ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อสังเกตความโปร่งใส–ผลประโยชน์ทับซ้อน กรณีตรวจสอบสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส)  (อ่าน 823 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
ตามที่มีการนำเสนอข่าวที่ปรากฏในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการโครงการวิจัยของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก International Development Research Center (IDRC) ประเทศแคนาดา ว่ามีการดำเนินงานที่มีการยกเว้นไม่ปฏิบัติตามนโยบายและข้อบังคับของสวรส. ทำให้เกิดความเสี่ยง และมีปัญหาความไม่โปร่งใสในการดำเนินงาน คณะกรรมการ สวรส.โดยนพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการ สวรส. จึงได้แต่งตั้งและมอบหมายให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบ ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าว ทั้งนี้เนื่องจากสวรส.เป็นหน่วยงานที่ใช้งบประมาณของประเทศ และเป็นองค์กรด้านวิชาการที่ต้องสามารถถูกตรวจสอบและเปิดเผยทุกข้อมูลอย่างชัดเจนต่อสาธารณะได้

หลังจากคณะกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.)ได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบ กรณีการบริหารโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนจากองค์กรสนับสนุนทุนวิจัยและพัฒนาจากแคนาดา(IDRC) เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2558 ซึ่งประกอบด้วย 1) รศ.ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา เป็นประธาน 2) นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ(ที่ปรึกษาวิชาการ รมต-รมช.กระทรวงสาธารณสุข ชุดปัจจุบัน) 3) ศ.วิภาดา คุณาวิกติกุล 4) นส.นวพร เรืองสกุล 5) ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุขที่ได้รับมอบหมาย 6) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ โดยคณะอนุกรรมการชุดนี้ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงตั้งแต่วันที่ 12-23 มกราคม 2558 และได้สรุปรายงานการตรวจสอบเมื่อวันที่ 16 กุมพาพันธ์ 2558 ว่าการใช้เงินในโครงการ IDRC ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนด ระเบียบของสวรส. และขั้นการดำเนินการโปร่งใสทุกประการ ดูรายละเอียดรายงานการตรวจสอบ

ต่อเรื่องนี้นพ.สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล อดีตผู้อำนวยการสวรส. ซึ่งถูก นพ.สมศักดิ์ รมช.สาธารณสุขปลดเมื่อเดือนธันวาคม 2557 และนพ.สมเกียรติเป็นผู้รายงานและสอบถามข้อเท็จจริงโครงการIDRCโดยเกรงว่าจะมีความไม่โปร่งใสในการดำเนินการ จนเป็นที่มาของเจ้าหน้าที่ IDRC เข้ามาตรวจสอบการใช้เงินของโครงการIDRC

แม้ว่าจะมีรายงานของอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงปรากฏแล้ว แต่นพ.สมเกียรติได้ตั้งข้อสังเกตต่อรายงานดังกล่าวดังต่อไปนี้

1.ข้อมูลเบื้องต้น เครือข่าย Asian Partnership for Avian Influenza Research (APAIR) ก่อตั้งโดยสมาชิก 6 ประเทศ เมื่อปี พ.ศ.2549 และจัดตั้งสำนักงานที่ สวรส. เมื่อปี 2551 ต่อมาเครือข่ายนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Asian Partnership on Emerging Infectious Diseases Research (APEIR) ในปี พ.ศ.2554 องค์กรสนับสนุนวิจัยและพัฒนาจากประเทศแคนาดา (IDRC) ได้เริ่มสนับสนุนงบประมาณการดำเนินการวิจัยของเครือข่ายระหว่างประเทศนี้โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ IDRC ระยะที่ 1 (พ.ศ.2551-2555) และ IDRC ระยะที่ 2 (พ.ศ.2555-2559)
ผลประโยชน์ทับซ้อนของอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง

สำหรับข้อสังเกตในประเด็นที่ 2.ผลประโยชน์ทับซ้อนของคณะอนุกรรมการตรวจสอบ ใน รายงานตรวจสอบข้อเท็จจริงโครงการ IDRCระบุว่าประธานคนแรกเป็นคนไทย คนที่สองเป็นอินโดนีเซียและคนที่สามเป็นจีน คนที่สี่เป็นไทย แต่ในรายงานของคณะอนุกรรมการฯ หลีกเลี่ยงไม่ระบุชื่อว่าคนไทยดังกล่าวคือใคร ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าประธานคนที่หนึ่ง คือ นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการที่มีการสอบสวนอยู่ โดย นพ.สุวิทย์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ถูกเลือกจากกรรมการสรรหาที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน และยังเป็นอนุกรรมการชุดนี้ที่ดำเนินการตรวจสอบโครงการ IDRC(ดูข้อมูลเพิ่มเติม)และประธานคนที่สี่คือ นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข เป็นอดีตผู้อำนวยการ สวรส. ที่เคยดูแลโครงการนี้ และเป็นผู้อนุมัติเบิกเงินที่ถูกระบุผิดระเบียบของ สวรส. ดังที่เป็นข่าวไปแล้ว ขณะนี้เรื่องกำลังดำเนินการอยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)
สวรส.ได้ทุนโครงการIDRCแต่เงินไม่ผ่านสวรส.

