ผู้เขียน หัวข้อ: ตัวอย่า่งคดีฟ้องแพทย์#1(Drug Allergy)  (อ่าน 5812 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
ตัวอย่า่งคดีฟ้องแพทย์#1(Drug Allergy)
« เมื่อ: 23 มีนาคม 2010, 14:19:14 »
คำพิพากษา-ศาลจังหวัดยโสธร(29มค2553)

ตัดสินให้แพทย์ และโรงพยาบาลแพ้ จ่ายเงินให้โจทก์ 4 ล้านกว่าบาท
เรื่องของผู้ป่วยที่แพ้ยา Penicillin หมอให้ยากินกลุ่มอื่นแล้ว แผลที่เท้าไม่ดีขึ้น (เป็นเบาหวาน) จึงฉีดยา Chloramphenicol ผู้ป่วยแพ้ยา และเสียชีวิตในที่สุด

บางส่วนของคำพิพากษา

นาย...มีอาการแพ้อย่างรุนแรง เมื่อเวลา8.07น.ซึ่งจำเลยที่ 1 ให้ยาอะดรีนาลีน แก่นาย...เมื่อเวลา8.15น. หลังจากที่นาย...หยุดหายใจแล้วจึงช้ากว่าที่จะแก้ไข แม้จำเลยที่1 และพยาบาลจะช่วยกันพยายามช่วยเหลือโดยการปั้มหัวใจ แต่นาย...ก็ไม่ได้กลับมาเป็นปกติเหมือนเช่นก่อนที่จำเลยที่1จะทำการรักษา จนกระทั่งนาย...ถึงแก่ความตายดังกล่าว พฤติการณ์ถือว่าจำเลยที่1ไม่ได้เอาใจใส่ ใช้ความระมัดระวังในการรักษานาย...เท่าที่ควร หากจำเลยที่1ตรึกตรองสักนิดว่า นาย...เคยแพ้ยาแบบรุนแรงมาก่อนควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ผลข้างเคียงสูง และเลือกให้ยารับประทานแทนการฉีด หากมีความจำเป็นหรือไม่แน่ใจควรจะให้แต่น้อย และเตรียมการแก้ไข ไม่ใช่ใช้ยาเพื่อหวังผลในการรักษาทันที การกระทำของจำเลยที่1 จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์...โดยจำเลยที่2ในฐานะนายจ้าง หรือตัวการต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ด้วย
...

กรณีของนาย...ซึ่งมีประวัติการแพ้ยารุนแรงมาก่อน จำเลยที่1 น่าจะเลือกวิธีรักษาโดยให้ยารับประทานจะเหมาะสมกว่า การที่จำเลยที่1สั่งให้พยาบาลฉีดยาดลอแรมเฟนิคอลเข้าหลอดเลือดดำของนาย...ซึ่งไม่มีความจำเป็น แม้จะหวังผลในการรักษาเพราะเห็นว่าเป็นยาที่ครอบคลุมเชื้อได้ดีกว่า แต่จำเลยที่1น่าจะเล็งเห็นผลได้ว่าการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ ทำให้ยาเข้าสู่กระแสโลหิตเต็มที่ ยาออกฤกธิ์ได้รวดเร็วทันทีอาจทำให้เกิดอาการแพ้รุนแรงถึงตายได้ กรณีจึงถือว่าจำเลยที่1 ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการรักษานาย...เท่าที่ควร
ต่อมาหลังจากที่ได้ฉีดยาให้นาย...ประมาณ2นาที นาย...มีอาการกระวนวาย ชีพจรเต้นเร็ว หายใจไม่ออก ซึ่งเป็นลักษณะของอาการแพ้ยา กรณีดังกล่าวนี้นายแพทย์...เบิกความว่าแพทย์ต้องตรวจว่าที่ผู้ป่วยร้องกระสับกระส่าย มีปฏิกิริยาเกิดขึ้นหรือไม่ เช่น หลอดลมตีบ หรือต้องตรวจปอด และหัวใจว่าเต้นผิดปกติหรือไม่ เพื่อจะได้วิเคราะห์อาการที่เกิดขึ้น แต่ตามเวชระเบียนการรักษาไม่มีการบันทึกไว้
...
(ขอขอบคุณ นพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 มีนาคม 2010, 21:50:06 โดย pradit »

today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด
Re: ตัวอย่า่งคดีฟ้องแพทย์#1(Drug Allergy)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 23 มีนาคม 2010, 23:38:54 »
น่าสนใจครับ
มีคำพิพากษาฉบับเต็มไหมครับ จะขออ่านหน่อยครับ