ผู้เขียน หัวข้อ: ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการบริการสาธารณสุข พ.ศ.  (อ่าน 2470 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
 บทวิเคราะห์ ร่าง...พรบ คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการบริการสาธารณสุข พ.ศ.....ฉบับคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ชุดที่ถูกคสช.ใช้ อำนาจตาม มาตรา 44 ให้ยุติการปฏิบัติหน้าที่และพ้นจากตำแหน่งไปเมื่อวันที่ 15 ก.ค.2558 แล้ว
ซึ่งร่างกฎหมายฉบับนี้ถูกผลักดันโดยกรมสนับสนุนบริการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข โดยผู้เข้าประชุมประกอบด้วย รมว.สาธารณสุข รมช สาธารณสุข รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการ (ผู้ชี้แจงแทนฝ่ายที่ผลักดันร่างกฎหมาย) นิติกร ส่วนฝ่ายที่คัดค้านประกอบด้วยนายกแพทยสภา ผู้ช่วยเลขาแพทยสภาด้านกฎหมาย 2 ท่าน กรรมการแพทยสภาและโฆษกแพทยสภา
(เมื่อ 29 ก.ค. 2558)

เนื้อหาที่คัดค้านพอจะสรุปเป็นหลักการใหญ่ๆได้ดังต่อไปนี้

1) เป็นการเสนอร่างกฎหมายเป็นชุดคือ 3 ฉบับคือร่างหลักคือ ร่าง...พรบ คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการบริการสาธารณสุข พ.ศ.....
และร่าง....แก้ไขเพิ่มเติมพรบ. สปสช. และร่าง...แก้ไขเพิ่มเติม พรบ. ประกันสังคม

2) กระทรวง สธ.และ สปสช ไม่มีอำนาจหน้าที่ไปแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายของสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานและกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง
เช่นการบังคับให้โอนเงินสวัสดิการรักษาพยาบาลทั้ง 3 กองทุนมาเข้ากองทุนที่จะตั้งขึ้นใหม่ตามร่างกฎหมายนี้

3)การที่ผู้ยกร่างและเครือข่ายเสนอให้ยุบมาตรา41ในพ.ร.บ สปสช. ซึ่งเป็นบทที่ใช้เยียวยาผู้ป่วยที่ปฏิบัติมา10กว่าปีแล้ว และแพทยสภาและสหสภาวิชาชีพเห็นพ้องต้องกันให้ขยายขอบเขตมาตรา41เพื่อให้การคุ้มครองครอบคลุมประชากรทั้งประเทศไปแล้วนั้น เป็นการบีบบังคับให้ประชาชนไม่มีทางเลือกและต้องหันมา สนับสนุนร่าง กฎหมายใหม่ที่พยายามผลักดันนี้ เหมือนเป็นการจับประชาชนเป็นตัวประกัน
โดยได้มีการระบุในร่างเหตุผลและความจำเป็นในการยุบ มาตรา 41 นี้ว่า ได้มี ก.ม.ร่าง...พรบ คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการบริการสาธารณสุข พ.ศ.....เกิดขึ้นแล้วทั้งๆที่ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด

4)ไม่มีการประชาพิจารณ์ผู้ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริงจากกฎหมายชุดนี้โดยเฉพาะในฝ่ายผู้ให้การรักษาพยาบาล ผู้ใช้แรงงานที่ใช้สิทธิประกันสังคมและข้าราชการทั้งประเทศ

5)สัดส่วนของกรรมการกองทุนทั้ง ตามมาตรา 7และตามบทเฉพาะกาลเป็นการล็อคสะเป็ค สำหรับพวกพ้องผู้ผลักดันกฎหมายและเครือข่ายอย่างชัดเจน คือกำหนดให้มาเป็นเสียงข้างมากในกองทุนเลย

6)การตั้งกองทุนใหม่นอกจากเป็นภาระของประเทศแล้วในร่าง...กฎหมายยังระบุเปิดโอกาสให้มีการจ่ายเงินสนับสนุนแก่บุคคล องค์กรและเครือข่ายพวกพ้องอย่างสะดวกสบายรวมทั้งยังกำหนดค่าบริหารจัดการ 10%(คิดเป็นเงินจำนวนมหาศาล) ที่ปราศจากการควบคุมตรวจสอบอีกด้วย

