ผู้เขียน หัวข้อ: มหันตภัยภูเขาไฟใกล้บ้าน(สารคดี-เนชั่นแนลจีโอกราฟฟิก)  (อ่าน 2095 ครั้ง)

pani

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 756
    • ดูรายละเอียด
นีอีรากองโกเป็น ภูเขาไฟสูงเสียดฟ้ากว่าสามกิโลเมตร ตั้งตระหง่านเหนือชายขอบด้านตะวันออกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และเป็นหนึ่งในภูเขาไฟมีพลังที่คุกรุ่นมากที่สุดลูกหนึ่งของโลก ทั้งยังมีผู้ศึกษาน้อยที่สุดลูกหนึ่งอีกด้วย สาเหตุหลักที่ไม่ค่อยมีการวิจัยเกี่ยวกับภูเขาไฟลูกนี้คือ ตลอดช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ภาคตะวันออกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกตกอยู่ในภาวะสงครามอยู่เนืองๆ รวมทั้งได้รับผลกระทบจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างรวันดา และจนถึงปัจจุบัน กองกำลังของสหประชาชาติยังคงปฏิบัติภารกิจในการรักษาสันติภาพอันเปราะบางของ ภูมิภาคแถบนี้เอาไว้

ณ ตีนภูเขาไฟนีอีรากองโกคือที่ตั้งของเมืองโกมาที่กำลังโตวันโตคืน เนื่องจากชาวบ้านในเขตชนบทพากันอพยพหนี  ภัย สงครามจากกองกำลังฝ่ายกบฏและทหารรัฐบาลเข้ามาในเมือง คาดกันว่าปัจจุบันมีประชากรราวหนึ่งล้านคนแออัดกันอยู่ที่นี่ ในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา การปะทุของนีอีรากองโกพ่นหินหลอมเหลวลงสู่ตัวเมืองถึงสองครั้งสองครา เมื่อปี 1977 ลาวาไหลบ่าจากภูเขาด้วยความเร็วกว่า 95 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  ผู้ คนหลายร้อยคนต้องสังเวยชีวิต แม้ว่าธารลาวาจะแข็งตัวก่อนมาถึงตัวเมืองก็ตาม ต่อมาในปี 2002 ภูเขาไฟก็พ่นลาวากว่า 11 ล้านลูกบาศก์เมตรลงมายังเมืองโกมา ทำลายบ้านเรือนไป 14,000 หลัง ชาวเมือง 350,000 คนต้องอพยพหนี ทว่าการปะทุทั้งสองครั้งนี้ยังถือว่าเบาะๆ เมื่อเทียบกับฤทธานุภาพที่นีอีรากองโกสามารถปลดปล่อยหรือสำแดงออกมาได้เต็ม ที่

ภารกิจ ส่วนหนึ่งของดารีโอ เตเดสโก นักภูเขาวิทยาไฟชาวอิตาลี คือการคาดการณ์ความเป็นไปได้ของเหตุการณ์นั้น เขาใช้เวลาส่วนใหญ่ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมาพยายามกระตุ้นให้ประชาคมวิทยาศาสตร์หันมาสนใจภูเขาไฟลูกนี้ เตเดสโกเชื่อว่านีอีรากองโกจะปะทุขึ้นอีกครั้งอย่างแน่นอน และอาจเปลี่ยนโฉมหน้าเมืองโกมาให้กลายเป็นปอมเปอียุคใหม่

 “โกมาเป็นเมืองที่อันตรายที่สุดในโลกครับ” เขาบอก

เมื่อ เดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว เตเดสโกมุ่งหน้าไปยังนีอีรากองโกพร้อมกับเคน ซิมส์ นักภูเขาไฟวิทยาชาวอเมริกัน โดยมีทีมนักวิทยาศาสตร์หนุ่มสาวและลูกทีมฝ่ายสนับสนุนซึ่งรวมถึงผู้รักษา ความปลอดภัยอีกหกคนร่วมทางไปด้วย พวกเขาต้องการตรวจวิเคราะห์ภูเขาไฟโดยละเอียด ศึกษาหินและเก็บตัวอย่างก๊าซ เพื่อถอดรหัสลักษณะและพฤติกรรมของภูเขาไฟ โดยหวังจะเปลี่ยนคำถามที่ว่าภูเขาไฟลูกนี้จะปะทุขึ้นอีกครั้งเมื่อไรให้กลาย เป็นจุดเริ่มของคำตอบในที่สุด

