ผู้เขียน หัวข้อ: ยกระดับ รพ.ชุมชน เป็น รพ.ทั่วไป 20 แห่ง  (อ่าน 1019 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
ประกาศยกระดับ รพ. ชุมชน เป็น รพ. ทั่วไป 20 แห่ง เมื่อ 1 เม.ย. ที่ผ่านมา แจงเหตุล่าช้าต้องพิจารณาโครงสร้าง รพ. การให้บริการประชาชน และโครงสร้างบริหาร ชี้เป็นการเพิ่มศักยภาพ เพิ่มความก้าวหน้าในวิชาชีพ

        นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า การยกระดับโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) ขึ้นเป็นโรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) ได้มีการพิจารณาและดำเนินการไปแล้ว 2 แห่ง คือ รพ.บึงกาฬ และ รพ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้มีการพิจารณายกระดับ รพช. ที่มีความเหมาะสมมาโดยตลอด เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการให้บริการในปัจจุบันที่มีผู้ป่วยจำนวนมาก หรือเป็นโรงพยาบาลในพื้นที่เพียงแห่งเดียว ซึ่งจำเป็นต้องมีเครื่องมือแพทย์ครบครัน สามารถให้บริการรักษาที่มีความซับซ้อน มีแพทย์เชี่ยวชาญหลายสาขามาประจำการ ล่าสุด อ.ก.พ. สป.สธ. ได้มีการพิจารณาและอนุมัติยกระดับ รพช. อีก 20 แห่งขึ้นเป็น รพท. ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2558
       
       ผู้สื่อข่าวถามว่า เพราะเหตุใดจึงประกาศยกระดับอย่างเป็นทางการในปีนี้ ทั้งที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปลายปี 2557 นพ.วชิระ กล่าวว่า เนื่องจากต้องพิจารณาถึงโครงสร้าง รพ. การบริการต่อประชาชน และโครงสร้างการบริหาร ซึ่งเดิมใน รพช. ตำแหน่งผู้อำนวยการจะสูงสุดเพียงแค่ระดับ นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เช่นเดียวกับหัวหน้ากลุ่มพยาบาลจะสูงสุดเพียงแต่ระดับผู้เชี่ยวชาญเช่นกัน แต่หลังปรับเป็น รพท. ตำแหน่งตามสายงานจะมีความก้าวหน้ามากขึ้น โดยเฉพาะผู้อำนวยการจะได้ขึ้นเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลทั่วไป ประเภทอำนวยการระดับสูง โดยผู้อำนวยการจะต้องเข้ารับการประเมินสมรรถนะของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และหากผ่านก็ต้องเข้ารับการสัมภาษณ์จากกรรมการของ สป.สธ. ที่มีปลัด สธ. เป็นประธาน พร้อมทั้งพิจารณาเกณฑ์อื่นๆ ประกอบร่วมจึงจะได้รับการอนุมัติยกระดับเป็นผู้อำนวยการระดับสูงต่อไป
       
       สำหรับ รพช. ที่ถูกยกระดับเป็น รพท. ในครั้งนี้มีจำนวน 20 แห่ง ประกอบด้วย 1. รพ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ 2. รพ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 3. รพ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 4. รพ.บางละมุง จ.ชลบุรี 5. รพ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี 6. รพ.แกลง จ.ระยอง 7. รพ.เฉลิมพระเกียรติพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จ.ระยอง 8. รพ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว 9. รพ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น 10. โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช (รพร.) สว่างแดนดิน จ.สกลนคร 11. รพ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี 12. รพ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ 13. รพ.เทพรัตน์นครราชสีมา จ.นครราชสีมา 14. รพ.ปากช่องนานา จ.นครราชสีมา 15. รพ.ปราสาท จ.สุรินทร์ 16. รพ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 17. รพร.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี 18. รพ.50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ์ จ.อุบลราชธานี 19. รพ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช และ 20. รพ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช


ASTVผู้จัดการออนไลน์    26 เมษายน 2558

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
รายงานพิเศษ: ทำไมต้องยกระดับโรงพยาบาล
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 30 เมษายน 2015, 06:37:44 »
รายงานพิเศษ: ทำไมต้องยกระดับโรงพยาบาล
Posted on ตุลาคม 23, 2014   by สช.

