ผู้เขียน หัวข้อ: อุทาหรณ์สาวตรังวัย21กินสารสกัดหมามุ่ยอินเดียของบริษัทขายตรง แพ้รุนแรงจนเสียชีวิต  (อ่าน 699 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
สาวตรังวัย 21 ปี มีโรคลมชักประจำตัว กินสารสกัดหมามุ่ยอินเดียชนิดแคปซูลที่ได้จากการเป็นสมาชิกขายตรง เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงจนเสียชีวิต แม่ลั่นฝากถึงนายกฯ-รัฐบาล ควรมีมาตรการในการดูแลมาตรฐานของผลิตภัณฑ์อาหารเสริม
       
       วันนี้ (18 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปที่วัดนาเมืองเพชร ต.นาเมืองเพชร อ.สิเกา จ.ตรัง ซึ่งเป็นที่ตั้งศพบำเพ็ญกุศลของ น.ส.ศตพร พันทอง อายุ 21 ปี หรือน้องมิลค์ ที่เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 11 มิ.ย.ที่ผ่านมา จากการกินสารสกัดจากเมล็ดหมามุ่ยอินเดีย ซึ่งเป็นแบบแคปซูลเข้าไป จำนวน 4 เม็ด และเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง ก่อนจะเสียชีวิตลงที่โรงพยาบาลตรัง ซึ่งหลังจากการเสียชีวิต น.ส.ไอยอรอินท์ อดุลวิบูล อายุ 48 ปี ผู้เป็นแม่ ได้นำร่างของบุตรสาวส่งไปผ่าพิสูจน์ที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (ม.อ.) เพื่อหาสาเหตุของการเสียชีวิตที่แน่ชัด
       
       น.ส.ไอยอรอินท์ อดุลวิบูล ผู้เป็นแม่ ได้เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ฟังอย่างละเอียดว่า ก่อนหน้านี้ได้มีคนมาชักชวนตนเอง และบุตรสาวให้เข้าสมัครเป็นสมาชิกของธุรกิจขายตรง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหมามุ่ยอินเดียสกัด กระทั่งเข้าฟังการอบรม และสมัครเป็นสมาชิก และได้รับยามารับประทานคนละ 1 ชุด ประกอบด้วย สารสกัดจากหมามุ่ยอินเดียแบบแคปซูล และผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอกฟูรูฟิต
       
       ก่อนที่จะได้รับผลิตภัณฑ์ก็ได้สอบถามกับตัวแทนจำหน่ายแล้วว่า จะมีผลข้างเคียงต่อโรคลมชักหรือไม่ เนื่องจากจะให้ลูกสาวกิน แต่ลูกสาวเป็นโรคลมชักมาตั้งแต่อายุ 10 ขวบ จึงสอบถามเพื่อความแน่ใจ แต่ได้รับคำตอบว่า ไม่มีผลข้างเคียง เพราะเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงร่างกาย กระทั่งรุ่งเช้า บุตรสาว และตนเองก็ได้กินสารสกัดหมามุ้ยอินเดียไป คนละ 2 แคปซูล และตอนเที่ยงอีก 2 แคปซูล ต่อมา ลูกสาวเริ่มมีอาการปากบวม ตาบวม ก็เข้าใจว่าลูกสาวคงจะนอนเยอะ แต่พอตกเย็นก็เริ่มเป็นมากขึ้น ปากเจ่อ มีผดขึ้น จึงพาไปหาหมอในตอนเย็น โดยหมอระบุว่า มีอาการแพ้ยา จึงแอดมิดให้รอดูอาการที่โรงพยาบาล
       
         
       พอถึงเช้าวันพุธ หัวใจของน้องเต้นเร็วขึ้น มีผื่นขึ้น และเป็นตุ่มใส อาการเริ่มหนักขึ้นเรื่อยๆ พอตกเย็นปากก็บวม และลิ้นมีเลือดออก มีตุ่มใสเป็นแผลพุพองขึ้นเต็มตามลำตัว ผิวหนังเริ่มตึงดำ และลอกออก โดยก่อนที่น้องมิลค์ จะเสียชีวิตเพียง 1 วัน ตาของน้องเริ่มมองไม่เห็นเพราะเป็นหนอง และลืมตาไม่ขึ้น ผิวหนังเริ่มหลุดลอกออก ซึ่งหมอก็บอกให้ครอบครัวทำใจ เพราะน้องมีอาการแพ้ โดยหมอระบุว่า แพ้สมุนไพรอย่างรุนแรง กระทั่งในช่วงเย็นวันเสาร์ น้องมิลค์ ก็ได้เสียชีวิตลงท่ามกลางความเสียใจของครอบครัว
       
