ผู้เขียน หัวข้อ: คพคส.ตั้ง อนุ กก.“ประกันสังคม-รักษาฟรี-ข้าราชการ” ลดเหลื่อมล้ำ  (อ่าน 1454 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
คพคส.ตั้งคณะอนุ กก.หาแนวทางการจ่ายเงิน 3 กองทุน “ประกันสังคม-รักษาฟรี-ข้าราชการ” ลดเหลื่อมล้ำในสังคม
       
       วานนี้ (21 มี.ค.) นพ.เทียม อังสาชน ผู้ อำนวยการสำนักงานพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพแห่งชาติ กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพแห่งชาติ (คพคส.) ครั้งที่ 1 ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ที่รัฐสภา ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 2 ชุด คือ 1.คณะอนุกรรมการพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ มี นายอัมมาร สยามวาลา ที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นรองประธานมีอำนาจพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาระบบการเงินการคลังด้าน สุขภาพในภาพรวม และ 2.คณะอนุกรรมการพัฒนากลไกทางสังคม และการสื่อสารสาธารณะ ให้ นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทำการพัฒนาระบบกลไก การสื่อสารทางสังคมในรูปแบบต่างๆ
       
       การทำงานทั้ง 2 ชุดจะมุ่งพัฒนาให้ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพของประเทศสอดคล้องกับสภาพ ความเป็นจริง โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านงบประมาณจะต้องมีกลไกการจ่ายเงินของแต่ละกองทุนที่ ชัดเจน และควบคุมได้ ซึ่งเรื่องนี้ค่อนข้างต้องใช้เวลาในการหากลไกร่วมกัน อย่างไรก็ตาม ในหลายประเทศมีการตั้งกลไกกลางในการอภิบาลการใช้จ่ายงบประมาณโดยรวมของแต่ละ ระบบสุขภาพให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ซึ่งประเทศไทยจะต้องมีการหารือในส่วนนี้ แต่จะออกมาในรูปไหนจำเป็นต้องระดมความคิดเห็นของทุกภาคส่วน
       
       “ระบบ สุขภาพของไทยทั้ง 3 กองทุน คือ กองทุนประกันสังคม กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรรักษาฟรี และกองทุนสวัสดิการข้าราชการ ล้วนมีความแตกต่างกัน ทั้งภาระค่าใช้จ่าย การให้บริการ และสิทธิประโยชน์ การจะรวม 3 กองทุนเป็นระบบเดียวค่อนข้างยาก เรื่องนี้ต้องใช้เวลาพอสมควร”นพ.เทียม กล่าว
       
       อนึ่ง สำนักงานพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพแห่งชาติ ถูกตั้งขึ้นภายใต้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาระบบการเงินการ คลังด้านสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2553 ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ทำหน้าที่ในการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับระบบประกันสุขภาพของไทยทั้ง 3 ระบบ คือ ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือรักษาฟรี ระบบประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ เพื่อหาจุดอ่อนจุดแข็งและพัฒนาให้แต่ละระบบมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นการปรับการบริหารและสิทธิประโยชน์ให้คล้ายคลึงกัน ลดความเหลื่อมล้ำ

ASTVผู้จัดการออนไลน์   22 มีนาคม 2554