ผู้เขียน หัวข้อ: ผลาญเงินส่วนรวม  (อ่าน 773 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9755
    • ดูรายละเอียด
ผลาญเงินส่วนรวม
« เมื่อ: 06 กรกฎาคม 2015, 08:14:42 »


รายงานผลการติดตามและตรวจสอบการดำเนินการของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ของคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) ซึ่งตรวจพบความบกพร่องในการบริหารจัดการเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบุว่า มีการใช้จ่ายเงินผิดวัตถุประสงค์ ไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 หลายประเด็น

เรื่องที่น่าจะหนักหนาสาหัสที่สุดคือข้ออ้างในการบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ด้วยการจ่ายเงินให้กับหน่วยงาน หรือองค์กรที่ไม่มีสิทธิได้รับตามกฎหมาย

ทาง คตร.ตรวจพบว่าสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้จ่ายเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพเป็นค่าใช้จ่ายให้แก่ หน่วยงาน องค์กร มูลนิธิ และบุคคล ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ที่มิได้เป็นหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ เป็นการกระทำที่ขัดต่อพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ

ส่วนการใช้จ่ายเงินงบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของสำนักงานสาขาจังหวัด (สสจ.) ขัดต่อวัตถุประสงค์ตามกฎหมาย

คตร.ตรวจสอบพบว่า คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ยังมิได้ใช้อำนาจตามมาตรา 18 (3) เพื่อกำหนดประเภทและขอบเขตในการให้บริการสาธารณสุขด้านการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ แต่ได้มีการประกาศกำหนดให้นำกฎ หรือระเบียบของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างหลักประกันสุขภาพที่ไม่ขัด หรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ ดังกล่าว มาใช้บังคับโดยอนุโลม

จากการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินงบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับบริการพื้นฐานของหน่วยบริการ และเครือข่ายบริการ พบว่ามีการนำเงินไปใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ หรือกิจกรรมต่างๆหลายรายการ

เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่กองทุนหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ และประชาชนเสียโอกาสที่จะได้รับการบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐานทางการแพทย์

เรื่องเหล่านี้เป็นที่รับรู้กันอยู่ทั่วไปนานแล้วว่าผู้มีอำนาจหน้าที่และมีอิทธิพลใน สปสช.ได้ใช้เงินกองทุนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพและบารมีของตัวเองมาอย่างยาวนาน

ใครยื่นมือเข้ามาแตะก็มักจะโวยวายว่าฉันเป็นคนดีมีหรือจะโกงมาถึงตอนนี้จะโกงหรือไม่โกงก็ไม่รู้ล่ะ แต่มีการชี้หน้าแล้วว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายโดยใช้ระเบียบตามอำเภอใจ สร้างความเสียหายต่อกองทุนและทำให้ประชาชนเสียโอกาส

การกระทำทั้งหลายทั้งปวงนี้จะลุล่วงไปไม่ได้ถ้า คณะกรรมการใหญ่ คือ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่มี รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานคอยให้ท้ายหนุนหลัง

แล้ววันพรุ่งนี้ค่อยมาดูกันว่าใครเป็นใครตัวเล็กตัวใหญ่ในคณะกรรมการชุดนั้น.

“ซี.12”


 ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 2 ก.ค. 2558

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9755
    • ดูรายละเอียด
กรรมการ สปสช.
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 06 กรกฎาคม 2015, 08:16:17 »
ในรายงานผลการติดตามและตรวจสอบการดำเนินการของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช.นั้น คตร.หรือคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ ได้ระบุตรงๆเลยว่า คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องหลายประเด็น

วันนี้จึงน่าจะมาทำความรู้จักมักคุ้นกันว่าใครเป็นใคร ในคณะกรรมการชุดนี้

ตัวประธานนั้นก็คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยตำแหน่ง ซึ่งปัจจุบันนี้ได้แก่ นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน

กรรมการส่วนแรกเป็นกรรมการโดยตำแหน่งคือ ปลัดกระทรวงต่างๆ 7 กระทรวง กับ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ

แต่เวลามีการประชุมจริงๆ ปลัดกระทรวงเหล่านั้นไม่ได้เข้าประชุมด้วยตัวเองส่วนใหญ่จะส่งตัวแทนไปประชุมคือ พลโทบุณยรักษ์ พูนชัย เจ้ากรมแพทย์ทหารบกแทนปลัดกระทรวงกลาโหม นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลางแทนปลัดกระทรวงการคลัง นางสาวอุรวี เงารุ่งเรือง รองปลัดกระทรวงพาณิชย์แทนปลัดกระทรวงพาณิชย์ นายจรินทร์ จักกะพาก รองปลัดกระทรวงมหาดไทยแทนปลัดกระทรวงมหาดไทย นางสาวพรรณี ศรียุทธศักดิ์ รองปลัดกระทรวงแรงงานแทนปลัดกระทรวงแรงงาน นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รักษาการปลัดกระทรวงสาธารณสุข นางนิตย์ โรจน์รัตนวาณิชย์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงศึกษาธิการแทนปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายโกวิทย์ มีกรุณา ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณแทนผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ

ว่ากันจริงๆแล้วมติทั้งหลายทั้งปวงที่ออกมาปลัดกระทรวงทั้งหลายจึงอาจจะไม่รู้เรื่องก็ได้

กรรมการส่วนที่สองเป็นผู้แทนองค์กรต่างๆคือ ศ.คลินิกอำนาจ กุสลานันท์ ผู้แทนแพทยสภา รศ.ทัศนา บุญทอง ผู้แทนสภาการพยาบาล นายธรณินทร์ จรัสจรุงเกียรติ ผู้แทนทันตแพทยสภา รศ.(พิเศษ) กิตติ พิทักษ์นิตินันท์ ผู้แทนสภาเภสัชกรรม นายเอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ ผู้แทนสมาคมโรงพยาบาลเอกชน นายวรวิทย์ บุรณศิริ ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายอิทธิพล คุณปลื้ม ผู้แทนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่น นายกิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ ผู้แทนเทศบาล นายสุรกิจ สุวรรณแกม ผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบล นพ.วิชัย โชควิวัฒน ผู้แทนองค์กรเอกชนด้านผู้สูงอายุ นายนิมิตร์ เทียมอุดม ผู้แทนองค์กรเอกชนด้านผู้ติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้ป่วยเรื้อรังอื่น นางสุนทรี เซ่งกิ่ง ผู้แทนองค์กรเอกชนด้านแรงงาน นายชูศักดิ์ จันทยานนท์ ผู้แทนองค์กรเอกชนด้านคนพิการและจิตเวช นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ผู้แทนองค์กรเอกชนด้านเกษตรกร

ส่วนที่สามเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย นพ.จรัล ตฤณวุฒิพงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์และสาธารณสุข นายคณิศ แสงสุพรรณ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินการคลัง นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคสุวพลา ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์แผนไทย ศ.เกียรติคุณสมศรี เผ่าสวัสดิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านประกันสุขภาพ นพ.พินิจ หิรัญโชติ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์ทางเลือก พล.อ.ต.อิทธพร คณะเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสังคมศาสตร์ นายเฉลิมศักดิ์ จันทรทิม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย

แล้วมี นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นเลขานุการแต่ตอนนี้ถูกระงับการปฏิบัติหน้าที่ไปแล้ว

กรรมการส่วนที่สองผู้แทนองค์กรต่างๆ และกรรมการส่วนที่สามผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆนี่แหละที่มีบทบาทสูงในการผลักดันเรื่องราวต่างๆโดยการชี้นำของหมอบางคน

มีเรื่องมีราวฉาวโฉ่ขนาดนี้แล้วยังทำเป็นทองไม่รู้ร้อนคอยนั่งรับเบี้ยประชุมแพงๆอยู่อีกหรือ.

“ซี.12”


ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 3 ก.ค. 2558