ผู้เขียน หัวข้อ: คณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของสสส.มีความเป็นกลางและมีการขัดกันแห่งผลประโยชน์  (อ่าน 2040 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
คณะรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีมติอนุมัติให้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 7 คน ตามที่รัฐมนตรีกระทรวงการคลังเสนอ ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 13 ต.ค. 2558 เป็นต้นไป ดังนี้
       
       1.รองศาสตราจารย์วราภรณ์ สามโกเศศ ประธานกรรมการ
       2.รองศาสตราจารย์ปาริชาติ วลัยเสถียร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประเมินผล
       3.รองศาสตราจารย์นภาภรณ์ หะวานนท์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประเมินผล
       4.นายกิติศักดิ์ สินธุวนิช กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสร้างเสริมสุขภาพ
       5.นางเพชรศรี ศิรินิรันดร์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสร้างเสริมสุขภาพ
       6.ศาสตราจารย์วรภัทร โตธนะเกษม กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงิน
       7.นายมนัส แจ่มเวหา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงิน
       
       ดูรายละเอียดได้จาก www.isranews.org/isranews-news/item/42212-krmmmd111.html
       
       ผมได้สืบค้นข้อมูลและตั้งข้อสังเกตบางประการดังนี้
       
       รองศาสตราจารย์วราภรณ์ สามโกเศศ ประธานกรรมการ ไม่มีความเป็นกลาง เนื่องจากมีธงสนับสนุน สสส. และการใช้ Earmarked tax มาอยู่ก่อนแล้ว ในบทความ อย่ามัดมือตัวเองโดยห้าม Earmarked Tax ดังรายละเอียดใน www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9580000087602 , www.hfocus.org/content/2015/08/10566
       
       รองศาสตราจารย์ปาริชาติ วลัยเสถียร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประเมินผล น่าจะมี potential conflict of interest สูงมาก เนื่องจากได้รับทุนวิจัยจาก สสส ต่อเนื่องมายาวนาน และเป็น กรรมการคณะ1 ปัจจัยเสี่ยงหลัก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) (2554-2556)
       
       - ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กรุงเทพฯ 2543. แก้ไขปรับปรุง พิมพ์ ครั้งที่ 4-2552.
       - พระมหาสุทิตย์ อบอุ่น (เรียบเรียง) ปาริชาติ วลัยเสถียร (บรรณาธิการ). เครือข่าย : ธรรมชาติ ความรู้และการจัดการ. โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) กรุงเทพฯ 2547.
       - พระมหาสุทิตย์ อบอุ่น (เรียบเรียง) ปาริชาติ วลัยเสถียร (บรรณาธิการ).นวัตกรรมการเรียนรู้ : คน ชุมชน และการพัฒนา. โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) กรุงเทพฯ 2548.
       - สิริลักษณ์ ยิ้มประสาทพร (เรียบเรียง) ปาริชาติ วลัยเสถียร (บรรณาธิการ). กระบวนทัศน์ใหม่กับการเรียนรู้ของชุมชน. โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) กรุงเทพฯ 2548.
       - ปาริชาติ วลัยเสถียร. รายงานการวิจัย กระบวนการเรียนรู้และการจัดการความรู้ของชุมชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 2549.
       - ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. รายงานการประเมินผล โครงการสร้างเสริมเครือข่ายสุขภาพจังหวัด เสนอต่อ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 2545, 2456, 2547, 2549.
       - ปาริชาติ วลัยเสถียร (นักวิจัยร่วม). การประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงานศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 2555.
       - ปาริชาติ วลัยเสถียร (นักวิจัยร่วม). การประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงานศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 2555.
       
       รองศาสตราจารย์นภาภรณ์ หะวานนท์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประเมินผล น่าจะมี conflict of interest อยู่บ้าง เนื่องจากเคยได้รับเคยร่วมจัดการประชุมเพื่อขับเคลื่อนนโยบายเรื่อง ข้อเสนอการปฏิรูปเรือนจำผู้ต้องขังหญิง: ความจริงกับจินตนาการ ซึ่งจัดโดยสมาคมนักวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ กรมราชทัณฑ์ และสนับสนุนโดย สสส รศ.ดร.นภาภรณ์ หะวานนท์ยังเคยเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการประเมินผลกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพประจำปี 2557
       
       นายกิติศักดิ์ สินธุวนิช กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสร้างเสริมสุขภาพ มี Conflict of interest สูงมาก เนื่องจากดำรงตำแหน่ง (1) กรรมการกองทุน สสส. (2) กรรมการ ของ สวรส. (3) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการบอร์ด กองทุน สสส. (4) ที่ปรึกษาสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
       
       นายกิติศักดิ์ สินธุวนิช ได้รับเงินทุนวิจัยในโครงการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา ปี 2548-2551 (3 ปี) จำนวน 90,000,000 ล้านบาทจาก สสส. ผ่านสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กระทรวงสาธารณสุข มีข้อสังเกตว่า นพ.วิจารณ์ พานิช ดำรงตำแหน่งกรรมการกองทุนสสส. และเป็นกรรมการ ของ สวรส. ด้วย เช่นเดียวกับ นพสุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ดำรงตำแหน่งกรรมการกองทุนสสส และเป็นกรรมการ ของ สวรส. ส่วน นพ.บัณฑิต ศรไพศาล เป็น ผอ.สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สสส. โดยศูนย์วิจัยปัญหาสุราจัดตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2547 โดยเป็นองค์กรภายใต้ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) นพ.บัณฑิต ศรไพศาล เป็น ผอ.ศูนย์วิจัยในช่วงแรก
       
       นอกจากนี้นายกิตติศักดิ์ สินธุวณิช ยังได้รับเงินทุนจาก สสส ใน โครงการประสานความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนนโยบายเมืองน่าอยู่ ชุมชนน่าอยู่ ปีที่ 2 ในปี 2549 จำนวน 10,000,000 บาท ในนามมูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ซึ่งมี conflict of interest ชัดเจนกล่าวคือเป็นกรรมการกองทุน สสส แต่อนุมัติเงินทุนให้มูลนิธิที่ตนมีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งนี้ นพ.ประเวศ วะสี เป็นประธานมูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (ปี 2531 – 2552) โดยนพ.พลเดช ปิ่นประทีป เป็นเลขานุการมูลนิธิขณะนั้น
       
       ทั้งนี้ หลักแนวปฏิบัติของนักประเมินโดยสมาคมนักประเมินอเมริกัน (American Evaluator Association Guiding Principles for Evaluators) โปรดศึกษาเพิ่มเติมได้จาก www.eval.org/p/cm/ld/fid=51
       
       หมวด C: การยึดถือหลักคุณธรรม/ความซื่อสัตย์ (Integrity/Honesty) ว่า ผู้ประเมินต้องยึดถือหลักคุณธรรมและความซื่อสัตย์ในพฤติกรรมของตนและพยายามทำให้มั่นใจได้ว่ามีการยึดถือหลักคุณธรรม/ความซื่อสัตย์ในกระบวนการประเมินตลอดทุกขั้นตอน และข้อ 2 ในหมวด C ได้ระบุว่า
       
       ก่อนที่จะตอบรับการทำงานประเมินใดๆ ก็ตาม ผู้ประเมินต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบทบาทหรือความสัมพันธ์ใดๆ ที่จะก่อให้เกิดการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of interest) หรือแม้แต่สิ่งใดก็ตามใกล้เคียงที่ปรากฎว่าน่าจะก่อให้เกิดการขัดกันแห่งผลประโยชน์ในบทบาทของผู้ประเมินใดๆ ก็ตาม หากว่าผู้ประเมินยังต้องการทำงานประเมินชิ้นนั้นๆ แม้ว่าตนเองยังคงมีการขัดกันแห่งผลประโยชน์อยู่ ต้องเขียนระบุการขัดกันแห่งผลประโยชน์ทุกประการอย่างชัดเจนในรายงานผลการประเมินชิ้นนั้นๆ
       
       ธนาคารโลก, International Finance Corporation (IFC) และ The Multilateral Investment Guarantee Agency (MIGA) ก็กำหนดแนวทางปฏิบัติในการจัดการการขัดกันแห่งผลประโยชน์ของผู้ประเมินอิสระ (Guidelines to Manage Conflicts of Interest in Independent) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากhttp://ieg.worldbank.org/Data/ieg_coi_8_15_14.pdf ซึ่งได้ระบุไว้ว่า
       
