ผู้เขียน หัวข้อ: “20ปี แพทย์ธรรมศาสตร์” ยึดค่านิยมแพทย์ของประชาชน  (อ่าน 3896 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
ก้าว เข้าสู่ปีที่ 21 สำหรับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ประกาศยึดมั่นค่านิยมองค์กร 3 ประการ พร้อมแนวทางการเป็นแพทย์ของประชาชน ด้านคณบดีเผย พร้อมชูเอกลักษณ์ผสมผสานแพทย์แผนปัจจุบันกับแพทย์แผนไทย

       รศ.นพ.จิตตินัดด์ หะวานนท์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า แนวคิดของคณะแพทย์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์องค์กร คือ “ใฝ่รู้ คู่คุณธรรม ทำงานเป็นทีม” โดยมีความหมายว่า เนื่องจากคณะแพทย์เป็นสถานศึกษา ดังนั้นบุคลากรจึงต้องมีความใฝ่รู้ ขณะเดียวกันคุณธรรม หมายถึงความเป็นคนดีที่จะนำความก้าวหน้าขององค์กรไปได้ตลอด และสุดท้ายองค์กรเปรียบเสมือนบ้านหลังใหญ่ ความสามัคคีจึงมีความสำคัญ ทุกคนต้องทำงานร่วมกัน
       
       “โครงการประกวดสัญลักษณ์ค่า นิยมองค์กรนี้ เพื่อเตือนใจเราว่า คณะจะต้องมีค่านิยม 3 อย่าง โดยการออกแบบมีกรอบ 4 ข้อ ได้แก่
1.เครื่องหมายต้องสื่อค่านิยมทั้ง 3 อย่าง
2.ต้องมีการสื่อความลงตัวระหว่างแพทย์แผนปัจจุบัน กับแพทย์แผนไทย อันเป็นวิสัยทัศน์ของคณะที่ต้องการบูรณาการศาสตร์ใหม่กับรูปแบบการแพทย์เดิม ซึ่งเป็นจุดเด่นของคณะ
3.สื่อให้เห็นถึงความเป็นแพทย์ของประชาชน และ
4.ต้องมีความทันสมัย จดจำง่าย”

       ด้านนายวีระศักดิ์ พุทธรักษา เจ้าของรางวัลชนะเลิศ ผู้ออกแบบสัญลักษณ์องค์กรคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยว่า เมื่อได้รับโจทย์ข้างต้น ก็ออกแบบเพื่อสื่อความหมายแพทย์ธรรมศาสตร์ เป็นแพทย์ของประชาชน โดยแสดงให้เห็นวิสัยทัศน์และจิตวิญญาณของคณะ
       
       “ลายเส้น 2 เส้น หมายถึงการผสมผสานระหว่างแพทย์แผนไทยกับแพทย์แผนปัจจุบัน ลายเส้นที่ชัดเจนหมายถึงความทันสมัย ตามยุคโลกาภิวัตน์ ส่วนลายเส้นที่เป็นรูปเหมือนคนโอบ ก็คือแพทย์ของประชาชนที่ดูแลประชาชน และมีรูปตัวคิว (Q) ที่แสดงถึงคุณภาพในระบบการศึกษา”

       นอกจากนี้ ในกิจกรรมเดียวกันยังมีการกล่าวปาฐกถาพิเศษโดยอดีตนายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย ในหัวข้อ “แพทย์ธรรมศาสตร์ แพทย์ของประชาชน” โดยอดีต นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นตลาดวิชาที่มีความเข้มข้น ในสมัยก่อนมีครูบาอาจารย์ที่เป็นคุณหลวงคุณพระ หนังสือตำราเรียนก็ไม่มี ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากธรรมศาสตร์จึงเป็นที่ยอมรับในคุณภาพ
       
       “ในยุคนั้น ค่าเล่าเรียนแค่ 40 บาทต่อปี คนที่สำเร็จการศึกษาจากธรรมศาสตร์จึงเป็นหนี้บุญคุณของประชาชน เป็นค่านิยมจากรุ่นสู่รุ่น ผมเองก็เรียนจบได้เพราะธรรมศาสตร์ และเพราะประชาชน เพราะลำพังพ่อเป็นแค่ข้าราชการชั้นผู้น้อย ก็คงไม่มีเงินมากพอที่จะจ่ายค่าเล่าเรียนแพงๆ ขณะเดียวกันผมก็เป็นเด็กวัด ก็เป็นหนี้บุญคุณประชาชนที่มาใส่บาตร ทำให้มีข้าวกิน เรื่องแบบนี้จึงทำให้ตนเองรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณของมหาวิทยาลัยด้วย เพราะตัวเราเป็นผู้เป็นคนมาได้ก็เพราะสำเร็จการศึกษามาจากมหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์ สำหรับในยุคปัจจุบัน มีเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงไป ค่าเล่าเรียนก็ไม่แตกต่างจากมหาวิทยาลัยแห่งอื่นแล้ว ดังนั้นหากนักศึกษาไม่อยากให้จิตวิญญาณแห่งความเป็นธรรมศาสตร์เปลี่ยน ก็จำเป็นต้องปลูกฝังของดีที่มีอยู่แล้วให้กับนักศึกษา”
       
       นายชวน กล่าวต่อไปว่า แพทย์ยังคงเป็นอาชีพที่ประชาชนให้เกียรติ และแพทย์เป็นวิชาชีพที่ประชาชนยอมรับเสมอ ดังนั้นคนเป็นแพทย์ต้องไม่ประเมินตัวเองต่ำ จะต้องทำตัวให้มีคุณภาพ
       
       “วันนี้มีแพทย์กระจายไปใน พื้นที่ต่างๆมากขึ้น แต่แพทย์ก็ยังเป็นวิชาชีพที่ต้องเสียสละ ตั้งแต่การเรียน จนกระทั่งการทำงาน จะมอบหมายให้คนอื่นทำแทนก็ไม่ได้ ดังนั้นแพทย์ต้องยึดประโยคที่สมเด็จพระราชบิดาพระราชทานให้ไว้ว่า ยึดถือประโยชน์ของมวลมนุษยชาติเป็นหนึ่ง ส่วนประโยชน์ตนเป็นลำดับรอง ซึ่งเป็นคติที่ใช้ได้กับทุกอาชีพ และหลักการนี้ก็ใช้ได้ดีกับผู้เป็นแพทย์ ดังนั้น ค่านิยมที่ว่า แพทย์ธรรมศาสตร์เป็นแพทย์ของประชาชน ก็ไม่แตกต่าง และเป็นสิ่งที่นักศึกษาควรติดตัวไว้ตั้งแต่ต้น ก็จะย่อมเกิดเป็นความก้าวหน้าแก่สังคมได้ต่อไป”


ASTVผู้จัดการออนไลน์    25 มีนาคม 2554