แนวหน้า ฉบับวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557
การพิจารณาขอยกฐานะโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) เป็นโรงพยาบาล ทั่วไป (รพท.) ซึ่งเป็นไปตามมติของคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) นั้น เมื่อวันที่ 7 ต.ค. ที่ผ่านมา ตนได้ลงนามในฐานะผู้ปฏิบัติราชการแทนปลัด สธ. เป็นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อแจ้งผลการพิจารณา ดังกล่าว ซึ่งเห็นชอบให้ยกฐานะ รพช.(โรงพยาบาลชุมชน) เป็น รพท. (โรงพยาบาลทั่วไป) จำนวน 20 แห่ง ดังนี้ 1.รพ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ 2.รพ.ฝาง จ.เชียงใหม่ 3.รพ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 4. รพ.บางละมุง จ.ชลบุรี 5.รพ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี 6.รพ.แกลง จ.ระยอง 7.รพ.มาบตาพุด จ.ระยอง 8.รพ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว 9.รพ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น
10.รพ.สมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จ.สกลนคร 11.รพ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี 12.รพ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ 13. รพ.เทพรัตน์ นครราชสีมา จ.นครราชสีมา 14.รพ.ปากช่องนานา จ.นครราชสีมา 15.รพ.ปราสาท จ.สุรินทร์ 16.รพ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 17.รพ.สมเด็จพระยุพราชเดชอุดม จ.อุบลราชธานี 18.รพ.50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ์ จ.อุบลราชธานี 19.รพ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช และ 20.รพ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช โดยขอให้จังหวัดจัดเตรียมข้อมูลเพื่อจัดคนลงตามโครงสร้างโรงพยาบาลเหล่านี้ และดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป และให้มีผลนับตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2557
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) การแบ่งระดับโรงพยาบาล ให้ทุกโรงพยาบาลทำเหมือนกันทั้งหมดไม่ได้หรือจะได้มีความเท่าเทียมกันทุกแห่ง ไม่เกิดความเหลื่อมล้ำในระบบ ข้อเท็จจริงในระบบสุขภาพ โดยเฉพาะในประเด็นการรักษาโรคพบว่า มีโรคที่พบบ่อยๆ ในทุกพื้นที่ที่คล้ายกัน สามารถที่จะให้แพทย์ทั่วไปดูแลรักษาได้ถึง 80% มีบางส่วนที่ต้องการความเชี่ยวชาญและเครื่องมือที่เฉพาะระดับหนึ่ง และสุดท้ายจะมีกลุ่มโรคที่พบน้อย หรือโรคที่ต้องการการรักษาที่ยุ่งยากซับซ้อนต้องการทั้งความเชี่ยวชาญและเครื่องมือที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง สรุปง่ายๆ ว่าเราสามารถแบ่งโรคที่ต้องรักษาผู้ป่วย เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นโรคทั่วไปที่พบบ่อยการรักษาไม่ยุ่งยาก กลุ่มที่ 2
อาจจะเป็นโรคที่พบบ่อยแต่รักษายากขึ้นหรือโรคที่พบไม่บ่อย กลุ่มที่ 3 เป็นโรคที่รักษายาก มีความยุ่งยากซับซ้อนหรือเป็นโรคที่พบน้อยต้องการความเชี่ยวชาญสูงหรือบางโรคต้องการการศึกษาวิจัย พัฒนาวิธีการรักษาใหม่ๆ ด้วยซ้ำไป
