู้เขียน หัวข้อ: รู้จักการ “คลอดบุตรใต้น้ำ” ให้ผลดีทั้งแม่-ลูก  (อ่าน 723 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
จุดกระแสให้คนไทยหลายคนหันมาสนใจการคลอดใต้น้ำกันในชั่วข้ามคืน แม้คุณแม่ป้ายแดง “กุ๊บกิ๊บ-สุมณทิพย์ ชี (เหลืองอุทัย)” จะออกมาปฏิเสธว่า ไม่ได้ให้กำเนิด “น้องเป่าเปา” ด้วยวิธีการ “คลอดใต้น้ำ” แต่วิธีการคลอดดังกล่าวก็ทำให้ใครหลายคนหันมาสนใจมากขึ้น

พญ. ธิศรา วีรสมัย สูตินรีแพทย์ ประจำศูนย์สุขภาพหญิง โรงพยาบาลพญาไท 1 ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการคลอดใต้น้ำว่า การคลอดบุตรในน้ำ หรือ water birth มีในต่างประเทศมาหลายปีแล้ว เป็นขบวนการคลอดตามธรรมชาติ

เพียงแต่ช่วงระยะคลimage1อด คุณแม่ลงไปในอ่างน้ำอุ่นที่อุณหภูมิช่วง 35-37 องศาเซลเซียส อันที่จริงนั้น อาจเป็นกระบวนการที่อยู่ในระหว่างการเจ็บครรภ์ หรือเฉพาะขณะคลอด หรือทั้งสองช่วงก็ได้ ในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกานั้น สมาคมสูตินรีแพทย์เห็นประโยชน์ของการคลอดในน้ำในช่วงระหว่างการเจ็บครรภ์ระยะแรก นั่นคือ ช่วงตั้งแต่เริ่มมีการเจ็บครรภ์และมดลูกหดรัดตัวสม่ำเสมอจนกระทั่งปากมดลูกเปิดหมดพร้อมคลอด

ในส่วนของประโยชน์ของการคลอดในน้ำ พญ.ธิศราอธิบายว่า ในระยะที่ 1 ของการคลอด จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บ หรือลดความจำเป็นที่จะต้องใช้ยาระงับปวดของแม่ได้ ทั้งยังช่วยให้การคลอดดำเนินไปได้ง่ายขึ้น เนื่องจากการแช่ในน้ำอุ่น และแรงพยุงตัวของน้ำ จะช่วยให้กล้ามเนื้อขยายตัวและคุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย เมื่อมีความเจ็บปวด คุณแม่สามารถเดินไปมาบรรเทาความรู้สึกปวดได้ดีกว่าการรออยู่บนเตียง เนื่องจากสามารถขยับเคลื่อนไหวในน้ำได้สะดวก เมื่ออยู่ในน้ำคุณแม่จะรู้สึกตัวเบา มีอิสระในการเปลี่ยนท่าและเคลื่อนไหวได้อย่างสะดวก เมื่อแช่ในน้ำอุ่น กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ที่เกร็งตัวจากภาวะเครียดของคุณแม่จะคลายตัวได้มากขึ้น และคุณแม่ก็รู้สึกผ่อนคลายขึ้น

ส่วนกรณีที่กล่าวว่าการคลอดใต้น้ำจะช่วยลดโอกาสจะเกิดการฉีกขาดรุนแรงของช่องคลอด และมีเลือดมาเลี้ยงบริเวณมดลูกได้ดีขึ้นนั้น ปัจจุบันนี้ยังไม่มีข้อมูลการศึกษาสนับสนุนชัดเจน

สำหรับคุณแม่ที่ต้องการทำคลอดใต้น้ำ เมื่อเข้าสู่ระยะที่ 2 หรือช่วงหลังจากปากมดลูกเปิดหมดและเริ่มเบ่งคลอดแล้ว จะต้องมีทีมเตรียมพร้อมสำหรับกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินใดๆ ทั้งต่อคุณแม่และลูก เพื่อจะสามารถย้ายคุณแม่ขึ้นจากน้ำและเตรียมร่างกายได้อย่างรวดเร็วเมื่อต้องผ่าตัดคลอดฉุกเฉินด้วย

อย่างไรก็ตาม การคลอดลูกในน้ำยังมีความเสี่ยงซึ่งอาจพบได้ไม่บ่อย ได้แก่การติดเชื้อ คุณแม่จึงควรพิจารณาโรงพยาบาลที่มีมาตรฐานในการควบคุมมาตรฐานการปลอดเชื้อของขบวนการแช่ และคลอดในน้ำ

นอกจากนี้ การคลอดบุตรรูปแบบนี้ยังควบคุมอุณหภูมิร่างกายทารกได้ยาก อาจมีปัญหาการหายใจแรกในน้ำของทารก ซึ่งความเสี่ยงสองข้อหลัง พบได้น้อย เมื่ออยู่ในการดูแลของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการคลอดในน้ำ เนื่องจากจะมีการปรับอุณหภูมิของน้ำอุ่นให้เหมาะสมกับอุณหภูมิขณะอยู่ในท้องคุณแม่ และเมื่อแรกคลอดในน้ำ ทารกยังมีเวลาประมาณ 40-60 วินาที สำหรับการปรับตัว ก่อนจะโผล่ขึ้นมาหายใจเหนือน้ำ ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญการคลอดในน้ำของแพทย์จึงมีความสำคัญ

โดยหากคุณแม่สุขภาพแข็งแรงและไม่มีข้อบ่งห้ามในการคลอด สามารถพิจารณาคลอดในน้ำได้ หากไม่มีความเสี่ยงต่อไปนี้

1.อายุน้อยกว่า 17 หรือมากกว่า 35 ปี ซึ่งอาจอยู่ในกรณีที่มีภาวะร่วมในกลุ่มครรภ์เสี่ยงสูง มีภาวะครรภ์เป็นพิษ หรือเบาหวานที่มีปัญหาการควบคุม
ครรภ์แฝด ทารกท่าขวางหรือท่าก้น

2.ทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกตัวใหญ่มากซึ่งอาจมีปัญหาแทรกซ้อนจากการคลอดยาก หรือคุณแม่มีการติดเชื้อบริเวณอวัยวะเพศที่ไม่ควรคลอดผ่านทางช่องคลอด เช่น เริม หรือหูดหงอนไก่ที่ปากช่องคลอด ,การติดเชื้อ หรือภาวะแทรกซ้อนที่จำเป็นที่ต้องได้รับการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ซึ่งต้องพร้อมสำหรับการช่วยชีวิตหรือผ่าตัดคลอดฉุกเฉิน

มติชนออนไลน์
วันพุธที่ 29 มิถุนายน 2559