ผู้เขียน หัวข้อ: คำประกาศสิทธิ และข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย  (อ่าน 4097 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
เครือข่ายผู้ป่วยวิเคราะห์สิทธิของผู้ป่วยและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย ชี้บั่นทอนความมั่นใจต่อการเข้ารับบริการรักษา ซ้ำเติมความสัมพันธ์แพทย์และผู้ป่วย ระบุถ้าเกิดเหตุไม่พึงประสงค์จริงทางผู้ให้บริการจะร่วมรับผิดชอบไหม เพราะอาจอ้างได้ว่าได้แจ้งในประกาศแล้ว จะทำให้เกิดการฟ้องร้องมากขึ้น เตรียมเข้าพบ รมว.สธ.เพื่อเสนอคำคัดค้านอย่างเป็นทางการต่อไป เผยคำประกาศสิทธิผู้ป่วยฉบับใหม่นี้ ผ่านรับฟังความคิดเห็นครั้งเดียว และได้ท้วงติงประเด็นนี้แล้ว แต่ก็เพียงเปลี่ยนจาก หน้าที่ผู้ป่วย เป็นข้อพึงปฏิบัติแทนเท่านั้น

เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2558 กลุ่มเครือข่ายผู้ป่วยประกอบด้วยเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย เครือข่ายเพื่อนโรคไต เครือข่ายผู้ป่วยมะเร็ง เครือข่ายผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย เครือข่ายผู้ป่วยโรคหัวใจ รวมทั้งองค์กรเอกชนด้านเอดส์และสุขภาพ แถลงข่าวคำประกาศสิทธิผู้ป่วยฉบับใหม่ ซึ่งทางเครือข่ายผู้ป่วยเห็นว่าคำประกาศดังกล่าวได้เพิ่มข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วยขึ้นมา เมื่อดูเนื้อหาแล้วเหมือนขัดแย้งกับสิทธิผู้ป่วย ซ้ำยังสร้างความไม่เชื่อมั่นที่จะได้รับความคุ้มครองในการเข้ารับบริการรักษา

นายอภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย กล่าวว่า คำประกาศสิทธิผู้ป่วยฉบับใหม่ที่เพิ่มข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วยเข้ามา แม้ว่าเจตนาจะสร้างความเข้าใจกับผู้ป่วยต่อการเข้ารับการรักษาพยาบาล แต่ในขณะเดียวกันก็บั่นทอนความมั่นใจของผู้ป่วยไปด้วย เพราะในคำประกาศมีการพูดถึงความไม่แน่นอนของการรักษา เช่นการระบุว่าทุกการรักษา หรือการวินิจฉัยโรคทางการแพทย์อาจเกิดเหตุอันไม่พึงประสงค์หรือสุดวิสัยได้ ซึ่งปกติเราก็เข้าใจหลักการนี้ แต่พอมาอยู่ในข้อพึงปฏิบัติ มันทำให้เราต้องตีความเลยว่า แล้วถ้าเกิดเหตุอันไม่พึงประสงค์จริงทางผู้ให้บริการทางการแพทย์จะร่วมรับผิดชอบไหม เพราะก็จะอ้างได้ว่าได้แจ้งในประกาศแล้ว ซึ่งแบบนี้ไม่น่าจะดีต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ อาจจะยิ่งทำให้เกิดการฟ้องร้องกันมากขึ้น ในขณะที่ประเทศเรายังไม่สามารถออกกฏหมายคุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์ได้

น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า การมีข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย ถ้าไม่ค้านจะกลายเป็นว่าทุกคนต้องยอมรับโดยดุษฎี ซึ่งต่อไปหากจำเป็นต้องมีการฟ้องร้องกรณีที่ผู้ป่วยได้รับความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ผู้ป่วยจะแพ้หมด เพราะจะอ้างว่าผู้ป่วยไม่ปฏิบัติตามเองและหมอทำเต็มที่แล้ว ฉะนั้นต้องคัดค้าน ที่ผ่านมาเคยมีคดีที่อ้างมาตราหนึ่งใน พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติที่ให้ผู้ป่วยทำหน้าที่แต่ไม่ทำ ศาลชี้ตามให้ผู้ป่วยแพ้ ซึ่งกรณีนี้คงต้องมีการเข้าพบรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งนั่งเป็นนายกพิเศษกับสภาวิชาชีพทุกแห่งเพื่อเสนอคำคัดค้านอย่างเป็นทางการต่อไป

“คำประกาศสิทธิผู้ป่วยฉบับใหม่นี้ แม้จะอ้างว่าได้จัดเวทีรับฟังความเห็นแล้ว มีเครือข่ายผู้ป่วย และตัวแทนผู้บริโภคเข้าร่วมด้วยตั้งแต่ตุลาคมปี 2557 แต่ก็เป็นเพียงเวทีเดียว และในเวทีก็ได้มีการท้วงติงประเด็นนี้แล้ว แต่สภาวิชาชีพแก้เฉพาะหัวข้อจากหน้าที่ของผู้ป่วย มาเป็นข้อพึงปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยเท่านั้น” น.ส.กรรณิการ์ กล่าว