7)ร่าง...กฎหมายฉบับนี้ยังระบุชี้นำและสนับสนุนให้มีการฟ้องร้องทางอาญาแก่ผู้ให้การรักษาพยาบาลรวมทั้งผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขทั้งประเทศ
และถึงแม้มีการลงนามในสัญญาประนีประนอมกันแล้วคดีความก็ไม่สิ้นสุดไป

8)อายุความฟ้องร้องไม่มีที่สิ้นสุด. โดยเขียนให้นับอายุความภายใน 3 ปีนับแต่วันที่รู้ผลกระทบแต่ไม่เกิน10ปีนับแต่วันที่เกิดผลกระทบ ซึ่งวันเริ่มนับอายุความไม่มีจุดที่แน่นอน อาศัยความรู้สึก เป็นนามธรรมและเปิดช่องว่างให้มีการบิดเบือนฉ้อฉลได้

9)อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุนที่กำหนดไว้ ซ้ำซ้อนกับอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานในระบบสุขภาพของประเทศ ที่มีอยู่แล้วทั้งสิ้น นับตั้งแต่โรงเรียนแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานราชการต่างๆทางด้านสุขภาพ รวมไปถึงสภาวิชาชีพทางด้านสาธารณสุขทุกๆสภาวิชาชีพและยังรวมถึงกระทรวงแรงงานและกระทรวงการคลังด้วย

10) ร่าง..กฎหมายฉบับนี้ยังระบุให้อำนาจคณะกรรมการกองทุนซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มNGO และบุคคลนอกวงการสาธารณสุขสามารถลงโทษผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ทั้งโทษจำและโทษปรับ

ผู้แทนแพทยสภาเห็นพ้องต้องกันในการคัดค้าน ร่าง...พรบ คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการบริการสาธารณสุข พ.ศ.....หรือกฎหมายในชื่ออื่นที่มีเนื้อหาทำนองเดียวกันนี้ รวมทั้งร่าง...กฎหมายชุดที่จะให้ยุบมาตรา 41 ในพรบ. สปสช รวมทั้งให้โอนเงินสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลจากทั้ง 3กองทุนมารวมกันเป็นกองทุนใหม่
พร้อมทั้งได้ยืนยันเจตนารมย์ดังกล่าวต่อหน้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

https://m.facebook.com/groups/113821408669795?view=permalink&id=1003008613084399&ref=bookmark

โดย. นพ. วิสุทธิ์ ลัจฉเสวี
วท.บ.,พ.บ.ว.ว. ศัลยศาสตร์
น.บ.(เกียรตินิยมอันดับ2)
น.ม.,บ.ป.ค.
ป.วิชาว่าความ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
(๑) พ.ร.บ. นี้มีหลายร่างมาในหลายชื่อ เช่น พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ซึ่งเป็นร่างที่ก่อ
ปัญหามาตั้งแต่ต้น ร่างใหม่ล่าสุดเสนอโดย กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ คือ ร่างพ.ร.บ.กองทุนคุ้มครองผู้ได้รับ
ผลกระทบจากการบริการสุขภาพ และ อาจมาในรูปแบบของชื่ออื่นอีก แต่เนื้อหาเกือบทั้งหมดซ้ำกัน

(๒) ทุกร่างโดยสรุปมีปัญหาคล้ายกับ “ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม” ที่เสนอโดยพรรคเพื่อไทยก่อนมีการปฏิวัติคือ ชื่อ
กฎหมาย ไม่ตรงกับเนื้อหาและหลักการที่กล่าวอ้างไว้ในการนำเสนอเพื่อชักจูงให้ผ่านกฎหมาย (ตั้งชื่อให้ดูดี หลักการดี
แต่เนื้อหาในรายละเอียดล้วนตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง) ทำให้สภาวิชาชีพด้านสาธารณสุขทุกสาขาออกมาคัดค้าน
อย่างรุนแรงตามที่เป็นข่าว