ประเด็นที่ 3. งบบริหารระยะที่ 1 อยู่นอกระบบของ สวรส. ซึ่งโครงการ IDRC ระยะที่ 1 ดำเนินการโดยประธานคนแรก นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ มีการเปิดบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์แยกจากกองทุน สวรส. ชื่อ Regional Coordinating Office เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2551 ในรายงานคณะอนุกรรมการฯ หลีกเลี่ยงที่จะระบุเลขที่บัญชีปิดเผยให้สาธารณชนรับรู้ งบประมาณนี้เป็นค่าบริหารจัดการเป็นเวลา 5 ปีของ APAIR CO เป็นจำนวนทั้งสิ้น 14.3 ล้านบาท คณะอนุกรรมการฯ ได้รายงานเฉพาะบางส่วนที่ต้องการรายงาน แต่ไม่รายงานให้ครบถ้วน โดยที่งบประมาณโครงการวิจัยของประเทศเพื่อนบ้านนั้น IDRC ส่งไปยังผู้วิจัยโดยตรง ไม่ผ่าน สวรส. จึงไม่ปรากฏอยู่ในฐานข้อมูล สวรส. เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง แต่งบประมาณค่าบริหารจัดการ 14.3 ล้านบาท เป็นงบประมาณที่สนับสนุนโครงการนี้ แต่ก็ไม่ผ่าน สวรส. และไม่ปรากฏในฐานข้อมูลของ สวรส. เลย จึงไม่สามารถตรวจสอบได้ ประเด็นนี้สำคัญและเป็นสิ่งที่ IDRC ตรวจพบและทักท้วงไว้ในหนังสือ IDRC ฉบับวันที่ 10 ตุลาคม 2557 แต่คณะอนุกรรมการฯ กลับหลีกเลี่ยงที่จะไม่กล่าวถึง

นอกจากนั้น ยังมีคำสั่งสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขที่ 28/2551 เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 ซึ่งไม่ปรากฏในรายงานการประชุมคณะกรรมการ สวรส. โดยให้มอบอำนาจให้ภญ.พรพิศ ศิลขวุธท์ ผู้จัดการงานวิจัย ปฏิบัติหน้าที่แทนผูอำนวยการสวรส.(ดูรายละเอียดคำสั่ง) ให้เปิดบัญชีนอกระบบ ซึ่งทำให้ สวรส. ไม่สามารถตรวจสอบได้ และประเด็นสำคัญคือการออกคำสั่งนี้เกิดขึ้นหลังจากเปิดบัญชีแล้ว จึงเป็นประเด็นที่ตั้งข้อสังเกตุว่า มีการตกลงกันเองให้งบจำนวน 14.3 ล้านบาท อยู่นอกระบบของ สวรส. ซึ่งมีภญ.พรพิศ ศิลขวุธท์ เป็นผู้ดูแลการใช้เงินในโครงการนี้ โดยผู้รับมอบอำนาจต้องปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ หลักเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติและมติคณะกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องด้วย พร้อมทั้งต้องสรุปรายงานให้ผู้อำนวยการทราบเป็นระยะๆ แต่เจ้าหน้าที่จาก IDRC ที่มาตรวจสอบเมื่อปลายเดือนกันยายน 2557 นั้น ไม่มีหลักฐานการเบิกจ่ายงบประมาณทั้ง 14.3 ล้านบาทให้เห็นได้ ทั้งๆ ที่ผ่านมาไม่นานเกิน 6 ปี
ไม่มีรายงานสรุปรายการเบิกจ่ายเงิน

นอกจากนี้ในประเด็นที่ 4. งบบริหารระยะที่ 2 ยังอยู่นอกเหนือการตรวจสอบจาก สวรส. ในโครงการ IDRC ระยะที่ 2 แบ่งเป็น 2 กิจกรรม มีการเปิดแยกเป็น 2 บัญชี ได้แก่ บัญชีชื่อ APEIR CO และ APEIR-MBDS Project แยกออกจาก สวรส. โดยกิจกรรมแรกในบัญชี APEIR CO จะเป็นช่วงที่คาบเกี่ยวในการผลัดเปลี่ยนผู้อำนวยการ ในรายงานการตรวจสอบของคณะอนุกรรมการฯ ได้อ้างว่าเพื่อการบริหารที่เป็นอิสระ แต่ไม่ปรากฏในฐานข้อมูล สวรส. ว่าเป็นโครงการบริหารทุนวิจัย IDRC และการเบิกจ่ายทั้งหมดอยู่นอกเหนือระบบการเงิน และระบบตรวจสอบภายใน ของสวรส.จึงไม่สามารถตรวจสอบให้เป็นไปตามระเบียบและข้อบังคับของ สวรส.

โครงการ IDRC ระยะที่ 2 นี้ ได้มีการโอนเงินจาก IDRC เข้า สวรส. ก่อน แล้วให้ฝ่ายการเงินดำเนินการโอนเข้าบัญชีทั้งสองที่ ภญ.พรพิศ ศิลขวุธท์ เปิดไว้ อนึ่ง บัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขากระทรวงสาธารณสุข ชื่อ APEIR CO เลขที่ 340-219759-0 เปิดเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2556 ซึ่งเปิดบัญชีก่อนที่ นพ.สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล จะเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการ สวรส. จึงไม่ได้รับรู้ว่ามีการเปิดบัญชีนอกระบบของ สวรส. นี้เกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในจาก IDRC ต้องการให้ทุกอย่างเข้าระบบภายใน สวรส. ให้หมด ดังนั้น นพ.สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล จึงสั่งให้ปิดบัญชี APEIR CO นี้ ซึ่ง ภญ.พรพิศ ศิลขวุธท์ ได้แจ้งกลับมาว่าจะปิดบัญชีนี้เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2557 จนบัดนี้ยังไม่มีการปิดบัญชีนี้เลย

