ผู้เขียน หัวข้อ: เอ็นจีโอ-ประชาคม สธ.เห็นพ้อง ย้าย "หมอวินัย" ควรเอาผิดทั้งบอร์ด สปสช.  (อ่าน 720 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
 เอ็นจีโอ-ประชาคม สธ.เห็นพ้อง ย้าย "หมอวินัย" ควรเอาผิดทั้งบอร์ด สปสช. เหตุการทำงานเป็นไปตามมติบอร์ด ด้าน "อานนท์" ชี้ย้ายบุคคลไม่แก้ปัญหา ต้องแก้ที่ระบบบัตรทอง
       
       นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ และกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสัดส่วนภาคประชาชน กล่าวถึงกรณีคสช. มีคำสั่งย้าย นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ว่า การบริหารงานของระบบหลักประกันสุขภาพฯ ดำเนินการโดยใช้มติบอร์ด สปสช. ซึ่งเป็นความพยายามที่จะทำให้เป็นหลักประกันว่า ประชาชนจะได้รับสิทธิประโยชน์การรักษาที่มีคุณภาพเหมาะสม จึงมีการใช้กฎหมาย ภายใต้เจตนารมณ์ที่จะทำให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม ดังนั้น การดำเนินการที่ผ่านมา เป็นความรับผิดชอบร่วมกัน ตั้งแต่หัวโต๊ะ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)เป็นประธาน และ กรรมการที่มาจากทุกภาคส่วน ดังนั้น กรรมการทุกคนต้องรับผิดชอบการมีมติใดมติหนึ่งออกมา ซึ่งแต่ละมติ ผ่านการกลั่นกรองและดูความเหมาะสม  ไม่ใช่การประชุมที่ประธานจะสั่งได้ทุกอย่าง ยิ่งเรืองที่เกี่ยวข้องกับสิทธิประโยชน์ของประชาชน ยิ่งจะต้องดูกันอย่างรอบคอบ ไม่ทำให้ประชาชนเสียประโยชน์ ถ้าหัวหน้า คสช.จะใช้มาตรา 44  ในการสั่งย้าย อยากให้ หัวหน้า คสช.ทำงานด้วยระบบธรรมาภิบาลมากกว่านี้ ไม่ควรใช้อำนาจแบบเผด็จการ สั่งการอะไรที่เป็นเหตุให้ มีผลกระทบต่อการเข้าถึงการรักษาของคน 49 ล้านคนในระบบหลักประกันสุขภาพ และต่อไปนี้ระบบหลักประกันฯ จะบริหารงานอย่างไร จะตีความการดำเนินอะไร ก็จะเกรงอำนาจของ คสช. ไม่กล้าทำอะไรอีกที่กฎหมายเขียนไม่ชัด แบบนี้เท่ากับการล้มระบบหลักประกันสุขภาพฯ เสี่ยงที่จะกลับไปล้มละลายจากการเข้าถึงการรักษากันเหมือนในอดีต
       
       ด้านพญ.ประชุมพร บูรณเจริญ ที่ปรึกษาสมาพันธ์โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป(สพศท.) และประชาคมสาธารณสุข กล่าวว่า การย้าย นพ.วินัย ถือเป็นเพียงจุดเริ่ม แต่ไม่ใช่สิ้นสุด เพราะนพ.วินัย แม้จะเป็นเลขาธิการสปสช. ทำหน้าที่บริหารกองทุน แต่ก็บริหารตามมติบอร์ด สปสช. ดังนั้น การจะหาคนรับผิดชอบต้องให้กรรมการอื่นๆ หรือสูงสุดคือ ประธานบอร์ดสปสช.หรือไม่ แต่ก็ถือเป็นนิมิตหมายดีที่ว่า ขณะนี้คสช.เห็นว่าการบริหารกองทุนที่ผ่านมา มีปัญหาต่อระบบสุขภาพจริงๆ เพราะทำให้โรงพยาบาลเกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง การบริหารกองทุนมีการใช้งบผิดประเภท เห็นได้จากการพิจารณาทั้งคตร. และป.ป.ท.  จึงต้องขอขอบคุณหัวหน้าคสช.ที่เล็งเห็นเรื่องนี้
       
       ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า มองว่าการย้ายผู้บริหารไป ซึ่งมองว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ตัวบุคคลไม่น่าจะแก้ปัญหาได้จริง เพราะระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ยังคงเหมือนเดิม ไม่ได้รับการแก้ไข

ASTVผู้จัดการออนไลน์    27 มิถุนายน 2558