(๓) หลักการและเหตุผลที่ถูกนำมากล่าวอ้างให้ผ่านเป็นกฎหมาย ต่างกับเนื้อหารายมาตราโดยสิ้นเชิง ดังนี้
(หมายเหตุ อิงกับ ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหาย ฯ ฉบับที่ผ่านคณะกรรมการกฤษฎีกา)

สร้างความสัมพันธ์ที่ดีเพราะไม่พิสูจน์ความรับผิด(ม. ๕)
ไม่จริง ... ทุกการรักษาที่ไม่เป็นไปตามความคาดหวัง(ไม่ว่าแพทย์จะผิดหรือถูก หรือเป็นความผิดของระบบ ไม่เกี่ยวกับตัวบุคคล เช่น ภาระงาน ความไม่พร้อมของรพ.)จะถูกกระตุ้นให้ตามมาด้วยการร้องเรียนเพื่อหวังเงินสองก้อนจากกองทุน คือก้อนแรก(ม.๒๗)ต้องจ่ายภายใน๖๐ วันไม่ว่าคณะกรรมการ(ประกอบด้วยคนนอกมากมาย)จะพิสูจน์ข้อเท็จจริงไม่ได้ก็ตาม และก้อนที่สอง(ม. ๓๐) ต้องจ่ายภายใน ๙๐ วัน ซึ่งเงินก้อนที่สองคาดว่าเป็นหลักล้านหรือหลายล้านเพราะคิดตาม ปพพ. และปวพ. ซึ่งหากผู้ป่วยได้น้อยกว่าที่ต้องการก็จะปฏิเสธและไปฟ้องร้องต่อศาลเพื่อเอาก้อนที่สองจากตัวแพทย์โดยตรงจากแพทย์ได้ทันที

ดังนั้นเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าว มีแนวโน้มที่แพทย์จะหลีกเลี่ยงการรักษาโรคที่มีความซับซ้อนและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไม่พึงประสงค์ ทั้งโดยการปฏิเสธการรักษาหรือใช้การส่งต่อ(Refer)มากขึ้น ทำให้เกิดความระหวาดระแวงระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับผู้ป่วย การอ้างว่าไม่พิสูจน์ความรับผิดเป็นการกล่าวเท็จ เพราะในมาตรา ๓๐ กลับระบุเรื่องความผิดฐานละเมิด(การคำนวณค่าสินไหมทดแทน)ไว้อย่างชัดเจน

สร้างความสัมพันธ์ที่ดี เพราะมีการตั้งคณะกรรมการสร้างเสริมความสัมพันธ์ (ม.๗)
ไม่จริง ... การสร้างเสริมความสัมพันธ์คือการให้ความรู้ความเข้าใจกับคนไข้ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง เช่น ข้อจำกัดการรักษา สภาพร่างกายของคนไข้ที่แตกต่างกันไป การเห็นอกเห็นใจกันทั้งสองฝ่าย ยิ่งไปกว่านั้น คณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วยคนที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจทางการแพทย์มากมาย เช่น NGO นักเศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ สื่อสารมวลชน อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิ สำนักงบประมาณ เป็นต้น ซึ่งไม่ทราบข้อเท็จจริงจำเพาะของวิชาชีพ แต่ต้องมาไกล่เกลี่ยในสิ่งที่ตนไม่รู้ว่าผิดถูก ยิ่งสร้างความระส่ำระสายกับบุคลากร ทำให้เกิดความระหวาดระแวงมากขึ้น

การจ่ายเงินโดยเร็วตาม ม. ๒๗(ภายใน ๖๐ วันหลังรับเรื่องร้องเรียน) และ ม.๓๐ (ภายใน ๙๐วัน) จะทำให้คนไข้ไม่อยากฟ้องร้องต่อศาล
ไม่จริง ....ม. ๒๗ เอาหลักการมาการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นของ ม. ๔๑ ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งที่ผ่านมา แพทย์ยังต้องประสบปัญหาการรับเงินแล้วไปฟ้องร้องต่อศาลเพื่อต้องการมากกว่าที่ได้รับไปแล้ว อีกทั้งผู้ฟ้ องไม่ต้องเสียเงินจ้างทนาย หรือวางเงินต่อศาล เพราะฟ้องตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ในขณะที่แพทย์ต้องจ้างทนายแก้ต่างเอง หรืออาจถูกไล่เบี้ยจากกระทรวงการคลังได้