การเดินขึ้นไปถึงขอบยอดยอดภูเขาไฟอีรากองโกไม่มีอะไรซับซ้อน ซิมส์และเตเดสโกก็แค่เดินตามทางลาวาขึ้นไป การปะทุครั้งหลังๆไม่ได้เป็นไปตามรูปแบบดั้งเดิมคือ การพ่นลาวาออกมาจากปากปล่อง แต่เป็นการปะทุตามรอยแยก (fissure eruption) เหมือน ท่อประปาแตก เมื่อปี 2002 การปะทุเกิดขึ้นราวร้อยเมตรใต้ยอดภูเขาไฟที่สูง 3,470 เมตร นีอีรากองโกมีทางลาวาที่สลับซับซ้อนและแตกแขนงแผ่กว้างราวกับรากไม้ เมื่อการปะทุตามรอยแยกครั้งแรกเกิดขึ้น แรงดันจึงระเบิดปล่องภูเขาไฟทั้งระบบให้แตกออก หินหลอมเหลวพวยพุ่งขึ้น รวมทั้งจากใต้ใจกลางเมืองโกมาเอง ความเสี่ยงต่อมหันตภัยดังกล่าวจึงไม่ได้มาจากจุดที่อยู่ใกล้เมืองโกมาเท่า นั้น แต่อยู่ข้างใต้เมืองนั่นเอง

หลัง จากปีนเขามาทั้งวัน ซิมส์และเตเดสโกก็ไปถึงขอบของยอดเขาที่ไร้ต้นไม้ใบหญ้าและมีลมกระโชกแรง ลูกหาบแถวยาวเป็นหางว่าวช่วยกันลำเลียงสัมภาระที่ใช้ในการตั้งแคมป์ อุปกรณ์ปีนเขา เครื่องมือวิทยาศาสตร์ เสบียงอาหาร และน้ำ จากจุดนี้นักวิทยาศาสตร์มองลงไปยังปากปล่องภูเขาไฟ ผนังหินสูงชันที่พร้อมจะพังลงมาได้ทุกเมื่อ    มีแนวหินเป็นวงล้อมรอบทิ้งตัวลงราว   500   เมตรสู่พื้นเรียบกว้างและดำมะเมื่อมด้วยลาวาที่แข็งตัว  ตรงใจกลางเป็นภาพชวนตื่นตะลึงของกองลาวารูปกรวย (spatter cone) หน้าตาคล้ายชามขนาดยักษ์ ซึ่งก็คือทะเลสาบลาวานั่นเอง

ทะเลสาบ ลาวากว้าง 200 เมตรแห่งนี้จัดว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก สีสันหลากหลายบนพื้นผิวแลดูตระการตา แผ่นหินเหลวสีดำมีรอยแตกรูปฟันเลื่อยสีส้มสด ทั้งผูดพลุ่งเคลื่อนตัวอย่างรุนแรง ทะเลสาบส่งเสียงดังกระหึ่มราวกับเสียงคำรามของเครื่องบินไอพ่นที่กำลังทะยาน ขึ้นฟ้า พร้อมกับพ่นก๊าซพิษสีขาวนับสิบชนิดออกมา

แม้ จะยืนอยู่ไกลออกมาตรงริมปล่อง นักวิทยาศาสตร์ยังรู้สึกได้ถึงความร้อนระอุ ทุกนาทีที่ผ่านไปลาวาร้อน 980 องศาเซลเซียสจะระเบิดพุ่งขึ้นจากทะเลสาบเป็นกีเซอร์สีส้มจัดหลายต่อหลาย ครั้ง บ้างสูง 10 เมตร บ้าง 20 เมตรจนถึง 30 เมตร ซุ้มหินหลอมหลอมละลายที่พุ่งขึ้นหายวับไปในพริบตา สีสันเปลี่ยนจากส้มเป็นดำกลางอากาศขณะเย็นตัวลง ทะเลสาบดูราวกับหายใจได้ มันขยายและหดตัว พุ่งทะยานและดิ่งลง ระดับพื้นผิวของมันแปรเปลี่ยนมากกว่าหนึ่งเมตรภายในช่วงเวลไม่กี่นาที ภาพที่เห็นชวนให้ตื่นตะลึงและพรั่นพรึงในเวลาเดียวกัน

ซิมส์อึ้งไปพักใหญ่ “ตรงนั้นไง” เขาพูดพลางชี้ไปที่ทะเลสาบ “เป็นที่ที่ผมอยากไปเก็บตัวอย่างให้ได้จริงๆ”

ซิมส์ นำทีมงานหย่อนตัวลงสู่ปล่องภูเขาไฟ โดยตรึงเชือกไว้และค่อยๆไต่ลงไปตามผนังปล่องเหมือนแมงมุม นีอีรากองโกตั้งอยู่ในเกรตริฟต์แวลลีย์ที่ซึ่งแผ่นเปลือกโลกทวีปแอฟริกา เลื่อนออกจากกัน และแผ่นดินไหวครั้งย่อยๆก็ทำให้ภูเขาไฟสั่นไหวอยู่เนืองๆ ก้อนกรวดร่วงกรูลงมาตามผนัง หินก้อนมหึมาขนาดพอๆกับตึกแถวสั่นคลอนราวกับฟันที่พร้อมจะหลุดออกจากราก ภูผาดูราวกับจะถล่มลงได้ทุกเมื่อ