       1. ทุกคนในหน่วยงานถูกคาดหวังว่าจะต้องรับรู้ ระวังและจัดการการขัดกันแห่งผลประโยชน์อย่างเหมาะสมและที่ปรึกษาทุกคนที่ได้รับการว่าจ้างก็ต้องมีความเข้าใจคุ้นเคยกับแนวทางปฏิบัติในการจัดการการขัดกันแห่งผลประโยชน์ของผู้ประเมินอิสระนี้ และพนักงานต้องตรวจสอบเสมอว่าที่ปรึกษาได้ปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติดังกล่าว
       2. พนักงานและที่ปรึกษาทุกคนมีภาระหน้าที่ในการเปิดเผยการขัดกันแห่งผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจริงและที่มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นโดยเร็วที่สุดต่อหัวหน้าหน่วยงาน
       3. ในการจัดการการขัดกันแห่งผลประโยชน์ใดๆ ที่น่าจะเกิดขึ้นไม่ว่าจะมาจากพนักงาน ที่ปรึกษา หรือผู้มีส่วนได้เสียภายนอกก็ตาม หัวหน้าหน่วยงานมีความรับผิดชอบในการทบทวน ประเมินความสำคัญของการขัดกันแห่งผลประโยชน์ และบรรเทาให้การขัดกันแห่งผลประโยชน์นั้นลดลงไปหรือหมดไปอย่างเหมาะสม แจ้งให้พนักงานหรือที่ปรึกษาทราบว่าจะตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าจะจัดการเช่นไร และบันทึกกรณีการขัดกันแห่งผลประโยชน์และผลของการขัดกันแห่งผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อข้อมูลและผลการประเมิน
       4. หัวหน้าหน่วยงานหรือหัวหน้างานต้องเป็นแบบอย่างด้านการยึดถือหลักคุณธรรม ส่งเสริมในเกิดวัฒนธรรมในการทำงานที่ทำให้เชื่อมั่นได้ว่ามีการจัดการการขัดกันแห่งผลประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ส่งเสริมให้มีการสนทนาตามปกติอย่างสม่ำเสมอให้เกิดการตระหนักรู้ว่าการขัดกันแห่งผลประโยชน์มีความสำคัญและรู้วิธีการจัดการ ให้แนวทางที่มีประสิทธิภาพและเท่าทันเวลาในการแก้ไขปัญหาการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ควบคุมและบังคับใช้แนวทางปฏิบัติในการจัดการการขัดกันแห่งผลประโยชน์อย่างสม่ำเสมอและเท่าเทียม ตัดสินในการประเมินผลงานโดยพิจารณาสังเกตตามความเป็นจริงโดยไม่สนใจแรงกดดันทั้งจากภายในและภายนอก
       5. สำหรับผู้บริหารระดับสูงต้องหลีกเลี่ยงและระวังการขัดกันแห่งผลประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง
       
       ธนาคารโลก, International Finance Corporation (IFC) และ The Multilateral Investment Guarantee Agency (MIGA) เสนอมาตรการในการบรรเทาการขัดกันแห่งผลประโยชน์โดย
       
       1. ระบุการขัดกันแห่งประโยชน์ให้ชัดเจน ลดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการขัดกันแห่งผลประโยชน์ให้ได้มากที่สุด ถอนตัวออกมาจากการใดๆ ก็ตามที่จะเกี่ยวข้องกับการประเมิน หรืออย่างน้อยลดความเกี่ยวข้องให้ชัดเจนในทุกเงื่อนไขให้ชัดเจน
       2. ต้องมีการถอนตัวในทันทีในกรณีที่เกิดการขัดกันแห่งผลประโยชน์ในกรณีต่อไปนี้
       2.1 การประเมินใดๆ ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม นโยบาย กิจกรรมใดๆ ก็ตามที่กรรมการหรือผู้ประเมินหรือที่ปรึกษาหรือแม้กระทั่งญาติสนิทมีความเกี่ยวข้องกับการขัดกันแห่งผลประโยชน์อย่างมีสาระสำคัญ
       2.3 การประเมินใดๆ ที่กรรมการหรือผู้ประเมินหรือที่ปรึกษาหรือแม้กระทั่งญาติสนิทได้เคยทำงานหรือมีส่วนร่วมในการตัดสินใจที่มีสาระสำคัญ มีส่วนเกี่ยวข้องทางการเงิน การอนุมัติใดๆ หรือมีอิทธิพลส่วนตัวใดๆ ก็ตาม
       2.4 การประเมินใดๆ ที่ผู้ประเมิน มีแนวโน้มจะเกี่ยวข้องกับการทำงานในอนาคตของพนักงานหรือที่ปรึกษาหรือญาติสนิทที่เกี่ยวข้อง
       3. ลดความเกี่ยวข้องในการประเมินให้เหมาสม เช่น 3.1 กรณีที่อาจจะก่อให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับความเป็นปรนัยหรือสาระสำคัญของการประเมิน 3.2 การประเมินหลายโครงการที่ต่างมีความเกี่ยวข้องกันกับโครงการอื่นๆ ที่ต้องประเมิน 3. การประเมินโครงการใดๆ หรือหน่วยงานใดๆ ที่ผู้ประเมินเคยสมัครหรือรับทุน
       4. ผู้ที่มีการขัดกันแห่งผลประโยชน์อาจจะเป็นผู้ให้ข้อมูลได้ในฐานะผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders) แต่การให้ข้อมูลดังกล่าต้องไม่มีผลกระทบต่อการประเมินหรือทีมงานผู้ประเมินโดยเด็ดขาด
       5. การขัดกันแห่งผลประโยชน์ใดๆ หากยังคงมีอยู่ต้องได้รับการตรวจสอบ และเปิดเผยการขัดกันแห่งผลประโยชน์เหล่านั้นอย่างเปิดเผยและโปร่งใสในการประเมินนั้น
       
       สำหรับประเทศไทยนั้น สสส. เป็นองค์กรอิสระของรัฐดังนั้นยังอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ 2539
       
       คณะกรรมการประเมินผล สสส ชุดนี้บางคน มีการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ซึ่งผิดกฎหมายมาตรา 13 และมาตรา 16 ประกอบกัน โดยประธานกรรมการ รองศาสตราจารย์ ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ มีเหตุให้ต้องสงสัยว่าจะไม่เป็นผู้ประเมินที่เป็นกลาง ตามมาตรา 16
       
       มาตรา 13 เจ้าหน้าที่ ดังต่อไปนี้จะทําการพิจารณาทางปกครองไม่ได้
       (1) เป็นคู่กรณีเอง
       (2) เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี
       (3) เป็นญาติของคู่กรณี คือ เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานไม่ว่าชั้นใด ๆ หรือเป็นพี่น้องหรือลูกพี่ลูกน้องนับได้เพียง ภายในสามชั้น หรือเป็นญาติเกี่ยวพันทางแต่งงานนับได้เพียงสองชั้น
       (4) เป็นหรือเคยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้พิทักษ์หรือผู้แทนหรือตัวแทนของคู่กรณี
       (5) เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือเป็นนายจ้างของคู่กรณี
       (6) กรณีอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
       มาตรา 16 ในกรณีมีเหตุอื่นใดนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่หรือกรรมการในคณะกรรมการที่มีอํานาจพิจารณาทางปกครอง ซึ่งมีสภาพร้ายแรงอันอาจทําให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลาง เจ้าหน้าที่หรือกรรมการผู้นั้นจะทําการพิจารณาทางปกครองในเรื่องนั้นไม่ได้
       ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้ดําเนินการดังนี้
       (1) ถ้าผู้นั้นเห็นเองว่าตนมีกรณีดังกล่าว ให้ผู้นั้นหยุดการพิจารณาเรื่องไว้ก่อนและแจงให้ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่งหรือประธานกรรมการทราบ แล้วแต่กรณี
       (2) ถ้ามีคู่กรณีคัดค้านว่าผู้นั้นมีเหตุดังกล่าว หากผู้นั้นเห็นว่าตนไม่มีเหตุตามที่คัดค้านนั้น ผู้นั้นจะทําการพิจารณาเรื่องต่อไปก็ได้แต่ต้องแจงให้ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่งหรือประธานกรรมการทราบ แล้วแต่กรณี
       (3) ให้ผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นหรือคณะกรรมการที่มีอํานาจพิจารณาทางปกครอง ซึ่งผู้นั้นเป็นกรรมการอยู่มีคําสั่งหรือมีมติโดยไม่ชักช้า แล้วแต่กรณีว่าผู้นั้นมีอํานาจในการพิจารณาทางปกครองในเรื่องนั้นหรือไม่
       ให้นําบทบัญญัติมาตรา 14 วรรคสอง และมาตรา 15 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่มาใช้บังคับโดยอนุโลม
       
       ในกรณีของคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สตง. หรือ คตร. หรือ ศอตช. ซึ่งเป็นคู่กรณี อาจจะอาศัยมาตรา 14 เพื่อให้หยุดการพิจารณาหรือการประเมินไว้ชั่วคราวหรือดำนินการตามมาตรา 15
       
       มาตรา 14 เมื่อมีกรณีตามมาตรา 13 หรือคู่กรณีคัดค้านว่าเจ้าหน้าที่ผู้ใดเป็นบุคคลตามมาตรา 13 ให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นหยุดการพิจารณาเรื่องไว้ก่อน และแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่งทราบ เพื่อที่ผู้บังคับบัญชาดังกล่าวจะได้มีคําสั่งต่อไป
       การยื่นคําคัดค้าน การพิจารณาคําคัดค้าน และการสั่งให้เจ้าหน้าที่อื่นเข้าปฏิบัติหน้าที่แทนผู้ที่ถูกคัดค้านให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง
       มาตรา 15 เมื่อมีกรณีตามมาตรา 13 หรือคู่กรณีคัดค้านว่ากรรมการในคณะกรรมการที่มีอํานาจพิจารณาทางปกครองคณะใดมีลักษณะดังกล่าว ใหประธานกรรมการเรียกประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเหตุคัดค้านนั้น ในการประชุมดังกล่าวกรรมการผู้ถูกคัดค้านเมื่อได้ชี้แจงข้อเท็จจริงและตอบข้อซักถามแล้วต้องออกจากที่ประชุม
       ถ้าคณะกรรมการที่มีอํานาจพิจารณาทางปกครองคณะใดมีผู้ถูกคัดค้านในระหว่างที่กรรมการผู้ถูกคัดค้าน ต้องออกจากที่ประชุม ให้ถือว่าคณะกรรมการคณะนั้นประกอบด้วยกรรมการทุกคนที่ไม่ถูกคัดค้าน
       ถ้าที่ประชุมมีมติให้กรรมการผู้ถูกคัดค้านปฏิบัติหน้าที่ต่อไปด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของกรรมการที่ไม่ถูกคัดค้าน ก็ให้กรรมการผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ มติดังกล่าวให้กระทําโดยวิธีลงคะแนนลับและให้เป็นที่สุด
       การยื่นคําคัดค้านและการพิจารณาคําคัดค้านให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง
       
       ดังนั้นคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพที่ขาดความเป็นกลางและมี conflict of interest ควรลาออกไปเพื่อความสง่างามให้การตรวจสอบเป็นไปอย่างสะอาด บริสุทธิ์ ยุติธรรม เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ ไม่ใช่ของพวกพ้องของตน


อาจารย์ ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
       สาขาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
       สาขาวิเคราะห์ธุรกิจและการวิจัย (Business analytics and research)
       คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์


28 ตุลาคม 2558
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000120469

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
“วรากรณ์ สามโกเศศ” ค้าน กมธ. ยกร่างฯ ปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ระบุผิดเพี้ยน หวั่นระบบคลังเกิดปัญหา ส่งผลยกเลิกระบบ Earmarked Tax อาจพายุบ สสส.-ไทยพีบีเอส ในอีก 4 ปีข้างหน้า ด้าน กมธ. ยกร่างฯ แจงวางหลักการเพื่อป้องกันการกู้นอกระบบงบประมาณ
       
       วันนี้ (3 ส.ค.) นายวรากรณ์ สามโกเศศ นักเศรษฐศาสตร์การคลัง และอธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัญฑิต กล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง ในมาตรา 190 โดยบัญญัติให้การจัดเก็บภาษีอากรเพื่อเป็นรายได้แผ่นดินจะต้องจัดเก็บจากฐานภาษีต่างๆ ให้ครบฐาน ทั้งจากฐานรายได้ ฐานการซื้อขาย และจากฐานทรัพย์สิน การกำหนดนโยบายและอัตราภาษี ต้องคำนึงถึงความเป็นกลาง ความเป็นธรรมในสังคม ความทั่วถึง ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลัง และข้อผูกพันระหว่างประเทศ ให้มีการจัดระดับของภาษีเป็นสองระดับคือ ภาษีระดับชาติ และภาษีระดับท้องถิ่น และการตรากฎหมายให้หน่วยงานรัฐจัดเก็บภาษีและจัดสรรเงินจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรตามกฎหมายซึ่งมิใช่การจัดสรรภาษีหรืออากรให้องค์การบริหารท้องถิ่น หรือมิใช่การจัดสรรเงินให้พรรคการเมืองตามกฎหมาย จะกระทำมิได้ ซึ่งจะเป็นการยกเลิกระบบ Earmarked Tex หรือที่คนไทยรู้จักกันในส่วนที่เป็นกองทุนจากค่าธรรมเนียมและภาษีสุราและบุหรี่ หรือเรียกกันว่า ภาษีบาป ซึ่งมีผลเสียคือทำให้เกิดการมัดมือตนเองให้เสียความยืดหยุ่นความคล่องตัวในการทำงานในโลกที่มีความหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น และองค์กรที่รับผลกระทบโดยตรงคือสำนักงานคณะกรรมการกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (สสท.) หรือไทยพีบีเอส รวมทั้งกองทุนกีฬาแห่งชาติที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพิ่งผ่านกฎหมายให้จัดตั้งขึ้น
       
       “ทราบมาว่าเบื้องหลังมีอีกหลายแห่งที่อยากจะขอใช้กองทุนจาก Earmarked Tex แบบนี้ โดยการจัดสรรพิเศษจากส่วนหนึ่งของภาษีอะไรก็แล้วแต่ เขาก็เลยกลัวว่าระบบการคลังจะเป็นปัญหา จึงขอให้ยกเลิกเด็ดขาด ซึ่งจะส่งผลให้ สสส. กับ ไทยพีบีเอสจะถูกยุบไปด้วย ซึ่งผมว่ามันเพี้ยน เพราะ Earmarked Tex มันไม่ผู้ร้าย มีการใช้กันมายาวนาน และไม่ได้ใช้เฉพาะในประเทศไทย คือทำให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นได้ว่าโครงการที่รัฐจะทำมีการทำจริงจัง เช่นโครงการกำจัดกากของเสียอุตสาหกรรม เป็นต้น” นายวราภรณ์ กล่าว
       
       นายวรากรณ์ กล่าวด้วยว่า แนวคิดที่ว่าจะให้ทุกอย่างเข้าสู่การควบคุมด้วย พ.ร.บ. งบประมาณมันเป็นไปไม่ได้ อย่างกองทุนหมุนเวียนก็ควบคุมไม่ได้ รัฐวิสาหกิจเองก็ไม่ได้อยู่ในระบบงบประมาณ คือในธรรมชาติมันไม่มีอะไรที่สมบูรณ์แบบที่จะให้รายได้ทั้งหมดเข้ามาสู่รัฐอย่างเดียว มันยังมีองค์กรมหาชนที่เขาได้เงินของเขาเองมา โลกปัจจุบันมันก็ไม่ใช่โลกของการควบคุมแล้ว แต่เป็นเรื่องการการบริหารจัดการภายใน โดยภาครัฐตรวจสอบอีกชั้น ขณะที่การควบคุมทั้งหมดโดยภาครัฐมันเป็นโลกการคลังสมัยก่อน และสมัยนี้วิธีการคลังที่ก้าวหน้าคือต้องปล่อยให้บริหารเอง ประเมินเองแล้วรัฐมาตรวจสอบ เพียงแต่สามารถควบคุมได้ในระดับรองคือเรื่องของภาษีอากร การดูแลกำกับให้มีประสิทธิภาพ โดยอาจจะบังคับได้ว่าการตั้งกองทุน Earmarked Tex จะต้องออกเป็นพระราชบัญญัติแทนการออกเป็นกฎกระทรวง
       