นอกจากนี้ ในม. ๓๐ ซึ่งเป็นการจ่ายเงินก้อนที่สอง ยังระบุให้ใช้ความผิดฐานละเมิด มาเป็นเกณฑ์การจ่ายเงินซึ่งคาดว่าเป็นเงินนับล้านบาทขึ้นไป เนื่องจากมีการคิดค่าเสียหายทางจิตใจดังนั้นใครที่ได้ก้อนแรกตามม. ๒๗ ไปแล้ว (ซึ่งอาจได้โดยไม่รู้ว่าแพทย์ผิดหรือถูก) ย่อมหวังจะได้ก้อนนี้เป็นจำนวนมากแน่นอน หากได้ก้อนนี้น้อยกว่าที่คาดจะกระตุ้นให้ผู้ป่วยไปฟ้องศาลแน่นอน

ข้อน่าสังเกตอีกประการคือ ผู้ผลักดันโฆษณาชวนเชื่อมาตลอดว่าไม่เอาผิดแพทย์ ไม่พิสูจน์ความรับผิด(ม. ๕) แต่ใน.๓๐ กลับระบุฐานความผิดเรื่องละเมิด ซึ่งหมายความว่าแพทย์เป็นผู้กระทำผิด ก่อความเสียหาย จึงจะเป็นละเมิดตาม ปพพ.ได้

กฎหมายนี้สร้างความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย
ไม่จริง ... ผู้ได้ประโยชน์จากกม.นี้คือผู้ป่วยที่อ้างเหตุอันเกี่ยวกับการรักษา(ไม่ว่าแพทย์จะผิดจริงหรือไม่ก็ตาม)มาเรียกร้องเอาเงินกินเปล่าไปฟรี ๆ ทั้ง ๆ ที่ได้รับการรักษาฟรี และยังฟ้องร้องเองเงินเพิ่มเติมได้อีกหลังรับเงินก้อนแรก (ม. ๒๗) ในขณะที่ผู้ปฏิบัติงานไม่ได้อะไรเลย การฟ้องร้องยังคงมีอยู่ได้ตามเดิมหลังได้รับเงินก้อนแรกไปแล้ว ยิ่งกว่านั้นยังต้องไปสู้คดีด้วยตนเองในคดีอาญาในข้อกล่าวหาอันเนื่องจากการพยายามช่วยชีวิตผู้ป่วยแล้วไม่ได้ผลตามที่คาดหวัง
กฎหมายนี้ช่วยลดการฟ้องร้อง โดยผู้ป่วยจะเปลี่ยนมาร้องเรียกเงินจากกองทุนแทนการฟ้องร้องต่อศาล

อาจจะจริง ...แต่แค่ในระยะแรกที่เริ่มใช้เท่านั้น ... คล้ายกับการมี ม. ๔๑ ของ สปสช.ที่ช่วงแรกการฟ้องร้องไม่มาก แต่เมื่อผ่านไปสักระยะ ผู้ป่วยจะเริ่มเรียนรู้ว่าการร้องเรียนแพทย์ผ่านกองทุนจะเหมือนกับการได้ลอตเตอรี่แบบได้เปล่า (อาจได้เงินมาฟรีๆ โดยไม่ต้องลงทุนซื้อ)

ในต่างประเทศเรียกหลักการแบบนี้ว่า “Medical lottery” ที่น่ากลัวกว่าคือ กองทุนนี้มีเงินสองก้อน ก้อนที่สอง(ม. ๓๐) มีเดิมพันสูงมาก (เหมือนตีเช็คไม่กรอกตัวเลข) หากไม่ได้หรือได้น้อยจะกระตุ้นให้เกิดการฟ้องคดีในศาลต่อ (ม. ๓๔, ๓๕) และที่สำคัญผู้ป่วยสามารถใช้การฟ้องร้องคดีอาญาเพื่อบีบบังคับให้แพทย์เป็นฝ่ายยอมจำนวนในคดีแพ่งได้ เพราะสิทธิในการฟ้องคดีอาญายังมีอยู่

