ผู้เขียน หัวข้อ: สบช.ปรับรับตรง นศ.พยาบาล เปิดช่องเลือกพื้นที่ทำงาน  (อ่าน 2981 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
สบช.ปรับวิธีรับตรง นศ.พยาบาล    ชี้ เปิดโอกาสให้เลือกพื้นที่ลงปฏิบัติงาน  เป็นรายอำเภอ เชื่อช่วยแก้ปัญหาพยาบาลขาดแคลน ระบุ สธ.มีนโยบายให้ สบช.ผลิตพยาบาลปีละ 2,500 คน และจะมีงบประมาณสนับสนุนค่าใช้จ่ายรายหัว 28,800 บาท ต่อคนต่อปี
       
       นพ.สมควร หาญพัฒนชัยกูร ผู้อำนวยการสถาบันพระบรมราชชนก (สบช.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า เมื่อช่วงเดือน ธ.ค.2553 ที่ผ่านมา ทาง สบช.ได้ดำเนินการรับสมัครนักศึกษาพยาบาลด้วยวิธีการเปิดรับตรง จำนวน 1,000 คน ซึ่งในปีนี้ถือเป็นปีแรกที่ทาง สบช.จะให้นักศึกษาที่เข้ามาสมัครรับตรงจะต้องเลือกพื้นที่ในการจะไปเป็น พยาบาล ต่อไปในอนาคตด้วย โดยทาง สบช.จะมีการคัดเลือกพื้นที่ที่มีอัตราการขาดแคลนพยาบาลสูงมาให้นักศึกษา เลือก โดยจะมีการให้เลือกแบบเป็นรายอำเภอ และรายจังหวัด  ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากมีอัตราการขาดแคลนพยาบาลสูงกว่าพื้นที่อื่นๆ ทั้งนี้ การที่ สบช.มีแนวทางการรับตรงในลักษณะดังกล่าว เพื่อต้องการแก้ปัญหาพยาบาลขาดแคลนในพื้นที่ต่างๆ จึงทดลองนำวิธีรับตรงในลักษณะที่กำหนดพื้นที่ในการปฏิบัติงานหลังจากจบการ ศึกษามาใช้ปีนี้เป็นปีแรก และหากพบว่าได้ผลดีก็จะมีการนำไปใช้ในปีต่อๆ ไปด้วย ทั้งนี้ ในแต่ละปีทาง สบช.จะรับสมัครนักศึกษาปีละ 2,500 คน จะจัดสรรโควต้าสำหรับการรับตรง 1,000 คน ส่วนที่เหลืออีก 1,500 คน จะใช้วิธีการรับสมัครตามปกติ โดยขณะนี้ได้เริ่มรับสมัครแล้วจนถึงวันที่ 18 เม.ย.นี้
       
       
       
       นพ.สมควร กล่าวต่อไปว่า  สธ.มีนโยบายให้ สบช.ผลิตพยาบาลปีละ 2,500 คน และจะมีงบประมาณสนับสนุนค่าใช้จ่ายรายหัว 28,800 บาท ต่อคนต่อปี ซึ่งทาง สบช.ได้เริ่มดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวมาแล้ว 6 ปี และในเร็วๆนี้จะทำเรื่องเสนอกระทรวงสาธารณสุขเพื่อของบประมาณสนับสนุนในการ ผลิตบุคลากรประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) จำนวนประมาณ 2,750 คน ต่อปี แบ่งเป็นสาขาทันตสาธารณสุข ประมาณ 600 คน นักวิชาการสาธารณสุข ประมาณ 700 คน และพยาบาล 350คน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างแผนเสนอไปยังนพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อพิจารณาต่อไป
       
       “ในส่วนของพยาบาลจาก โครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่ม เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพยาบาลในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน 3,000 คน ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาควม.2550 นั้นขณะนี้โครงการดังกล่าว มีผู้สำเร็จการศึกษาแล้วเมื่อเดือน มีนาคม ที่ผ่านมา  รวมทั้งหมด 2,848 คน จะ เริ่มปฏิบัติงานในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนใต้ในเร็วๆ นี้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดสรรสถานที่ปฏิบัติงานตามภูมิลำเนาและตามความขาด แคลนบุคลากร” นพ.สมควร กล่าว

ASTVผู้จัดการออนไลน์    13 เมษายน 2554