ผู้เขียน หัวข้อ: จากจดหมายฟ้องนายก เรื่องผู้มีอิทธิพลในระบบสาธารณสุข  (อ่าน 2419 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด


ผมขอเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับกระทรวงสาธารณสุขบางส่วนเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นครับ ความจริงระบบสาธารณสุขเป็นระบบที่ซับซ้อนมีหลายด้าน หลายมุม หลายมิติ ยากที่จะเข้าใจในทุกๆเรื่องแม้แต่คนในวงการสาธารณสุขเองครับ

            แพทย์กลุ่มหนึ่งเคยทำงานในชนบท มีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงระบบสาธารณสุข ได้จัดตั้งกลุ่ม สร้างเครือข่าย มียุทธศาสตร์ที่จะเปลี่ยนแปลงระบบ (สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา คือ อำนาจ, มวลชน และความรู้) และมีความเชื่อว่า สามองค์กรหลักที่ขับเคลื่อนและค้ำจุนประเทศ (นักการเมือง ข้าราชการ และทหาร) อยู่ในภาวะ สามไม่ คือ

นักการเมือง - ไม่ดี (มุ่งแสวงหาผลประโยชน์ให้พวกพ้อง มากกว่าประเทศชาติ ไม่สุจริต ไม่มีวิสัยทัศน์)
ข้าราชการ - ไม่เก่ง (ไม่มีคุณภาพ ไม่มีประสิทธิภาพ อ่อนแอ รับใช้นักการเมืองมากกว่าประชาชน)
ทหาร - ไม่รู้ (ไม่รู้เรื่องสาธารณสุข ไม่รู้เท่าทัน)


           เมื่อส่วนหนึ่งของกลุ่มนี้ไต่เต้ามาเป็นผู้บริหารระดับต่างๆในกระทรวงสาธารณสุข สร้างคอนเน็กชั่นกับส่วนต่างๆของสังคมแล้ว การฉีกกระทรวงสาธารณสุขเป็นชิ้นๆ จึงเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยกฎหมาย แต่ละชิ้นที่ฉีกออกไป (เป็นองค์กรอิสระ) มีอำนาจในการบริหารพร้อมกับงบประมาณ โดยไม่ต้องง้อนักการเมือง และข้าราชการเลย แล้วก็ให้คนของกลุ่มตัวเองเข้าไปนั่งบริหาร เพราะมีแต่พวกของตัวเองเท่านั้นที่ดีและเก่งพอที่จะทำได้ (และยึดถือเป็นเสมือนสมบัติของกลุ่มตัวเอง เพราะถือว่าสร้างมากับมือ)

งานแรกที่ถูกฉีกออกจากกระทรวงฯ คือ งานวิชาการ โดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) ซึ่งถูกตั้งขึ้นด้วย พระราชบัญญัติสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๓๕ (ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน)

งานถัดมา คือ งานส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค โดยคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ซึ่งถูกตั้งขึ้นด้วย พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ.๒๕๔๔ (ในรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร)

งานใหญ่ที่ถูกฉีกตามออกไป คือ งานบริหารงบประมาณ โดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ซึ่งถูกตั้งขึ้นด้วย พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ (ในรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร)

งานถัดมา คือ (ที่หวังจะคุมเรื่อง) งานนโยบายด้านสาธารณสุข โดย สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ(สช.) ซึ่งถูกตั้งขึ้นด้วย พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ในรัฐบาลพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์)

งานล่าสุด คือ งานการแพทย์ฉุกเฉิน โดย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน(สพฉ.) ซึ่งถูกตั้งขึ้นด้วย พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๕๑ (ในรัฐบาลพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์)

                มีกฎหมายสองฉบับที่ออกโดยรัฐบาลประชานิยม คือ กฎหมายที่กำหนดให้จัดตั้ง สปสช. และ สสส. นอกนั้น(อีกสามฉบับ)ออกโดยรัฐบาลที่มาหลังจากการปฏิวัติรัฐประหารทั้งสิ้น ผู้มีอิทธิพลกลุ่มนี้ฉวยโอกาสเสมอเมื่อมีการปฏิวัติรัฐประหาร เพราะมีความเชื่อว่า ทหาร-ไม่รู้  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในรัฐบาลหลังการรัฐประหารครั้งก่อนๆมาจากคนกลุ่มนี้ แล้วคนกลุ่มนี้ก็ผลักดันให้ออกกฎหมายเพื่อเป้าหมายของกลุ่มตนเอง คนกลุ่มนี้ก็ทำสำเร็จเสมอมา รัฐบาลหลังการปฏิวัติรัฐประหารครั้งนี้ก็เหมือนกัน  เราได้รัฐมนตรีสาธารณสุขและคนแวดล้อมเป็นคนกลุ่มนี้

               ทุกงานที่ฉีกออกไปเป็นงานที่กระทรวงสาธารณสุขเคยทำมาก่อน และตอนนี้ก็ยังทำอยู่ แต่ปัจจุบันเหมือนมีนายหน้าหรือพ่อค้าคนกลางมากินหัวคิว (เพราะไม่สามารถทำเองได้) และถ้าทุกกระทรวง ใช้หลักการเดียวกัน คือ อ้างว่านักการเมืองไม่ดี ข้าราชการไม่เก่ง ก็ออกกฎหมายดึงงานต่างๆออกไป ตั้งเป็นองค์กรอิสระ บริหารกันเอง นึกภาพที่ กระทรวงศึกษาธิการ หรือกระทรวงกลาโหม ถูกฉีกเป็นชิ้นๆ ยกให้องค์กรอิสระทำดูซิครับ บ้านเมืองจะเป็นอย่างไร
 
