ผู้เขียน หัวข้อ: เปิดขุมทรัพย์แสนล้าน!!! กองทุน สปสช. สู่ปมย้าย "หมอณรงค์"  (อ่าน 474 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
เปิดประเด็นการตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบ นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข จนกระทั่งมีคำสั่งย้ายให้ไปช่วยราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี

หลายฝ่ายสงสัยว่าการย้ายครั้งนี้ปมปัญหาที่เกิดขึ้นมีปัญหามาจากเรื่องอะไร โดยจากการตรวจสอบของสำนักข่าวทีนิวส์ พบว่าปมการโยกย้ายครั้งนี้น่าจะเป็นความไม่ลงตัวเกี่ยวกับการบริหารจัดการภายในสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ(สปสช.)โดยเฉพาะการบริหารงบประมาณกว่า 1 แสนล้านบาทของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

เมื่อพิจารณาการแถลงเปิดใจของนายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นที่ชัดเชนว่าปมปัญหาของเรื่องที่เกิดขึ้นมีอยู่สี่ประเด็น

1.เรื่องเขตสุขภาพ
2.ระบบการเงินการคลังและระบบหลักประกันด้านสุขภาพ
3.ธรรมาภิบาล
4.ระบบสร้างและพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพ


ทั้งนี้ประเด็นที่นายแพทย์ณรงค์ ให้น้ำหนักมากที่สุดว่าอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ถูกตรวจสอบและโยกย้ายในครั้งนี้คือ ประเด็นเรื่องระบบการเงินการคลัง

ซึ่ง นายแพทย์ณรงค์ได้อ้างถึงการเข้าไปตรวจสอบแล้วพบว่ามีการใช้งบประมาณที่ผิดบางประการของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งพบว่าได้มีการเบิกนำงบประมาณไปใช้อย่างผิดปกติ

ทั้งนี้ จากคำพูดของนายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข  ตอนหนึ่ง ระบุว่า

เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ.2557 มีการนำเงินจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กว่า 1,000 ล้านบาทออกไป

หลังจากพอเข้าสู่ปีงบประมาณใหม่ ได้โอนเงินจำนวนเดิม กลับเข้ามายังกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  ซึ่งถือว่ามีความปกติอย่ายิ่ง


ล่าสุด นายประยงค์ ปรียาจิตต์ เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐหรือ ปปท. เปิดเผยว่า เรื่อง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติรัฐบาลได้สั่งการให้ ปปท.เร่งตรวจสอบกรณีดังกล่าวและเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ปปท.ทำหนังสือถึง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้ทำหนังสือชี้แจง กรณีมีผู้ร้องเรียนเรื่องการใช้เงิน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติผิดวัตถุประสงค์ ให้รายงานภายใน 15 วัน และทำหนังสือถึง สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ให้ทำเอกสารมาตรวจสอบการใช้เงิน สปสช.ด้วย โดยจะตรวจสอบคู่ขนานกันไปทั้งเอกสารชี้แจง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกับเอกสารทาง สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน

ทั้งนี้ย้อนกลับไปวันที่ 3 เมษายน 2557 นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ได้มีการพูดถึงเรื่องการเงินการคลัง ของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ ในการประชุมร่วมกับ นพ.สาธารณสุขจังหวัด ผอ.โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ เนื่องจากมีการทักท้วงจาก สตง. เรื่องการบริหารจัดการงบประมาณ ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ในฐานะสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาจังหวัด ใน 5 ประเด็น ได้แก่
1.งบค่าบริการส่งเสริมและป้องกันโรค
2.งบชดเชยเยียวยาความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์
3.งบบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง
4.งบลงทุนเพื่อการทดแทนหรืองบค่าเสื่อม และ
5.การกันเงินค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายเพื่อบริหารจัดการในระดับจังหวัด


เมื่อพิจารณาจากข้อสังเกตของน.พ.ณรงค์ เกี่ยวกับการใช้งบประมาณของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จะพบว่าเป็นการใช้งบที่ผิดวัตถุประสงค์ส่วนจะเกี่ยวกับทุจริตหรือไม่ไหนต้องติดตามกันต่อไป


