ผู้เขียน หัวข้อ: จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี เรื่อง ข้าราชการไม่ได้ถลุงงบค่ารักษา‏  (อ่าน 2447 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด

24 มีนาคม 2553

เรื่อง ข้าราชการไม่ได้ถลุงงบค่ารักษา

เรียน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี

สิ่งที่ส่งมาด้วย  สรุปการอภิปรายเรื่อง

“มาตรฐานการกำหนดค่าใช้จ่ายและสิทธิประโยชน์ในสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลการของข้าราชการ”วันที่ 30 พฤศจิกายน 2552 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ หอประชุมสุขุมนัยประดิษฐ  สำนักงาน ก.พ.  จังหวัดนนทบุรี

          ตามที่มีข่าวว่า คณะรัฐมนตรีกำลังพิจารณาเรื่องงบประมาณค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการว่ามี ปัญหาค่าใช้จ่ายสูงกว่างบประมาณค่าใช้จ่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อย่างมาก และรัฐบาลกำลังพยายามที่จะควบคุมค่าใช้จ่ายในด้านสวัสดิการค่ารักษาข้าราชการที่เพิ่มเป็น 60.000 ล้านบาทในระยะเวลาไม่กี่ปีมานี้ และค่ารักษามีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รัฐบาลจึงพยายามที่จะตัดสิทธิประโยชน์ในด้านสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการลงไป  แต่ก็มีกระแสความไม่พอใจของกลุ่มข้าราชการที่ได้ยอมรับราชการที่มีเงินเดือนน้อย แต่ได้รับการรับรองว่าจะได้รับสิทธิการรักษาพยาบาล โดยสมาคมข้าราการพลเรือนอาวุโสได้จัดการสัมมนาขึ้น เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2552 และได้มีรายงานสรุปออกมาแล้วว่า สาเหตุที่งบประมาณค่ารักษาพยาบาลของข้าราการเพิ่มขึ้นมากเพราะเหตุใด

   ต้นเหตุแห่งปัญหาคือ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ต้องเพิ่มงบประมาณในอัตรามากกว่างบประมาณค่ารักษาของข้าราชการ จากข้อมูลของสำนักงบประมาณ พบว่า งบประมาณทางการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศเพิ่มจาก 61,508.20 ล้านบาทในปีพ.ศ. 2541 เป็น 178,042.10 ล้านบาทในปีพ.ศ. 2553 เพิ่มขึ้น 2.89 เท่า ในขณะที่วงเงินงบประมาณทั้งสิ้นของประเทศเพิ่มขึ้นเพียง 2.13 เท่า

 โดยจำนวนเงินงบประมาณทาง การแพทย์และสาธารณสุขเริ่มสูงขึ้นมากในปีพ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นปีแรกของการดำเนินการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แล้วเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราการเพิ่มขึ้นของงบประมาณด้านการแพทย์และสาธารณสุขก่อนพ.ศ. 2545 จะเพิ่มขึ้นประมาณ 1.9% ต่อปี ส่วนภายหลังมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะมีอัตราเพิ่ม 12.46% ต่อปี ในขณะที่งบประมาณทั้งประเทศเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ 4.37% และ 7.63% ต่อปีในช่วงก่อนและหลังมีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตามลำดับ

   ในขณะที่อัตราส่วนงบประมาณด้านสาธารณสุขต่อวงเงินงบประมาณทั้งประเทศ ก่อนมีระบบหลักประกันสุขภาพโดยเฉลี่ยประมาณ 7.38% ส่วนภายหลังมีระบบหลักประกันฯโดยเฉลี่ยประมาณ 8.29% โดยเฉพาะในช่วงปี2550-2553 มีอัตราตั้งแต่ 8.7-10.5%

   งบประมาณด้านการแพทย์และสาธารณสุขมีโครงสร้างเปลี่ยนแปลงไปภายหลังมีระบบหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติแล้ว ดังนี้

   1. งบประมาณที่ต้อง ใช้ในส่วนราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีอัตราส่วนลดลงจากเดิม ก่อนระบบหลักประกันฯ งบประมาณกระทรวงสาธารณสุขมีอัตราส่วนถึง 90.2-97.4% ของงบประมาณด้านสาธารณสุข ในช่วงแรกของระบบหลักประกันฯ  งบ ประมาณของกระทรวงสธ.เป็น 50.5-57.0%ของงบประมาฯด้านสาธารณสุขทั้งหมด และเหลือเพียง 40.2-42.5% ในช่วงปี 2550-2553