       ด้านแหล่งข่าวเปิดเผยว่า กมธ.ยกร่างฯ ยังได้กำหนดในบทเฉพาะกาลในมาตรา 281(1) ระบุไว้ว่าให้ชะลอการบังคับตามรัฐธรรมนูญนี้ไปอีก 4 ปีหลังจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีผลบังคับ โดยในระหว่าง 4 ปีดังกล่าว ก็ยังสามารถออกกฎหมายเพื่อรองรับให้ สสส. หรือไทยพีบีเอสให้ปรับสถานะเพื่อให้ยังคงดำรงอยู่ได้ ซึ่งเจตนารมณ์เดิมที่จะให้รายได้แผ่นดินเข้าสู่ระบบงบประมาณที่ผ่านรัฐสภา ก็เพื่อป้องกันกรณีการใช้รูปแบบการออกกฎหมายพิเศษเพื่อใช้จ่ายเงินกู้โดยไม่ผ่านระบบงบประมาณเพื่อเลี่ยงการตรวจสอบ เช่น พ.ร.บ. เงินกู้โครงการไทยเข้มแข็ง และ พ.ร.ก. เงินกู้เพื่อบริหารจัดการน้ำ 2 ล้านล้านบาท
       
       โดยหลักการคือ พ.ร.บ. งบประมาณประจำปีต้องแสดงภาพรวมการใช้จ่าย แสดงงบดุลของประเทศทั้งหมด ไม่ใช่ซุกไว้ใน พ.ร.บ. ใช้จ่ายงบประมาณอื่น ๆ และเห็นว่าแม้จะนำงบประมาณการใช้จ่ายขององค์การมหาชนต่าง ๆ มาไว้ในระบบงบประมาณ ไม่น่าจะเกิดผลทำให้ฝ่ายการเมืองเข้าไปแทรกแซงได้โดยง่าย เพราะเป็นประเพณีที่ฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติจะไม่เข้าไปแตะต้อง เช่นเดียวกับกรณีงบประมาณของศาล และองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ซึ่งก็ไม่ได้ถูกแทรกแซงได้โดยระบบงบประมาณ ในระหว่าง 4 ปีตามบทเฉพาะกาล ก็สามารถแก้พระราชบัญญัติให้ทั้งสององค์กรให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ โดยแปรให้เป็นเงินอุดหนุนจากรัฐจ่ายผ่านระบบงบประมาณแผ่นดินแทน
       
       “อันที่จริงเป็นหลักการเดิมที่มีมาตั้งแต่ในร่างแรก คือบัญญัติไว้ว่าการจ่ายเงินแผ่นดินต้องผ่าน พรบ.งบประมาณฯ เป็นหลัก โดยพยายามนิยามคำว่าเงินแผ่นดินให้หมายรวมถึงภาษีอากรด้วย เพราะในระยะหลัง ๆ มีการก่อตั้งองค์กรใหม่ที่หักเงินจากต้นทางภาษีก่อนเข้าคลังจำนวนมาก เงินเหล่านี้จะไม่ปรากฏใน พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี ต่อมามีข้อเสนอให้ทบทวนตัดนิยมของเงินแผ่นดินออก จึงเขียนใหม่อย่างที่เห็น” แหล่งข่าวระบุ


ASTVผู้จัดการออนไลน์    3 สิงหาคม 2558

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
วรากรณ์ สามโกเศศ : อย่ามัดมือตัวเองโดยห้าม Earmark Tax
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 29 ตุลาคม 2015, 11:59:29 »
สังคมไทยมีความเข้าใจผิดในเรื่องสำคัญอยู่เรื่องหนึ่ง ที่หากไม่ช่วยกันอาจนำไปสู่การสูญเสียประโยชน์ของประชาชนอย่างมหาศาลได้ เรื่องนั้นก็คือเรื่อง Earmark Tax ในระดับสากลการใช้ Earmark Tax หรือบางครั้งเรียกว่า Hypothecation ก็คือการที่กฎหมายกำหนดให้จัดสรรรายได้ จากการจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียม ให้ไปใช้เป็นการเฉพาะสำหรับวัตถุประสงค์ หรือโครงการหนึ่งๆ หรือให้มีการจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมเป็นการพิเศษ หรือแม้แต่ให้มีค่าลดหย่อนภาษีเป็นพิเศษสำหรับโครงการที่กำหนดนั้นๆ

ในประเทศเรามีการใช้ Earmark Tax อยู่ในหลายลักษณะ ที่โดดเด่นคนจับตามองก็คือ กรณีของ สสส.(สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) ซึ่งกฎหมายกำหนดให้จัดสรรรายได้ร้อยละ 2 ของภาษีที่เก็บได้จากภาษีสุราและยาสูบให้แก่องค์กรนี้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านสุขภาวะทางกาย จิต และสังคม

อีกองค์กรหนึ่งคือ TPBS (องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย) ได้รับรายได้ร้อยละ 2 เหมือนกับ สสส.แต่ไม่ให้เกิน 2,000 ล้านบาทต่อปี

สององค์กรนี้ไม่เป็นที่สบอารมณ์ของบางภาคส่วนมานาน ในเบื้องต้นเป็นความ น่าหมั่นไส้เนื่องจากมีรายได้สม่ำเสมอตามที่ กฎหมายกำหนด ไม่ต้องไปคอยชี้แจงงบประมาณกับเหล่าผู้กุมอำนาจงบประมาณ และมีความคล่องตัวในการใช้ สสส.ต่อต้านเหล้าสุรา บุหรี่ รวมทั้งสรรพสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาวะของคนไทย การทำงานในบทบาทนี้จึงมีศัตรูรอบข้าง เพราะทำให้รายได้ของธุรกิจหายไปแต่คนไทยมีสุขภาวะดีขึ้น

ส่วน TPBS นั้น ทุกสถานีโทรทัศน์ ในปัจจุบันที่ต่อสู้กันอย่างหนักเจียนตาย เพราะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้รัฐตามสัญญา ต่างไม่สบอารมณ์ เพราะ TPBS ยืนอย่างแข็งแรง เพราะรายได้จากรัฐ สามารถต้านคลื่นลม และมีรายการที่เป็นอิสระ หลายรัฐบาลไม่สบอารมณ์การมีสื่อที่เป็นอิสระ

มีข่าวออกมาว่า มีข้อเสนอในการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ที่จะห้าม Earmark Tax เด็ดขาด สำหรับ 2 องค์กรข้างต้น ก็จะให้มีชีวิตอยู่ต่อไปอีก 3 ปีเท่านั้น เมื่อผู้เขียนได้ยินแล้วมีความรู้สึกหลายประการดังต่อไปนี้

ประการแรก การระบุไว้เช่นนี้ในรัฐธรรมนูญ ถือได้ว่ากำลังมัดมือตนเองเพราะจะทำให้ความคล่องตัวในการทำงานของภาครัฐ ทั้งในบทบาทที่ตนเองทำเอง และสนับสนุนองค์กรภาคประชาชนหมดไปทันที

ในต่างประเทศนั้นการใช้ Earmark ถือเป็นเรื่องธรรมดาและมีมายาวนาน ตัวอย่างเช่น อินโดนีเซียเก็บภาษีเพิ่มพิเศษจากผู้พักโรงแรมเพื่อเอาไปใช้ในการจัดกีฬาซีเกมส์ อังกฤษ และประเทศยุโรปจำนวนมาก เก็บค่าธรรมเนียมจากการเป็นเจ้าของโทรทัศน์ เพื่อการมีสื่อเสรีปลอดจากการเมืองในระดับท้องถิ่น สหรัฐอเมริกามีการจัดเก็บภาษีทรัพย์สิน เพื่อเอาไปใช้ในการศึกษาเป็น การเฉพาะ ฯลฯ

กลุ่มประเทศ OECD (ประเทศพัฒนาแล้ว 30 ประเทศ) กับ EU มี Earmark Tax ที่จัดสรรรายได้จากภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ค่าใช้บริการ ที่เกี่ยวพันกับการจัดการสิ่งแวดล้อม (กำจัดอากาศเสีย ของเสีย จัดการเรื่องน้ำ) ถึง 65 ภาษีใน 18 ประเทศ และ 109 ค่าธรรมเนียมและค่าให้บริการใน 23 ประเทศ