       น.ส.ไอยอรอินท์ อดุลวิบูล ผู้เป็นแม่ กล่าวต่อไปว่า หลังน้องมิลค์ เสียชีวิตได้ตัดสินใจนำร่างของน้องส่งไปผ่าพิสูจน์ที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เพื่อหาสาเหตุของการตายที่ชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง กระทั้งเมื่อศพไปถึงก็ได้พูดคุยกันกับหมอ โดยหมอระบุว่า เคสของน้องมิคล์ เป็นเคสที่ละเอียดอ่อน ยากต่อการวิเคราะห์วิจัยอย่างละเอียด เพราะเครื่องมือที่ รพ.สงขลานครินทร์ ก็ยังไม่ละเอียดเท่า รพ.รามาธิบดี กรุงเทพฯ จึงแนะนำให้ส่งศพ น้องมิลค์ ไปผ่าพิสูจน์ที่ รพ.รามาฯ
       
       โดยตั้งใจว่าในเมื่อลูกสาวเสียชีวิตลงแล้วเกี่ยวกับกรณีนี้ก็อยากให้เป็นวิทยาทานแก่นักเรียนแพทย์ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากการแพ้สารสกัดหมามุ่ยเพิ่งเกิดขึ้นเป็นกรณีแรก และขอเป็นกรณีศึกษาในการตรวจวิเคราะห์อย่างละเอียด ซึ่งหมอก็ได้เก็บเนื้อเยื้อที่จำเป็นไปแล้ว และแม่ก็ได้ยินยอมบริจาคดวงตา และอวัยวะต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
       
       ส่วนผลจากการผ่าพิสูจน์นั้นยังต้องรออีกประมาณ 2 เดือน ถึงจะทราบแน่ชัด แต่ตอนนี้เบื้องต้น แม่ก็ทราบแน่ชัดแล้วว่า ลูกสาวเสียชีวิตเพราะสาเหตุใด แต่ยังไม่อยากพูดอะไรมาก รอผลออกมาก่อนเพื่อความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
       

 MGR Online       18 มิถุนายน 2559

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
 อย. ยันไม่เคยรับรองอาหารเสริม “หมามุ่ย” ชี้ ขายในท้องตลาด อ้างมี อย. ผิดกฎหมาย ส่งต่อกรมวิทย์ตรวจสอบการตาย “น้องมิลค์” หลังกินอาหารเสริมหมามุ่ย เกิดจากการแพ้สารชนิดใด ด้านเภสัชฯ รพ.อภัยภูเบศร ชี้ คนไทยหลงเชื่อข้อมูลสุขภาพง่าย ย้ำไทยยังไม่มีอาหารเสริมจากหมามุ่ย แต่รับมีสรรพคุณช่วยพาร์กินสัน การมีบุตรยาก
       
       ความคืบหน้ากรณีการเสียชีวิตของ น.ส.ศตพร พันทอง หรือ น้องมิลค์ อายุ 21 ปี ที่เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง ภายหลังรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสารสกัดจากหมามุ่ยอินเดีย แบบแคปซูล ก่อนที่จะเสียชีวิตในโรงพยาบาลตรัง เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. ที่ผ่านมา จนเกิดคำถามในสังคมออนไลน์ ว่า เป็นเพราะสมุนไพรหมามุ่ย หรือเพราะสาเหตุอื่น
       
       นพ.วิฑูรย์ เหลืองดิลก นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) ตรัง กล่าวถึงกรณีดังกล่าว ว่า ได้เก็บตัวอย่างอาหารเสริมดังกล่าว ส่งให้กับทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แล้ว เพื่อขอให้เข้าตรวจสอบโรงงานผลิตที่อยู่ใกล้กับ กทม. เพื่อนำตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโรงงาน ส่งไปตรวจหาสารประกอบทางห้องปฏิบัติการ กับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อแยกแยะว่ามีสารใดอยู่บ้าง โดยเฉพาะสารสกัดจากหมามุ่ยอินเดีย ตามที่กล่าวอ้าง เนื่องจากในแคปซูลตามที่ระบุในฉลาก พบมีสารต่าง ๆ ประกอบอยู่ 6 - 7 ชนิด จึงอาจต้องใช้เวลาในการตรวจสอบ เพื่อให้ได้ผลแน่นอน และรู้แน่ชัดว่า ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ มีสารสกัดจากหมามุ่ยจริงหรือไม่ และ ได้รับการขออนุญาต จาก อย. หรือไม่
       
       ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี กล่าวว่า รายงานการวิจัยในประเทศอินเดีย เกี่ยวกับเม็ดหมามุ่ย มีศักยภาพเป็นยาได้ ทั้งโรคพาร์กินสัน การบำรุงร่างกาย หรือเพิ่มคุณภาพเชื้ออสุจิ เพื่อช่วยเรื่องการมีบุตรยาก ซึ่งจากการทดลองในหนูทดลองของอินเดีย พบว่า ความถี่ของหนูทดลองหลังรับสารจากหมามุ่ย เห็นความเปลี่ยนแปลงของการร่วมเพศของหนู แต่ในระดับการทดลองในมนุษย์นั้น จะเป็นเรื่องคุณภาพของภาวะมีบุตรยาก โดยพบว่าคุณภาพน้ำเชื้ออสุจิดีขึ้น แต่ในประเทศไทยไม่มีการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งหลายอย่างก็ต้องระมัดระวังด้วย
       