แต่ที่ผ่านมามีการตรวจสอบโดยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ถึงการประเมินผลดำเนินงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ใช้งบบริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พบว่า การบริหารจัดการยังไม่ถูกต้องและเหมาะสมในหลายประเด็นดังนี้


ประเด็นที่ 1   การใช้จ่ายงบบริหารไม่ถูกต้อง และไม่ประหยัด
ประเด็นที่ 2   การบริหารพัสดุไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
ประเด็นที่ 3   การนำเงินสนับสนุนกิจกรรมภาครัฐจากการซื้อยาจากองค์การเภสัชกรรมโดยใช้งบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไปใช้เป็นเงิน สวัสดิการเป็นการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม
ประเด็นที่ 4   การจัดส่วนงานและการกำหนดตำแหน่งงานไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
ประเด็นที่ 5   ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด และการบรรจุแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ไม่เป็นไปตามคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง
ประเด็นที่ 6   การใช้จ่ายงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดในพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
ประเด็นที่ 7   การบริหารงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติรายการงบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไม่เป็นไปตามที่คู่มือกำหนด

ทั้งนี้ในวันนี้สำข่าวทีนิวส์ จะตรวจสอบใน ประเด็นที่ 1  คือ  การใช้จ่ายงบบริหารไม่ถูกต้อง และไม่ประหยัด
จากการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินจากงบบริหารของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พบว่ามีการจ่ายเงินไม่ถูกต้อง และไม่ประหยัด ดังนี้
1.1 การปรับอัตราเงินเดือนให้เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี
จากการตรวจสอบสัญญาจ้างเลขาธิการ สปสช. ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2551 - 2553 พบว่าไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี โดยมีรายละเอียดดังนี้
เลขาธิการ สปสช. คนปัจจุบัน เริ่มปฏิบัติงานเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2551 ในอัตราค่าจ้างเดือนละ 171,600.00 บาท และเงินประจำตำแหน่งเดือนละ 42,900.00 บาท
ต่อมาเมื่อมีการประเมินผลการปฏิบัติงานปีที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2551 - 31 มีนาคม 2552 คณะกรรมการมีมติเห็นชอบให้ปรับอัตราเงินเดือนเป็นเดือนละ 200,000.00 บาท และเงินประจำตำแหน่งเดือนละ 50,000.00 บาท

จากกรณีข้างต้นในช่วงเวลาปฏิบัติงาน 1 ปี เลขาธิการได้รับการปรับเงินเดือนจากอัตราเดือนละ 171,600.00 บาท เป็นเดือนละ 200,000.00 บาท หรือเป็นกรอบอัตราสูงสุดของกรอบเงินเดือนเลขาธิการตามมติ ครม. เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16.55 ซึ่งไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของการได้รับเงินเดือนของเลขาธิการ ตามมติ ครม.ที่กำหนดว่า “การกำหนดอัตราค่าตอบแทนพื้นฐานในส่วนของเงินเดือนประจำในระยะเริ่มแรกไม่ควรกำหนดไว้ให้ใกล้เคียงกับขั้นสูงสุดเพื่อให้สามารถปรับอัตราค่าตอบแทนพื้นฐาน (เงินเดือน) ได้ตามผลงานเป็นระยะ ๆ ตลอดอายุสัญญา” ดังนั้นการกำหนดอัตราเงินเดือนให้เลขาธิการจากการปฏิบัติงานปีแรกแล้วปรับเป็นอัตราสูงสุดตามกรอบถือว่าเป็นการไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี

1.2 การจ่ายเงินค่าเบี้ยประชุมคณะอนุกรรมการตรวจสอบไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2545 มีคำสั่งแต่งตั้งอนุกรรมการตรวจสอบ 4 คน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2546 และมีคำสั่งแต่งตั้งอนุกรรมการตรวจสอบชุดใหม่มีจำนวน 5 คน เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2550 ในคำสั่งดังกล่าวได้กำหนดค่าตอบแทนเหมาจ่ายเป็นรายเดือน หรือค่าเบี้ยประชุมคณะอนุกรรมการตรวจสอบโดยให้ประธานอนุกรรมการได้รับเดือนละ 20,000.00 บาท และอนุกรรมการได้รับคนละ 16,000.00 บาทต่อเดือน

