ผู้เขียน หัวข้อ: ห่วงผู้สูงอายุตกสำรวจสุขภาพอื้อ คัดกรองแค่ 25% เผย 7 โรครุมอ่วม  (อ่าน 1332 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
มส.ผส.เผย ผู้สูงอายุไทยยังเจอโรครุมเร้า 7 โรคหลัก พบ “ปอดอักเสบ ต้อกระจก ทางเดินอาหาร เบาหวาน” ห่วงผู้สูงอายุตกสำรวจสุขภาพ เตรียมเสวนาหาทางออก ก่อนเสนอ สปสช.สธ.รับทราบ หลังพบเข้าถึงบริการตรวจคัดกรองสุขภาพทั่วประเทศ แค่ 25% เตรียมหนุนครอบครัว-เครือญาติ จัดสภาพแวดล้อม ลดอุบัติเหตุภายในบ้าน
       
       พญ.ลัดดา ดำริการเลิศ ผู้จัดการแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) กล่าวว่า จากการศึกษาปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุไทย ของสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) ระหว่างเดือน ต.ค.2552 - ก.ย.2553 พบว่า ผู้สูงอายุไทยยังคงมีปัญหาด้านสุขภาพที่จำเป็นต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิงบุคคล วัยทำงานอย่างมาก เนื่องจากมีการป่วยเป็นโรคเรื้อรังกันมากขึ้น โดยจากการศึกษาเชิงคุณภาพในเวชระเบียนของผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับบริการ สาธารณสุข ด้วยสิทธิการรักษาพยาบาล 2 สิทธิ คือ ระบบรักษาฟรี ระบบสิทธิข้าราชการ ซึ่งคิดเป็น 95% ของจำนวนผู้สูงอายุทั่วประเทศ พบผู้ป่วยที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล (IPD) ส่วนใหญ่ ป่วย 7 โรคหลัก ได้แก่

ปอดอักเสบ 7%
ตาต้อกระจก 6%
ติดเชื้อทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย ท้องเสียเรื้อรัง 6%
เบาหวาน 4%
ไตเสื่อม ไตวาย 4%
หัวใจขาดเลือด 4% และ
หลอดเลือดสมอง 4%
       
       “โรคทั้งหมดนี้เป็นโรคที่ไม่ สามารถรักษาให้หายขาดได้ ที่กำลังคุกคามผู้สูงอายุไทยอย่างมาก ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวเป็นแค่การพิจารณาจากผู้ป่วยในเท่านั้น ยังไม่นับรวมผู้สูงอายุที่เข้าไม่ถึงระบบบริการสาธารณสุขและผู้สูงอายุที่ ถูกทอดทิ้ง ซึ่งเข้าใจว่า คงยังมีอยู่จำนวนไม่น้อย โดยปัจจัยจากการเข้าไม่ถึงระบบบริการสุขภาพนั้นมาจากหลายส่วน ที่เด่นๆ ได้แก่ เรื่องของข้อจำกัดด้านการเดินทางไปพบแพทย์ ปัญหากระดูกเสื่อม ตาฝ้าฟาง และขาดภาวะพึ่งพิง เช่น บุตรหลาน เครือญาติ เป็นต้น โดยปัจจัยสุดท้ายเป็นเพราะสังคมไทยปัจจุบันนิยมออกไปทำงานนอกบ้าน ทั้งหญิงและชาย จึงอาจเป็นไปได้ว่า จะไม่ค่อยมีเวลาดูแลผู้สูงอายุเต็มที่” พญ.ลัดดา กล่าว
       
       พญ.ลัดดา กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้จุดอ่อนของระบบบริการสุขภาพไทย ก็ยังเป็นปัญหาอยู่มาก เนื่องจากการตรวจคัดกรอง ซึ่งเป็นนโยบายหลักของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีการรณรงค์อย่างต่อเนื่องนั้นครอบคลุมเพียง 25% จาก 95% ทั้งนี้ จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2553 ยังพบว่า การจัดบริการด้านการใส่ฟันเทียม ยังมีผู้สูงอายุเข้าถึงบริการแค่ 10% เท่านั้น จึงทำให้ มส.ผส.เป็นห่วงว่า การแนวทางการรักษาโรคต่างๆ ที่เป็นภัยคุกคามสุขภาพผู้สูงอายุขณะนี้ จะไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากการคัดกรองยังไม่ครอบคลุม ทั้งนี้ นอกจากการส่งเสริมเชิงนโยบายในการตรวจรักษาโรคแล้วยังจำเป็นต้องเสนอเรื่อง ของการสร้างสภาพแวดล้อมในบ้านให้เหมาะสมแก่วัยสูงอายุ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุภายในบ้านด้วย

ASTVผู้จัดการออนไลน์    14 เมษายน 2554