ผู้เขียน หัวข้อ: องค์ประกอบ ที่มากับการตรวจสอบและถ่วงดุลในคณะกรรมการ (บอร์ด):เปรียบเทียบ  (อ่าน 955 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
องค์ประกอบและที่มาของคณะกรรมการหรือบอร์ดของหน่วยงานราชการ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอิสระในประเทศไทยมักมีปัญหาตลอดเวลา เช่น บอร์ดรัฐวิสาหกิจมักมีตัวแทนของนักการเมืองต่างๆ ส่งคนเข้าไปโกงกิน ฉกฉวยผลประโยชน์ในการจัดซื้อจัดจ้าง สภามหาวิทยาลัยหลายๆ แห่งมีปัญหาการเวียนเทียนวนในอ่างคือสภามหาวิทยาลัยและผู้บริหารเป็นกลุ่มเดียวกัน เนื้อเดียวกันไปทั้งหมด ทำให้เกิดปัญหาการตรวจสอบถ่วงดุล แม้แต่ในรัฐสภาของไทยที่มาจากการเลือกตั้งก็เกิดปัญหาเผด็จการรัฐสภา ทำให้ไม่เกิดการตรวจสอบถ่วงดุลเท่าที่ควรจะเป็น ทั้งนี้คณะกรรมการหน่วยงานต่างๆ มีอำนาจในการกำหนดทิศทาง วางนโยบาย ตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆ เลือกสรรผู้บริหาร และกำกับ ตรวจสอบ และประเมินการบริหารงานและผู้บริหารงานของหน่วยงานนั้นๆ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องให้ความสำคัญกับที่มาและองค์ประกอบเพื่อให้เกิดการตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and Balance)
       
       ผมขอตั้งข้อสังเกตเปรียบเทียบเรื่องขององค์ประกอบและที่มาของคณะกรรมการบอร์ดของสองหน่วยงานที่ดูแลสุขภาพของคนไทย สองหน่วยงานคือสำนักงานประกันสังคม (สปส.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคมนั้นมีผู้ประกันตนคือคนทำงานทั่วประเทศประมาณสิบกว่าล้านคน ซึ่งรัฐบาลและนายจ้างจ่ายเงินสมทบฝ่ายละหนึ่งในสามส่วน ส่วนผู้ประกันตนเอง (ลูกจ้าง) จ่ายสมทบอีกหนึ่งในสามส่วนเช่นกัน โครงสร้างคณะกรรมการสปส. และอนุกรรมการของ สปส. ล้วนแล้วแต่จำลองไตรภาคี คือ นายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐ เช่นนี้เสมอมา โดยมีกลุ่มที่ 4 คือผู้ทรงคุณวุฒิทางการแพทย์และการประกันภัย เป็นองค์ประกอบหลัก
       
       ด้วยองค์ประกอบเช่นนี้ทำให้เกิดการคานอำนาจกันในการบริหารทำให้มีการควบคุมดูแลกันและกันเอง ไม่ทำให้ สปส. เอาเปรียบผู้ประกันตนมากเกินไป ไม่ทำให้ฝ่ายลูกจ้างเรียกร้องสิทธิต่างๆ จนกระทั่งกองทุนประกันสังคมล่มสลาย ไม่เรียกเก็บเงินสมทบมากจนเกินไปจนนายจ้างหรือรัฐรับภาระไม่ไหว การสร้างสมดุล การตรวจสอบและถ่วงดุลจึงเกิดขึ้นตลอดเวลาโดยธรรมชาติ การมีผู้ทรงคุณวุฒิทำให้เกิดความสมดุลแห่งอำนาจ และทำให้เกิดความยั่งยืน แม้จะมีข้อเสียใหญ่คือทำให้การตัดสินใจเรื่องต่างๆ ใช้เวลานานและโต้แย้งกันนานกว่าจะได้ข้อสรุป การตัดสินใจให้สิทธิประโยชน์ค่อนข้างล่าช้า เช่น เมื่ออนุกรรมการแพทย์เห็นสมควรอนุมัติให้สิทธิประโยชน์ใดๆ ก็อาจจะต้องมีการศึกษาวิจัยโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัยอีกจนแน่ใจว่าจะทำให้กองทุนมั่นคงไม่ขาดทุน ทำให้การทำงานล่าช้าไปพอสมควร แต่ยั่งยืนกว่ามากเพราะมีการตรวจสอบและถ่วงดุลกันด้วยหลักวิชาการ
       
       อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขท่านหนึ่ง ท่านเคยเล่าให้ผมฟังว่าท่านไปนั่งเป็นประธานบอร์ดสปสช. ด้วยความรู้สึกวังเวงอย่างยิ่ง สปสช. มีอิสระมากเกินไปและมีกรรมการที่ล้วนแล้วแต่เป็นพรรคพวกกันเอง เมื่อเสนอสิ่งใดมักจะเฮโลตามกันไปในทิศทางเดียวกันหมด ตัวแทนของ service provider คือกระทรวงสาธารณสุขนั้นมีเพียงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีน้ำหนักน้อยกว่าผู้แทน NGOs ที่มีกรรมการมากถึง 6 คน ส่วนผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลายสาขาจำนวน 7 ท่านล้วนแล้วแต่เป็นคนที่บอร์ด สปสช. เลือกกันมาเอง และเป็นพรรคพวกกันมาทั้งสิ้น ในขณะที่ผู้แทนสภาวิชาชีพต่างๆ มีเพียง 4 คน ที่เหลือเป็นพระอันดับจากหน่วยราชการต่างๆ ที่ทางบอร์ดก็สามารถลงมติเลือกคนที่เป็นพรรคพวกตัวเองได้ การที่ที่มาของบอร์ดต่างๆ ของ สปสช. ขาดการปะทะแห่งอำนาจทำให้การคิดการตัดสินใจเฮไปทางใดทางหนึ่ง
       
       ในทางจิตวิทยาสังคมและจิตวิทยาองค์การนั้นการเกิดภาวะกลุ่มสุดขั้ว (Group polarization) คือการที่กลุ่มเฮโลตัดสินใจสุดโต่งไปตามกันหมดเกิดจากการที่สมาชิกในกลุ่มมาจากพรรคพวกเดียวกันหมด และสุดท้ายจะทำให้ผลการตัดสินสุดโต่งและเกิดความผิดพลาดได้ง่าย
       
       ขอให้สังเกตว่ากรรมการบอร์ดสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไปนั่งเป็นกรรมการองค์การเอกชน (NGOs) ต่างๆ แล้วมาอนุมัติเงินให้ NGOs นอกจากจะเกิดการขัดกันแห่งผลประโยชน์แล้วยังสะท้อนให้เห็นว่ากรรมการบอร์ดสปสช เป็นพวกเดียวกันกันกับ NGOs จึงเอื้อประโยชน์ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ทำให้ไม่เกิดการตรวจสอบและถ่วงดุล กรรมการสปสช. ล้วนเป็นกรรมการหรือผู้บริหารวนเวียนอยู่ในตระกูล ส อันได้แก่ สวรส. สพฉ. สปสช. สสส. เป็นต้น
       
       การตั้งบอร์ดของหน่วยงานต่างๆ จึงต้องทำให้เกิดการสร้างอำนาจถ่วงดุลกันเองเพื่อให้เกิดความสมดุล เพราะโดยธรรมชาติของนโยบายสาธารณะ (Public Policy) นั้นแตกต่างจากนโยบายธุรกิจ (Business Policy) เป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่้องจากนโยบายสาธารณะมีความละเอียดอ่อนกว่ามีผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) มากกว่า และเมื่อให้สิทธิประโยชน์กับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากอีก Stakeholder จะลำบากเพราะทรัพยากรมีจำกัด และท้ายสุดอาจจะนำไปสู่ความล้มเหลวเชิงโครงสร้างและนโยบายสาธารณะที่ผิดพลาดขาดความสมดุลระหว่างผู้มีส่วนได้เสียเช่นหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของ สปสช. ดังที่เราเห็น การมีผู้ทรงคุณวุฒิและตัวแทนจากองค์การเอกชนจำนวนมาก แม้แต่กรรมการพระอันดับจากหน่วยราชการต่างๆในสัดส่วนที่สูงมาก ทำให้เกิดภาวะกลุ่มสุดขั้วเช่นที่ว่า เช่น เน้นการให้บริการ ให้สิทธิประโยชน์แก่ประชาชนมากเกินไปจนทำให้โรงพยาบาลขาดทุนหนัก เป็นภาระทางการคลัง และทำให้คุณภาพการให้บริการลดลงมาก และเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาเป็นลูกโซ่ ทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของไทยไม่ยั่งยืน
       