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2547 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเรื่อง การปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราเงินเดือนฯ หลักเกณฑ์การกำหนดเบี้ยประชุมฯ และการพัฒนาการดำเนินงานและการประเมินผลองค์การมหาชน โดยมติคณะรัฐมนตรีมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดกรอบอัตราเงินเดือนและประโยชน์
ตอบแทนอื่นและเบี้ยประชุม ให้องค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 และองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะให้อยู่ในหลักเกณฑ์เดียวกัน ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีกำหนดเบี้ยประชุมของประธานกรรมการ กรรมการ และอนุกรรมการ และมีการจ่ายจริง ดังนี้

1.2.1   สปสช. เป็นองค์การมหาชนในกลุ่มที่ 3 กำหนดอัตราเบี้ยประชุมกรรมการขั้นต่ำและขั้นสูงเท่ากับ 6,000.00 - 12,000.00 บาท จากการตรวจสอบพบว่ากรรมการได้รับเบี้ยประชุมคนละ 12,000.00 บาทต่อเดือน
1.2.2   ประธานกรรมการให้ได้รับอัตราสูงกว่ากรรมการร้อยละ 25 ดังนั้น ขั้นต่ำและขั้นสูงของประธานกรรมการเท่ากับ 7,500.00 - 15,000.00 บาท จากการตรวจสอบพบว่าประธานกรรมการได้รับเบี้ยประชุมเดือนละ 15,000.00 บาท
แอ้ม -- 1.2.3   อนุกรรมการให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายเดือนตามที่คณะกรรมการกำหนดแต่ไม่เกินครึ่งหนึ่งของอัตราเบี้ยประชุมกรรมการ ดังนั้นจากข้อมูลตามข้อ 1.2.1 อนุกรรมการตรวจสอบจะได้รับเบี้ยประชุมในอัตราสูงสุดไม่เกินคนละ 6,000.00 บาทต่อเดือน จากการตรวจสอบพบว่าอนุกรรมการตรวจสอบยังคงได้รับเบี้ยประชุมในอัตราคนละ 16,000.00 บาทต่อเดือน
1.2.4   ประธานอนุกรรมการให้ได้รับในอัตราสูงกว่าอนุกรรมการร้อยละ 25 ดังนั้นจากข้อมูลตามข้อ 1.2.2 ประธานอนุกรรมการตรวจสอบจะได้รับเบี้ยประชุมในอัตราสูงสุดไม่เกินเดือนละ 7,500.00 บาท จากการตรวจสอบประธานอนุกรรมการตรวจสอบยังคงได้รับเบี้ยประชุมในอัตราเดือนละ 20,000.00 บาท

กล่าวโดยสรุปตั้งแต่มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 7 กันยายน 2547 ถึงปัจจุบันเดือนมีนาคม 2553 เป็นระยะเวลา 5 ปี 6 เดือนที่ สปสช. จ่ายค่าเบี้ยประชุมคณะอนุกรรมการตรวจสอบสูงเกินกว่าที่คณะรัฐมนตรีกำหนดเป็นเงินจำนวน 3,105,000.00 บาท