หากต้องวางแผนการจัดระบบบริการการรักษาพยาบาลแล้ว การที่จะให้โรงพยาบาลทุกแห่งรักษาโรคทั้ง 3 กลุ่มนั้น มีข้อที่ต้องคำนึงถึง 2 ประการ คือ ต้องการการลงทุนงบประมาณสูงมากและ ต้องมีผู้เชี่ยวชาญในทุกโรงพยาบาลนั้นๆ ที่สำคัญมากคือ โรคที่พบน้อยหากกระจายไปทุกโรงพยาบาลจะมีโรคนั้นให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญรักษาน้อยลง ความเชี่ยวชาญจะไม่เกิดขึ้น จะผ่าตัดไม่คล่อง โอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนจะมากขึ้น เหมือนกับการทำงานที่ต้องใช้ประสบการณ์ในทุกวิชาชีพ ที่ช่วงแรกของการทำงานจะทำได้ช้า โอกาสผิดพลาดมากกว่า ขณะที่เมื่อมีประสบการณ์มากขึ้นจะทำได้รวดเร็วและผิดพลาดน้อย ผลงานจะดีกว่า เป็นต้น
นพ.วชิระกล่าวต่อว่า ปัจจุบันทั่วโลกในทุกประเทศจะมีการแบ่งระดับโรงพยาบาลออกเป็นกลุ่มๆ คล้ายกัน คือเป็นระดับโรงพยาบาลขนาดเล็กที่ดูแลประชาชนในชุมชนนั้นๆ เฉพาะโรคทั่วไปที่พบบ่อยๆ มีกระจายในทุกพื้นที่ เหมือนโรงพยาบาลชุมชนในบ้านเรา หากมีโรคที่ยุ่งยาก ซับซ้อนขึ้นก็จะส่งต่อไปยังโรงพยาบาลทั่วไป ในต่างประเทศใช้คำว่า General Hospital เหมือนโรงพยาบาลทั่วไปในบ้านเราขนาดโรงพยาบาลก็จะใหญ่ขึ้นแต่มีจำนวนน้อยกว่าแต่รักษาโรคได้มากกว่าและสุดท้าย หากเป็นโรค ที่พบน้อยต้องการรักษาที่ยุ่งยากซับซ้อนมากก็จะส่งต่อไปโรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลเฉพาะทางในโรคนั้นๆ เพื่อรวมให้มีผู้ป่วยที่มากพอ ที่จะคุ้มค่ากับการลงทุนเครื่องมือที่มีราคาแพงและให้แพทย์ได้มีความชำนาญ มากขึ้นในการดูแลรักษาซึ่งจะทำให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดซึ่งการทำ แบบนี้สอดคล้องกับการจัดระบบบริการแบบเขตสุขภาพที่จัดโรงพยาบาลเป็น กลุ่มๆ และพัฒนาให้แต่ละกลุ่มมีความเท่าเทียมกันโรคยากๆ ที่ต้องใช้เครื่องมือราคาแพงและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะให้มีในทุกเขตเท่าเทียมกันซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้จริงและมีประสิทธิภาพลดความเหลื่อมล้ำกันในทุกเขตสุขภาพ
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงอธิบายได้เป็นอย่างดีว่า ทำไมต้อง มีการยกระดับโรงพยาบาลชุมชน 20 แห่งเป็นโรงพยาบาลทั่วไป สิ่งที่ ประชาชนจะได้รับในพื้นที่นั้นมีมากกว่าเดิม เมื่อเมืองเจริญขึ้น ประชาชน มากขึ้น ก็ต้องมีการพัฒนาโรงพยาบาลให้รองรับ และข้อเท็จจริงว่า โรงพยาบาลเหล่านี้ก็ได้พัฒนาตนเองมาระดับหนึ่ง เมื่อมีการยกฐานะก็จะ เป็นตัวหนุนเสริมการพัฒนาทั้งคนและงบประมาณต่อไปในอนาคต ส่วนที่ กังวลกันว่าจะหาผู้เชี่ยวชาญที่ไหนไปอยู่ ข้อเท็จจริงคือ ใน 20 โรงพยาบาล ที่ยกฐานะมีผู้เชี่ยวชาญอยู่แล้วครึ่งหนึ่งและทุกวันนี้มีผู้ที่ต้องการรับทุนไปเรียนต่อมากกว่าทุนที่เปิดอยู่แล้ว ที่สำคัญคือ ทั้ง 20 โรงพยาบาล นั้นไม่ได้เป็นเมืองเล็กที่ห่างไกล กลับกันทุกแห่งเป็นเมืองที่เจริญ อยู่แล้ว ฉะนั้นได้ประโยชน์ทุกอย่างโดยเฉพาะกับประชาชน จะมีก็เพียง แต่เรื่องค่าตอบแทนของการเป็นโรงพยาบาลชุมชนกับโรงพยาบาลทั่วไปที่ต่างกัน ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขก็ต้องดูแลในส่วนนี้ต่อไป