2.งบประมาณที่ต้องใช้ในกองทุนหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ มีอัตราส่วนเพิ่มขึ้นจาก 30.4% ของงบประมาณด้านสาธารณสุขในปี 2545 เพิ่มเป็น 50.2% ในปี 2553

รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ(นส.ชุมศรี พจนปรีชา)ได้กล่าวในการสัมมนาของแพทยสภา เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2553ว่า  งบประมาณด้านการ แพทย์และสาธารณสุขมีแนวโน้มที่จะเป็นภาระงบประมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุสำคัญดังนี้

 1.คนไทยมีปัญหาด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นจาก ทั้งนี้สาเหตุดังนี้

1.1 ปัญหาพฤติกรรมที่ไม่ส่งเสริมสุขภาพ เช่น ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ใช้สารเสพติด  ไม่ออกกำลังกาย อ้วนจากพฤติกรรมการบริโภค

1.2 อุบัติเหตุ

1.3 โรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ

1.4 โรคภัยจากสิ่งแวดล้อมและมลภาวะเป็นพิษ

1.5 การเคลื่อนเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

2.ประชาชนคาดหวังถึงบริการด้านสุขภาพที่ดีขึ้นและ ครอบคลุมมากขึ้น

3.วิทยาการทางการแพทย์ที่เจริญก้าวหน้า ทำให้มีเทคโนโลยีและเวชภัณฑ์ใหม่มากขึ้น มีราคาแพง

4.รัฐบาลเป็นผู้แบกรับการจ่ายเงินเพียงฝ่ายเดียว ทำให้ประชาชนมาใช้บริการมากขึ้น โดยไม่สร้างสุขภาพ

 ซึ่งรองผู้อำนวยการสำนัก งบประมาณบอกว่า หากงบประมาณด้านการแพทย์และสาธารณสุขโดยเฉพาะงบประมาณในระบบหลักประกัน สุขภาพฯเพิ่มขึ้นในอัตราสูงกว่าอัตราการเพิ่มงบประมาณของประเทศอย่างต่อเนื่อง ก็จะส่งผลกระทบต่องบประมาณในการพัฒนาประเทศด้านอื่น ซึ่งจะส่งผลถึงความยั่งยืนของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในอนาคต

   โดยงบประมาณของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในปีพ.ศ. 2545 คือ 27,318.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 89,384.8ล้านบาทในปีพ.ศ. 2553 คิดเป็นอัตราเพิ่มถึง 224%

 ทั้งๆที่งบประมาณของสปสช .เพิ่มขึ้นมากถึงขนาดนี้ แต่กระทรวงสาธารณสุขโดยนพ.สมชัย นิจพาณิชได้รายงานในการสัมมนาเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2553 ว่าโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขนั้นขาดสภาพคล่องทางการเงินถึง 505 โรงพยาบาลจากจำนวนทั้งหมด 807 โรงพยาบาล  คิดเป็นอัตราส่วนโรงพยาบาลที่ขาดทุนถึง 62.6% จำนวนเงินที่เป็นหนี้ถึง 1,531,148,390.16 ล้านบาท โดยโรงพยาบาลที่ขาดทุนและขาดสภาพคล่องทางการเงินอยู่ 175 โรงพยาบาล ประกอบด้วยโรงพยาบาลชายแดน 7 โรงพยาบาล  และเป็นโรงพยาบาลที่ไม่อยู่ชายแดนอีก 168 โรงพยาบาล

และโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขได้ปรับเพิ่มอัตราค่าบริการทางการแพทย์รวมทั้งค่ายาและเวชภัณฑ์สูงขึ้นกว่าเดิมประมาณ 30-150% ของอัตราราคาเดิมก่อนจะมีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อ “เพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้แก่โรงพยาบาล” ตามระเบียบขอกระทรวงสาธารณสุขพ.ศ. 2547 เพื่อที่จะให้โรงพยาบาลมีเงินสดหมุนวียนในการซื้อยาและเวชภัณฑ์ต่างๆมากขึ้น

