ผู้เขียน หัวข้อ: โวยผู้บริหารสธ.จัดสรรงบค่าตอบแทนลงรพ.สตไม่ครบ เป็นภาระเงินบำรุง วอนโอนตรง  (อ่าน 663 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9755
    • ดูรายละเอียด
นายริซกี สาร๊ะ ผู้ประสานงานชมรมผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (ผอ.รพ.สต.) และเลขาธิการชมรมนักวิชาการสาธารณสุข(ประเทศไทย) กล่าวถึงกรณีโรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.)/โรงพยาบาล (รพท.) ค้างจ่ายเงินค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน หรือพีฟอร์พี (P4P) จำนวน 89 แห่ง โดยมีบางแห่งค้างจ่ายกว่า 2 ปี ซึ่ง นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มอบให้ นพ.โสภณ เมฆธน ปลัด สธ. เร่งรวบรวมข้อมูลเพื่อแก้ปัญหา ว่า อยากขอร้องผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)มองเรื่องนี้อย่างภาพรวม

 ประกาศสป.สช. ที่ให้เน้น รพ.สต. โดยเฉพาะ รพ.สต.ที่เสี่ยงภัย ขาดแคลน กันดาร ประชากรน้อยเป็นลำดับแรก

เนื่องจากประเด็นค้างจ่าย ไม่ใช่แค่ รพศ.รพท.ค้างจ่ายเงินค่าตอบแทนพีฟอร์พีเท่านั้น แต่ยังมีปัญหาเหล่านี้อีกด้วย
1.โรงพยาบาลเกือบทุกระดับยังค้างจ่ายเงินแก่ รพ.สต. โดยการจัดสรรงบค่าตอบแทนและงบอื่นๆลงมาไม่ครบ

2.ปัญหาการจัดเก็บข้อมูลของp4p ที่เครือข่ายสหวิชาชีพได้แจ้งมาทางชมรมว่ากลุ่มตนที่ถูกนับเป็นแรงงานฐานล่างได้รับการคูณแต้มต่อชิ้นงานน้อยมาก ทำงานเยอะแต่ได้น้อยมากเมื่อเทียบกับบางวิชาชีพ

3.มีข้อมูลแจ้งว่าหน่วยงานหลายที่ ไม่ได้ทำระบบp4p อย่างแท้จริง (psuedo p4p) แต่ใช้วิธีการเก็บข้อมูลง่ายมาเกลี่ยและจัดสรรให้แต่ละวิชาชีพแทน

นายริซกี กล่าวอีกว่า การค้างจ่ายเงินแก่รพ.สต.นั้น มาจากการจัดสรรเงินในรูปแบบเดิมคือการจัดสรรเงินในรูปคณะกรรมการเครือข่าย กล่าวคือ แม้คณะกรรมการจะมี ตัวแทนจากรพ รพ.สต. และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ(สสอ.) แต่การจัดสรรงบประมาณทั้งหมดมักจะรับรู้รายละเอียดทั้งหมดเฉพาะคณะทำงานแค่ในโรงพยาบาลเท่านั้น ซึ่งตามระเบียบการจัดสรงบต่างๆรวมทั้งค่าตอบแทนของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) คือ ให้กระจายงบเหมาจ่ายรายหัวตามประชากร แต่จัดสรรรวมให้ระดับเขต แล้วให้เขตพิจารณาจัดสรรใหม่ ตามแนวทางและเหตุผลของเขต แต่ก็ควรคำนึงถึงรพ.สต. ที่มีประชากรน้อย กันดาร เสี่ยงภัยเป็นหลักตามประกาศสป.สช เช่นงบค่าตอบแทน

หลักเกณฑ์กำหนดควรจัดสรรลงรพ.สต.ต่อปีอย่างน้อย 85 -100 เปอร์เซ็นต์ของงบที่ควรได้รับ นอกนั้นเป็นภาระเงินบำรุง ส่วนงบอื่นๆ เช่นงบhard ship ที่จัดสรรให้ทั้งเครือข่าย ส่วนใหญ่รพ.สต.ก็ได้รับไม่เต็มจำนวน หรือไม่ได้รับ เพราะไม่เคยรับรู้ว่ามีงบนี้อยู่ ปัญหาคือ ที่ผ่านมารพ.สต.ไม่ได้รับเต็มจำนวนที่กำหนด รพ.ส่วนใหญยังค้างจ่ายงบบางส่วน สุดท้ายงบส่วนนี้ก็ถูกรวมไปเป็นเงินบำรุงรพ.”

“ อย่างงบค่าตอบแทนมีรพ.สต.บางส่วนเท่านที่cup จัดสรรลงรพ.สต. 100% เช่น ในจ.สงขลา พิษณุโลก สุพรรณบุรี สระบุรี แต่รพ.สต.ส่วนใหญ่ประสบปัญหาได้รับเงินจัดสรรไม่ครบตามกรอบ น้อยที่สุดได้รับการจัดสรรค่าตอบแทนเพียง3 เดือน โดยเฉลี่ยได้รับ 5-6 เดือน นอกนั้นเงินไม่พอก็ต้องใช้เงินบำรุงมาบริหารจัดการ โดยเฉพาะการจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรในพื้นที่กันดาร เมื่อได้รับงบไม่ครบ 12 เดือน ที่เหลือต้องใช้เงินบำรุง ทำให้เป็นภาระมาก ซึ่งแต่ละแห่งก็มีเงินบำรุงไม่เท่ากันเฉลี่ยปีละ 1.5-3 แสนบาท

ขณะที่ส่วนใหญ่มีรายรับจากงบบัตรทองเท่านั้น ไม่มีรายได้จากหมวดอื่นเหมือนรพ. ในส่วนที่ตนเป็นผู้ประสานงานเรื่องค่าตอบแทนของสหวิชาชีพ ปัญหาการคิดอัตราแต้มต่อชิ้นงานของp4p หรือการทำp4pเทียม ตนอยากให้มีการปรับปรุงเพื่อลดความเหลื่อมล้ำระหว่างวิชาชีพด้วย เพราะขณะนี้สหวิชาขีพฐานล่างในรพ.ที่ทำข้อมูลp4p อยู่หลายแห่งกำลังรวบรวมประเด็นนี้เพื่อยื่นข้อเสนอต่อไป แต่ในส่วนของรพ.สต.จึงอยากวอนขอผู้บริหารสธ.และสปสช. ช่วยในเรื่องนี้ ขอให้โอนเงินค่าตอบแทน งบส่งเสริมสุขภาพ(pp) งบfix cost และงบที่เกี่ยวข้องลงตรงมาที่ รพ.สต.ตามสัดส่วนที่ควรจะเป็นตามแนวทางที่เคยยื่นปฏิรูปรพ.สตเมื่อ 29 มค 59 และที่เคยเสนอปลัดกระทรวงในเวทีปฏิรูปที่อ.บ้านนา นครนายก ที่ชาวรพ.สต.เรียกว่าบ้านนาโมเดล” นายริซกี กล่าว

June 04, 2016
http://www.sanamkhao.com/12025-2/