กฎหมายนี้ทำให้แพทย์สามารถทำงานได้ด้วยความสบายใจไม่ต้องกังวลเรื่องการฟ้องร้อง
ไม่จริง ... ตามเหตุผลข้างต้น ประกอบกับ ม. ๓๗ ที่มีการอนุญาตให้ร้องเรียกเงินจากกองทุนได้แบบไม่จำกัดอายุความ โดยอ้างเหตุว่าเพิ่งจะรู้ว่าเสียหายแม้การรักษาเกิดขึ้นไปนานแล้วเป็นสิบปี ประกอบกับหลักการตามมาตรา ๕ + กับการให้คนนอกที่ไม่มีความรู้มาพิสูจน์ ทำให้ในทางปฏิบัติย่อมเป็นไปไม่ได้ว่าจะพิสูจน์ว่าเกิดจากใครทำหรือมีความผิดจริงหรือไม่เมื่อพิสูจน์ไม่ได้..แต่ ม. ๒๗ ระบุว่าหากพิสูจน์ไม่ได้ให้จ่ายเงินให้ผู้ป่วย ทำให้กองทุนต้องจ่ายเงินให้ผู้ป่วยทุกรายที่มาร้องเรียนเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นสิบๆ ปี แบบไม่มีอายุความ ซึ่งขัดกับหลักนิติศาสตร์โดยสิ้นเชิง

กฎหมายนี้เป็นคุณต่อแพทย์ในเรื่องของการลดโทษหรือไม่ลงโทษในคดีอาญาตามม. ๔๕
ไม่จริง .... แม้ในม. ๔๕ ระบุอนุญาตให้ศาลไม่ลงโทษแพทย์ได้ แต่มีเงื่อนไข (condition)ว่า แพทย์ต้องสำนึกผิด ซึ่งขัดกับหลักการที่อ้างมาแต่ต้นว่าไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิด (ม. ๕)โดยสิ้นเชิง (ร่างกฎหมายนี้กล่าวเท็จโดยสิ้นเชิง ในทำนองว่าไม่มีกล่าวโทษว่าใครผิด) การให้แพทย์สำนึกผิดในสิ่งที่ตนเชื่อมั่นว่าไม่ผิด/ไม่รู้ว่าผิดหรือไม่/ระบบต่างหากที่เป็นฝ่ายผิด นั้นจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานระส่ำระสาย ทุกครั้งที่โดนร้องเรียนต้องรีบสำนึกผิดไปก่อนด้วยการเอาเงินส่วนตัวไปจ่ายให้ มิฉะนั้นอาจจะไม่ได้รับการลดโทษในคดีอาญา ยิ่งกว่านั้นใน ม. ๔๕ ระบุว่าการบรรเทาโทษจะมีก็ต่อเมื่อแพทย์ต้องบรรเทาผลร้ายแห่งคดี ซึ่งจะทำให้แพทย์ไม่กล้าปฏิบัติงานที่มีความยากหรือเสี่ยง โดยเฉพาะการผ่าตัดซับซ้อน เพราะหากผลไม่เป็นไปตามคาดหวัง แพทย์ต้องควักเงินตัวเองจ่ายเพื่อหวังน้ำบ่อหน้า ให้ศาลลดโทษอาญาความจริงแล้ว ม. ๔๕ นั้นมีอยู่แล้วใน ปวอ. เรื่องการสำนึกผิด การเยียวยา การทำคุณความดีความผิดครั้งแรก แต่มีเงื่อนไขว่าต้องพิสูจน์โดยปราศจากข้อสงสัยก่อน(Beyond reasonable doubt) ว่าแพทย์กระทำผิดจริง สิ่งที่แพทย์ต้องการในคดีอาญาไม่ใช่การลดโทษหรือบรรเทาโทษ เพราะการรักษาพยาบาลล้วนแต่มีจุดประสงค์เพื่อช่วยผู้ป่วย ไม่ใช่การเจตนาทำร้าย การพยายามช่วยเหลือผู้ป่วยแล้วไม่ได้ผลตามที่ต้องการไม่ควรต้องเป็นคดีอาญา สิ่งที่ต้องการคือการไม่ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาโดยง่ายเพียงเพราะผู้ป่วยสงสัย/ไม่เข้าใจ/ไม่ไว้ใจ ก็สามารถไปแจ้งความหรือฟ้องต่อศาลโดยปราศจากกระบวนการกลั่นกรองแบบที่ต่างประเทศ มี เรียกว่า Medical Expert Review.