ด้าน นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า เป็นที่น่าสังเกตว่า ตอนนี้มีความเคลื่อนไหวโดยสภาวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชน และบริษัทยาข้ามชาติ พยายามใส่เนื้อหาแบบนี้ในอีกหลายจุด ทั้งในร่างรัฐธรรมนูญที่ตกไปแล้ว ธรรมนูญสุขภาพที่อยู่ระหว่างการรีวิว ในคำประกาศนี้ และอีกหลายกฎหมายซึ่งเราต้องช่วยกันจับตา

ทั้งนี้เครือข่ายผู้ป่วยได้จัดเวทีวิเคราะห์คำประกาศสิทธิผู้ป่วยและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วยขึ้น ในวันที่ 21 กันยายน 2558 เพื่อร่วมกันวิเคราะห์ข้อดีข้อด้อยของคำประกาศดังกล่าว และหารือเพื่อหาจุดยืนและการแสดงท่าทีต่อกรณีดังกล่าว

Tue, 2015-09-22
http://www.hfocus.org/content/2015/09/10941

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
สำรวจพบประชาชนพอใจสิทธิบัตรทองสูงสุดในรอบ 12 ปี ขณะที่บุคลากร สธ.ยังพึงพอใจน้อย "ปิยะสกล" สั่งเร่งแก้ไขให้สองฝ่ายพอใจสมดุล ช่วยระบบยั่งยืน เผยงบค่าเสื่อมปี 60 ปรับเป็นเงินบำรุง รพ. ไร้ปัญหาตีความใช้ซ่อมแซมอาคารไม่ได้ ด้านผู้ป่วยยื่น รมว.สธ.ท้วงคำประกาศสิทธิ ปกป้องวิชาชีพสุขภาพมากกว่าผู้ป่วย
       
       วันนี้ (5 ต.ค.) นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กล่าวภายหลังประชุมบอร์ด สปสช. ว่า ที่ประชุมได้รับทราบผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน บุคลากรสาธารณสุข  และองค์กรภาคีที่เกี่ยวข้องต่อการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ปี 2558 ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ประชาชนมีความพึงพอใจต่อการได้รับสิทธิบัตรทองในภาพรวมมากกว่าทุกปีที่ทำการสำรวจมาตั้งแต่ปี 2546 โดยปี 2558 นี้ ได้ถึง 9.11 คะแนนจากเต็ม 10 คะแนน เพิ่มจากปี 2557 ซึ่งได้ที่ 8.86 คะแนน ขณะที่ความพึงพอใจของบุคลากรสาธารณสุขอยู่ที่ 6.98 คะแนน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่อยู่ที่ 6.93 คะแนน ส่วนข้อเสนอแนะที่ประชาชนเสนอคือ ลดระยะเวลารอรักษา ให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิ ควบคุมค่าใช้จ่ายไม่ให้สูงเกินไป ส่วนบุคลากรสาธารณสุขเสนอให้มีกิจกรรมระหว่างบุคลากรสาธารณสุขกับ สปสช.เพื่อเพิ่มความสัมพันธ์ ลดขั้นตอนการทำงานระหว่างกัน เป็นต้น
       
       " แม้ประชาชนจะมีความพึงพอใจมาก แต่จากผลสำรวจจะเห็นว่าบุคลากรสาธารณสุขยังมีความพึงพอใจไม่สูงนัก ซึ่งเรื่องนี้มีได้จากหลายสาเหตุ ทั้งสวัสดิการ ค่าตอบแทน ภาระงานที่หนัก เป็นต้น ตรงนี้ สธ.และ สปสช.ก็กำลังหาวิธีในการทำให้ความพึงพอใจทั้งสองฝ่ายสมดุล ซึ่งจะถือว่าดีที่สุด ช่วยให้ระบบมีความยั่งยืน " รมว.สธ. กล่าวและว่า สำหรับการใช้งบค่าเสื่อม ยังคงต้องรอคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่าเป็นอย่างไร ซึ่งขณะนี้งบประมาณปี 2559 ยังคงให้ใช้ในส่วนของการจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ไปก่อน ไม่รวมถึงส่วนของการสร้างหรือซ่อมแซมอาคาร แต่ในปีงบประมาณ 2560 ได้เปลี่ยนงบค่าเสื่อมนี้เป็นเงินบำรุงเหมาจ่าย ซึ่งสามารถนำมาใช้ในส่วนของการซ่อมแซมอาคารสถานที่ได้
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการประชุมบอร์ด สปสช.ได้มีกลุ่มเครือข่ายผู้ป่วยมายื่นหนังสือคัดค้านการออกประกาศสิทธิฉบับที่ 2 ที่ออกโดยสภาวิชาชีพสุขภาพ เนื่องจากฉบับที่สองนี้มีระบุถึงข้อพึงปฏิบัติสำหรับผู้ป่วย โดยมองว่าเป็นการออกประกาศเพื่อปกป้องบุคลากรสาธารณสุขมากกว่าผู้ป่วย โดย นพ.ปิยะสกล ได้รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณา

ASTVผู้จัดการออนไลน์    5 ตุลาคม 2558