       ผู้เขียนมีความเห็นว่ากรรมการบอร์ด สปสช. ต้องมีการแก้ไขที่มาและองค์ประกอบ เพื่อให้เกิดการตรวจสอบและถ่วงดุล ไม่ให้ การแก้ไขสามารถทำได้ง่ายมากเพียง เพิ่มจำนวนอธิบดีหรือผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขเข้าไปอีกจำนวนหนึ่งสัก 10 คน ในฐานะของ Service provider และผู้แทนจากหน่วยให้บริการอื่นๆ เช่นตัวแทนคณบดีคณะแพทยศาสตร์จากสถาบันอุดมศึกษาที่คัดเลือกกันเอง จำนวน 3 คนเพื่อเป็นตัวแทนโรงเรียนแพทย์และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย เจ้ากรมแพทย์ทหารบก เจ้ากรมแพทย์ทหารเรือ เจ้ากรมแพทย์ทหารอากาศ ตลอดจนนายแพทย์ใหญ่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก็ควรเข้าไปเป็นบอร์ด สปสช. เพราะคนให้บริการเหล่านี้ มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง เพื่อให้เกิดการคานอำนาจ ตรวจสอบและถ่วงดุล
       
       นอกจากนี้ควรเปลี่ยนเกณฑ์การเลือกสรรผู้ทรงคุณวุฒิให้ที่ประชุมคณบดีคณะทางการแพทย์ อันได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ ทั่วประเทศไทยเป็นคนเลือกสรร แทนบอร์ด สปสช. ทั้งหมด จะทำให้เกิดความสมดุลมากขึ้น ไม่ใช่การเลือกวนกันเองเข้ามา การให้คนนอกเลือกนี้ทำให้ที่มาเกิดความโปร่งใสในบอร์ด สปสช. มากขึ้น
       
       ปัญหาติดขัดในเรื่องข้อกฎหมายเพราะต้องแก้ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2545 สามารถแก้ไขได้ง่ายในรัฐบาลทหารเช่น คสช. เป็นอำนาจหน้าที่ที่ควรต้องทำ จะใช้มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวแห่งราชอาณาจักรไทยก็ย่อมทำได้เช่นกันหากมีความจำเป็นเร่งด่วน


โดย อ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์    
อาจารย์ ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
       สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง
       สาขาวิชาวิเคราะห์ธุรกิจและการวิจัย
       สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
10 มิถุนายน 2558
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000065604

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 14 มิถุนายน 2015, 00:58:51 »
คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ชื่อ - นามสกุล    ตำแหน่ง    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข    ประธานกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ    
ปลัดกระทรวงกลาโหม         
ปลัดกระทรวงการคลัง         
ปลัดกระทรวงพาณิชย์         
ปลัดกระทรวงมหาดไทย         
ปลัดกระทรวงแรงงาน         
ปลัดกระทรวงสาธารณสุข         
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ         
ผู้อำนวยการ สำนักงบประมาณ         
นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ    ผู้ทรงคุณวุฒิด้านประกันสุขภาพ    
ศ.(พิเศษ)นพ.ไพจิตร ปวะบุตร    ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์ และสาธารณสุข    
ผศ.ภญ.สำลี ใจดี    ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์ แผนไทย    
นพ.วิชัย โชควิวัฒน    ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์ ทางเลือก    
ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา    ผู้ทรงคุณวุ ฒิด้านการเงินการคลัง    
ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก    ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย
นพ.ยุทธ โพธารามิก    ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสังคมศาสตร์    
ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา    ผู้แทนแพทยสภา
ศ.เกียรติคุณ วิจิตร ศรีสุพรรณ    ผู้แทนสภาการพยาบาล    
ศ.(พิเศษ)พลโท พิศาล เทพสิทธา    ผู้แทนทันตแพทยสภา
รศ.ภญ.ธิดา นิงสานนท์
อยู่ในระหว่างคัดเลือกผู้แทน
สมาคมโรงพยาบาลเอกชน    ผู้แทนสภาเภสัชกรรม    
นายวิจัย อัมราลิขิต    ผู้แทนเทศบาล    
นพ.สำเริง แหยงกระโทก    ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัด    
นายประวิง หนูแจ่ม    ผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำาบล
นางมาลินี สุขเวชชวรกิจ    ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบอื่น    
ดร.ยุพดี ศิริสินสุข    ผู้แทนองค์กรเอกชนด้านการเกษตร    
นางสาวบุญยืน ศิริธรรม    ผู้แทนองค์กรเอกชนด้านสตรี    
นายนิมิตร์ เทียนอุดม    ผู้แทนองค์กรเอกชน ด้านผู้ติดเชื้อเอดส์    
นางอรพิน วิมลภูษิต    ผู้แทนองค์กรเอกชนด้านแรงงาน    
นายบารมี ชัยรัตน์    ผู้แทนองค์กรเอกชนด้านชนกลุ่มน้อย    

คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข
ชื่อ - นามสกุล    ตำแหน่ง    
ศ.เกียรติคุณ นพ.อรุณ เผ่าสวัสดิ์    ที่ปรึกษาคณะกรรมการควบคุมคุณภาพฯ และมาตรฐานบริการฯ    
นพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์    ประธานคณะกรรมการควบคุมคุณภาพฯ และมาตรฐานบริการฯ    
อธิบดีกรมการแพทย์         
เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา         
ประธานสถาบันพัฒนาและรับรอง คุณภาพโรงพยาบาล         
ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะ         
นพ.พินิจ หิรัญโชติ    ผู้แทนแพทยสภา    
รศ.พรจันทร์ สุวรรณชาต    ผู้แทนสภาการพยาบาล    
ผศ.(พิเศษ)ทพ.ไพศาล กังวลกิจ    ผู้แทนทันตแพทยสภา    
รศ.(พิเศษ)กิตติ พิทักษ์นิตินันท์    ผู้แทนสภาเภสัชกรรม    
นายเสงี่ยม บุญจันทร์    ผู้แทนสภาทนายความ    
นพ.กิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์    ผู้แทนเทศบาล
นายชัยพร ทองประเสริฐ    ผู้แทนองค์การบริหารส่วนจังหวัด
นายสุเทพ ชูชัยยะ    ผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบล    
นายวีรวัฒน์ ค้าขาย    ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบอื่น
ดร.กฤษดา แสวงดี    ผู้แทนผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์
ทพ.ธรณินทร์ จรัสจรุงเกียรติ    ผู้แทนผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม
ภก.จิระ วิภาสวงศ์    ผู้แทนผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม    
ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.สุวชัย อินทรประเสริฐ    ผู้แทนราชวิทยาลัยแพทย์เฉพาะทาง สาขาสูตินรีเวช
พลโทนพ.ณรงค์ รอดวรรณะ    ผู ้แทนราชวิทยาลัยแพทย์เฉพาะทาง สาขาศัลยศาสตร
รศ.นพ.วิทยา ศรีดามา    ผู้แทนราชวิทยาลัยแพทย์เฉพาะทาง สาขาอายุรกรรม
รศ.พญ.ประสบศรี อึ้งถาวร    ผู้แทนราชวิทยาลัยแพทย์เฉพาะทาง สาขากุมารเวชศาสตร์
นางสมใจ ลือวิเศษไพบูลย์    ผู้แทนผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขากายภาพบำาบัด
นางคมเนตร เตียงพิทยากร    ผู้แทนผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาเทคนิคการแพทย์
นางสาวอำาไพ อุไรเวโรจนากร    ผู้แทนผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขารังสี เทคนิค    
นายกิติพงษ์ สุทธิ    ผู้แทนองค์กรเอกชนด้านคนพิการ หรือผู้ป่วยจิตเวช
นางสาวสิริลักษณ์ อังกูรพิริยะ    ผู้แทนองค์กรเอกชนด้านเด็กหรือเยาวชน
นายวสันต์ หรี่สมวงศ์    ผู้แทนองค์กรเอกชนด้าน ชุมชนแออัด
นางสาวสุภัทรา นาคะผิว    ผู้แทนองค์กรเอกชนด้านผู้ติดเชื้อ เอชไอวี หรือผู้ป่วยเรื้อรังอื่น
นายเอกชัย อิสระทะ    ผู้แทนองค์กรเอกชนด้านเกษตรกร
พ.อ.(พิเศษ)นพ.กิฎาพล วัฒนกูล    ผู้ทรงคุณวุฒิ สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว    
รอคำสั่งแต่งตั้ง    ผู้ทรงคุณวุฒิสาขาจิตเวช
   -    -
นางสาวรุจิรางค์ แอกทอง    ผู้ทรงคุณวุฒิสาขาการแพทย์ แผนไทย
นายสมใจ โตศุกลวรรณ์    ผู้ทรงคุณวุฒิสาขาอื่่น
ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์    ผู้ทรงคุณวุฒิสาขาอื่น
นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์    ผู้ทรงคุณวุฒิสาขาอื่น    

ที่มา - http://www.nhso.go.th/FrontEnd/page-about_board.aspx
ลิขสิทธิ์ถูกต้อง 2005 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
Version 2.2.2.13  31/03/2557