ประเด็นที่ 5.การเบิกงวดเงินไม่เป็นไปตามกฎระเบียบของ สวรส. ในโครงการ IDRC ระยะที่ 2 หัวหน้าโครงการ (ภญ.พรพิศ ศิลขวุธท์) ได้ขออนุมัติวงเงินครั้งที่ 2 (19 พฤษภาคม 2557) และครั้งที่ 3 (27 มิถุนายน 2557) ต่อเนื่อง โดย นพ.สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล ในฐานะผู้อำนวยการ สวรส. ปี 2557 ได้ถามหาสรุปรายงานการใช้เบิกจ่ายเงิน ปรากฏว่าไม่มีรายละเอียดให้รับทราบตามข้อ 4 ในคำสั่งสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขที่ 28/2551 เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 จึงเป็นเหตุให้ นพ. สมเกียรติ ต้องเร่งสืบหาข้อเท็จจริงเองจากฝ่ายตรวจสอบภายในและฝ่ายการเงิน เบื้องต้นจึงพบว่ามีการปฏิบัติเช่นนี้มานานแล้ว ไม่สามารถตรวจสอบการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามระเบียบและข้อบังคับของ สวรส.

“ที่ผ่านมาโครงการ IDRC นี้ ไม่มีการตรวจสอบสิทธิ หรือเบิกจ่ายเงินตามระเบียบของ สวรส. ที่กำหนดไว้ แต่เจ้าหน้าที่การเงินและตรวจสอบภายในอึดอัดพูดไม่ได้ ผมจึงได้ติดต่อเพื่อขอพบกับนางโดมินิค (Dominique) หัวหน้าฝ่ายบริหารของ IDRC ตามที่เป็นข่าวไป ซึ่งการที่กลุ่มผู้มีผลประโยชน์ทับซ้อนเข้ามาดำเนินการอยู่นี้ เจ้าหน้าที่ก็ยิ่งอึดอัดกับสภาพจำยอม หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบภายในและหัวหน้าฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลที่ทนไม่ได้ ลาออกไปแล้วหลายคน”นพ.สมเกียรติตั้งข้อสังเกต
ยุบฝ่ายตรวจสอบภายในเปลี่ยนชื่อใหม่”หน่วยพัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัย”

ประเด็นข้อสังเกตที่ 6. โครงการ IDRC นอกระบบที่ สวรส.ตรวจสอบได้และมีหลักฐานปรากฏ จากการดำเนินการของหัวหน้าฝ่ายตรวจสอบภายใน (คุณณีนาท สมหวัง) ได้ตรวจพบการเบิกจ่ายที่ผิดระเบียบ สวรส. โดยที่พนักงาน สวรส. ไม่สามารถเบิกเงินเบี้ยเลี้ยงรายวันจากโครงการของ สวรส. ได้ แต่จากรายงานตรวจสอบ ได้ระบุว่า “หนังสือ IDRC ฉบับวันที่ 10 ตุลาคม 2557 เป็นข้อสรุปที่ผิดพลาดโดยสิ้นเชิง และเกิดจากความไม่ละเอียดรอบคอบของ IDRC ที่ไม่ได้แปลเอกสารเป็นภาษาอังกฤษ และไม่ได้ตรวจสอบคำชี้แจงของเจ้าหน้าที่ สวรส. ให้ถูกต้องก่อนสรุป” จึงเป็นการกล่าวที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่ตรวจพบโดยเจ้าหน้าที่จาก IDRC และฝ่ายตรวจสอบภายในของ สวรส. การที่คณะอนุกรรมการฯ อ้างว่า “ไม่มีการสั่งการไม่ให้หน่วยตรวจสอบภายในเข้าตรวจสอบโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก IDRC” ตามรายงานตรวจสอบฯ หน้า 8 ย่อหน้าที่ 2

อย่างไรก็ตามเรื่องนี้อ่อนไหวมาก และเสี่ยงต่อการถูกครหาเรื่องทุจริตประพฤติมิชอบ จึงไม่มีผู้บริหารคนใดกล้าที่จะสั่งตรงๆ แบบนั้น แต่มีหลักฐานยืนยันว่า หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบภายใน (คุณณีนาท สมหวัง) ได้ทำรายงานถึง นพ.สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล ผู้อำนวยการ สวรส. เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2557 ว่า ช่วงปี พ.ศ.2550-2556 อดีตผู้อำนวยการ สวรส. (นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข) ได้เปลี่ยนชื่อหน่วยตรวจสอบภายในเป็นหน่วยพัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบโครงการ องค์กรภาคีเครือข่ายที่รับทุนวิจัยจาก สวรส. และพัฒนาระบบเครือสถาบัน สวรส. เช่น ออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานระหว่างเครือสถาบันกับ สวรส. รวมทั้งจัดประชุมเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเครือสถาบันและ สวรส. รวมถึงการสร้างระบบการควบคุมภายในที่ดี โดยข้อเท็จจริงคือ การเปลี่ยนชื่อหน่วยงานและมอบหมายงานอื่นของอดีตผู้อำนวยการ ให้คุณณีนาท สมหวัง (หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบภายใน) ให้ไปทำงานอื่น จึงไม่มีภารกิจในการตรวจสอบโครงการของ IDRC และแน่นอนที่จะไม่ปรากฏคำสั่งใดๆ ว่าห้ามตรวจสอบโครงการของ IDRC ให้เป็นที่ครหาได้ แต่เมื่อหัวหน้าฝ่ายตรวจสอบภายในต้องไปรับทำหน้าที่อื่น ย่อมทำให้ไม่สามารถดำเนินการตรวจสอบภายในได้อย่างที่เคยทำ