       “ปัญหาของประเทศไทย คือ หลงเชื่อข้อมูลสุขภาพง่ายเกินไป โดยไม่มีการตรวจสอบ อย่างคนเมืองจะเชื่อข้อมูลจากเฟซบุ๊ก ไลน์ ส่วนคนต่างจังหวัดจะเชื่อจากรถเร่ วิทยุชุมชน ดังนั้น ไม่เพียงแต่เรื่องเม็ดหมามุ่ย ยังรวมถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอื่น ๆ สิ่งสำคัญต้องมีข้อมูลที่ดีพอ โดย 1. จะทำอย่างไรให้คนไทยเรียนรู้และตระหนักถึงอาการแพ้ต่าง ๆ โดยอาการแพ้นั้นส่วนใหญ่จะไม่เกิดกะทันหัน แต่จะมีช่วงเวลาของการเกิดประมาณ 3 - 4 วัน อย่างกรณีหมามุ่ย เป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่ง คนกินอาจมีภาวะแพ้ถั่วก็ต้องระวัง แต่โดยปกติอาการแพ้อาหาร จะไม่เกิดขึ้นเร็ว ก็ต้องมาพิจารณาว่ามีปัจจัยอื่นร่วมด้วยหรือไม่” ภญ.สุภาภรณ์ กล่าว
       
       ภญ.สุภาภรณ์ กล่าวว่า 2. ต้องระวังในเรื่องภัยคุกคาม โดยเฉพาะในสื่อออนไลน์ จึงขอเสนอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบออกกฎหมายควบคุมสิ่งเหล่านี้ โดยเฉพาะการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อะไรก็ตาม ที่ระบุสรรพคุณทางยา การรักษา หรือแม้กระทั่งการป้องกันโรค ผู้ที่ออกมาเผยสรรพคุณเหล่านี้ ต้องมีใบรับรองถูกต้อง แม้จะเป็นเภสัชกร หรือวิชาชีพด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องก็ตาม อย่างน้อยก็เป็นเครื่องการันตีช่วยผู้บริโภคได้ระดับหนึ่ง และ 3. ระบบสาธาณสุขของไทยต้องมีการตื่นตัวมากขึ้น ในการให้ความรู้และป้องกัน ปราบปรามสิ่งเหล่านี้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรวมกลุ่มเภสัชกรสมุนไพรขึ้น ซึ่งเป็นเภสัชกรที่ทำงานทั้งด้านยาแแพทย์แผนปัจจุบัน และแพทย์แผนไทยแบบผสมผสาน ซึ่งจะทำให้มีองค์ความรู้รอบด้าน รวมทั้งเผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้องให้สังคมได้
       
       ด้าน นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม รองเลขาธิการ อย. กล่าวว่า สสจ. ตรัง ได้ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น ทราบว่า ผู้เสียชีวิตมีประวัติโรคลมชัก มีการรับประทานยากันชัก โดยแม่ให้ข้อมูลว่าได้รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากหมามุ่ยด้วย ซึ่งเมื่อไปตรวจสอบก็พบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่มีเลขทะเบียน อย. ซึ่ง อย. ก็ไม่เคยให้เลขทะเบียนใด ๆ ที่เกี่ยวกับหมามุ่ยเลย ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม อาหาร หรือยา ส่วนกรณีที่เสียชีวิตคาดว่า เกิดจากการแพ้ยารุนแรง หรือกลุ่มอาการสตีเวนส์ - จอห์นสัน (Stevens - Johnson syndrome) ส่วนจะแพ้สารชนิดใด ขณะนี้ได้ส่งให้ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจสอบข้อเท็จจริง
       
       “ที่ไม่เคยให้เลขทะเบียนแก่ผลิตภัณฑ์ทุกชนิดเกี่ยวกับหมามุ่ย เพราะมีการทำข้อตกลงในกลุ่มประเทศอาเซียน ว่า เม็ดหมามุ่ย เป็นกลุ่มยาสมุนไพร จึงจะไม่มีการออกเลขทะเบียบรับรองการผลิตในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ดังนั้น ตามท้องตลาดที่มีการขาย และอ้างว่า มีการรับรองจาก อย. ถือว่าผิดกฎหมาย ซึ่งต้องไปดูว่ามีการผิดลักษณะใด เช่น หากอ้างเลข อย. ถือว่าเป็นอาหารปลอม มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน - 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5 พัน - 1 แสนบาท  หากพบเพิ่มเติมว่า มีการผสมยาแผนปัจจุบันจะผิดในข่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ มีโทษปรับ 2 หมื่นบาท และจำคุก 2 ปี และหากมีการโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต จะมีโทษปรับ ไม่เกิน 5,000 บาท หรือถ้าพิสูจน์ได้ว่าเป็นการโฆษณาสรรพคุณอาหารโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง หรือ หลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” รองเลขาธิการ อย. กล่าว

MGR Online       19 มิถุนายน 2559