ในทางตรงกันข้าม หากแพทย์ผิดโดยเจตนาหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง การลงโทษตามความหนักเบานั้นถูกต้องแล้วเพื่อป้องกันมิให้กระทำเช่นนี้ต่อผุ้ป่วยรายอื่นอีก

กฎหมายนี้ช่วยสร้างความปลอดภัยและป้องกันความเสียหายในอนาคต 
ไม่จริง ... หากจะป้องกันความเสียหายคงเป็นเรื่องของการหลีกเลี่ยงการทำหัตถการที่มีความเสี่ยงสูง เช่น การผ่าตัดซับซ้อน ซึ่งผลเสียจะตกอยู่ที่ตัวผู้ป่ วย ดังเช่น การปิดห้องผ่าตัดของรพ.ชุมชน การที่พยาบาลปฏิเสธการทำคลอด เป็นต้นหากต้องการสร้างความปลอดภัยจริง ยิ่งต้องให้มีการสืบสวนสาเหตุให้ละเอียด การสืบสวนต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญในระดับเดียวกันหรือสูงกว่า จึงจะได้ข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือ เมื่อรู้เหตุที่แท้จริงของปัญหา(สมุทัย) ก็จะรู้วิธีป้องกันและแก้ไข(นิโรธและมรรค) กฎหมายนี้กล่าวอ้างมาแต่ต้นว่าไม่พิสูจน์ความรับผิด (ม. ๕) เอาคนนอกที่ไม่รู้เรื่องการแพทย์มาเป็นกรรมการ (ม. ๗, ๑๒, ๑๓)สอบสวนเรื่องซับซ้อนทางการแพทย์ ซ้อนทับกับสภาวิชาชีพที่มีอำนาจตาม พ.ร.บ.วิชาชีพอยู่แล้ว การจ่ายเงินให้แม้จะพิสูจน์ว่าผิดหรือถูกไม่ได้ (ม. ๒๗) จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะไปพัฒนาระบบความปลอดภัยตามที่กล่าวอ้าง การมีหลักการแบบนี้เป็นเพียงเพื่อสร้างแรงสนับสนุนในการผ่านกฎหมายเท่านั้น

(๔) สรุปแล้วกฎหมายนี้คือ กฎหมายประชานิยม ที่ส่งเสริมการเอาเงินภาษีไปจ่ายให้โดยไม่รู้ว่ามีการกระทำผิดจริงหรือไม่ เหตุแห่งความผิดพลาดคืออะไร ใครควรถูกตำหนิและไปปรับปรุงแก้ไข เป็นความผิดของระบบที่ไม่พร้อมเองหรือคนทำผิด คนที่ตัดสินให้จ่ายเงินก็ไม่มีความรู้เพียงพอ เอาคนนอกมายกมือโหวตในเรื่องที่ตนไม่รู้จริง ความรัดกุมของการจ่ายเงินก็ไม่มี ไม่ต้องรับผิดชอบใด ๆ หากทราบภายหลังตัดสินผิด เงินที่จ่ายผิดระเบียบผิดเงื่อนไขก็เรียกคืนไม่ได้ กฎหมายนี้ไม่ได้ลดการฟ้องร้อง แต่จะกระตุ้นให้ฟ้องร้องมากขึ้น (ในภาษากฎหมายเรียกว่าMedical lottery)