ส่วนประเด็นที่ 7.การจ้างบุคลากรที่ทำงานในโครงการ IDRC อยู่นอกระบบของ สวรส. คนไทยที่ถูกจ้างโดยโครงการ IDRC นั้น ดำเนินการโดย ภญ.พรพิศ ทั้งหมด โดยมีการอ้างว่าฝ่ายทรัพยากรบุคคล(HR) ไม่สันทัดภาษาอังกฤษ เมื่อผ่านกระบวนการรับเข้าทำงานแล้ว ก็ต้องเข้าระบบของฝ่ายบุคคล แต่หัวหน้าฝ่าย HR ได้รายงานว่า ภญ.พรพิศ ต้องการจ่ายเงินเดือนเอง ทำให้พนักงานรายนั้นๆ เสียสิทธิเรื่องประกันสังคม และสมทบเข้ากองทุนเลี้ยงชีพ (Providence fund) จุดมุ่งหมายเพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าสู่ระบบของฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลของสวรส. โดยข้อสรุปของคณะอนุกรรมการฯ ในประเด็นนี้ว่า ทุกอย่างเข้าสู่ระบบของ สวรส. ซึ่งขัดแย้งกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏแล้วว่าฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลตรวจพบว่า การจ้างบุคลากรไม่ผ่านฝ่ายทรัพยากรบุคคลและมีการจ่ายเงินเดือนเป็นเงินสดจาก ภญ.พรพิศ โดยตรง ไม่ผ่านระบบบัญชีจาก สวรส. ยกเว้นรายที่จ้างชาวอินโดนีเซียในตำแหน่ง APEIR Coordinator เนื่องจาก ภญ.พรพิศ ไม่สามารถออกใบกำกับภาษี(VAT) ให้ได้ตามความต้องการของผู้รับจ้าง จึงจำเป็นต้องเข้าระบบบัญชีภายในของ สวรส.

ประเด็นที่ 8.รายงานของคณะอนุกรรมการตรวจสอบ ข้อสรุป หน้า 12 ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงที่ได้จากพยานเอกสารและการสัมภาษณ์ที่ผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีหลักฐานชัดเจนที่หัวหน้าโครงการยอมรับว่าไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ ของ สวรส. เนื่องจากมีคำสั่งสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขที่ 28/2551 ดังนั้นการที่คณะอนุกรรมการตรวจสอบมีมติสรุปการบริหารโครงการ IDRC ที่ผ่านมาว่าโปร่งใส จึงเป็นการดำเนินการที่ขาดจริยธรรมโดยสิ้นเชิง

ประเด็นที่ 9. หลักฐานที่ตรวจพบและความจริงที่ปรากฏ นพ.สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล ผู้อำนวยการ สวรส. (ปี 2557) ได้สั่งการให้ฝ่ายตรวจสอบภายใน และฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล ตรวจสอบข้อเท็จจริงตามที่ IDRC ร้องมา จากการดำเนินการดังกล่าว พบว่า

1. ฝ่ายตรวจสอบภายใน (คุณณีนาท) ได้ตรวจพบการเบิกจ่ายที่ผิดระเบียบ สวรส. โดยที่พนักงาน สวรส. ไม่สามารถเบิกเงินเบี้ยเลี้ยงรายวันจากโครงการของ สวรส. ได้ แต่มีการเบิกจ่ายในโครงการ IDRC

2. ฝ่ายบริหารทรัพยาบุคคล ตรวจพบว่า การจ้างบุคลากรไม่ผ่านฝ่ายทรัพยากรบุคคล และมีการจ่ายเงินเดือนเป็นเงินสดจาก ภญ.พรพิศ โดยตรง ไม่ผ่านระบบบัญชีจาก สวรส. ยกเว้นรายที่จ้างเป็น APEIR Coordinator จากอินโดนีเซีย แต่จากรายงานตรวจสอบ ได้ระบุว่า “หนังสือ IDRC ฉบับวันที่ 10 ตุลาคม 2557 เป็นข้อสรุปที่ผิดพลาดโดยสิ้นเชิง และเกิดจากความไม่ละเอียดรอบคอบของ IDRC ที่ไม่ได้แปลเอกสารเป็นภาษาอังกฤษ และไม่ได้ตรวจสอบคำชี้แจงของเจ้าหน้าที่ สวรส. ให้ถูกต้องก่อนสรุป” จึงเป็นการกล่าวที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่ตรวจพบโดยเจ้าหน้าที่จาก IDRC และฝ่ายตรวจสอบภายในของ สวรส.

16 มิถุนายน 2015
http://thaipublica.org/2015/06/hsri-3/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 มิถุนายน 2015, 22:48:54 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
ข้อสังเกตจากหนังสือ IDRC ฉบับวันที่ 10 ตุลาคม 2557 ข้อโต้แย้งจากคณะอนุกรรมการตรวจสอบจาก สวรส.ข้อเท็จจริง/หลักฐานที่ปรากฏ

จากคำสั่งสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขที่ 28/2551 ของอดีต ผอ. สวรส. ลงวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ.2008 (พ.ศ.2551) พบว่า เงินทุนที่ได้รับการสนับสนุนจาก IDRC ทั้งหมด ได้รับการยกเว้นจากนโยบายและขั้นตอนต่างๆ ของ สวรส. IDRC ระยะที่ 1 งบประมาณที่สนับสนุนโครงการไม่ผ่าน สวรส. แต่มีงบบริหารของ APEIR CO จำนวนเงิน 14.3 ล้านบาท เป็นเวลา 5 ปี

1.งบบริหารจัดการ 14.3 ล้านบาทในโครงการ IDRC ระยะที่ 1 นี้ ไม่มีปรากฏในฐานข้อมูลของ สวรส.

