ผู้เขียน หัวข้อ: คาด 5 ปีไทยมีแพทย์อัตรากำลังตามเกณฑ์ WHO  (อ่าน 7606 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
วันนี้ (31 มี.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีมอบสัมฤทธิบัตรและมอบโอวาทแก่บัณฑิตแพทย์ในโครงการผลิต แพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท รุ่นที่ 11 ที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2553 จำนวน 413 คน
       
       นายจุรินทร์ กล่าวว่า การผลิตแพทย์ในประเทศไทยมีวิวัฒนาการยาวนานกว่าร้อยปี   เริ่มตั้งแต่มีโรงเรียนแพทยทยากรณ์ เมื่อ พ.ศ. 2432      และมีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ จนถึงปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาผลิตแพทย์ได้ทั้งหมดรวม 18 แห่งปัจจุบันในภาพรวม ประเทศไทยมีแพทย์ทั้งหมด 30,000 คน โดย 10,000 คน อยู่ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข อีก 10,000 คน อยู่สังกัดหน่วยงานอื่นๆ เช่น มหาวิทยาลัยแพทย์ เป็นต้น และอีก 10,000 คน อยู่ในภาคเอกชน ปัญหาใหญ่ คือ ปริมาณแพทย์ที่อยู่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งต้องรับผิดชอบประชากร 40-50 ล้านคนเป็นอย่างต่ำ ทำให้เกิดปัญหาแพทย์ขาดแคลน แพทย์ 1 คน ดูแลประชากรเฉลี่ย 7,000 คน    ถือว่ายังไม่ได้ตามเกณฑ์องค์การอนามัยโลกที่กำหนดคือ 1 ต่อ 5,000 คน    จึงจำเป็นต้องเร่งผลิตแพทย์เพื่อมาสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่ต้องให้บริการ ประชาชนส่วนใหญ่ให้รวดเร็วขึ้น
       
                         
       นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า ในการแก้ไขปัญหาขาดแคลนแพทย์ในระบบ กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ จัดทำโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตแพทย์ที่มีคุณภาพเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพ ของกระทรวงสาธารณสุข แก้ปัญหาขาดแคลนแพทย์ในพื้นที่ชนบทห่างไกลและพื้นที่เสี่ยง  ซึ่งรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้สถาบันการศึกษาเป็นค่าจัดการเรียน การสอนนักศึกษาแพทย์ปีละ 300,000 บาทต่อคน เริ่มดำเนินการระหว่าง พ.ศ.2538 -พ.ศ.2556 มีเป้าหมายผลิตแพทย์ทั้งหมด   11,495 คน ปัจจุบันได้รับนักศึกษาเข้าเรียนแล้ว 7,046 คน และสำเร็จการศึกษาแล้วรวม 2,569 คน     ซึ่งใน ปี 2554 กระทรวงสาธารณสุขผลิตแพทย์ตามโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท 413 คน ตั้งแต่ปี 2555 เพิ่มเป็น 683 คน   คาดว่าภายในอีก 5 ปี สัดส่วนแพทย์ต่อประชากร จะเป็นไปตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลกคือ 1 ต่อ 5,000 คน
       
                 
       ใน โอกาสนี้ นายจุรินทร์ ได้มอบโอวาทแก่แพทย์จบใหม่ว่า ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ขอให้ระลึกเสมอ ว่า ไม่มีที่ใดที่จะลำบากเกินจะอยู่ได้ ยิ่งห่างไกลเท่าใดงานของแพทย์ยิ่งมีความสำคัญกับประชาชนมากขึ้นเท่านั้น และขอให้แพทย์จบใหม่ทุกคนได้เรียนรู้วัฒนธรรมการทำงานเป็นทีม เคารพในความ อาวุโส การพัฒนาตนเองด้านภาวะผู้นำ การดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์
       
       ทางด้าน นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สถาบันที่ร่วมมือผลิตแพทย์ในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทใน ปีนี้รวม 7 สถาบัน คือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยแพทย์ที่จบครั้งนี้จะเข้าทำงานในโรงพยาบาล ตามภูมิลำเนาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 เป็นต้นไปและทำงานชดใช้ทุนเป็นเวลา 3 ปี ได้มอบโอวาทให้แพทย์ปฏิบัติงานด้วยระมัดระวัง รอบคอบ และมีความรับผิดชอบในหน้าที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้ร่วมงาน ผู้ป่วย ญาติ และประชาชน เพื่อป้องกันปัญหาจริยธรรมทางวิชาชีพ ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆ  การฟ้องร้องแพทย์มีมากขึ้น