             การนั่งอยู่ในอำนาจและบริหารงบประมาณจำนวนมาก มานานกว่า ๒๐ ปีของคนกลุ่มนี้ (เป็นกรรมการไขว้กันไปไขว้กันมาในระหว่างองค์กร ส... ต่างๆ บวกกับ การตั้งมูลนิธิ ชมรม กลุ่ม เครือข่ายต่างๆมากมาย โดยคนเพียงไม่กี่คน) มีข้อมูลเพียงพอที่สามารถบ่งบอกได้ว่า คนกลุ่มนี้ก็มุ่งแสวงหาผลประโยชน์เพื่อกลุ่มตัวเอง(เรื่องนี้ลองตรวจสอบดูครับ) และไร้ประสิทธิภาพในการบริหาร(มีตัวชี้วัดทางด้านสาธารณสุขที่ดูข้อมูลได้) ไม่ต่างจากนักการเมืองและข้าราชการที่กลุ่มตัวเองปรามาสไว้ เพียงแต่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้รับรู้ ทหารก็ไม่รู้ เพราะกลุ่มนี้จัดตั้งมวลชน (เรียกว่า เครือข่าย... กลุ่ม...ต่างๆ)ขึ้นมาเพื่อปกป้ององค์กรของตัวเอง เพื่อตอบโต้คนที่เห็นต่าง(เรื่องนี้ก็ตรวจสอบได้) และซื้อสื่อมวลชนจำนวนมาก(เหมือนที่ท่านปลัดกระทรวงสาธารณสุขกล่าวกับชาวสาธารณสุขเมื่อ ๑๒ มีนาคมที่ผ่านมา นี่ก็ตรวจสอบได้เช่นกัน) มีการเสนอข่าวจากสื่อสารมวลชนไม่รอบด้าน เอียงข้าง ทำให้คนในสังคมไม่ทราบความเป็นไปที่แท้จริงในระบบสาธารณสุข หลงคารม ยึดติดกับภาพเก่าๆ และทำให้คนไม่น้อยมีอคติต่อผู้ที่เห็นต่างจากคนกลุ่มนี้  (มันเป็นสัจธรรมครับ เมื่อเวลาเปลี่ยน อะไรๆก็เปลี่ยนได้  คนก็เปลี่ยนได้)

               ภาพที่โรงพยาบาลหลายร้อยแห่งทั่วประเทศประสบปัญหาด้านงบประมาณในการบริหารงาน หลายแห่งไม่มีเงินจ่ายค่ายาให้กับบริษัทยา ไม่มีเงินซื้อเครื่องมือทางการแพทย์ (ต้องอาศัยการทอดผ้าป่า อาศัยเงินบริจาค และวิธีต่างๆที่จะหาเงินมาพัฒนาโรงพยาบาล) หลายแห่งยังค้างจ่ายค่าตอบแทนให้กับบุคลากรในโรงพยาบาล ในขณะที่ผู้ป่วยมากขึ้น บุคลากรก็ไหลออกมากด้วย คุณภาพการดูแลผู้ป่วยลดลง บุคลากรทำงานด้วยความยากลำบาก อีกภาพหนึ่ง คือ สปสช. เอาเงินเหมาจ่ายรายหัวของประชาชน(ที่ขอจากรัฐบาล)ส่วนหนึ่งมาเป็นค่าบริหาร ตั้งเงินเดือนของตัวเองสูงๆ กำหนดเบี้ยประชุมมากๆ ปลายปีมีการจ่ายเงินโบนัสเต็มที่ทุกปี(ตรวจสอบดูครับ) คนในวงการสาธารณสุขเห็นแล้วปวดใจครับ บางคนถึงกับพูดว่า งานทุกงานที่องค์กรเหล่านี้ทำ เคยเป็นงานของกระทรวงสาธารณสุข แต่ตอนนี้ดึงออกไปให้องค์กรเหล่านั้นทำ โดยต้องจ่ายค่าบริหารปีละหลายร้อยล้านโดยที่ผลงานเป็นแบบนี้ สู้เอากลับมาให้กระทรวงสาธารณสุขทำเองดีกว่า (กระทรวงฯก็มีคนดีคนเก่งเหมือนกันนะครับ) ไม่ต้องเสียค่าบริหาร(เอาเงินไปทำประโยชน์อื่นให้ประชาชนได้อีกเยอะ) ตรวจสอบความโปร่งใสได้ง่ายกว่าด้วย (เรียกร้องให้มีการตรวจสอบองค์กรอิสระเหล่านี้ เรื่องผลประโยชน์ด้วยครับ)   
.................................................

น่าติดตามว่าหลังรัฐประหารครั้งนี้ คนกลุ่มนี้ จะผลักดันให้มีกฎหมาย หรือกองทุน อะไรออกมาอีก โดยอ้างเหตุผลต่างๆ แต่แท้จริงแล้ว เพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มของตัวเองหรือไม่



story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
งบประมาณบริหารจัดการสำนักงาน (สปสช.) ปี 2548-2555
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 18 เมษายน 2015, 22:34:17 »

rabb

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 157
    • ดูรายละเอียด
ตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปีนี้ 2558 รัฐบาลเสียค่าจ้างให้ สปสช. มาบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ไปเกือบหมื่นล้านแล้ว  น่าเสียดาย....จัง

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 พฤษภาคม 2015, 19:05:50 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด

ที่มา : รายงานประจำปี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 พฤษภาคม 2015, 19:06:18 โดย story »