2.คำสั่งสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขที่ 28/2551 เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 โดยสั่งการ หลังจากเปิดบัญชีนำเงินโครงการ IDRC ไปไว้นอกระบบสวรส. แล้ว และไม่มีมติคณะกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขรองรับการดำเนินการตามคำสั่งนี้

จากคำสั่งสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขที่ 28/2551 ได้มอบอำนาจให้ ภญ.พรพิศ ศิลขวุธท์ ให้อนุมัติการก่อหนี้ผูกพันและการใช้เงินในโครงการ โดยผู้รับมอบอำนาจต้องปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ หลักเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติและมติคณะกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องด้วย พร้อมทั้งสรุปรายงานให้ผู้อำนวยการทราบเป็นระยะๆ ภญ.พรพิศ ศิลขวุธท์ ได้เปิดบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ชื่อ Regional Coordinating Office เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2551 แต่ไม่ระบุเลขที่บัญชี เพื่อบริหารจัดการโครงการ IDRC ระยะที่ 1 และไม่ระบุว่า “ผู้ใด” มีอำนาจในการเบิกจ่ายบ้าง

1) ไม่ปรากฏรายงานการใช้จ่ายเงินตามที่เบิกจ่ายออกไป งบบริหารจัดการ 14.3 ล้านบาทในโครงการ IDRC ระยะที่ 1

2)ไม่ปรากฏรายงานงบดุลประจำปี และตลอดช่วงตั้งแต่ปี พ.ศ.2551-2555

3)ไม่มีรายงานผลการวิจัยเป็น Annual report ที่เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ตลอดช่วงตั้งแต่ปี พ.ศ.2551-2555

4)ไม่มีมติคณะกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขรองรับการดำเนินการนอกระบบที่ สวรส. ตรวจสอบได้

เนื่องจากการมีส่วนร่วมของฝ่ายบุคคล ฝ่ายการเงินและฝ่ายตรวจสอบภายใน ค่อนข้างน้อย ทำให้ขั้นตอนต่างๆ ในการบริหารโครงการไม่โปร่งใส และทำเป็นลักษณะเฉพาะกิจเท่านั้น ไม่มีความโปร่งใสในการใช้จ่ายเงินของโครงการ จากรายงานตรวจสอบฯ หน้า 8 ย่อหน้าที่ 2 ได้อ้างว่า “ไม่มีการสั่งการไม่ให้หน่วยตรวจสอบภายในเข้าตรวจสอบโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก IDRC” มีหลักฐานยืนยันว่า หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบภายในได้ทารายงานถึงผู้อำนวยการ สวรส. วันที่ 14 พฤศจิกายน 2557 ว่า ช่วงปี พ.ศ.2550-2556 อดีตผู้อำนวยการ สวรส. (นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข) ได้เปลี่ยนชื่อหน่วยตรวจสอบภายในเป็นหน่วยพัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบโครงการ องค์กรภาคีเครือข่ายที่รับทุนวิจัยจาก สวรส. และพัฒนาระบบเครือสถาบัน สวรส. เช่น ออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานระหว่างเครือสถาบันกับ สวรส. รวมทั้งจัดประชุมเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเครือสถาบันและ สวรส.รวมถึงการสร้างระบบการควบคุมภายในที่ดี ข้อเท็จจริงคือ การเปลี่ยนชื่อหน่วยงานและมอบหมายงานอื่นของอดีตผู้อำนวยการ ให้ หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบภายในให้ไปทางานอื่น จึงไม่มีภารกิจในการตรวจสอบโครงการของ IDRC จึงไม่ปรากฏเป็นคำสั่งใดๆ ว่า “ห้ามตรวจสอบโครงการของ IDRC” ให้เป็นที่ครหาได้

ข้อเสนอแนะจาก IDRC ฉบับวันที่ 10 ตุลาคม 2557

ข้อโต้แย้งจากคณะอนุกรรมการตรวจสอบจาก สวรส. ข้อเท็จจริง/หลักฐานพยานเอกสารและพยานบุคคลที่ปรากฏ

1.ขอให้จ้างเจ้าหน้าที่การเงิน ที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ในลักษณะเต็มเวลา โดยใช้เงินจาก indirect cost ที่กำหนดไว้ให้ในโครงการต่างๆ เจ้าหน้าที่การเงินนี้มีความรับผิดชอบในการบริหารจัดการด้านการเงินและโครงการต่างๆที่ได้รับการสนับสนุนโดย IDRC นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ในการเตรียมรายงานด้านการเงิน ดูแลบัญชีการใช้เงินในธนาคาร ทำความตกลงกับธนาคาร ดูแลการจ่ายเงินล่วงหน้าและค่าใช้จ่ายต่างๆ ทบทวนและรวบรวมรายงานการเงินของหน่วยงานต่าง รวมทั้งกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นส่วนที่เพิ่มเติมจากข้อมูลปกติทางด้านการเงินที่จะต้องนำเสนอในรายงานต่อ IDRC นอกจากนี้เป็นที่คาดหวังว่าเจ้าหน้าที่การเงินจะต้องไปเยี่ยมสถาบันต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลทางด้านการเงินที่ส่งมานั้นถูกต้อง