1.3 การจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษ (โบนัส) ให้แก่เจ้าหน้าที่ พนักงาน และลูกจ้างไม่เหมาะสม
สปสช. เริ่มมีนโยบายให้จ่ายเงินโบนัสให้เจ้าหน้าที่ของ สปสช. ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548 การจ่ายเงินโบนัสพิจารณาจากผลการดำเนินงานในภาพรวมของ สปสช. ซึ่งประเมินโดยบริษัท ไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด (Thai Rating & Information Service Co., Ltd. : TRIS ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ทริส คอร์ปอชั่น จำกัด TRIS Corporation Limited หรือ ทริส (TRIS)) และจากมติของคณะกรรมการกำหนดกรอบวงเงินโบนัสจากการประเมินผลงานในภาพรวมโดย ทริส ซึ่งแบ่งผลงานออกเป็น 3 ระดับ คือ
ระดับ A คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 81 ได้รับกรอบเงินโบนัสร้อยละ 12 ของเงินเดือน
ระดับ B คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 71 - 80 ได้รับกรอบเงินโบนัสร้อยละ 8 ของเงินเดือน และ
ระดับ C คะแนนระหว่างร้อยละ 60 - 70 ได้รับกรอบวงเงินโบนัสร้อยละ 4 ของเงินเดือน
แอ้ม -- โดยมีแนวทางและหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัส ที่ประกอบด้วยการพิจารณาผลการปฏิบัติงานดังนี้
ส่วนที่ 1 ให้เจ้าหน้าที่ของ สปสช. ทุกสำนักทุกคนเท่า ๆ กัน ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของทีมที่ช่วยผลักดันเป้าหมายของ สปสช. ให้บรรลุเป้าหมาย
ส่วนที่ 2 จัดสรรให้สำนักไม่เท่ากัน โดยให้ตามผลงานของสำนัก และทุกคนในสำนักเดียวกันได้เท่ากัน ในฐานะเป็นหนึ่งของทีมสำนัก และรับผิดชอบต่อผลงานของสำนักร่วมกัน
ส่วนที่ 3 ให้แต่ละคนไม่เท่ากันโดยให้ตามผลงานส่วนบุคคล
ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548 - 2552 การประเมินผลงานของ สปสช. โดยรวมที่ประเมินโดยทริสนั้น สปสช. มีผลงานอยู่ในระดับ A ทั้ง 5 ปี โดยมีคะแนนระหว่าง 90.95 - 93.80 โดยมีรายละเอียดผลการประเมินแต่ละปีงบประมาณ


1.3.1   ในปีงบประมาณ 2549 การจ่ายเงินโบนัสของ สปสช. เป็นการจ่ายโดยไม่มีมติเห็นชอบจากคณะกรรมการ ซึ่ง สปสช. จ่ายเงินโบนัสให้เจ้าหน้าที่ และลูกจ้าง เป็นจำนวนเงิน 18,702,836.00 บาท โดย สปสช. นำมติคณะกรรมการเรื่องการจ่ายโบนัสในปีงบประมาณ 2548 มาใช้สำหรับการจ่ายโบนัสในปีงบประมาณ 2549 ในขณะที่ปีอื่น ๆ จะมีมติคณะกรรมการอนุมัติให้จ่าย

1.3.2   ในปีงบประมาณ 2550 - 2551 สปสช. จ่ายเงินโบนัสให้พนักงานที่ สปสช. จ้างตามข้อบังคับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2546 ข้อ 15 ซึ่งไม่ถือว่าเป็นลูกจ้างของ สปสช. แต่เป็นพนักงานจ้างเหมาเฉพาะกรณี ซึ่งจากการสอบถามเลขาธิการ สปสช. ชี้แจงว่าพนักงานสามารถ


ได้รับค่าตอบแทนพิเศษ (โบนัส) ตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการบริหารงานบุคคลสำหรับพนักงาน (ลูกจ้างสัญญาจ้าง) พ.ศ. 2550 ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2550 ข้อ 11 พนักงานนอกจากได้รับค่าจ้างตามอัตราจ้างแล้วอาจได้รับเงินค่าตอบแทนอื่น เงินเพิ่มพิเศษ ค่าล่วงเวลา เบี้ยขยัน ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าใช้จ่ายอื่น สวัสดิการ การสงเคราะห์และประโยชน์เกื้อกูล ตามที่คณะกรรมการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลกำหนด การจ่ายเงินโบนัสให้พนักงานในปีงบประมาณ 2550 - 2551 จำนวน 2,751,615.00 บาท นั้นเป็นการจ่ายโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำหนดนโยบายบริหารทรัพยากรบุคคล และไม่ได้นำเสนอการจ่ายโบนัสให้พนักงานเพื่อขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการทำให้คณะกรรมการยังไม่ได้พิจารณาว่าการจ่ายโบนัสให้พนักงานถูกต้องตามแนวทางหลักเกณฑ์การจ่ายเงินโบนัสที่คณะกรรมการกำหนด

