ผู้เขียน หัวข้อ: สธ.เคว้งปี 53 แพทย์ใช้ทุนลาออกเพียบ  (อ่าน 1884 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
ปี 53 แพทย์ใช้ทุนลาออกกว่า 600 คน ส่งผลปี 54 สธ.ต้องการแพทย์เพิ่มกว่า 2 หมื่นราย ส่วนยอดส่งต่อผู้ป่วย รอบ 1 ปีพุ่งกว่า 25,000 ราย เหตุรพ.ชุมชนไม่ยอมรักษา หลังหมอรพ.ร่อนพิบูลย์ ถูกตัดสินจำคุก...

วันที่ 18 เม.ย. มีการประชุมผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์รมว.สาธารณสุข เป็นประธาน โดยมีการหารือถึงข้อมูลของกลุ่มบริหารงานบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) ที่พบว่า

ปี 2553 มีแพทย์ที่เข้าทำงานใน สธ. 1,303 คน
แต่มีแพทย์ลาออกจาก สธ. 602 คน คิดเป็น 46.2 %

โดยมีข้อสังเกตว่า จำนวนแพทย์ลาออกเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่

ปี 2545 ที่มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทอง มีแพทย์ลาออกถึง 61.6 %
เพิ่มขึ้น 75.9 % ในปี 2546
ขณะที่ก่อนหน้านั้นในปี 2544 มีแพทย์ลาออกเพียง 28.9 %

สำหรับข้อมูลของกลุ่มบริหารงานบุคคล สป.สธ. ยังระบุด้วยว่า การที่แพทย์ใช้ทุนขอลาออก สวนทางกับแผนความต้องการกำลังคนด้านสาธารณสุขในปี 2554 ที่สธ.มีความต้องการแพทย์ถึง 20,855 คน อัตราเฉลี่ยต่อประชากร 1 ต่อ 4,000 คน ทันตแพทย์ 8,462 คน เภสัชกร 6,736 คน พยาบาลวิชาชีพ 95,693 คน เทคนิคการแพทย์ 3,292 คน และกายภาพบำบัด 2,630 คน

นอกจากเรื่องแพทย์ลาออกแล้ว ยังมีข้อมูลที่ถือว่าเป็นสัญญาณของความไม่สมดุลย์ในระบบสาธารณสุข กล่าวคือ สถิติการผ่าตัดของหน่วยบริการระหว่างปี 2548-52 พบว่า

โรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.) ผ่าตัดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จาก 504,656 ราย ในปี 2548
เป็น 677,363 ราย ในปี 2552

โรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) หรือโรงพยาบาลประจำจังหวัด เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน
โดยในปี 2548 ผ่าตัด 549,235 ราย
เป็น 724,168 ราย ในปี 2552

และโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) หรือโรงพยาบาลประจำอำเภอ
เพิ่มขึ้นจาก 400,509 ราย ในปี 2548
เป็น 538,008 ราย ในปี 2553

สำหรับข้อมูลการส่งต่อผู้ป่วย
พบว่าส่งต่อผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาลศูนย์(รพศ.)
เพิ่มจาก 299,870 ราย ในปี 2548
เป็น 431,933 ราย ในปี 2552
หากเทียบเฉพาะปี 2551 กับปี 2552 รพศ.รับส่งต่อเพิ่มถึง 25,613 ราย โดยปี 2551 รับส่งต่อแค่ 406,320 ราย

โรงพยาบาลทั่วไป(รพท.) ปี 2548 รับส่งต่อผู้ป่วย 242,708 ราย เพิ่มเป็น 324,676 ราย
โรงพยาบาลชุมชน(รพช.) เพิ่มจาก 22,749 ราย ในปี 2548 เป็น 55,959 ราย ในปี 2552

ด้านนพ.อิทธพร คณะเจริญ รองเลขาธิการแพทยสภา กล่าวถึงการลาออกของแพทย์ในปี 2553 ที่ดูเหมือนจะลดลงจากปี 2552 ว่า เป็นเพราะปี 2553 มีการเร่งรัดการผลิตแพทย์ จึงทำให้จำนวนแพทย์ที่เข้าทำงานในสธ.มากกว่าปี 2552 ถึง 300 คน และแพทย์กลุ่มนี้ไม่ได้ลาออกทันทีในปี 2553 แต่อาจจะลาออกในปี 2554 เป็นต้นไป เพราะใช้ทุนครบกำหนด 1 ปี ตามที่แพทยสภากำหนด จึงจะมีสิทธิ์เรียนต่อ

โดยแพทย์ที่ลาออกในปี 2553 เป็นกลุ่มแพทย์ที่เริ่มใช้ทุนเมื่อปี 2551 และใช้ทุนครบ 3 ปีตามข้อกำหนด และแพทย์ที่ใช้ทุนครบอย่างน้อย 1 ปี จึงเป็นแพทย์ใช้ทุนในปี 2551 และ 2552 ทั้งนี้ การที่แพทย์ลาออกโดยมาก เป็นเหตุผลของการต้องการเรียนต่อ เพราะเมื่อใช้ทุนครบกำหนดแล้ว สธ.มีทุนให้เรียนต่อจำนวนไม่มาก แพทย์จำนวนมากจึงลาออกเพื่อไปขอรับทุนเรียนต่อจากหน่วยงานอื่นนอกสธ., รับทุนอิสระจากมหาวิทยาลัย ที่โดยมากจะรับเป็นอาจารย์เมื่อเรียนจบ และไปต่างประเทศหรือไปทำอาชีพอื่น

"กรณีจำนวนการส่งต่อผู้ป่วยเข้า รพศ.และรพท.มากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นการส่งต่อกรณีต้องผ่าตัด เป็นผลหลังจากที่ปี 2549 ศาลตัดสินให้แพทย์โรงพยาบาลร่อนพิบูลย์ ซึ่งเป็น รพช. ติดคุกจากการผ่าตัด ทำให้รพช.ที่ไม่มีแพทย์ดมยา ไม่กล้าผ่าตัด จึงต้องส่งต่อ เพราะแพทย์ดมยาทั้งสธ. มีราว 100 คน อยู่ในรพช.ไม่ถึง 10 คน" นพ.อิทธพร กล่าว

ไทยรัฐออนไลน์
18 เมย 2554