ผู้เขียน หัวข้อ: แนะผู้ตรวจราชการแผ่นดิน ตรวจสอบ สปสช.ทำหน้าที่ขัดรัฐธรรมนูญ  (อ่าน 1848 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
 "พญ.เชิดชู" ออกโรงแนะผู้ตรวจราชการแผ่นดิน ควรพิจารณาการทำงานของ สปสช.ขัดกับรัฐธรรมนูญ มากกว่า พิจารณา พ.ร.บ.ประกันสังคม เหตุจบริหารงานห่วยไม่เหมาะสม ทำให้ระบบสาธารณสุขขาดมารฐานที่ดี
       
       จากกรณีที่นายปราโมทย์ โชติมงคล ผู้ตรวจการแผ่นดิน(1) ได้กล่าวว่า พ.ร.บ.ประกันสังคมขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 30 โดยระบุว่าพ.ร.บ.ประกันสังคมเลือกปฏิบัติและไม่เป็นธรรม เนื่องจากมีการเรียกเก็บเงินจากผู้ประกันตน มาเป็นค่ารักษาพยาบาลหรือค่าดูแลสุขภาพ ในขณะที่สปสช.ให้การดูแลรักษาสุขภาพประชาชนโดยที่ประชาชนไม่ต้องจ่ายเงิน นั้น
       
       เกี่ยวกับเรื่องนี้ พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธาน สหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.)ได้แสดงความคิดเห็นผ่านการเขียนบทความ โดยมีใจความหลักๆ ว่า เรื่องนี้ก่อนอื่นก็ต้องไปดูว่ามีมาตราใดใน กฎหมายรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ นอกจากมาตรา 30 แล้ว ยังมีมาตราใดที่เกี่ยวข้องอีกบ้าง และ บัญญัติไว้ว่าอย่างไร? มาตรา 30 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่อง ถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้
       
       "มาตรการที่รัฐกำหนด ขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่น เดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม มาตรา 51 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดย ไม่เสียค่าใช้จ่ายบุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขจากรัฐซึ่งต้อง เป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ" ประธาน สผพท.กล่าว
       
       พญ.เชิดชู กล่าวต่อว่า โดยส่วนตัวเห็นว่า แทนที่จะพิจารณา ว่า พ.ร.บ.ประกันสังคมขัดต่อรัฐธรรมนูญ น่าจะต้องหันมาพิจารณาใหม่ว่า สปสช.ทำผิดรัฐธรรมนูญในแง่ที่ให้บริการการรักษาพยาบาลแก่ประชาชนที่ไม่ยากไร้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่การกระทำของสปสช.นั้นทำให้บริการสาธารณสุขเสี่ยงต่อการขาดมาตรฐาน ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ขาดอิสรภาพทางวิชาการ ในการพิจารณาสั่งการรักษาให้ผู้ป่วย และยังทำให้มาตรฐานการแพทย์ไทยในระบบบริการสาธารณะด้านสาธารณสุข ถอยหลังเข้าคลอง ล้าสมัย ไม่มีมาตรฐานเทียบเท่า รพ.เอกชน
       
       ดังนั้นการจัดสรรงบประมาณที่ไม่เพียงพอ โดยหน่วยงานที่ควบคุมการบริหารกองทุน ใช้เงินมาเป็นตัวกำหนดการรักษา ทำให้ประชาชนได้รับบริการที่ใช้เงินเป็นใหญ่ ให้ความสำคัญกับจำนวนเงินมากกว่าคุณภาพมาตรฐานการรักษาและคุณค่าของชีวิต ผู้ที่รับผิดชอบบริหารราชการแผ่นดินควรจะต้องพิจารณาก็คือ การให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการด้านการรักษาพยาบาลที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเองนั้น รัฐบาลจะสามารถรับภาระในการหาเงินงบประมาณมารองรับค่าใช้จ่ายได้อย่างเพียง พอหรือไม่?
       
       ผู้รับภาระจริงๆในการจ่ายเงินเหล่านี้ ก็คือประชาชนทุกคนนั่นเองที่จะถูกเก็บภาษีเพิ่มขึ้น เนื่องจากงบประมาณในการรักษาผู้ป่วยนั้น ไม่ได้มากขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อเท่านั้น แต่ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจะมากขึ้นจากปัจจัยต่างๆ เช่น ประชาชนในวัยสูงอายุมีมากขึ้น และผู้สูงวัยจะมีความเจ็บป่วยมากขึ้นจากความเสื่อมโทรมของสังขารตามอายุขัย ที่เพิ่มขึ้น หรือเกิดจากปัญหามลภาวะในสิ่งแวดล้อม ในอากาศและอาหาร เป็นสาเหตุในการทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆที่รุนแรงมากขึ้น เช่นมะเร็งต่างๆมากขึ้น มีโรคอุบัติใหม่มากขึ้น


ASTVผู้จัดการออนไลน์    19 มีนาคม 2554