กล่าวไว้ในข้อ 4.1 เงินทุนปีละ 3 ล้านบาทใน IDRC ระยะที่ 1 (พ.ศ.2551-2555) นั้น เห็นว่าไม่ต้องจ้างเจ้าหน้าที่การเงิน แล้วมอบให้ผู้ประสานงาน (ภญ.พรพิศ) ดำเนินการทุกอย่างทุกขั้นตอน มาตลอดช่วงโครงการระยะที่ 1 และทางIDRC เคยส่งผู้ตรวจสอบ (Controller) มาตรวจสอบการบริหารโครงการ IDRC สองครั้ง ในปี พ.ศ.2552 และ 2555 นั้น เป็นการตรวจสอบเฉพาะเอกสารที่เป็นภาษาอังกฤษ

1)การที่ IDRC เคยส่งผู้ตรวจสอบ (Controller) มาตรวจสอบนั้น เป็นการตรวจสอบเฉพาะเอกสารที่เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่ยังมีเอกสารการเบิกจ่ายเป็นภาษาไทยที่หลีกเลี่ยงการตรวจสอบ และไม่มีการตรวจสอบฐานข้อมูลของ สวรส. จากเจ้าหน้าที่ของ IDRC แต่ประการใดเลย

2)ระเบียบการเบิกจ่ายงบประมาณที่เป็นลักษณะนำใบเสร็จมาเบิกคืน (Post-audit) ไม่มีการตรวจสอบสิทธิ์ในการเบิกจ่ายค่ายานพาหนะ ค่าเดินทาง ค่าเบี้ยเลี้ยง เหมือนอย่างที่ สวรส. ดำเนินการอยู่ เนื่องจากเป็นการดำเนินการโดย ภญ.พรพิศ แต่เพียงผู้เดียว จึงไม่มีการตรวจสอบสิทธิ์ (Pre-audit) และเป็นดำเนินการเบิกเงินคืนตามใบเสร็จที่จัดหามาได้ ไม่เป็นไปตามระเบียบการเบิกจ่ายพัสดุเลย

3)เนื่องจากไม่มีหลักฐาน Pre-audit และอื่นๆ ที่เป็นภาษาอังกฤษตามมาตรฐานสากลที่ยอมรับจากองค์การนานาชาติได้ ทาง IDRC จึงขอให้ทาง สวรส. จัดจ้างเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินที่รู้ภาษาอังกฤษที่มาดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ เนื่องจากลงความเห็นเป็นข้อสรุปว่า เป็นจุดที่รั่วไหลของงบประมาณด้านบริหารจัดการได้

2.รายงานการเงินที่จัดเตรียมโดยเจ้าหน้าที่การเงินต้องมีการตรวจทานโดยทีมตรวจสอบภายในของ สวรส. กล่าวไว้ในข้อ 4.2 เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในไม่มีหน้าที่ตรวจสอบรายงานการเงินของโครงการก่อนที่ส่งให้แก่ผู้สนับสนุนทุน ไม่ว่าจะเป็นแหล่งทุนภายในหรือภายนอกประเทศ อย่างไรก็ดี ในส่วนของโครงการวิจัยที่ผ่านระบบ MMS (IDRC ระยะที่ 2) จะมีการตรวจสอบภายในอยู่แล้ว

1)งบบริหารจัดการของ APAIR CO ระยะที่ 1 จำนวนเงิน 14.3 ล้านบาท อยู่นอกกองทุนพัฒนาระบบสาธารณสุข (สวรส.) ไม่มีการเบิกจ่ายผ่านระบบของ สวรส. ดังนั้น งบบริหารจัดการของโครงการ IDRC ระยะที่ 2 นั้น
ฝ่ายการเงินเสนอผู้อำนวยการ สวรส. ให้ IDRC โอนเงินเข้า สวรส. ก่อน แล้วเอาใบเสร็จมาเบิกตามที่จ่ายไปจริง (Post-audit) ซึ่งประเด็นนี้ ทาง IDRC ก็ยังเห็นว่า เป็นการกระทาเช่นนี้ไม่เป็นมาตรฐานสากลและไม่เป็นไปตามระเบียบของ สวรส.

2)ไม่พบร่องรอย หรือหลักฐานการเบิกจ่ายเงินงบบริหาร 14.3 ล้านบาทของโครงการ IDRC ระยะที่ 1 เลย

3)ไม่มีผลงานหรือรายงานประจำปีที่เกิดจากโครงการ IDRC ระยะที่ 1 ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จึงไม่มีหลักฐานใดๆ ปรากฏ

4)เมื่อเจ้าหน้าที่จาก IDRC มาตรวจสอบพบความผิดปกติของโครงการ IDRC ระยะที่ 1 ที่จบไปแล้ว และระยะที่ 2 ที่ดำเนินการอยู่นี้ ศ.นพ.สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล ผู้อำนวยการ สวรส. (ปี พ.ศ.2557) จึงสั่งให้ ภญ.พรพิศ ปิดบัญชีชื่อ APEIR CO และได้แนะนำให้ฝ่ายตรวจสอบภายในจ้างบริษัทเอกชนที่ชำนาญการดาเนินการตรวจสอบตามมาตรฐานสากล

