ผู้เขียน หัวข้อ: สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ แฉลูกจ้างภาครัฐสมองไหลสู่ภาคเอกชน  (อ่าน 4033 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9755
    • ดูรายละเอียด
เมื่อวันที 23 มี.ค. ดร.กฤษดา แสวงดี นักวิจัยสำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ (สวค.) สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ เปิดเผยผลการวิจัยเรื่องการสูญเสียกำลังคนลูกจ้างสายวิชาชีพ พยาบาลวิชาชีพ นักกายภาพบำบัดและนักเทคนิคการแพทย์ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ว่า ปัญหาสมองไหลของบุคลากรสุขภาพจากภาครัฐไปสู่ภาคเอกชนในปัจจุบันถือว่าเข้า ขั้นวิกฤติ

จากการสำรวจพบว่าปัจจัยสำคัญประการหนึ่งคือการที่ภาค รัฐยึดนโยบายใช้งานบุคลากรเหล่านี้ในฐานะลูกจ้างของ รพ. หรือที่เรียกว่าลูกจ้างเงินบำรุง ได้รับเงินเดือนจาก รพ.โดยไม่ได้บรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนตั้งแต่ปี 2548 จึงถือว่าเป็นการลดความมั่นคงในการจ้างงาน

"ปัจจุบันสำนักงาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีลูกจ้างชั่วคราวเงินบำรุงจำนวน 102,833 คน โดยเป็นกำลังคนวิชาชีพสุขภาพถึง 23,843 คน ในจำนวนนี้เป็น

พยาบาลวิชาชีพ 11,744 คน
นักกายภาพบำบัด 626 คน และ
นักเทคนิคการแพทย์ 755 คน

แต่จากการศึกษาสถานการณ์กำลังคน ด้านสุขภาพระหว่างปี 2548-2552 ใน รพ.ศูนย์และรพ.ทั่วไป 67 แห่ง พบว่าภาครัฐไม่สามารถรักษาบุคลากรที่เป็นลูกจ้างเหล่านี้ไว้ได้

นักเทคนิคการแพทย์มีอัตราการลาออกถึง 64.58 % ต่อปี
นักกายภาพบำบัดลาออก 51.05 % และ
พยาบาลวิชาชีพ 40.84 %

กล่าวได้ว่า ผลิตมาเท่าไหร่ก็ซึมหายไปหมด โดยเป้าหมายปลายทางหลังลาออกส่วนใหญ่เป็นสถานพยาบาลภาคเอกชน" ดร.กฤษดา กล่าว

ดร.กฤษดา กล่าวต่อว่า ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ

ลูกจ้างที่เป็นพยาบาลวิชาชีพ 48.68% จะลาออกในปีแรกที่เริ่มทำงาน และ
ลาออกอีก 25.57%  ในปีที่ 2 และ
แทบจะไม่เหลือเลยหลังปีที่ 5

ที่น่าเป็นห่วงคือในพื้นที่ที่มีความขาดแคลนกำลังคน อย่างพื้นที่ทุรกันดารมีการลาออกอย่างน่าเป็นห่วง เช่น จ.น่าน ที่ลูกจ้างพยาบาลลาออกถึง 90 % ในปีแรก แต่ข้อมูลยังพบว่าหากมีการบรรจุให้เป็นข้าราชการ อย่างเช่นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งแม้เป็นพื้นที่พิเศษ แต่กลับสามารถรักษาพยาบาลจบใหม่ที่เป็นข้าราชการไว้ได้ถึง 92.3 % หากเปรียบเทียบกับการลาออกของพยาบาลที่เป็นข้าราชการในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งพบว่ามีอัตราการลาออกเพียง 4.45 หรือน้อยกว่าลูกจ้างถึง  9.2 เท่า

"งานวิจัยชี้ให้เห็นว่าการไม่สามารถรักษาบุคลากรเหล่านี้ไว้ได้ถือเป็นความสูญเสียของภาครัฐที่ใช้งบประมาณมหาศาลในการลงทุนผลิตบุคลากรแต่ไม่สามารถนำมา ใช้งานได้ และยังทำให้เกิดปัญหาการสูญเสียโดยไม่จำเป็นจากการลงทุนซื้อตัวบุคลากร ที่น่าหนักใจคือนโยบายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จะไม่มีทางบรรลุจุดหมายได้หากขาดแคลนบุคลากร ทางออกที่ง่ายและเร็วที่สุดคือการเร่งบรรจุบุคลากรสุขภาพเหล่านี้ให้เป็นข้าราชการ" ดร.กฤษดา กล่าว.


เดลินิวส์ออนไลน์

today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด
กพ. อ่านงานวิจัยไม่เป็นหรอก