1.4 การใช้จ่ายเงินบางรายการเป็นไปโดยไม่ประหยัด
จากการวิเคราะห์รายการค่าใช้จ่ายของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พบว่ามีการใช้จ่ายเงินโดยไม่ประหยัด กล่าวคือมีการเลือกเบิกค่าพาหนะเดินทางประเภทรถส่วนตัวมากกว่าการเบิกค่าพาหนะประจำทาง การเบิกค่าเครื่องบินไม่เป็นไปตามประกาศที่ สปสช. กำหนด และการเบิกเบี้ยเลี้ยงในการเดินทางที่ซ้ำซ้อนกับค่าอาหาร โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.4.1 การเดินทางโดยเครื่องบินไม่เป็นไปตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องค่าใช้จ่ายในการบริหารและการจัดการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ที่กำหนดประกาศฯ กำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานหรือพนักงานตำแหน่งอื่น ๆ ตั้งแต่ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักลงมาสามารถเดินทางโดยเครื่องบินได้เฉพาะกรณีที่มีความจำเป็น แต่จากการตรวจสอบพบว่า การเดินทางโดยเครื่องบินของผู้เข้าร่วมประชุมที่เป็นผู้ปฏิบัติงานหรือพนักงานตำแหน่งอื่น ๆ ที่มิใช่ผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ หรือรองผู้อำนวยการสำนัก หากเป็นการเดินทางมาจากจังหวัดที่เป็นที่ตั้งของสนามบินภายในประเทศแล้ว ส่วนใหญ่ผู้เข้าร่วมประชุมจะเดินทางโดยเครื่องบินและการขอเบิกค่าโดยสารเครื่องบินทุกรายการไม่ได้ระบุถึงเหตุผลความจำเป็นที่ต้องเดินทางโดยเครื่องบิน ไม่ว่าการเดินทางดังกล่าวนั้นจะได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการพื้นที่สาขาเขตหรือไม่ก็ตาม ตัวอย่างปรากฏดังตาราง

1.4.2 ค่าเบี้ยเลี้ยงการเดินทาง
การจ่ายเงินค่าเบี้ยเลี้ยงการเดินทางในการจัดประชุมอบรมสัมมนาถือปฏิบัติตามประกาศสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องค่าใช้จ่ายในการบริหารและการจัดการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 โดยในการเข้าร่วมประชุมอบรมสัมมนาเมื่อมีการจัดอาหารเลี้ยงก็ยังคงเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงได้เต็มสิทธิ แต่จากระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การจัดงาน และการประชุมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2549 ข้อ 20 ได้กำหนดกรณีที่มีการจัดอาหารให้แก่ผู้เข้าประชุมอบรมสัมมนาที่ได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงด้วยนั้น ให้หักค่าเบี้ยเลี้ยงได้ในอัตรามื้อละ 1 ใน 3 ของอัตราเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายต่อวัน แต่ประกาศของ สปสช. ดังกล่าวไม่ได้วางหลักเกณฑ์ข้อนี้ไว้ทำให้หน่วยงานมีการเบิกค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อน เนื่องจากผู้เข้าประชุมอบรมสัมมนาจะได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงเต็มจำนวนแม้ในการอบรมดังกล่าวจะได้มีการจัดอาหารให้ครบทุกมื้อแล้วก็ตาม


1.5 การจ้างที่ปรึกษาไม่เหมาะสม

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีการจ้างที่ปรึกษาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2549 จากการตรวจสอบพบว่าการจ้างที่ปรึกษาไม่เหมาะสม ดังนี้

1.5.1 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจ้างที่ปรึกษาในลักษณะต่อเนื่องและอัตราค่าจ้างค่อนข้างสูง
สปสช. เริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ 2546 ตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2545 มีการจ้างที่ปรึกษาโดยทำเป็นสัญญาและใช้ชื่อว่า “สัญญาจ้างพนักงาน” และกำหนดให้ปฏิบัติงานในตำแหน่งพนักงาน (ที่ปรึกษาอาวุโส) ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2549 จนถึงปัจจุบันปีงบประมาณ 2552 รายละเอียดข้อมูลที่ปรึกษาอาวุโสและอัตราค่าจ้าง ปรากฏดังตาราง แบ่งเป็น