ยิ่งไปกว่านั้นกลับทำให้ผู้ปฏิบัติงานต้องถูกบีบให้รับสารภาพหรือรีบจ่ายเงินนอกรอบก่อนเพื่อหวังผลการลดโทษทางอาญา ทั้งๆ ที่ตนเองอาจจะไม่ผิด การเสี่ยงสู้คดีอาจไม่คุ้มเพราะผู้มาตัดสินคือศาลที่ไม่ได้มีความรู้ทางวิชาชีพเหมือนสภาวิชาชีพ กฎหมายนี้ไม่ได้พัฒนาความปลอดภัยใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะเอาคนนอกมาสอบสวนกระบวนการเฉพาะทางการแพทย์ พิสูจน์อะไรไม่ได้ก็ให้จ่ายเงินให้ผู้ร้องไปก่อน หากจะพัฒนาความปลอดภัย ต้องมีกระบวนการสอบสวนที่เชื่อถือได้และต้องมีการลงโทษผู้กระทำผิด เงินแทนที่จะเอาไปจ่ายเป็นเบี้ยหัวแตก ควรเอาเงินภาษีนี้มาพัฒนาสถานพยาบาล จ้างบุคลากร อบรมบุคลากร จัดหาเครื่องมือ ให้ได้มาตรฐานสากล ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยลดอัตราตาย อัตราพิการได้จริง หาใช่การเอาเงินไปไล่แจกเหมือนการตีเช็คเปล่า

กฎหมายนี้หากผ่านออกมา ระบบสาธารณสุขไทยจะถอยหลังลงคลอง แพทย์จะเริ่มถามตนเองว่า ทำไมต้องผ่าตัดหรือรักษาโรคยากซับซ้อนแล้วเสี่ยงกับการถูกร้องเรียนหรือฟ้องร้อง ทุกวันนี้บ้านเรามีหมอเสริมสวย หมอความงาม หมอผิวหนังไม่มากพออีกหรือกฎหมายนี้ขัดกับหลักการที่ คสช. กล่าวไว้อย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะการเอาเงินภาษีมาใช้อย่างปราศจากความรับผิดชอบ (ประชานิยม) เงินที่จ่ายออกไป(ทั้งในรูปของเงินได้เปล่าจากการร้องเรียน และ เงินค่าบริหารจัดการองค์กรหรือสำนักงานที่ตั้งขึ้นใหม่ตาม พ.ร.บ.นี้) ไม่ได้สร้างความเจริญให้กับประเทศ ไม่ต่างกับนโยบายจำนำข้าว หรือแจก tablet

กฎหมายนี้ไม่ได้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีแต่อย่างใด เพราะผู้ปฏิบัติงานจะหวาดระแวงผู้ป่วย กระตุ้นให้แพทย์หลีกเลี่ยงหัตถการที่มีความเสี่ยงต่อการร้องเรียนสูง ผู้ป่วยจ้องจะหาความผิดพลาดจากผลการรักษาที่ไม่เป็นไปดังหวังเพื่อเป็นเหตุร้องเรียน ที่สำคัญคือไม่มีอายุความในการร้องเรียน เพราะใช้หลักการนับแต่วันที่รู้ถึงเสียหาย (ม. ๓๗)กฎหมายนี้จะทำให้ระบบสาธารณสุขของประเทศถอยหลังลงคลอง ผู้ป่วยตกอยู่ในความเสี่ยงเพราะแพทย์จะส่งต่อผู้ป่วยไปเรื่อยๆ จนสุดทาง เพื่อผลักภาระออกจากตัวเองในระยะยาว ศาลต้องรับคดีฟ้องร้องเพื่อหวังเงินก้อนที่สองมากขึ้นเพราะมีฐานการคำนวณเรื่องความเสียหายทางจิตใจเข้ามาเกี่ยวข้อง

กฎหมายฉบับนี้ คือ กฎหมายเงินด่วนได้ (Quick cash) ที่รีดเอาจากเงินภาษี (Tax) โดยปราศจากความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ... ไม่ต่างร่างกฎหมายที่อดีตรัฐบาล(ก่อนปฎิวัติ)ผ่านออกมา โดยกระบวนการโฆษณาชวนเชื่อ (propaganda) อย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การตั้งชื่อให้ดูดี(แต่เนื้อหาตรงกันข้าม) การสร้าง event โดยกลุ่มคนเดิม ๆ โดยนำเอาผู้ป่วยมาเป็นตัวประกัน การประชาพิจารณ์ลวก ๆ (หาสองหมื่นชื่อได้ในไม่กี่วัน เพียงแค่เอาหลักการและเหตุผลที่ดูดี (ที่มีเนื้อหาตรงกันข้ามกับความจริง)ไปป่าวประกาศผ่านสื่อทั้งหลายเพื่อให้ได้ลายเซ็นโดยง่าย (ลองทดสอบด้วยการถามผู้ลงลายมือชื่อว่า มีกี่คนที่รู้เนื้อหาทั้งหมดอย่างถ่องแท้ก่อนลงลายมือชื่อสนับสนุน)

