ผู้เขียน หัวข้อ: ตัวแทนสมาพันธ์แพทย์ รพศ/รพทฯเข้าพบกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๘  (อ่าน 1534 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด

ตัวแทนสมาพันธ์ฯ เข้าพบรองประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ อาจารย์อภิชาต สุขัคคานนท์




ตัวแทนสมาพันธ์ฯ เข้าพบประธานอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อร่างรัฐธรรมนูญ รองศาสตราจารย์ ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย


...

                                                                สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปแห่งประเทศไทย    
ที่ สพศท.พิเศษ๐๗/๒๕๕๘
วันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๘                                                                                                                                                                                                                
เรื่อง ความคิดเห็นเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญในด้านสาธารณสุข
เรียน  อาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ

           ในทศวรรษที่ผ่านมา ระบบสาธารณสุขของประเทศได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ส่งผลกระทบต่อประชาชนและบุคลากรด้านสาธารณสุขในหลายๆประเด็น ซึ่งบางประเด็นได้ส่งผลเสียต่อระบบสาธารณสุขและประเทศชาติ สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปฯและสหสาขาวิชาชีพในฐานะผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขในส่วนภูมิภาค ขอเสนอความคิดเห็นต่อกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้

          ๑. ระบบสาธารณสุขของประเทศไทยได้พัฒนามาตั้งแต่อดีตโดยอยู่บนพื้นฐานของความสัมพันธ์แบบเกื้อกูลกันระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรด้านสาธารณสุข ซึ่งเป็นความดีงามที่ถูกปลูกฝังกันมา แต่ปัจจุบันความสัมพันธ์เปลี่ยนไป การกำหนดให้ผู้ป่วยเป็นผู้บริโภคและบุคลากรด้านสาธารณสุขเป็นผู้ให้บริการได้ทำลายความสัมพันธ์อันดีงาม ทำให้เกิดความขัดแย้งและผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นการกำหนดให้บุคลากรด้านสาธารณสุขเป็นผู้ให้การบริบาล(ไม่ใช่ผู้ให้บริการ) และผู้ป่วยไม่ใช่ผู้บริโภค จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้

          ๒. ท่ามกลางความขาดแคลนในระบบสาธารณสุขโดยเฉพาะการขาดแคลนบุคลากรด้านสาธารณสุขในภาครัฐ การฟ้องร้องต่อบุคลากรด้านสาธารณสุขก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นทำลายขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานอย่างยิ่ง (โดยเฉพาะคดีอาญา) การมีมาตรการในการกลั่นกรองการฟ้องร้อง และมีการจัดตั้งศาลเฉพาะด้านสาธารณสุข น่าจะเป็นการบรรเทาปัญหาและเป็นการคุ้มครองบุคลากรด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานโดยสุจริต                                                                

          ๓. ความจำเป็นที่จะต้องมีบุคลากรด้านสาธารณสุขปฏิบัติงานตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง ในสถานพยาบาลของรัฐ ทำให้บุคลากรถูกบังคับให้ปฏิบัติงานนอกเวลาราชการมากจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ครอบครัวและการดำรงชีวิตของบุคลากร รวมทั้งกระทบต่อคุณภาพและประสิทธิภาพของงาน เนื่องจากยังไม่มีกลไกที่จะปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานในการปฏิบัติงานของบุคลากรด้านสาธารณสุข ดังนั้นขอให้มีการคุ้มครองบุคลากรด้านสาธารณสุขด้วยการกำหนดระยะเวลาปฏิบัติงานที่เหมาะสม
          จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา



        
                                                                      ขอแสดงความนับถืออย่างสูง              
                                                                              
                                                                      นายแพทย์ประดิษฐ์   ไชยบุตร
                                       (ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปแห่งประเทศไทย)