อย่างไรก็ดี เป็นความจริงที่ว่าในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2010 รัฐสภาห้ามมิให้ใช้ Earmark Tax อีกต่อไป หลังจากที่ใช้กันมานับร้อยปี การห้ามในประเทศนี้เป็นเรื่องพิเศษ เพราะที่ผ่านมามีการใช้ Earmark Tax สำหรับโครงการต่างๆ จำนวนมหาศาล เพื่อหาเสียงของนักการเมือง ไม่ว่าจะเป็นสะพาน โครงการทางด่วน ก่อสร้างถนน ฯลฯ การใช้ Earmark ก็ทำได้ง่าย เพียงบรรจุไว้ในเอกสารงบประมาณของกรรมาธิการเท่านั้น การกระทำเช่นนี้ได้นำไปสู่คอร์รัปชัน การหาเสียงแบบผิดๆ ว่ากันเละเทะ จึงถึงจุดที่ห้ามกัน

ในบ้านเรากว่าที่โครงการ Earmark Tax ของ 2 องค์กรนี้จะคลอดออกมาได้นั้น เป็นเรื่องหนักหนาสาหัส ใช้เวลายาวนาน แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว สสส.ก็ได้กลายเป็นโครงการตัวอย่างที่หลายประเทศต้องการเลียนแบบ เพราะสนับสนุนงานสาธารณสุขอย่างมิให้มีช่องว่าง และทำได้อย่างคล่องตัวสอดประสานกับงานสาธารณสุข (รมว.สาธารณสุขเป็นรองประธาน โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน สสส.)

การตัดออกไปเด็ดขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถอนรากถอนโคน 2 องค์กรนี้ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ก้าวหน้าโดยแท้

ประการที่สอง การควบคุมการคลังทั้งด้านรายได้และรายจ่ายของภาครัฐให้เป็นระบบนั้น เป็นเรื่องสำคัญที่เข้าใจกันได้ อย่างไรก็ดี ความเพอร์เฟ็กต์ในโลกนี้ไม่มี สิ่งที่ผู้รับผิดชอบด้านการคลังควรกังวลก็คือ ประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจ เรื่องการเงินของกองทุนหมุนเวียน องค์การมหาชน การกู้ยืมของรัฐบาล การใช้จ่ายของส่วนกลางก้อนใหญ่ ที่สามารถมาประดังอยู่ที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้ในบางรัฐบาล

ความปรารถนาที่จะเป็นกองทุนที่มี Earmark Tax สนับสนุนกันมากมายตามที่มีผู้เสนอนั้น น่าเป็นห่วง แต่ก็มิได้หมายความว่า สมควรจะห้ามเด็ดขาดไปทั้งหมด โดยเฉพาะให้มีผลย้อนหลังกับสององค์กรข้างต้น ซึ่งได้ทำหน้าที่ที่มีประโยชน์ในสังคมไทยมากว่า 7 ปีแล้ว ทั้งสององค์กรนั้นรวมกันในแต่ละปีมีรายได้จาก Earmark Tax รวมกันประมาณไม่เกิน 6,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับรายได้จากภาษีอากรทั้งหมดคือ 2,670,000 ล้านบาท แล้วก็พอเห็นภาพว่าเล็กน้อยเพียงใด

ถ้าจะให้ความสนใจกันจริงๆ แล้ว องค์การปกครองท้องถิ่นประมาณ 5,000 แห่ง ที่ได้รับ Earmark Tax มูลค่านับแสนๆ ล้านบาทต่อปี ซึ่งแบ่งมาจาก 1 ใน 9 ของภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศ (ซึ่งจัดเก็บอยู่ในอัตราร้อยละ 7) และจัดสรรให้ท้องถิ่นให้เป็นการพิเศษเพิ่มเติมจากภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่จัดเก็บเองอยู่แล้ว

การจัดสรรบางส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่มให้ท้องถิ่นเป็นการพิเศษนี้ โดยแท้จริงแล้วก็เข้าลักษณะ Earmark Tax เช่นกัน อย่างไรก็ดี ผู้เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ยกเว้นกรณีของท้องถิ่นเป็นพิเศษ

ประโยชน์ของ Earmark Tax ที่เด่นชัดก็คือ (ก) เป็นการเอาเงินภาษีที่เก็บจากบางสิ่งกลับไปสู่การใช้ที่พิเศษและต้องการความต่อเนื่อง เช่น ในหลายประเทศมีการเก็บภาษีอากรจากเชื้อเพลิงเพื่อเอาไปสร้างถนน ภาษีขาเข้าที่เก็บได้ของแต่ละภูมิภาคกันไว้เฉพาะสำหรับพัฒนากองทัพจีนของภูมิภาคนั้นๆ ภาษีที่เก็บจากผลิตภัณฑ์ยาสูบของรัฐวิคตอเรียในออสเตรเลีย ถูกกันไว้เพื่อการสนับสนุนสุขภาพระหว่าง 1987-1997 (ปัจจุบันหลายรัฐบาลทั่วโลกมี Earmark Tax ในลักษณะนี้) ฯลฯ

(ข) เป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่สาธารณชนว่า โครงการนั้นๆ ของรัฐบาลมีความจริงจังและต่อเนื่อง (ค) เป็นหนทางในการรู้ต้นทุนที่แท้จริงของโครงการ เนื่องจากรู้รายได้ที่จัดสรรให้ชัดเจน และเห็นผลผลิตและผลลัพธ์ชัดเจน การวัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลจึงชัดเจนกว่า (ง) เป็นเครื่องมือในทางเศรษฐกิจในการชดเชยผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่ผู้ถูกระทบ เช่น ค่าธรรมเนียมเก็บจากเครื่องบินทำเสียงดังเป็นพิเศษและกันไว้กลับไปให้แก่ผู้ถูกกระทบ (คล้ายกับภาษีจากยาสูบสู่การสร้างเสริมสุขภาวะ)

ออสเตรเลียเป็นประเทศที่ใช้ Earmark Tax อย่างกว้างขวางและได้ผล กล่าวคือกฎหมายมีการระบุวัตถุประสงค์พิเศษของการใช้เงินภาษีจากที่เก็บมาได้แก่โครงการ องค์การ ประชาชน ฯลฯ ตัวอย่างเช่นเก็บค่าธรรมเนียมเพื่อเป็นกองทุนซื้อปืนคืนจากประชาชน ค่าธรรมเนียมพิเศษเรื่องสร้างบริการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับประชาชน ค่าธรรมเนียมพิเศษสำหรับระบบการรักษาพยาบาล (Medicare) ค่าธรรมเนียมสำหรับสร้างโครงการพื้นฐาน ฯลฯ ทั้งในระดับท้องถิ่น รัฐ และส่วนกลาง

ตราบที่รายได้จาก Earmark Tax ไม่มากเกินไปในงบประมาณ (เช่น ไม่เกินกว่า ร้อยละ 5) แล้วการกำกับควบคุมก็ไม่เป็นปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบังคับให้การเก็บ Earmark Tax ต้องออกเป็นกฎหมาย (ไม่ใช่ประกาศกฎกระทรวง) อย่าลืมว่าค่าธรรมเนียมที่หน่วยงานรัฐจัดการและให้เป็นขององค์กรนั้นแท้จริงแล้วก็คือ Earmark Tax อย่างหนึ่ง ซึ่งจะว่าไปแล้ว ค่าธรรมเนียมการศึกษาหรือค่าเล่าเรียนที่มหาวิทยาลัยของรัฐจัดการ และเป็นของมหาวิทยาลัยเอง เพื่อวัตถุประสงค์การศึกษาเป็นการเฉพาะนั้นภายใต้คำจำกัดความนี้ก็อาจต้องถูกยกเลิกไปด้วย

กรุณาอย่าได้มัดมือตัวเองอย่างไม่ตั้งใจ ด้วยการห้าม Earmark Tax โดยเด็ดขาดเลย เพราะจะนำไปสู่ความยุ่งยากในการตีความทางกฎหมาย ความไม่คล่องตัวในการทำงาน และสำหรับ สสส. และ TPBS นั้น ผมว่าเขาทำงานของเขาดีอยู่แล้ว อย่าไปยุ่งกับเขาเลย แทนที่จะให้เขาเสียขวัญและเสียกำลังใจ ควรช่วยเขาต่อสู้ทุนนิยมที่พยายามเข้ามาบั่นทอนการทำงานของเขา เราไม่อยากมีสังคมที่มีคนร่างกายแข็งแรง จิตใจดี มีสัมมาอาชีวะ และมีเสรีภาพในการรับสื่อข้อมูลที่เที่ยงธรรมหรือครับ การตรวจสอบประเมินผลกันอย่างเคร่งครัดก็เป็นคนละประเด็นกับการห้ามมี Earmark Tax และการที่มีหลายฝ่ายต้องการตั้งกองทุนมาจาก Earmark Tax จนต้องห้ามเด็ดขาด และย้อนหลังไปใช้กับกองทุนอื่นด้วยก็เป็นอีกคนละประเด็นเช่นเดียวกัน