ASTVผู้จัดการออนไลน์    31 มีนาคม 2554

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
Re: คาด 5 ปีไทยมีแพทย์อัตรากำลังตามเกณฑ์ WHO
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 01 เมษายน 2011, 00:07:08 »
รัฐมนตรีสาธารณสุขไทย น่าจะไปคุยกับรัฐมนตรีสาธารณสุขมาเลเซียดูหน่อยนะ(เราจะได้ไม่ล้าหลังเขาขนาดนี้) หรือไม่ก็หาที่ปรึกษาดีๆ สักหน่อย ไปเอาตัวเลขมาจากไหน.... โลกเขาไปถึงไหนกันแล้ว
.........................................
อัตราส่วนแพทย์ต่อประชากรของประเทศมาเลเซียโดยรวม อยู่ที่ 1 ต่อ 1,145 ซึ่งห่างจากมาตราฐานขั้นต่ำของ WHO มาก
(WHO minimum standards  --- 1 ต่อ 600)

เป็นเรื่องที่น่าตกใจ (It is also shocking) ที่ทราบว่า อัตราส่วนของแพทย์ต่อประชากร
ในรัฐ Sabah อยู่ที่ 1 ต่อ 2,248 และในรัฐ Sarawak อยู่ที่ 1 ต่อ 1,709

รัฐมนตรีสาธารณสุข (Health Minister Datuk Seri Liow Tiong Lai) แถลงว่า รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มแพทย์ให้ได้อัตราส่วน 1 ต่อ 600 ภายในปี 2020

Healthy Malaysia
Friday, August 20, 2010

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
Re: คาด 5 ปีไทยมีแพทย์อัตรากำลังตามเกณฑ์ WHO
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 02 เมษายน 2011, 01:15:27 »
สธ.เพิ่ม "หมอ-เภสัช" 2,389 คน

เมื่อวันที่ 1 เมษายน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์หลังเปิดอบรมปฐมนิเทศแพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกรจบใหม่ ในปีการศึกษา 2553 และทำสัญญาปฏิบัติงานชดใช้ทุนในสถานพยาบาลสังกัด สธ. จำนวน 2,389 คน ก่อนไปปฏิบัติงานภายในวันที่ 15 เมษายนนี้ว่า ปีนี้มีแพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกร ที่จบใหม่ ประกอบด้วย แพทย์ 1,522 คน ทันตแพทย์ 529 คน และเภสัชกร 338 คน

แต่ต้องยอมรับความจริงว่าแพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกรในสังกัด สธ. ยังขาดแคลนอยู่มาก โดยมีสัดส่วนแพทย์ 1: 7,000 คน
ทันตแพทย์ 1: 15,000 คน
ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดแพทย์ไว้เพียง 1: 5,000 คน และ ทันตแพทย์ 1: 10,000 คนเท่านั้น ดังนั้น จึงต้องเร่งผลิตแพทย์เพิ่มปีละประมาณ 1,500 คน หากทำได้ตามเกณฑ์นี้ ภายใน 5 ปีแพทย์จะได้ตามเกณฑ์ดังกล่าว
 

ด้าน นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ. กล่าวว่า ตามแผนแม่บทกำลังคนด้านสาธารณสุข และความต้องการกำลังคนด้านสาธารณสุขในปีนี้
ในระดับประเทศต้องการ

แพทย์ 40,620 คน
ทันตแพทย์ 12,300 คน
เภสัชกร 5,204 คน

โดยในส่วนของ สธ. ต้องการ
แพทย์เต็มระบบ 22,855 คน มีแล้ว 13,083 คน ยังขาดอีก 9,772 คน
ทันตแพทย์ต้องการ 8,462 คน แต่มีแล้ว 3,724 คน ยังขาดอีก 4,738 คน
ส่วนเภสัชกรต้องการ 6,736 คน มีแล้ว 6,070 คน ยังขาด 666 คน 

มติชนออนไลน์
1 เมษายน พ.ศ. 2554