3.การจ่ายเงินให้กับสถาบันวิจัยที่รับเงินผ่าน สวรส. ให้เจ้าหน้าที่การเงินตรวจสอบรายงานการเงินของโครงการก่อนจ่ายเงินงวดต่อไป และให้จ่ายตามรายการที่เป็นจริงสาหรับการดำเนินงานในช่วงนั้นๆ กล่าวไว้ในข้อ 4.3 หัวหน้าตรวจสอบภายในและหัวหน้าหน่วยสนับสนุนทั่วไป ยืนยันว่าดำเนินการตามระเบียบของ สวรส. อยู่แล้ว การที่ IDRC เป็นห่วง ไม่ใช่การจ่ายงวดเงินของโครงการวิจัย เพราะ IDRC ก็ทราบว่า โครงการระยะที่ 1 ซึ่ง IDRC จ่ายโดยตรงถึงนักวิจัย และที่ ศ.นพ.สมเกียรติวัฒนศิริชัยกุล ผู้อานวยการ สวรส. (ปี พ.ศ.2557) ดำเนินการบริหารโครงการ IDRC ระยะที่ 2 ทั้งหมดอยู่แล้ว แต่ปัญหาที่คาใจของIDRC รวมถึงประชาคมก็คือ โครงการ IDRC ระยะที่ 1 นั้น ไม่มีหลักฐานปรากฏใดๆ เลยว่างบประมาณบริหารโครงการ 14.3 ล้านบาท ใช้จ่ายกันอย่างไร ทางฝ่ายตรวจสอบจาก IDRC ที่เข้ามาตรวจในช่วง 26-28 กันยายน 2557 นั้น ไม่พบหลักฐานที่สามารถตรวจสอบได้เลย

4.การคัดเลือกเจ้าหน้าที่ประจำโครงการจะต้องเป็นไปตามขั้นตอนของ สวรส. รวมทั้งขั้นเงินเดือนต่างๆต้องเป็นไปตามระเบียบของ สวรส.กล่าวไว้ในข้อ 4.4 การจ้างเจ้าหน้าที่โครงการเป็นไปตามกระบวนการที่เป็นแนวปฏิบัติของ สวรส. โดยมีการจัดทำ TOR ของตำแหน่งที่ต้องการ เปิดรับสมัคร ประกาศในสื่อ การสอบสัมภาษณ์ ประกาศผล ที่กล่าวมาทั้งหมดคือ กระบวนการคัดเลือกพนักงาน ทำเหมือนระเบียบของ สวรส. แต่ระบบการจ่ายเงินเดือนให้แก่พนักงานในโครงการ IDRC นั้น เป็นประเด็นสำคัญที่ทาง IDRC ต้องการให้อยู่ในระบบการจัดการของ สวรส. กล่าวคือ การจ่ายเงินเดือนให้แก่พนักงาน ยังดำเนินการจ่ายเงินสดโดย ภญ.พรพิศ ศิลขวุธท์ ไม่ผ่านระบบของ HR เป็นประเด็นที่ทาง IDRC รับไม่ได้ และที่สำคัญอีกประเด็นหนึ่งคือ การปรับขึ้นเงินเดือนนั้น ไม่เป็นไปตามบัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนของ สวรส. ที่ใช้กันอยู่ ณ เวลานั้น ผลการปฏิบัติงานของพนักงานโครงการแยกคิดจากพนักงานของ สวรส. จึงปรากฏให้เห็นว่ามีการขึ้นเงินเดือนที่ผิดปกติ มีการจ้างกรอบอัตราเงินเดือนผู้ที่จบปริญญาตรี สูงกว่าพนักงานที่จบปริญญาเอก ปรากฏหลักฐานชัดเจน ไม่ใช่เรื่องกรอบเงินเดือนที่คณะอนุกรรมการตรวจสอบจะเบี่ยงประเด็น

5.หากมีการปรับเปลี่ยนหรือโยกย้ายเงินจากหมวดหนึ่งไปอีกหมวดหนึ่ง (reallocations of funds from one budget line to the other) จะต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหน้าที่โปรแกรม IDRC ก่อนล่วงหน้า กล่าวไว้ในข้อ 4.5
ภญ.พรพิศ ยกตัวอย่างเหตุการณ์ในโครงการ IDRC ระยะที่ 2 ซึ่งไม่ใช่ประเด็นที่ IDRC เป็นห่วง ประเด็นที่ทาง IDRC ต้องการให้เกิดความโปร่งใสในงบบริหารจัดการระยะที่ 1 จานวน 14.3 ล้านบาท ไม่มีรายละเอียดหรือหลักฐานใดๆ ที่สามารถนำมาแสดงได้ จึงเป็นที่เคลือบแคลงสงสัยได้ว่า อาจมีการถ่ายโอนที่ไม่ถูกระเบียบ จึงแนะนำให้ว่า หากมีการโอนย้ายเงินจากหมวดหนึ่งไปยังอีกหมวดอื่นของงบประมาณ ควรได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหน้าที่โครงการของ IDRC ไม่ใช่มายกตัวอย่างที่ไม่ตรงประเด็นกับที่ IDRC ต้องการ