ประเด็นหลักอยู่ที่ว่าเราจะมีระบบการคลังแบบก้าวหน้า หรือระบบการคลังที่เน้นการควบคุมซึ่งที่ผ่านมาในโลกก็ไม่มีประสิทธิภาพ ยุคสมัยของการควบคุมนั้นหมดไปแล้ว ยุคใหม่ของโลกการคลังคือการควบคุมตนเองอย่างสร้างสรรค์ และมีการตรวจสอบจากภาครัฐอีกระดับหนึ่ง

ผู้เขียน : วรากรณ์ สามโกเศศ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 4 สิงหาคม 2558 (คอลัมน์อาหารสมอง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
American Evaluation Association Guiding Principles For Evaluators
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 29 ตุลาคม 2015, 12:01:01 »
Below you will find the Guiding Principles for Evaluators in their entirety. Brochures of the abbreviated version of the Guiding Principles are available, free of charge, in both hardcopy and PDF. To download the abbreviated version of the Guiding Principles in PDF format, click here. To obtain hardcopies of the abbreviated version of the Guiding Principles, please contact the AEA office at info@eval.org.

For a print-friendly version of the complete Guiding Principles click here.

For a training guide and resources based on the Guiding Principles click here.

Revisions reflected herein ratified by the AEA membership, July 2004

Preface: Assumptions Concerning Development of Principles

A. Evaluation is a profession composed of persons with varying interests, potentially encompassing but not limited to the evaluation of programs, products, personnel, policy, performance, proposals, technology, research, theory, and even of evaluation itself. These principles are broadly intended to cover all kinds of evaluation. For external evaluations of public programs, they nearly always apply. However, it is impossible to write guiding principles that neatly fit every context in which evaluators work, and some evaluators will work in contexts in which following a guideline cannot be done for good reason. The Guiding Principles are not intended to constrain such evaluators when this is the case. However, such exceptions should be made for good reason (e.g., legal prohibitions against releasing information to stakeholders), and evaluators who find themselves in such contexts should consult colleagues about how to proceed.

B. Based on differences in training, experience, and work settings, the profession of evaluation encompasses diverse perceptions about the primary purpose of evaluation. These include but are not limited to the following: bettering products, personnel, programs, organizations, governments, consumers and the public interest; contributing to informed decision making and more enlightened change; precipitating needed change; empowering all stakeholders by collecting data from them and engaging them in the evaluation process; and experiencing the excitement of new insights. Despite that diversity, the common ground is that evaluators aspire to construct and provide the best possible information that might bear on the value of whatever is being evaluated. The principles are intended to foster that primary aim.

C. The principles are intended to guide the professional practice of evaluators, and to inform evaluation clients and the general public about the principles they can expect to be upheld by professional evaluators. Of course, no statement of principles can anticipate all situations that arise in the practice of evaluation. However, principles are not just guidelines for reaction when something goes wrong or when a dilemma is found. Rather, principles should proactively guide the behaviors of professionals in everyday practice.

D. The purpose of documenting guiding principles is to foster continuing development of the profession of evaluation, and the socialization of its members. The principles are meant to stimulate discussion about the proper practice and use of evaluation among members of the profession, sponsors of evaluation, and others interested in evaluation.

E. The five principles proposed in this document are not independent, but overlap in many ways. Conversely, sometimes these principles will conflict, so that evaluators will have to choose among them. At such times evaluators must use their own values and knowledge of the setting to determine the appropriate response. Whenever a course of action is unclear, evaluators should solicit the advice of fellow evaluators about how to resolve the problem before deciding how to proceed.

F. These principles are intended to supercede any previous work on standards, principles, or ethics adopted by AEA or its two predecessor organizations, the Evaluation Research Society and the Evaluation Network. These principles are the official position of AEA on these matters.

G. These principles are not intended to replace standards supported by evaluators or by the other disciplines in which evaluators participate.

H. Each principle is illustrated by a number of statements to amplify the meaning of the overarching principle, and to provide guidance for its application. These illustrations are not meant to include all possible applications of that principle, nor to be viewed as rules that provide the basis for sanctioning violators.

I. These principles were developed in the context of Western cultures, particularly the United States, and so may reflect the experiences of that context. The relevance of these principles may vary across other cultures, and across subcultures within the United States.

J. These principles are part of an evolving process of self-examination by the profession, and should be revisited on a regular basis. Mechanisms might include officially-sponsored reviews of principles at annual meetings, and other forums for harvesting experience with the principles and their application. On a regular basis, but at least every five years, these principles ought to be examined for possible review and revision. In order to maintain association-wide awareness and relevance, all AEA members are encouraged to participate in this process.

The Principles

A. Systematic Inquiry: Evaluators conduct systematic, data-based inquiries.

1. To ensure the accuracy and credibility of the evaluative information they produce, evaluators should adhere to the highest technical standards appropriate to the methods they use.

2. Evaluators should explore with the client the shortcomings and strengths both of the various evaluation questions and the various approaches that might be used for answering those questions.

3. Evaluators should communicate their methods and approaches accurately and in sufficient detail to allow others to understand, interpret and critique their work. They should make clear the limitations of an evaluation and its results. Evaluators should discuss in a contextually appropriate way those values, assumptions, theories, methods, results, and analyses significantly affecting the interpretation of the evaluative findings. These statements apply to all aspects of the evaluation, from its initial conceptualization to the eventual use of findings.

B. Competence: Evaluators provide competent performance to stakeholders.

1. Evaluators should possess (or ensure that the evaluation team possesses) the education, abilities, skills and experience appropriate to undertake the tasks proposed in the evaluation.

2. To ensure recognition, accurate interpretation and respect for diversity, evaluators should ensure that the members of the evaluation team collectively demonstrate cultural competence. Cultural competence would be reflected in evaluators seeking awareness of their own culturally-based assumptions, their understanding of the worldviews of culturally-different participants and stakeholders in the evaluation, and the use of appropriate evaluation strategies and skills in working with culturally different groups. Diversity may be in terms of race, ethnicity, gender, religion, socio-economics, or other factors pertinent to the evaluation context.

3. Evaluators should practice within the limits of their professional training and competence, and should decline to conduct evaluations that fall substantially outside those limits. When declining the commission or request is not feasible or appropriate, evaluators should make clear any significant limitations on the evaluation that might result. Evaluators should make every effort to gain the competence directly or through the assistance of others who possess the required expertise.

4. Evaluators should continually seek to maintain and improve their competencies, in order to provide the highest level of performance in their evaluations. This continuing professional development might include formal coursework and workshops, self-study, evaluations of one's own practice, and working with other evaluators to learn from their skills and expertise.

C.Integrity/Honesty: Evaluators display honesty and integrity in their own behavior, and attempt to ensure the honesty and integrity of the entire evaluation process.

1. Evaluators should negotiate honestly with clients and relevant stakeholders concerning the costs, tasks to be undertaken, limitations of methodology, scope of results likely to be obtained, and uses of data resulting from a specific evaluation. It is primarily the evaluator's responsibility to initiate discussion and clarification of these matters, not the client's.

2. Before accepting an evaluation assignment, evaluators should disclose any roles or relationships they have that might pose a conflict of interest (or appearance of a conflict) with their role as an evaluator. If they proceed with the evaluation, the conflict(s) should be clearly articulated in reports of the evaluation results.

3. Evaluators should record all changes made in the originally negotiated project plans, and the reasons why the changes were made. If those changes would significantly affect the scope and likely results of the evaluation, the evaluator should inform the client and other important stakeholders in a timely fashion (barring good reason to the contrary, before proceeding with further work) of the changes and their likely impact.

4. Evaluators should be explicit about their own, their clients', and other stakeholders' interests and values concerning the conduct and outcomes of an evaluation.

5. Evaluators should not misrepresent their procedures, data or findings. Within reasonable limits, they should attempt to prevent or correct misuse of their work by others.