ทีม งานตั้งแคมป์บนเชิงผากว้าง 250 เมตรใต้ขอบภูเขาไฟ ห่างจากทะเลสาบลาวาที่ส่งเสียงกัมปนาทขึ้นมาราว 100 เมตร เชิงผาปกคลุมไปด้วยเถ้าธุลีภูเขาไฟหนาหนักเรียกว่า ทีฟรา มีเศษแก้วภูเขาไฟ และลาวาเส้นเล็กละเอียด แทรกปะปนอยู่ประปราย ทุกวันทะเลสาบลาวาจะปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของฝน กรดออกมาราว 6,300 ตัน มากเสียยิ่งกว่าที่ปล่อยออกมาจากรถยนต์และโรงงานในสหรัฐฯรวมกันเสียอีก “จะว่าไปมันก็เหมือนกับปล่องไฟยักษ์ดีๆนี่เอง” เตเดสโกบอก สภาพแวดล้อมที่นี่เป็นพิษต่อผู้คน อากาศเต็มไปด้วยกรดและอนุภาคละอองลอยของโลหะ ฝนส่งเสียงฉู่ฉี่ขณะโปรยปรายลงสู่พุก๊าซ ทีมงานต้องสวมหน้ากากป้องกันก๊าซพิษ

ซิมส์ เชื่อว่า การป้องกันมหันตภัยนี้ ต้องอาศัยความเข้าใจเกี่ยวกับนีอีรากองโกอย่างลึกซึ้งกว่าเก่า เริ่มด้วยแหล่งข้อมูลสำคัญที่เรียกกันว่าตัวอย่างใหม่หรือลาวาที่นำขึ้นมา จากทะเลสาบสดๆ ร้อนๆ ถือเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่จะช่วยไขปริศนาเกี่ยวกับภูเขาไฟลูกนี้ได้ เพราะช่วยให้เราสามารถระบุอายุของหินทุกๆก้อนได้อย่างถูกต้อง ซิมส์ต้องการตัวอย่างลาวาที่ว่า แต่เขารู้ดีว่าการจะได้มานั้นอันตรายอย่างยิ่ง และเขาไม่มีวันยอมให้ลูกศิษย์ต้องเอาชีวิตไปเสี่ยงเพื่อเก็บตัวอย่างให้แน่ๆ

ด้วยเหตุนี้  ซิมส์ จึงไต่ลงสู่ใจกลางภูเขาไฟ ขณะยืนอยู่บนพื้นปล่องภูเขาไฟ เขามองไม่เห็นทะเลสาบลาวาที่อยู่สูงขึ้นไปและซ่อนตัวอยู่ในกรวยลาวาที่เย็น ตัวลง เขาจัดแจงสวมชุดกันความร้อนสีเงินที่ทั้งหนาและหนักจนไม่สามารถก้มตัวลงผูก เชือกรองเท้าได้  ขณะที่ซิมส์เดินเข้าไปใกล้กองลาวารูปกรวย  ลาวาใต้เท้าแตกร้าวเหมือนเปลือกไข่โดยมีขอบสูงเกือบ 10 เมตร กำแพงสูงชันเกือบตั้งตรงซึ่งต้องใช้ทักษะในการปีนเขาเพื่อไต่ขึ้นไป  เขาเริ่มไต่ ยืดเหยียดเพื่อหาที่ยึดจับและวางเท้า เนื้อตัวที่อยู่ภายในชุดกันความร้อนชุ่มโชกไปด้วยเหงื่อ  เมื่อไต่ไปถึงระยะสามเมตรก่อนถึงยอด  ทัน ใดนั้นเขาก็ลื่นไถลและได้กลิ่นยางไหม้ เมื่อมองลงไป เขาเห็นรองเท้าหลอมละลายอยู่เบื้องล่าง แต่ซิมส์ยังตั้งหน้าไต่ขึ้นต่อไป เขาชะเง้อมองขึ้นไปด้านบนและเห็นลาวาเดือดปุดๆอยู่ตรงหน้า นี่เป็นประสบการณ์ที่อยู่นอกเหนือวิทยาศาสตร์เสียแล้ว เป็นเรื่องของความรู้สึกส่วนตัว เป็นจุดสูงสุดในชีวิตการสำรวจและการผจญภัย  เสียง ของเขาที่เอ่ยผ่านวิทยุท่วมท้นไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกจนไม่อาจปิดบัง “มหัศจรรย์แท้ๆ เหลือเชื่อจริงๆทั้งชีวิตผมคงจะไม่ได้เห็นอะไรอย่างนี้อีกแล้ว” ไม่กี่วินาทีต่อมา  เขาก็ถอยออกมาพร้อมกับตัวอย่างลาวาสดใหม่  มันส่องประกายวาววับเป็นสีดำเหลือบ และร้อนเสียจนกระทั่งเขาต้องโยนมันสลับไปมาระหว่างมือทั้งสองข้างทั้งๆที่สวมถุงมือกันความร้อนอยู่

 เขา ได้ตัวอย่างใหม่มาแล้ว แม้จะต้องฝ่าฟันแดนสมรภูมิ ขึ้นเขา ลงปล่องภูเขาไฟ เพื่อไปให้ถึงขอบทะเลสาบลาวา แต่เขาก็ได้มันมาครอบครองในที่สุด

และแล้ว เวลาของวิทยาศาสตร์จะได้เริ่มต้นขึ้นเสียที

 เมษายน 2554