ผู้เขียน หัวข้อ: ตัวอย่างคดีฟ้องแพทย์#2(Encephalitis)  (อ่าน 6724 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
ตัวอย่างคดีฟ้องแพทย์#2(Encephalitis)
« เมื่อ: 23 มีนาคม 2010, 21:46:04 »
คำพิพากษา-ศาลแพ่งจังหวัดตาก(3ธค2552)

ตัดสินให้จำเลยที่1กระทรวงสาธารณสุขจ่าย 2.4 ล้านบาท
เรื่องของผู้ป่วยเด็กเป็น  Herpes Encephalitis แพทย์ไม่ให้ยา Acyclovir ตั้งแต่เริ่มสงสัยว่าเป็น ถึงแม้จะช่วยชัวิตได้ แต่ขณะนี้เด็กเป็นคนพิการ นอนอย่างเดียวไม่สามารถพัฒนาได้

บางส่วนของคำพิพากษา

รองศาสตราจารย์นายแพทย์...เคยรู้จักจำเลยที่ 2 มาก่อน เนื่องจากจำเลยที่ 2 เป็นลูกศิษย์ และรับราชการสังกัดจำเลยที่1 ส่วนแพทย์หญิง...นายแพทย์... และแพทย์หญิง...ก็เคยเป็นผู้ร่วมงานกับจำเลยที่2มาก่อน และเป็นข้าราชการในสังกัดของจำเลยที่1 จึงน่าเชื่อว่าพยานดังกล่าวจะเบิกความเพื่อช่วยเหลือจำเลยทั้งสอง พยานหลักฐานของจำเลยทั้งสองจึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง

ส่วนที่โจทก์ทั้งสองมีนายแพทย์...เบิกความว่าจากอาการของโจทก์ที่2 ที่มีอาการ...จึงมีเหตุให้สงสัยได้ว่าโจทก์ที่2 จะติดเชื้อไวรัสเริมในสมอง และตอบคำถามค้านทนายจำเลยทั้งสองว่า แพทย์เวรที่ร่วมรักษาโจทก์ที่2 ทำบันทึกไว้ในเอกสารประวัติการรักษาของโจทก์ที่2...ว่าสันนิษฐานว่า โจทก์ที่2น่าจะติดเชื้อไวรัสเริมในสมอง ตามหลักวิชาการทางการแพทย์ แพทย์ผู้รักษาจะต้องทำการเจาะน้ำไขสันหลังไปตรวจเพื่อหาเชื้อ แต่หากผลตรวจดังกล่าวล่าช้า แพทย์ผู้รักษาจะต้องให้ยาฆ่าเชื้อไวรัสเริมในสมองไว้ก่อน

ดังนั้นเมื่อมีเหตุสงสัยว่าโจทก์ที่2ติดเชื้อไวรัสเริมในสมอง แม้เพียงเหตุสงสัยโดยไม่มีผลการตรวจที่บ่งชี้ชัดแจ้ง แพทย์ผู้รักษาก็จะต้องให้ยาฆ่าไวรัสในสมองทันที ปรากฎตามเอกสารทางวิชาการพร้อมด้วยคำแปล เอกสาร...ซึ่งเอกสารดังกล่าวก็ระบุว่า เมื่อสงสัยว่าผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเริมในสมองต้องรักษาโดยเร็วปราศจากการรีรอ และให้ยา อะไซโคเวียร์ และยาปฏิชีวนะโดยเร็วที่สุด

และตามเอกสารทางวิชาการของสำนักวิชาการสาธารณสุข เอกสาร...ก็ระบุว่า ถ้าสงสัยว่าผู้ป่วยสมองอักเสบจากเชื้อไวรัสเริม ควรให้ยา Acyclovir ไปก่อนเพราะยามีผลข้างเคียงต่ำ ถ้าผู้ป่วยสมองอักเสบจากเริมจริง แต่ไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยจะมีอันตราย และอัตราความพิการสูง หลังจากนั้นจึงทำการตรวจเพื่อยืนยันการวินิจฉัย ตามความเหมาะสมของแต่ละสถานที่...และบางครั้งก็พบผลปกติแม้ไม่มีการติดเชื้อจริง และการให้ยา Acyclovir ก็มีผลข้างเคียงต่ำ ตามเอกสารกำกับยา...

และตามเอกสารทางวิชาการของกระทรวงสาธารณสุข เอกสาร...
และตามเอกสารทางวิชาการของสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย เอกสาร...ก็ระบุว่าให้ยาต้านจุลชีพในผู้ป่วยทุกคนที่สงสัยว่าสมองอักเสบ โดยให้ยา Acyclovir ทางหลอดเลือดดำ ร่วมกับการรักษาเยื่อหุ้มสมองจากเชื้อแบคทีเรีย และริกเก็ตเชีย ตามความเหมาะสม

แต่จำเลยที่2 และแพทย์โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทำการรักษาโจทก์ที่2โดยการให้ยากันชัก ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียในสมอง ยาปฏิชีวนะโดยไม่ได้ให้ยาฆ่าเชื้อไวรัสเริมในสมอง แก่โจทก์ที่2จึงไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เห็นว่านายแพทย์...ไม่เคยรู้จักกับคู่ความฝ่ายใด จึงถือว่าเป็นพยานคนกลาง

(ขอขอบคุณนายแพทย์เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 มีนาคม 2010, 21:47:39 โดย pradit »

today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด
Re: ตัวอย่างคดีฟ้องแพทย์#2(Encephalitis)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 23 มีนาคม 2010, 23:42:46 »
ผมได้อ่านคำพิพากษาฉบับเต็มแล้วครับ
ไม่อยากวิจารณ์ในที่นี้ เดี่ยวweb master จะเดือดร้อน