ผู้เขียน หัวข้อ: กรมบัญชีกลางให้เบาะแสดีเอสไอสอบทุจริตยา  (อ่าน 1965 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
กรมบัญชีกลางพร้อมให้ข้อมูลดีเอสไอ สอบโรงพยาบาล-หมอ-ราชการ ร่วมทุจริตเบิกค่ารักษาพยาบาล หลังส่งเรื่องไป 11 กรณีโยง 5 โรงพยาบาล

วันนี้ (11 เม.ย.) นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยถึงกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตรวจสอบพบการทุจริตยาของ โรงพยาบาลเรณูนคร จ.นครพนม และโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี มูลค่ากว่า 120 ล้านว่า  เป็นส่วนหนึ่งของ 11 เรื่องที่กรมฯ เสนอไปให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ช่วยตรวจสอบหลังสงสัยว่าจะมีการกระทำไม่ชอบ ทั้งกรณีของโรงพยาบาลและตัวบุคคล ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับ 5 โรงพยาบาลด้วยกัน

ข้อมูลเบื้องต้นที่กรมฯ ส่งไปนั้น เนื่องจากพบว่ามีการสั่งจ่ายยาสูงเกินความจำเป็น เช่น แทนที่จะส่งยาทานในช่วง 2-3 เดือนกลับจ่ายยานานถึง 6 เดือน หรือกรณีที่เบิกค่ารักษาพยาบาลเข้ามาสูงผิดปกติ ซึ่งเป็นผลมาจากการสุ่มตรวจโรงพยาบาลของทีมแพทย์ที่กรมฯ ว่าจ้างให้ตรวจสอบปีละ 40 แห่ง และจัดส่งข้อมูลให้ป.ป.ท.และดีเอสไอตรวจสอบในเชิงลึกต่อไป

"ก่อนหน้านี้กรมฯ ได้ตรวจสอบพบ 8 คดี ที่มีมูลกระทำความผิดจริงมูลค่าความเสียหายกว่า 10 ล้านบาท และได้ส่งฟ้องว่ามีความผิดจริงแล้ว 1 คดี มูลค่า 45,000 ล้านบาท ซึ่งหากชี้ชัดว่าผิดจริง กรมฯ สามารถเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทำความผิดได้ เพราะถือเป็นเงินงบประมาณของภาครัฐ ที่ควรจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์”

สำหรับเรื่องที่เสนอไปและเกี่ยวข้องอีกหลายโรงพยาลนั้น หากดีเอสไอต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรมฯ พร้อมจะส่งให้ โดยมองว่าการเอาจริงเอาจังในครั้งนี้ น่าจะช่วยเป็นการป้องปราม ไม่ให้โรงพยาล แพทย์ หรือผู้มีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลดำเนินการไปในทางที่ส่อทุจริตน้อยลง ซึ่งจะส่งผลให้งบที่ใช้ไปทางด้านนี้ปีละ 62,000 ล้านบาทลดลงได้บ้างไม่มากก็น้อย

อย่างไรก็ตามกรมฯ อยากเน้นไปที่การป้องกันมากว่า เช่น กรณีของผู้มีสิทธิ ควรตรวจสอบสิทธิของตัวเอง ด้วยการไปใช้บริการรักษาเบิกจ่ายค่ายาแล้วควรลงนามกำกับทุกครั้ง เพื่อป้องกันการสวมสิทธิ หรือกรณีที่แพทย์สั่งจ่ายยาให้คนไข้จำนวนมาก ก็ขอความร่วมมือให้โรงพยาบาลช่วยสอดส่องดูแล หรือกรณีที่โรงพยาบาลจัดซื้อยานอกบัญชีจำนวนมาก ก็ขอให้กระทรวงสาธารณะสุขเข้ามาช่วยดูแลด้วย

ทั้งนี้ยอมรับว่าระบบจ่ายตรงยังมีช่องโหว่การเบิกจ่ายที่ส่อไปทางทุจริต แต่ยืนยันว่าไม่มากไม่ถึง 1% หากเทียบกับข้าราชการกว่า 4 ล้านคน แต่ถือเป็นวิธีการช่วยให้ผู้มีเงินเดือนน้อย ได้มีโอกาสเข้ารับการรักษายาบาล และเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของโรงพยาบาลรัฐ ที่ต้องดูแลกลุ่มผู้มีสิทธิในบัตรทอง จึงเปิดกว้างให้โรงพยาบาลเอกเชนเข้ามาร่วมในระบบจ่ายตรงด้วยโดยเบ้องต้นมี 33 โรงพยาบาลที่ผ่านเกณฑ์ และให้รับรักษาเป็นผู้ป่วยใน 77 โรค เบิกจ่ายได้อัตราเท่ากับโรงพยาบาลรัฐ ส่วนที่เกินข้าราชการที่มีกำลังทรัพย์จะต้องรับภาระเอง ซึ่งน่าจะเริ่มเข้าสู่ระบบได้ในเร็ว ๆ นี้.

เดลินิวส์
11 เมษายน 2554
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 เมษายน 2011, 23:29:03 โดย story »