6. If evaluators determine that certain procedures or activities are likely to produce misleading evaluative information or conclusions, they have the responsibility to communicate their concerns and the reasons for them. If discussions with the client do not resolve these concerns, the evaluator should decline to conduct the evaluation. If declining the assignment is unfeasible or inappropriate, the evaluator should consult colleagues or relevant stakeholders about other proper ways to proceed. (Options might include discussions at a higher level, a dissenting cover letter or appendix, or refusal to sign the final document.)

7. Evaluators should disclose all sources of financial support for an evaluation, and the source of the request for the evaluation.


story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
American Evaluation Association Guiding Principles For Evaluators(ต่อ)
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 29 ตุลาคม 2015, 12:01:35 »
D. Respect for People: Evaluators respect the security, dignity and self-worth of respondents, program participants, clients, and other evaluation stakeholders.

1. Evaluators should seek a comprehensive understanding of the important contextual elements of the evaluation. Contextual factors that may influence the results of a study include geographic location, timing, political and social climate, economic conditions, and other relevant activities in progress at the same time.

2. Evaluators should abide by current professional ethics, standards, and regulations regarding risks, harms, and burdens that might befall those participating in the evaluation; regarding informed consent for participation in evaluation; and regarding informing participants and clients about the scope and limits of confidentiality.

3. Because justified negative or critical conclusions from an evaluation must be explicitly stated, evaluations sometimes produce results that harm client or stakeholder interests. Under this circumstance, evaluators should seek to maximize the benefits and reduce any unnecessary harms that might occur, provided this will not compromise the integrity of the evaluation findings. Evaluators should carefully judge when the benefits from doing the evaluation or in performing certain evaluation procedures should be foregone because of the risks or harms. To the extent possible, these issues should be anticipated during the negotiation of the evaluation.

4. Knowing that evaluations may negatively affect the interests of some stakeholders, evaluators should conduct the evaluation and communicate its results in a way that clearly respects the stakeholders' dignity and self-worth.

5. Where feasible, evaluators should attempt to foster social equity in evaluation, so that those who give to the evaluation may benefit in return. For example, evaluators should seek to ensure that those who bear the burdens of contributing data and incurring any risks do so willingly, and that they have full knowledge of and opportunity to obtain any benefits of the evaluation. Program participants should be informed that their eligibility to receive services does not hinge on their participation in the evaluation.

6. Evaluators have the responsibility to understand and respect differences among participants, such as differences in their culture, religion, gender, disability, age, sexual orientation and ethnicity, and to account for potential implications of these differences when planning, conducting, analyzing, and reporting evaluations.

E. Responsibilities for General and Public Welfare: Evaluators articulate and take into account the diversity of general and public interests and values that may be related to the evaluation.

1. When planning and reporting evaluations, evaluators should include relevant perspectives and interests of the full range of stakeholders.

2. Evaluators should consider not only the immediate operations and outcomes of whatever is being evaluated, but also its broad assumptions, implications and potential side effects.

3. Freedom of information is essential in a democracy. Evaluators should allow all relevant stakeholders access to evaluative information in forms that respect people and honor promises of confidentiality. Evaluators should actively disseminate information to stakeholders as resources allow. Communications that are tailored to a given stakeholder should include all results that may bear on interests of that stakeholder and refer to any other tailored communications to other stakeholders. In all cases, evaluators should strive to present results clearly and simply so that clients and other stakeholders can easily understand the evaluation process and results.

4. Evaluators should maintain a balance between client needs and other needs. Evaluators necessarily have a special relationship with the client who funds or requests the evaluation. By virtue of that relationship, evaluators must strive to meet legitimate client needs whenever it is feasible and appropriate to do so. However, that relationship can also place evaluators in difficult dilemmas when client interests conflict with other interests, or when client interests conflict with the obligation of evaluators for systematic inquiry, competence, integrity, and respect for people. In these cases, evaluators should explicitly identify and discuss the conflicts with the client and relevant stakeholders, resolve them when possible, determine whether continued work on the evaluation is advisable if the conflicts cannot be resolved, and make clear any significant limitations on the evaluation that might result if the conflict is not resolved.

5. Evaluators have obligations that encompass the public interest and good. These obligations are especially important when evaluators are supported by publicly-generated funds; but clear threats to the public good should never be ignored in any evaluation. Because the public interest and good are rarely the same as the interests of any particular group (including those of the client or funder), evaluators will usually have to go beyond analysis of particular stakeholder interests and consider the welfare of society as a whole.

Background

In 1986, the Evaluation Network (ENet) and the Evaluation Research Society (ERS) merged to create the American Evaluation Association. ERS had previously adopted a set of standards for program evaluation (published in New Directions for Program Evaluation in 1982); and both organizations had lent support to work of other organizations about evaluation guidelines. However, none of these standards or guidelines were officially adopted by AEA, nor were any other ethics, standards, or guiding principles put into place. Over the ensuing years, the need for such guiding principles was discussed by both the AEA Board and the AEA membership. Under the presidency of David Cordray in 1992, the AEA Board appointed a temporary committee chaired by Peter Rossi to examine whether AEA should address this matter in more detail. That committee issued a report to the AEA Board on November 4, 1992, recommending that AEA should pursue this matter further. The Board followed that recommendation, and on that date created a Task Force to develop a draft of guiding principles for evaluators. The task force members were:

William Shadish, Memphis State University (Chair)
Dianna Newman, University of Albany/SUNY
Mary Ann Scheirer, Private Practice
Chris Wye, National Academy of Public Administration

The AEA Board specifically instructed the Task Force to develop general guiding principles rather than specific standards of practice. Their report, issued in 1994, summarized the Task Force's response to the charge.

Process of Development. Task Force members reviewed relevant documents from other professional societies, and then independently prepared and circulated drafts of material for use in this report. Initial and subsequent drafts (compiled by the Task Force chair) were discussed during conference calls, with revisions occurring after each call. Progress reports were presented at every AEA board meeting during 1993. In addition, a draft of the guidelines was mailed to all AEA members in September 1993 requesting feedback; and three symposia at the 1993 AEA annual conference were used to discuss and obtain further feedback. The Task Force considered all this feedback in a December 1993 conference call, and prepared a final draft in January 1994. This draft was presented and approved for membership vote at the January 1994 AEA board meeting.

Resulting Principles. Given the diversity of interests and employment settings represented on the Task Force, it is noteworthy that Task Force members reached substantial agreement about the following five principles. The order of these principles does not imply priority among them; priority will vary by situation and evaluator role.

A. Systematic Inquiry: Evaluators conduct systematic, data-based inquiries about whatever is being evaluated.

B. Competence: Evaluators provide competent performance to stakeholders.

C. Integrity/Honesty: Evaluators ensure the honesty and integrity of the entire evaluation process.

D. Respect for People: Evaluators respect the security, dignity and self-worth of the respondents, program participants, clients, and other stakeholders with whom they interact.

E. Responsibilities for General and Public Welfare: Evaluators articulate and take into account the diversity of interests and values that may be related to the general and public welfare.

Recommendation for Continued Work. The Task Force also recommended that the AEA Board establish and support a mechanism for the continued development and dissemination of the Guiding Principles, to include formal reviews at least every five years. The Principles were reviewed in 1999 through an EvalTalk survey, a panel review, and a comparison to the ethical principles of the Canadian and Australasian Evaluation Societies. The 2000 Board affirmed this work and expanded dissemination of the Principles; however, the document was left unchanged.

Process of the 2002-2003 Review and Revision. In January 2002 the AEA Board charged its standing Ethics Committee with developing and implementing a process for reviewing the Guiding Principles that would give AEA’s full membership multiple opportunities for comment. At its Spring 2002 meeting, the AEA Board approved the process, carried out during the ensuing months. It consisted of an online survey of the membership that drew 413 responses, a “Town Meeting” attended by approximately 40 members at the Evaluation 2002 Conference, and a compilation of stories about evaluators’ experiences relative to ethical concerns told by AEA members and drawn from the American Journal of Evaluation. Detailed findings of all three sources of input were reported to the AEA Board in A Review of AEA’s Guiding Principles for Evaluators, submitted January 18, 2003.

In 2003 the Ethics Committee continued to welcome input and specifically solicited it from AEA’s Diversity Committee, Building Diversity Initiative, and Multi-Ethnic Issues Topical Interest Group. The first revision reflected the Committee’s consensus response to the sum of member input throughout 2002 and 2003. It was submitted to AEA’s past presidents, current board members, and the original framers of the Guiding Principles for comment. Twelve reviews were received and incorporated into a second revision, presented at the 2003 annual conference. Consensus opinions of approximately 25 members attending a Town Meeting are reflected in this, the third and final revision that was approved by the Board in February 2004 for submission to the membership for ratification. The revisions were ratified by the membership in July of 2004.

The 2002 Ethics Committee members were:

Doris Redfield, Appalachia Educational Laboratory (Chair)
Deborah Bonnet, Lumina Foundation for Education
Katherine Ryan, University of Illinois at Urbana-Champaign
Anna Madison, University of Massachusetts, Boston

In 2003 the membership was expanded for the duration of the revision process:

Deborah Bonnet, Lumina Foundation for Education (Chair)
Doris Redfield, Appalachia Educational Laboratory
Katherine Ryan, University of Illinois at Urbana-Champaign
Gail Barrington, Barrington Research Group, Inc.
Elmima Johnson, National Science Foundation

http://www.eval.org/p/cm/ld/fid=51

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
วันพฤหัสบดี ที่ 29 ตุลาคม 2558
การแสดงความเห็นติเตียนกรรมการบางท่านที่เป็นผู้ใหญ่ซึ่งเป็นคนที่อุทิศตนทำงานเพื่อสังคมมายาวนานด้วยความจริงใจทำให้เขาเสียหายและไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง

หมายเหตุ:รองศาสตราจารย์ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ในฐานะประธานคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โพสต์ข้อความในเฟซบุค

ในฐานะประธานกรรมการฯ รศ.ดร.วรากรณ์ แสดงความเห็นบางประการ เนื่องจากทำให้เกิดความเสียหายแก่ตัวเองและกรรมการ

"ตามที่มีการเอ่ยอ้างถึง “ความไม่เหมาะสม” ของคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน สสส.  ที่คณะรัฐมนตรีเพิ่งแต่งตั้งเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2558 นั้นอาจารย์ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ จากคณะสถิติประยุกต์ NIDA เป็นผู้สรุปข้อความข้างต้น ผมเห็นว่ามีข้อบกพร่องในการวิเคราะห์ “ความไม่เหมาะสม” อยู่หลายประการโดยแบ่งเป็น 2 ด้าน ดังต่อไปนี้

(1) ในเรื่องข้อมูล (ก) คณะกรรมการชุดนี้มิได้ตั้งขึ้นมาเพื่อตรวจสอบว่า สสส. ควรอยู่ต่อไปหรือไม่ อาจารย์เขียนว่า “คณะกรรมการฯ ที่ขาดความเป็นกลางและมี conflict of interest ควรลาออกไปเพื่อความสง่างาม ให้การตรวจสอบเป็นไปอย่างสะอาด บริสุทธิ์ ยุติธรรม”

ผมอ่านแล้วเข้าใจว่าอาจารย์อาจสับสนกับงานการตรวจสอบของรัฐบาลที่กระทำอยู่ในตอนนี้ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน

คณะกรรมการฯ ชุดนี้ตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.สสส. (2554) มาตรา 37 ให้มีหน้าที่ (1) ประเมินผลด้านนโยบายและการกำหนดกิจการของกองทุนฯ (2) ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนฯ (3) รายงานผลการปฏิบัติงานพร้อมข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการทุกรายปี

คณะกรรมการฯ ชุดนี้มิได้ตรวจสอบเรื่องการเงินเพราะเป็นงานของ สตง. ที่ทำอยู่ทุกปีเป็นเวลาต่อเนื่องกันมา 13 ปีแล้ว เนื่องจากทุกบาทเป็นเงินแผ่นดิน เราไม่ได้มาดู “ความสะอาด บริสุทธิ์ ยุติธรรม”

สิ่งที่เราเน้นคือประเด็นประสิทธิภาพ ประสิทธิผล การคุ้มค่าและธรรมาภิบาล เราไม่ใช่ศาล

(ข) คนชื่อ “วราภรณ์ สามโกเศศ” ไม่มีในโลก  มีแต่ “วรากรณ์ สามโกเศศ”

(2) ในเรื่องการวิเคราะห์ (ก) อาจารย์บอกว่าผมไม่เหมาะสม เพราะไม่เป็นกลางเนื่องจากเคยเขียนบทความสนับสนุนการมีองค์กรที่มาจาก Earmarked Tax ในเบื้องต้นอยากเรียนว่า ผมไม่ได้มาเป็นกรรมการมวย ผมและเพื่อนกรรมการมาประเมินตามหน้าที่ใน พ.ร.บ.

ผมสอนพิเศษให้ NIDA ที่อาจารย์ทำงานอยู่ในหลักสูตรปริญญาโท MPPM (Master of Public-Private Management) ยาวนานกว่า 10 ปี ตามทฤษฎีการจัดการสมัยใหม่นั้น การสนับสนุน public sector ด้วยเงินทุนจากรัฐเพื่อให้องค์การมีระบบการทำงานคล่องตัวแบบ private นั้นเป็นเรื่องที่เขาทำกันทั่วโลก ถ้าคนที่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้แล้วเป็นคนที่ไม่เหมาะสม อาจารย์คงจะหาคนไปทำงานระดับนี้ได้ยากแน่ ๆ

(ข) การเคยได้รับทุนอุดหนุนในอดีตของกรรมการบางท่านตามที่อาจารย์เอาข้อมูลมานั้น ผมไม่เห็นว่าจะทำให้เขาไม่เหมาะสม การรู้กลไกการทำงานของ สสส. จากแง่มุมต่าง ๆ โดยผ่านประสบการณ์น่าจะทำให้การประเมินผลมีความรอบด้านมากขึ้น

ประเด็นสำคัญอยู่ตรงว่าการประเมินผลไม่เป็นไปอย่างเที่ยงธรรมเนื่องจากมีผลประโยชน์ทับซ้อนเกี่ยวเนื่องกับปัจจุบันหรือไม่

ถ้าตรรกะอาจารย์ว่าคนเคยรับเงินทุนอุดหนุนในอดีตไม่เหมาะสมแล้ว การเคยเป็นประธานกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของธรรมศาสตร์ของตัวผมเองก็ต้องไม่ถูกต้องด้วย เพราะผมเคยเป็นอาจารย์ที่นี่มาก่อน เคยรับเงินเดือนและรับผลประโยชน์ของมหาวิทยาลัยมาในอดีตอย่างนั้นหรือ (และอีกหลายท่าน ๆ ที่มีพื้นฐานแบบผมก็ทำหน้าที่เช่นนี้กันอย่างกว้างขวางในการประเมินคุณภาพมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน)

ผมเข้าใจอาจารย์ดีว่า กำลังทำหน้าที่รับใช้สังคม และผมก็ได้ทำมาตลอดชีวิตการทำงานของผมเช่นกัน แต่ผมมีความเห็นว่าต้องกระทำด้วยความรอบคอบระมัดระวังในเรื่องข้อมูลและกรอบการวิเคราะห์ การแสดงความเห็นติเตียนกรรมการบางท่านที่เป็นผู้ใหญ่ซึ่งเป็นคนที่อุทิศตนทำงานเพื่อสังคมมายาวนานด้วยความจริงใจทำให้เขาเสียหายและไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง

กรรมการฯ ชุดของเรายังไม่ได้ทำงานเลย น่าจะให้โอกาสและความเป็นธรรม อาจารย์คอยติดตามและตรวจสอบว่าเราได้ทำงานอย่างเป็นไปตามหน้าที่ที่ระบุไว้หรือไม่ใน พ.ร.บ. จะเหมาะสมกว่าไหม

อนึ่ง สำหรับกรรมการที่อาจารย์มิได้เอ่ยนาม ซึ่งเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่อาจารย์ไมได้ชี้ให้เห็นว่าไม่เหมาะสมแต่ประการใดนั้น อาจารย์จะเหมารวมให้ท่านลาออกเพื่อ “ความสง่างาม” ด้วยอย่างนั้นหรือ

http://www.isranews.org/isranews-article/item/42307-varakornsam_42307.html#.VjLPA_nQ3kU.twitter

seiha

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 12
    • ดูรายละเอียด
 ;D :D :D :D :Dขอบคุณสำหรับขอมูล ;D ;D ;D ;D ;D ;D




คาสิโนออนไลน์ ในรูปแบบใหม่ล่าสุดจาก ปอยเปต คาสิโน รีสอร์ท ได้ที่นี่ royal1688

seiha

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 12
    • ดูรายละเอียด
 ;D ;D ;D ;Dขอบคุณครับสำหรับขอมูล