6.รายงานทางด้านการเงินรอบครึ่งปีจะต้องมีการตรวจทานและรับรองโดยผู้ตรวจสอบภายใน รวมทั้งลงนามโดยหัวหน้าโครงการ (Project leader) และผู้อำนวยการ สวรส. กล่าวไว้ในข้อ 4.6 การส่งรายงานการเงินให้ IDRC ที่ผ่านมา มีการลงนามโดยหัวหน้าโครงการและผู้อำนวยการ สวรส. และตามระบบปฏิบัติของ สวรส. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน จะไม่ตรวจสอบและรับรองรายงานการเงินก่อนส่งให้แหล่งทุน คณะอนุกรรมการฯ พยายามเบี่ยงประเด็นว่า เป็นงบโครงการวิจัยของระยะที่ 1 นั้น ไม่ต้องตรวจสอบเพราะ IDRC จ่ายเองโดยตรง แต่ประเด็นสาคัญอยู่ที่ “งบบริหารจัดการระยะที่ 1 จานวน 14.3 ล้านบาท” นั้น เป็นรายงานที่ทาโดย ภญ.พรพิศ ศิลขวุธท์ ที่เป็นผู้ดำเนินการตลอดกระบวนการแต่เพียงผู้เดียว ตั้งแต่เป็นผู้จัดทำงบประมาณ-เขียนโครงการ-ผู้ใช้เงิน-เบิกจ่าย-ตรวจสอบสิทธิ์การเบิกจ่าย-การตรวจสอบความถูกต้องของระเบียบ/ข้อบังคับของ สวรส.-จัดทำบัญชีรายการต่างๆ-รวบรวมเอกสารและใบเสร็จต่างๆ และจัดทำรายงานการเงิน แล้วนามาให้ผู้อำนวยการ สวรส. เซ็นร่วมกัน ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดดำเนินการนอกระบบที่ สวรส. ไม่สามารถตรวจสอบได้

7.ค่าใช้จ่ายต่างๆ ของหัวหน้าโครงการ (Project leader) จะต้องนำส่งมายังทีมการเงินเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและเห็นชอบโดยผู้อำนวยการ การให้ความเห็นชอบในค่าใช้จ่ายต่างๆจะต้องมีการดำเนินการเป็นแต่ละครั้งๆ ไปมากกว่าการรวบรวมสะสมไว้ กล่าวไว้ในข้อ 4.7 เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและอิสระในการดำเนินงานของ APEIR CO (ตามหลักการที่เสนอในข้อ 2.3) ที่ นพ.พงษ์พิสุทธิ์ มอบอำนาจให้ ภญ.พรพิศ อนุมัติใช้จ่ายเงินในภารกิจตามข้อตกลงระหว่าง สวรส. และ IDRC ในวงเงินไม่เกิน 5 แสนบาท เนื่องจาก ทาง IDRC ขอดูเอกสารการเงินในงบบริหารจัดการ 14.3 ล้านบาทในโครงการระยะที่ 1 ทาง ภญ.พรพิศ หัวหน้าโครงการ นพ.พงษ์พิสุทธิ์ อดีตผู้อำนวยการ และ นพ.สุวิทย์ อดีตประธานอำนวยการ IDRC นั้น ไม่สามารถหาหลักฐานการเบิกจ่ายมาแสดงได้ทั้งหมด ทาง IDRC เกรงใจไม่อยากให้รื้อของเก่า จึงได้แนะนาให้จัดส่งเงินค่าใช้จ่ายทั้งหมดของหัวหน้าโครงการของระยะที่ 2 ให้ผ่านทีมงานฝ่ายการเงิน (คนกลาง) เพื่อให้ตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมเสียก่อน และจะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้อำนวยการ สวรส. ด้วย ควรอนุมัติค่าใช้จ่ายทุกครั้งที่มีการเบิกจ่าย แทนที่จะรวบรวมไว้หลายๆ ครั้ง เพื่อเสนอขอความเห็นชอบทีเดียว ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ทาง IDRC ไม่พอใจกับเนื้อความในคำสั่งสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขที่ 28/2551 เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 ในการมอบอานาจของผู้อำนวยการให้แก่หัวหน้าโครงการในระยะที่ 1 ทาให้กระบวนการขาดการตรวจสอบตามมาตรฐานสากล

8.ผู้ที่มีอำนาจในการลงนามเพื่อเบิกเงินจากบัญชีการใช้จ่ายนั้นอย่างน้อยหนึ่งคนจะต้องมาจากทีมการเงิน (หัวหน้าหน่วยสนับสนุน) หรือผู้อำนวยการเองกล่าวไว้ในข้อ 4.8 ผู้มีอำนาจเบิกจ่ายจากบัญชีธนาคารมี 3 คน คือ
1. นส.พรพิศ ศิลขวุธท์
2. นางธนกร ชัยจิต
3. นายวิชชุกร สุริยะวงศ์ไพศาล
ผู้ลงนามลำดับที่ 2 เป็นพนักงาน สวรส. และลำดับที่ 3 เป็นลูกจ้างโครงการ พนักงานทั้งสองคนเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของ ภญ.พรพิศ ศิลขวุธท์ ซึ่งไม่สามารถคัดค้านการเบิกจ่ายที่ผิดระเบียบได้ การเบิกจ่ายเบี้ยเลี้ยงให้ นางธนกร ชัยจิต ก็ถือว่าผิดระเบียบของ สวรส. แล้ว เพราะพนักงานไม่สามารถเบิกเบี้ยเลี้ยงได้จากโครงการของ สวรส. แสดงให้เห็นว่ามีการบริหารการเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่ไม่เป็นไปตามระเบียบของ สวรส. ดังนั้น การเสนอแนะของ IDRC ให้ผู้ลงนามเป็นหัวหน้าหน่วยสนับสนุนเป็นผู้ร่วมลงนาม เพื่อให้เกิดระบบการตรวจสอบความโปร่งใส แต่คำตอบของ ภญ.พรพิศ ศิลขวุธท์ แสดงให้เห็นชัดเจนได้ดำเนินการเองทั้งหมด ไม่ผ่านการตรวจสอบจากระบบของ สวรส.