ผู้เขียน หัวข้อ: จะแก้ไขระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือไม่‏  (อ่าน 1513 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
ในปัจจุบันนี้ ข่าวเรื่องการเสนอรวมกองทุนสุขภาพ 3 กองทุนในประเทศไทย ดูเหมือนจะเป็นข่าวใหญ่ที่มีมาอย่างต่อเนื่องในช่วงเดือนที่แล้วมาจนถึงเดือนนี้ ทางสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)และคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) ได้เป็นผู้พยายามผลักดันให้มีการรวมกองทุนนี้ และคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้แต่งตั้งสำนักงานพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (สพคส.) ขึ้นมาในสำนักงานสุขภาพแห่งชาติ และมีการต่างตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (คพคส.)ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยอ้างว่ามีวัตถุประสงค์ที่จะลดความเหลื่อมล้ำในระบบการประกันสุขภาพไทย 3 กองทุน ที่มีภาระค่าใช้จ่าย การให้บริการ และสิทธิประโยชน์ที่ให้แก่ประชาชนในแต่ละกองทุน(1)

   ใน ขณะเดียวกัน ก็มีการก่อตั้งชมรมพิทักษ์สิทธิ์ผู้ประกันตน ประกอบไปด้วยน.ส.สารี อ๋องสมหวังเลขาธิการมูลนิธิผู้บริโภค และนายนิมิตร เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ซึ่งได้ออกมากล่าวเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมของผู้ประกันตนที่จะไม่ขอจ่าย เงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในส่วนของค่ารักษาพยาบาลอีกต่อไป เพื่อให้เท่าเทียมกับประชาชนในกลุ่ม 48 ล้านคนที่ไม่ต้องจ่ายเงินในการรับบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

มีข่าวว่าจากหนังสือพิมพ์ว่าจะมีการประชุมระหว่างบอร์ดสปสช.และบอรด์ประกันสังคม ในวันที่ 18 เมษายน นี้ เพื่อโอนผู้ประกันตน มาอยู่ในความรับผิดชอบของสปสช.ตามมาตรา 10 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยนพ.วิชัย โชควิวัฒน์ ได้กล่าวว่าสปส.ต้องโอนเงิน 1.5% ที่รัฐบาลจ่ายให้ผู้ประกันตนเป็นค่ารักษาพยาบาลไปให้สปสช. โดยอ้างว่าผู้ประกันตนเป็นผู้มีรายได้น้อย แต่ได้รับสิทธิ์การรักษาพยาบาลไม่เท่าเทียมกับผู้ป่วยบัตรทอง และอ้างว่าสปส.ต้องโอนการรักษาพยาบาลมาให้สปสช.บริหารแทน

   ผู้เขียนได้ติดตามการทำงานของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสปสช.มาตลอดในระยะเกือบ 10ปีนี้ ก็อยากจะถามประชาชนว่า

1.      สปสช.บริหารระบบหลักประกันสุขภาพได้ผลดีหรือไม่?

2.       สมควรให้มาบริหารต่อในระบบเดิมหรือไม่?

3.      และขยายการบริหารไปถึงผู้ประกันตนหรือไม่?

4.      รวมทั้งในอนาคตจะให้สปสช.มาบริหารระบบสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลอีกหรือไม่?

เป็นคำถามที่ประชาชนผู้เสียภาษีทุกคน ทั้งภาษีรายได้ และภาษีอื่นๆ เพื่อเอาเงินจากภาษีเหล่านี้ มาจ่ายให้สปสช.ปีละเกือบสองแสนล้านบาททุกปี เพื่อให้สปสช.จ่ายค่าบริการในการดูแลรักษาสุขภาพแก่ประชาชนเพียง 48 ล้านคน

    ผู้เขียนคงไม่ตอบคำถามนี้แทนประชาชนหรือรัฐบาลหรือผู้ที่สนใจข่าวสารบ้านเมือง แต่ผู้เขียนคงจะให้ข้อมูลบางอย่าง เพื่อช่วยการตัดสินใจของผู้อ่านทุกท่านดังนี้

