ผู้เขียน หัวข้อ: เบื้องหลังการโค่นล้มสถาบันฯ ของ ขบวนการล้มเจ้า“ยุคแรก”จากบันทึกของ ปรีดี พนมยงศ์  (อ่าน 938 ครั้ง)

knife05

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 60
    • ดูรายละเอียด
ในหน้า 51 ของหนังสือ 100 ปีพระยาพหลฯ นักหนังสือพิมพ์อาวุโส นเรศ นโรปกรณ์ เปิดบันทึกของ นายปรีดี พนมยงค์

ที่เขียน บางเรื่องเกี่ยวกับการก่อตั้งคณะราษฎร และระบบประชาธิปไตย เอาไว้อย่างน่าสนใจ และน่าศึกษาอย่างยิ่งว่า

๑ การประชุมเป็นทางการครั้งแรกของคณะราษฏร มีขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1927 ( พ.ศ.2470) ที่หอพักแห่งหนึ่ง

ณ  RUE DU SOMMERRAD ซึ่งเราเช่าห้องใหญ่ไว้เฉพาะการประชุมนั้น ผู้ร่วมประชุมมี 7 คนคือ

(1)ร.ท.ประยูร ภมรมนตรี นายทหารกองหนุนซึ่งเคยเป็นผู้บังคับหมวดทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์รัชกาลที่ 6

(2)ร.ท.แปลก ขีตตะสังคะ สำเร็จวิชาจากโรงเรียนเสนาธิการทหารบกสยาม แล้วมาศึกษาต่อโรงเรียนนายทหารปืนใหญ่ฝรั่งเศส

(3)ร.ต.ทัศนัย มิตรภักดี นายทหารกองหนุ่นซึ่งเคยเป็นผู้บังคับหมวดกรมทหารม้าที่ 5 นครราชสีมา แล้วมาศึกษาที่โรงเรียนนายทหารม้า ฝรั่งเศส

(4)นายตั้ว ลพานุกรม นักศึกษาวิทยาศาสตร์ในสวิตเซอร์แลนด์ เคยเป็นจ่านายสิบในกองทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ 1

(5)หลวงสิริราชไมตรี นามเดิม จรูญ นามสกุล สิงหเสนี ผู้ช่วยสถานทูตสยามประจำกรุงปารีส เคยเป็นนักเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม และเป็นนายสิบตรีในกองทหารอาสาสงครามโลกคร้งที่ 1

(6)นายแนบ พหลโยธิน เนติบัณฑิตอังกฤษ

(7) ข้าพเจ้า(นายปรีดี พนมยงค์) ที่ประชุมมติเป็นเอกฉันท์ให้ข้าพเจ้าเป็นประธานและเป็นหัวหน้าคณะราษฎรจนกว่าจะมีบุคคลที่เหมาะสมเป็นหัวหน้าคณะราษฎรในกาลต่อไป – นายปรีดี พูดถึงการประชุมเพื่อการวางแผนไว้ด้วยแต่ผมขอข้าม..

เรื่องที่น่าสนใจคือการเตรียมงานในไทย ซึ่งนายปรีดี ได้บันทึกเอาค่อนข้างละเอียด เริ่มจาก..

“เมื่อเสร็จการประชุมก่อตั้งคณะราษฎรแล้ว ข้าพเจ้ากลับสยามในเดือนมีนามคมปีนั้น แล้วเพื่อนที่ยังอยู่ในปารีสเลือกเฟ้นผู้ที่สมควรชวนร่วมคณะต่อไป อีกประมาณ 2 – 3 เดือน เพื่อที่ยังอยู่ปารีสได้ชวน นายทวี บุณยเกตุ นักศึกษาวิชาเกษตร และ นายบรรจง ศรีจรูญ ไทยมุสลิมจากอียิปต์ที่มาเยือนปารีส ซึ่งรับภาระจัดตั้งไทยมุสลิมต่อไป อาทิ นายแช่ม มุสตาฟา (บุตรหัวหน้าศาสนาอิสลามในไทยที่รู้จักกันในนามว่า “ครูฟา” ต่อมานายแช่มเปลี่ยนนามสกุลว่า “พรหมยงค์” คล้าย ๆ นามสกุลข้าพเจ้า)

ต่อมาได้ชวน ร.ต.สินธุ์ กมลนาวิน ร.น.นักศึกษาวิชาทหารเรือเดนมาร์กที่มาเยือนปารีส ต่อมาพระยาทรงสุรเดช ได้มาดูงานทหารในฝรั่งเศส เพื่อที่ยังอยู่ในปารีสจึงลองทาบทามว่ามีความรู้สึกอย่างไรต่อระบบสมบูรณาฯ ก็ได้ความว่าไม่พอใจระบบนั้นแต่ยังมิได้ถูกชวนเข้าร่วมในคณะราษฎร

ต่อจากนั้นเพื่อที่ก่อตั้งคณะราษฎรที่ปารีสก็ทยอยกลับสยาม ค่อย ๆ ชวนเพื่อนนักศึกษาที่เคยสังเกตไว้ในการสนทนาเดียงเคร่า ๆ มิได้จำกัดเฉพาะนักศึกษาในฝรั่งเศสเท่านั้น

ฉะนั้นต่อมาในสยามจึงชวน ม.ล.อุดม สนิทวงศ์ นักศึกษาจากสวิตเซอร์แลนด์, ม.ล.กรี เดชาติวงศ์, นายสพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา และนายเล้ง ศรีสมวงศ์ นักศึกษาจากอังกฤษ ฯลฯ และเพื่อนทหารบก ทหารเรือ พลเรือนคนอื่น ๆ ในสยาม

ในปลาย พ.ศ.2474 จึงได้ชวน พระยาพหลพลพยุหเสนา , พระยาทรงสุรเดช, พระยาฤทธิอัคเนย์ และ มอบให้ พระยาพหลฯ เป็นหัวหน้าคณะราษฎร”

…… จากบันทึกนี้จะเห็นได้ว่า การวางแผนโค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์มีจุดเริ่มต้นจากพลเรือน คือ นายปรีดี พนมยงค์ ที่วันสองวันนี้จะมีการเชิดชูเกียรติกันอย่างเอิกเกริก แล้วจึงมีนายทหารเข้าร่วม ซึ่งแต่มาคณะผู้ก่อการฯ ก็แตกคอเพื่อแย่งอำนาจกันถึงขั้นไล่ล่ากัน บางคนก็ไปตายนอกประเทศให้เป็นที่อเนจอนาจยิ่งนัก

เหมือนจะบอกให้รู้ว่า คนที่คิดร้ายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ มักไม่ตายดีอย่างไรอย่างนั้น !

23 มิถุนายน 2015 โดย blogger 
http://chaoprayanews.com/blog/thaiflag/2015/06/23/%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%96/