 โรงพยาบาลสามารถเรียกเก็บเงินค่าบริการทางการแพทย์ที่คิดตามอัตราใหม่นี้ ได้จากกองทุนสวัสดิการข้าราชการเท่านั้น เพราะเป็นกองทุนปลายเปิด จ่ายเงินให้โรงพยาบาลลตามอัตราใหม่ได้จริง

 แต่กองทุนหลักประกันสุขภาพฯ เป็นกองทุนปลายปิด ไม่ยอมจ่ายเงินตามอัตราค่าใช้จ่ายจริงของโรงพยาบาล แต่ตั้งกฎเกณฑ์การจ่ายเงินของตนเอง ที่จะจ่ายให้โรงพยาบาลตามที่สปสช.กำหนดกฎเกณฑ์ และไม่อยู่ใต้บังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการสธ.หรือคณะรัฐมนตรี

เห็นได้ชัดจากมติครม.ในการประชุมเมื่อวันที่ 23 มีค. ที่ครม.ไม่สามารถนำเงินจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มาใช้ในการรักษาผู้ป่วยตามแนวชายแดน ที่เป็นคนไทยแต่ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนได้ เพราะผิดต่อพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 ทั้งๆที่ยังมีเงินในกองทุนหลักประกันสุขภาพฯเหลืออยู่หลายหมื่นล้านบาท

 แต่ครม.หรือรมว.สธ.ไม่สามารถนำเงินในกองทุนหลักประกันมาใช้ได้ ต้องไปตั้งงบประมาณมาใหม่เกือบ 500 ล้านบาท เพื่อมอบให้โรงพยาบาลชายแดนไปรักษาผู้ป่วยเหล่านี้

  นี่คือสิ่งที่นักกฎหมาย มหาชนนายสุกฤษฎิ์ กิติศรีวรพันธุ์ ไำด้กล่าวไว้ในการสัมมนาของแพทยสภาเมื่อวันที่ 12 มีค.ว่า สปสช.คือเนื้องอกของกระทรวงสธ. ที่ไม่อยู่ใต้อำนาจการบังคับบัญชาของรมว.สธ.หรือรัฐบาลที่บริหารประเทศ แต่ทำงานตามมติของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเท่านั้น และรัฐมนตรีว่าการสธ.จะเป็นประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แต่ก็มีเพียง 1 เสียง เท่ากับคณะกรรมการคนอื่นๆ

 จึงไม่น่าแปลกใจที่รองเลขาธิการสปสช.นพ.ประทีป ธนกิจเจริญจะได้กล่าวสรุปในการสัมมนาเดียวกันนี้ว่ารัฐบาลให้งบประมาณ กระทรวงสาธารณสุขให้บริการ โดยพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติกำหนดนโยบาย พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติบริหารระบบ พ.ร.บ.แผนและขั้นตอนกระจายอำนาจจะเป็นผู้ให้บริการสุขภาพ

 ฉะนั้นจึงอยากจะเรียนท่าน นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐบาลว่า ผู้ที่ถลุงงบประมาณด้านการแพทย์และสาธารณสุขตามกฎหมายคือ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2550 และพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่ง
ชาติพ.ศ. 2545

 ส่วนพ.ร.บ.แผนและขั้นตอน การกระจายอำนาจ คือแผนการ “ยุบ” กระทรวงสาธารณสุข แต่หลังจากนี้แล้วประชาชนจะมีสุขภาพดีจริงหรือไม่ ? ประชาชนได้รับความปลอดภัยจากการไปรับบริการสาธารณสุขหรือไม่ ?งบประมาณของประเทศจะถูกนำไปใช้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสมหรือไม่ ? ผู้บริหารประเทศคือรัฐบาลจะมีอำนาจควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณด้านการแพทย์และ สาธารณสุขหรือไม่ ? ถ้ายังคงไว้ซึ่งพ.ร.บ.เหล่านี้

  เป็นคำถามที่รัฐบาลจะต้องนำไปพิจารณาอย่างเร่งด่วนที่สุด

ขอแสดงความนับถือ

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา

กลุ่ม “พิทักษ์สิทธิพลเมือง”   Citizen Rights Watch (CRW)