ผู้เขียน หัวข้อ: มีผลแล้ว“ระเบียบบังคับทางปกครอง สธ.”วิธียึด อายัดทรัพย์หมอ-พยาบาล-คนวิชาชีพสาสุข  (อ่าน 736 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
ถึงคิวกระทรวงคุณหมอมีผลแล้ว “ระเบียบบังคับทางปกครองฯ วิธีการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน” บรรดาแพทย์-พยาบาล-วิชาชีพสาธารณสุข มอบอำนาจ “ปลัดกระทรวงสาธารณสุข” ในฐานะเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจสั่งยึด อายัด และขายทอดตลาด ตามระเบียบ

วันนี้ (17 ธ.ค.) มีรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ระเบียบสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการใช้มาตรการบังคับทางปกครองสําหรับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2558 ลงนาม ประกาศโดยนายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประกาศ ณ วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 โดยมีผลทันทีตั้งแต่มีประกาศราชกิจจานุเบกษาฉบับนี้

โดยประกาศดังกล่าว มีทั้งหมด 7 หมวด สืบเนื่องจาก ที่พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 12 กําหนดให้หน่วยงานของรัฐมีอํานาจออกคําสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนกรณีหน่วยงานของรัฐได้ใช้เงินให้แก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ หรือกรณีเจ้าหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากเจ้าหน้าที่ได้กระทําละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่ได้กระทําการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง แต่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นเพิกเฉยไม่ชําระเงินค่าสินไหมทดแทนให้ถูกต้องครบถ้วนภายในเวลาที่กําหนด หน่วยงานของรัฐอาจใช้มาตรการบังคับทางปกครอง โดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ผู้นั้น และขายทอดตลาดเพื่อชําระเงินให้ครบถ้วนได้ตามบทบัญญัติ มาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

ทั้งนี้ วิธีการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินจักต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม แต่พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวไม่ได้กําหนดกฎกระทรวงเกี่ยวกับรายละเอียดวิธีปฏิบัติ ว่าจะต้องดําเนินการอย่างไรบ้างและกระทรวงการคลังก็มิได้กําหนดระเบียบกลางที่กําหนดขั้นตอน วิธีปฏิบัติ ในการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินให้ส่วนราชการถือปฏิบัติให้เป็นแนวทางเดียวกันไว้ด้วย อันทําให้การใช้มาตรการบังคับทางปกครองไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และเพื่อให้การใช้มาตรการบังคับทางปกครอง โดยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของหน่วยงานในสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นไปด้วยความเรียบร้อยมีประสิทธิภาพ และมีการบังคับให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของคําสั่งเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนข้างต้น จึงเห็นควรกําหนดระเบียบวิธีปฏิบัติในเรื่องดังกล่าว
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ. 2539 ประกอบกับมาตรา 56 และมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ปลัดกระทรวงสาธารณสุขในฐานะเจ้าหน้าที่ผู้มีอํานาจสั่งยึด อายัด และขายทอดตลาด จึงกําหนดระเบียบไว้

มีรายงานว่า ในส่วนสาระของหมวด 2 การสืบ ยึด อายัดทรัพย์สิน ส่วนที่ 1 ว่าด้วย คณะกรรมการสืบ ยึด อายัดทรัพย์สิน ให้มีคณะกรรมการสืบ ยึด อายัดทรัพย์สิน ซึ่งแต่งตั้งโดยปลัดกระทรวง ประกอบด้วย 1. ในราชการบริหารส่วนกลาง ให้ผู้อํานวยการกลุ่มกฎหมายเป็นประธานกรรมการหัวหน้ากลุ่มงานกฎหมายและคดี นิติกรกลุ่มเสริมสร้างวินัยและระบบคุณธรรม ผู้แทนจากหน่วยงานที่เจ้าหน้าที่ผู้ต้องชดใช้เงินสังกัดหรือเคยสังกัดอยู่ เป็นกรรมการ และนิติกรกลุ่มกฎหมายผู้เป็นเจ้าของสํานวนเป็นกรรมการและเลขานุการ

2. ในราชการบริหารส่วนกลางที่สํานักงานตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนภูมิภาคให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดหรือผู้ที่นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดมอบหมายเป็นประธานกรรมการหัวหน้ากลุ่มงานนิติการหรือหัวหน้ากลุ่มงานบริหารทั่วไปของสํานักงานสาธารณสุขจังหวัด ผู้แทนจากหน่วยงานที่เจ้าหน้าที่ผู้ต้องชดใช้เงินสังกัดหรือเคยสังกัดอยู่ เจ้าหน้าที่ของสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดเป็นกรรมการ และนิติกรหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่นิติกรผู้เป็นเจ้าของสํานวนเป็นกรรมการและเลขานุการหากประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถมาปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการ

ส่วนที่ 2 การสืบหาทรัพย์สิน สามารถประสานงานกับสํานักงานที่ดินเพื่อตรวจสอบหลักทรัพย์ประเภทอสังหาริมทรัพย์ที่ปรากฏชื่อของเจ้าหน้าที่ผู้ต้องชดใช้เงิน คู่สมรส และบุตรผู้เยาว์ของเจ้าหน้าที่ผู้ต้องชดใช้เงินและบุคคลภายนอกที่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมหรือเจ้าหน้าที่ผู้ต้องชดใช้เงินมีสิทธิเรียกร้อง ซึ่งอาจยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดเพื่อชําระหนี้ได้ โดยให้ตรวจสอบตามภูมิลําเนาเดิมที่เคยอยู่อาศัย สถานที่ที่เคยย้ายไปดํารงตําแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ ตลอดจนตามภูมิลําเนาปัจจุบัน

สามารถตรวจสอบทรัพย์สินประเภทสังหาริมทรัพย์ของเจ้าหน้าที่ผู้ต้องชดใช้เงิน เช่น รถยนต์ จักรยานยนต์ เรือ เครื่องจักร หุ้น เงินปันผล หรือหลักประกันการขอใช้ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์ โดยประสานงานกับส่วนราชการหรือหน่วยงานที่จัดทําทะเบียนหรือมีบัญชีควบคุมสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว

สืบหาทรัพย์สินอื่นนอกจาก (๑) และ (๒) ของเจ้าหน้าที่ผู้ต้องชดใช้เงินในสํานักงานบ้าน และที่อยู่อาศัยของเจ้าหน้าที่ผู้ต้องชดใช้เงิน หรือจากคู่สมรสและบุตรผู้เยาว์หรือบุคคลภายนอกซึ่งอาจมีทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ผู้ต้องชดใชเง้ ินไว้ในความครอบครอง

สามารถขอความร่วมมือจากธนาคารหรือสถาบันการเงินเพื่อตรวจสอบหลักทรัพย์ หรือบัญชีเงินฝากในธนาคารหรือสถาบันการเงินนั้นๆ สามารถขอความร่วมมือจากสถานธนานุเคราะห์หรือสถานธนานุบาล เพื่อตรวจสอบทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ผู้ต้องชดใช้เงินที่ได้นํามาจํานําไว้ ดําเนินการอื่นใดเพื่อสืบหาหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ผู้ต้องชดใช้เงินให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิผล

ทั้งนี้ การดําเนินการสืบหาหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินตามวรรคสอง ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการสืบ ยึด อายัดทรัพย์สิน


โดย: MGR Online    17 ธ.ค. 2558