ผู้เขียน หัวข้อ: โวยสธ.อำเภอแจกเบียร์อสม.  (อ่าน 2259 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
โวยสธ.อำเภอแจกเบียร์อสม.
« เมื่อ: 03 เมษายน 2011, 23:34:37 »
ศูนย์แก้ไขปัญหาน้ำเมา จี้สธ.สอบวินัยสาธารณสุขอำเภอในจ.อุบลฯแจกเบียร์ให้อสม.

วันนี้ (3 เม.ย.) นายนิรุจน์ อุทธา ผู้อำนวยการศูนย์แก้ไขปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวว่า ตนได้ทำหนังสือถึงนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อหารือในเรื่องที่ สาธารณสุขอำเภอมอบเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้กับตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขในงาน วันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ ที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 25 มี.ค.ที่ผ่านมาต่อหน้า อสม.กว่า 400 คน ที่มาร่วมอยู่ในพิธี ทำให้มีผู้ถ่ายภาพเอาไว้และนำภาพถ่ายดังกล่าวไปโพสต์ขึ้นอินเตอร์เน็ต ทั้ง ทวิตเตอร์,  เฟซบุ๊ก และ อื่นๆ อย่างกว้างขวาง  พร้อมทั้งวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมของการกระทำดังกล่าว
         
 นายนิรุจน์ กล่าวว่า สาธารณสุขอำเภอเป็นข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข ที่เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 และควรเป็นแบบอย่างที่ดีด้านสุขภาพ แต่กลับนำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาเป็นของขวัญเพื่อส่งเสริม อสม.ให้ดื่มในงาน  ซึ่งจัดอยู่ในพื้นที่ที่เป็นสถานที่ราชการ  นอกจากจะเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมแล้วยังถูกตั้งคำถามจากสังคมว่า  สาธารณสุขอำเภอ และ อสม. ควรจะเป็นแบบอย่างที่ดีด้านสุขภาพแก่ประชาชนหรือไม่ หรือจะส่งเสริมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่ ประชาชน  โดยเฉพาะพิธีมอบเบียร์ให้ในการจัดงานที่มีประชาชนมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก เพราะการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่ราชการ เป็นสิ่งที่ผิดตามพ.ร.บ.ฉบับนี้

“ภาคประชาชนขอให้กระทรวงสาธารณสุขพิจารณาถึงความเหมาะสมในกรณีดังกล่าวนี้ ว่าสมควรแล้วหรือยังที่จะกำหนดเป็นนโยบายสำคัญให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติอย่าง จริงจัง  ในประเด็นต่างๆ  อาทิ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของบุคลากรสาธารณสุข และ อสม.ในสถานที่ราชการ การทำตัวเป็นแบบอย่างด้านสุขภาพของบุคลากรสาธารณสุข และ อสม.  และการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงานตามกฎหมายของสาธารณสุขอำเภอ และนักวิชาการสาธารณสุข” นายนิรุจน์ กล่าว

ด้าน นพ.สมชัย ภิญโญพรพาณิชย์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า ในเรื่องนี้ได้สั่งการให้สาธารณสุขจังหวัดเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว เพื่อรายงานให้กับสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุขและผู้ตรวจการเป็นผู้พิจารณา โดยต้องดูว่าเป็นการจงใจหรือเจตนากระทำผิดจริงหรือไม่ และกระทำแบบนี้กี่ครั้งแล้ว ส่วนโทษของความผิดนั้นขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงอาจจะมีการว่ากล่าวตักเตือน ส่วนถือว่าขัดต่อกฎกระทรวงหรือไม่นั้น ต้องดูในรายละเอียดอีกครั้ง.

เดลินิวส์
3 เมษายน 2554