จากการทำงานของสปสช.ภายใต้การกำกับของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่มีนายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์เป็นประธาน ก็จะเห็นได้ว่าปี2553 เป็นปีที่โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ประสบปัญหาการขาดทุนและขาดสภาพคล่องทางการเงินมากที่สุด (2) เนื่องจากสปสช.ได้โอ้อวดว่า ตนเองสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดีตามระบบ DRG  สำหรับการจ่ายค่ารักษาสำหรับผู้ป่วยใน (นอนรักษาในโรงพยาบาล) ทำให้กรมบัญชีกลางหันมาใช้ระบบ DRG สำหรับ ผู้ป่วยในของระบบสวัสดิการข้าราชการบ้าง ทำให้โรงพยาบาลที่เคยได้รับเงินจากสวัสดิการข้าราชการได้รับเงินน้อยลง จนไม่มีเงินมาช่วยกลบหนี้จากระบบบัตรทอง ทำให้ตัวเลขการเงินของโรงพยาบาลได้แสดงสถานะทางการเงินอันแท้จริงที่ขาดทุน จากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

   นอกจากนั้น ประชาชนที่ได้รับสิทธิบัตรทอง ก็มีความไม่พอใจกับผลการรักษา มีการร้องเรียนขอเงินชดเชยตามมาตรา 41 มากขึ้น และไม่พอใจที่ได้รับเงินช่อยเหลือสูงสุดเพียง 200,000 บาท ซึ่งประชาชนบอกว่าจำนวนเงินแค่นี้ ไม่พอใช้จ่ายสำหรับผู้พิการ ทุพลภาพ แต่แทนที่สปสช.จะเพิ่มเงินช่วยเหลือตามมาตรา 41 ให้มากขึ้นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน(และเงินตามมาตรา 41 ก็ยังมีเหลืออยู่มากมาย)   แต่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกลับไม่สนใจความเดือดร้อนของประชาชน ในการจะเพิ่มอัตราการจ่ายเงินช่วยเหลือประชนเพิ่มขึ้น

 และนายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์ รมว.สธ.ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ยังออกมาปฏิเสธในการจะแก้พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อที่จะขยายความช่วยเหลือประชาชนตามมาตรา 41 ไปช่วยเหลือประชาชนกลุ่มอื่นด้วย

   แต่คนเหล่านี้ ต่างก็มาช่วยกันผลักดันร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข เพื่อตั้งกองทุนมาบริหารเองอีก เรียกว่า พยายามหากองทุนใหม่ๆมาบริหารจัดการ เพื่อจะได้ผลประโยชน์จากกองทุนนั้นๆ เริ่มจากสวรส. สสส. สปสช. สช. สพคส.

 ซึ่งสพคส.นี้เอง พยายามที่จะรวมกองทุนทั้ง 3 ระบบนี้ มาให้กลุ่มพวกตนบริหารกองทุน ตอนนี้ก็พยายามจะดึงกองทุนประกันสังคม มาให้สปสช.บริหาร

  แต่สปสช.บริหารกองทุนจนทำให้โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข(ที่ต้องทำ งานจากงบประมาณส่วนใหญ่จากงบค่ารักษาพยาบาลรายหัวที่ส่งผ่านมายังสปสช.)ขาด ทุนแทบล้มละลายแล้ว ระเบียบที่สปสช.ออกมาในการเบิกเงินค่ารักษาประชาชนที่โรงพยาบาลใช้จ่ายไป แล้วนั้น ทำให้โรงพยาบาลไม่สามารถรักษาประชาชนตามมาตรฐานที่ดีที่สุดได้ จนทำให้ ประชาชนฟ้องร้องขอเงินชดเชยมากขึ้น ประชาชนมาใช้บริการมากขึ้น จนเป็นผลให้บุคลากรลาออกมากขึ้น เนื่องจากมีภาระงานมากเกินไป จนเกิดการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล ทุกประเภท

   จึงมีคำถามสำคัญถึงประชาชนเจ้าของประเทศว่า สมควรจะให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสปสช.เป็นผู้บริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพอยู่หรือไม่ หรือไปบริหารกองทุนประกันสังคม และกองทุนสวัสดิการข้าราชการอีกหรือไม่?

หรือ

   ถึงเวลาต้องตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสปสช.ว่าทำงานล้มเหลวได้อย่างไร? ในขณะที่ของงบประมาณเพิ่มขึ้นทุกปี แต่โรงพยาบาลขาดเงินในการทำงาน สมควรแก้ไขระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือยัง?

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสผพท.
8 เมษายน 2554

เอกสารอ้างอิง

1.      http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000035971คพคส.ตั้ง อนุ กก.“ประกันสังคม-รักษาฟรี-ข้าราชการ” ลดเหลื่อมล้ำ

2.      รายงานสถานะการเงินหน่วยบริการ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข  ISBN 978-616-11-04398-9 กลุ่มประกันสุขภาพ แผนพัฒนาการคลังและเศรษฐกิจสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข