ผู้เขียน หัวข้อ: ผู้ป่วยรักษาเพิ่มกองทุนจิตเวชสปสช.  (อ่าน 1496 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
เมื่อวันที่ 27 มี.ค. นายแพทย์วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า จากการที่ได้มีการตั้งกองทุนจิตเวชในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

ซึ่ง ตั้งเป็นกองทุนแยกจากงบเหมาจ่ายรายหัว เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยจิตเวชเป็นการเฉพาะจากเดิมที่รวมอยู่ในงบเหมาจ่ายราย หัว ซึ่งการดูแลรักษาผู้ป่วยจิตเวชต่างจากผู้ป่วยทั่วไป จึงทำให้การดูแลไม่ครอบคลุม หลังจากดำเนินการในปี 2554 เป็นปีที่ 2 นั้น พบว่า วิธีการบริหารจัดการแบบนี้ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีโอกาสในการเข้าถึงการบริการรักษาพยาบาลมากขึ้น โดยจากรายงานสถานการณ์ของผู้ป่วยด้านจิตเวช ของกรมสุขภาพจิต พบว่ามีผู้ป่วยนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเกิน 15 วัน    ร้อยละ 52 ในจำนวนนี้หากมีการแบ่งสัดส่วนของการใช้บริการในโรงพยาบาล พบว่า เป็นโรงพยาบาลศูนย์ร้อยละ 20.7 โรงพยาบาลทั่วไปร้อยละ 66.1 และโรงพยาบาลจิตเวช สังกัดกรมสุขภาพจิตมีร้อยละ 58.7
   
“นอกจากนี้ สปสช.ยังได้ขยายสิทธิประโยชน์แก่ผู้ป่วยจิตเวชในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วน หน้า ซึ่งคณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณในส่วนของการจัดหายาสำหรับผู้ป่วยกว่า 203 ล้านบาท เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงสิทธิการเบิกจ่ายยาระบบดังกล่าวมากขึ้น โดยสปสช.ร่วมกับองค์กรเภสัชกรรม ในการผลิตยาและร่วมมือกับกรมสุขภาพจิต เพื่อจัดการระบบยาให้ดีขึ้นด้วย ซึ่งก่อนหน้านี้ คณะอนุกรรมการคัดเลือกยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นและมีปัญหาในการเข้าถึงยาของ ประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้เสนอยา 2 รายการ คือ ยาริสเพอริโดน รักษาโรคจิตเภท และเซอร์ทราไลน์ รักษาโรคซึมเศร้า อย่างไรก็ตาม ในส่วนของยาเซอร์ทราไลน์นั้น อภ.สามารถผลิตได้แล้วเหลือแค่ในส่วนของการรอขึ้นทะเบียนจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และคาดว่า จะนำยาดังกล่าวบรรจุเข้าไปในบัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อใช้รักษาผู้ป่วยทั่ว ประเทศ”.

เดลินิวส์
28 มีนาคม 2554