หากรัฐบาลจะผ่านกฎหมายนี้ก็ควรต้องผ่านกฎหมาย ต่อไปนี้ด้วยเหตุผลเดียวกัน เช่น ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการเรียนการสอน  พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการตัดสินคดีความ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากดำเนินงานของ NGO พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการปฏิบัติหน้าที่ของ สส. สว. ....... ซึ่งล้วนอาจก่อให้เกิดความเสียหายเพราะผลเอ็นท์ไม่ติด ตัดสินคดีผิดพลาด จับผู้ต้องหาไม่ได้ ออกกฎหมายผิดพลาด เป็นต้น

(นพ. เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปฯ (สพศท.) และสหสาขาวิชาชีพ ในฐานะผู้ปฏิบัติงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ได้พิจารณาร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย ฯ โดยละเอียดแล้ว เห็นว่า ร่าง พ.ร.บ.  ดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบสาธารณสุข เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงการรักษาของผู้ป่วย รวมทั้งอาจก่อให้เกิดปัญหาเรื่องความโปร่งใสในการบริหารเงินกองทุนของ พ.ร.บ. โดยบุคคลบางกลุ่ม ที่เข้ามาเป็นกรรมการตาม พ.ร.บ. ดังนี้

๑.ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มองความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์เป็นผู้ซื้อกับผู้ขาย ในอดีตความสัมพันธ์เป็นแบบเกื้อกูลและพึ่งพา พระราชดำรัสของพระราชบิดายังเป็นสิ่งที่พวกเรายึดถือเป็นหลักในการทำงาน ปัจจุบัน ผู้ป่วยและแพทย์ส่วนใหญ่ก็ยังมีความสัมพันธ์ที่ดีแบบเดิม แต่หลักการและแนวคิดของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้จะทำลายรากฐานที่สำคัญอันนี้ไป ซึ่งจะเปลี่ยนรูปแบบของความสัมพันธ์ไปอย่างไม่มีวันเอาคืนมาได้ ความดีงามในระบบสาธารณสุขของเราก็จะสูญไป

๒.ถึงแม้ว่าการพิจารณาและการปฏิบัติตามร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้จะไม่มีการพิสูจน์ถูกผิด แต่ก็ต้องมีการวินิจฉัยว่ามีความเสียหายฯหรือไม่ งานสาธารณสุขของเราปัจจุบันได้พัฒนาด้านต่างๆไปมากจนมีถึง ๗ วิชาชีพ และแต่วิชาชีพก็มีลักษณะเฉพาะด้าน มีมาตรฐานของวิชาชีพของตัวเองโดยมีสภาวิชาชีพคอยกำกับดูแล ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ให้อำนาจการวินิจฉัยมาตรฐานของวิชาชีพโดยบุคคลซึ่งอาจไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เป็นการใช้ความรู้สึกมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ เอาความถูกใจแทนความถูกต้อง ซึ่งจะเป็นการทำลายมาตรฐานวิชาชีพด้านสาธารณสุขโดยตรง

๓.ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ได้ให้อำนาจและหน้าที่แก่คณะบุคคล ทั้งการบริหารกองทุนและอื่นๆ ซึ่งยังเป็นที่น่าคลางแคลงใจถึงการแสวงหาอำนาจและผลประโยชน์ โดยที่ยังไม่มีกลไกที่ชัดเจนที่จะแสดงถึงความโปร่งใสและธรรมาภิบาลในการใช้เงินภาษีของประชาชน

การพยายามช่วยเหลือประชาชนผู้ได้รับผลกระทบฯของรัฐบาลเป็นสิ่งที่ควรกระทำอย่างยิ่ง แต่การช่วยเหลือโดยการออกกฎหมายที่มีหลักการ แนวคิด และแนวปฏิบัติที่จะสร้างปัญหาใหม่ ไม่สมควรอย่างยิ่ง สพศท.ขอคัดค้านร่าง พ.ร.บ.ฯด้วยเหตุผลหลักๆข้างต้น