1.ปีงบประมาณ 2549 - 2552 จ้างเจ้าหน้าที่ สปสช. ที่เกษียณแล้วเป็นที่ปรึกษาอาวุโส

1.1 นพ.ปัญญา  กีรติหัตถยากร เกษียณในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เงินเดือน 96,130.00 บาท สปสช.จ้างเป็นที่ปรึกษาอาวุโส
เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2548
1.2 พญ.เรณู  ศรีสมิต เกษียณในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณภาพ เงินเดือน121,540.00 บาท สปสช.จ้างเป็นที่ปรึกษาอาวุโส
เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2548
1.3 เจ้า นางเขมรัสมี  ขุนศึกเม็งราย เกษียณในตำแหน่งผู้อำนวยการ สปสช. เขต 1 เชียงใหม่ เงินเดือน 112,400.00 บาท สปสช.จ้างเป็นที่ปรึกษาอาวุโสเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2551


2. ปีงบประมาณ 2553 ยังคงมีการจ้างที่ปรึกษาอาวุโส 3 คน ตามข้อ 1 และมีการจ้างที่ปรึกษาเพิ่มจำนวน 3 คน
2.1 นายวิญญู พิทักษ์ปกรณ์ เริ่มจ้างหลังเกษียณจาก สปสช. ในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย จ้างในอัตราเดือนละ 70,000 บาท
เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2552
2.2 นพ.สมชาย นิ้มวัฒนากุล อดีตเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชจังหวัดนครศรีธรรมราช จ้างในอัตราเดือนละ 80,000.00 บาท
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2552
2.3 นพ.นิพนธ์ โตวิวัฒน์ อดีตเป็นนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกันประจำสาธารณสุขจังหวัดอุทัยธานี จ้างในอัตราเดือนละ 41,500.00 บาท เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2553

เพราะฉะนั้น ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2549 - 2552 สปสช. มีการจ้างที่ปรึกษาอาวุโส จำนวน 3 คน โดยทั้ง 3 คน เป็นเจ้าหน้าที่ของ สปสช. มาก่อนและหลังจากจ้างแล้วจะมีการจ้างอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี โดยสัญญาที่จัดทำในช่วงปีงบประมาณ 2549 - 2550 จะจัดทำทุกปี โดยมีเงื่อนไขในสัญญาว่าจะต่ออายุเมื่อผ่านการประเมินผล ต่อมาในปีงบประมาณ 2551 - 2552 มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหารายละเอียดในหัวข้อระยะเวลาการจ้าง โดยกำหนดเพิ่มในวรรคสอง คือ

“ในกรณีที่ระยะเวลาตามสัญญาจ้างพนักงานนี้ใกล้จะสิ้นสุดลง หากสำนักงานต้องการจ้างพนักงานปฏิบัติงานต่อไปอีกให้ถือว่าสัญญาจ้างพนักงานนี้ขยายออกไปอีกทุก ๆ หนึ่งปี เว้นแต่สำนักงานจะมีการยุบหรือยกเลิกตำแหน่งและได้แจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้าแล้ว ให้สัญญานี้สิ้นสุดลงตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา” และยังคงต้องให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาต่อสัญญาจ้าง โดยรูปแบบการประเมินผลให้เป็นไปตามที่ผู้รับจ้างกำหนด

ข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่า สปสช. มีการจ้างที่ปรึกษาในลักษณะต่อเนื่องและใช้สัญญาฉบับเดียวแล้วมีการต่ออายุสัญญาไปเรื่อย ๆ นอกจากนั้นพิจารณาจากอัตราค่าจ้างของแต่ละคนพบว่ามีอัตราที่ค่อนข้างสูงและในปีงบประมาณ 2553 มีการจ้างที่ปรึกษาเพิ่มอีกจำนวน 3 คน เป็นอดีตเจ้าหน้าที่ สปสช. 1 คน และบุคคลภายนอก 2 คน

เจาะข่าวร้อนล้วงข่าวลึก  14-03-2015
http://www.tnews.co.th/html/content/133471/