ผู้เขียน หัวข้อ: เก็บตกบรรยากาศการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ๒๕๕๘ สมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท. (๒๗ กพ.)  (อ่าน 5308 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9752
    • ดูรายละเอียด






พิธีเปิดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ๒๕๕๘ เริ่มด้วยการต้อนรับ นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยแพทย์หญิงพจนา กองเงิน ที่ปรึกษาสมาพันธ์ฯ และ นายแพทย์ประดิษฐ์ ไชยบุตร รองประธานสมาพันธ์ฯ




นายแพทย์ประดิษฐ์ ไชยบุตร กล่าวรายงานต่อ นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข



นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ แสดงปาฐกถาพิเศษ ต่อผู้เข้าร่วมประชุม





แพทย์หญิงพจนา กองเงิน เป็นตัวแทน มอบช่อดอกไม้ให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเพื่อเป็นกำลังใจให้ท่านทำงานเพื่อชาติต่อไป



นายแพทย์ประดิษฐ์ ไชยบุตร เป็นตัวแทนมอบของที่ระลึกจากสมาพันธ์ฯ ให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุข



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 กุมภาพันธ์ 2015, 20:51:57 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9752
    • ดูรายละเอียด



แพทย์หญิงสุธัญญา บรรจงภาค (โรงพยาบาลนครปฐม) เป็นพิธีกร ดำเนินการประชุมภาคเช้า




ผลการเลือกกรรมการชุดใหม่
ประธานสมาพันธ์ฯ              นายแพทย์ประดิษฐ์ ไชยบุตร (โรงพยาบาลราชบุรี)
รองประธานสมาพันธ์ฯ          นายแพทย์ชวน ชีพเจริญรัตน์ (โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์)
รองประธานสมาพันธ์ฯ          นายแพทย์ศรวัสย์ ศิลาลาย (โรงพยาบาลปัตตานี)
รองประธานสมาพันธ์ฯ          นายแพทย์ธนะสิทธิ์ ก้างกอน (โรงพยาบาลชลบุรี)
รองประธานสมาพันธ์ฯ          แพทย์หญิงพัชรี ยิ้มรัตนบวร (โรงพยาบาลบุรีรัมย์)
รองประธานสมาพันธ์ฯ          นายแพทย์สันติ สุขหวาน (โรงพยาบาลดำเนินสะดวก)


story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9752
    • ดูรายละเอียด
การอภิปราย เริ่มต้นด้วยนายแพทย์วิสุทธิ์ ลัจฉเสวี   ต่อด้วย นายแพทย์โชติศักดิ์ เจนพาณิชย์ และนายแพทย์เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ
ดำเนินการอภิปรายโดย นายแพทย์ประดิษฐ์ ไชยบุตร






แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันจนเลยเที่ยง หิวข้าวกันถ้วนหน้า



แพทย์หญิงพจนา กองเงิน เป็นตัวแทนสมาพันธ์ฯ มอบของที่ระลึก ขอบคุณวิทยากรทั้งสามท่าน

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 กุมภาพันธ์ 2015, 21:22:15 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9752
    • ดูรายละเอียด
การประชุมใหญ่สามัญประจำปี ๒๕๕๘ - ภาคบ่าย
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2015, 21:20:55 »
นายแพทย์ยุธยา อวนกลิ่น (โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา) เป็นพิธีกร ภาคบ่าย




การอภิปราย กำหนดเวลาการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ ถึงเวลาแล้วหรือยัง? ดำเนินการอภิปรายโดย นายแพทย์เพิ่มบุญ จิรยศบุญยศักดิ์ โรงพยาบาลสงขลา  เริ่มด้วย โดย นายแพทย์ภัทรพล จึงสมเจตไพศาล ผู้อำนวยการกองกฎหมาย  กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ


ต่อจากนั้นเป็นเวลาของ ดร.กฤษดา แสวงดี รองผู้อำนวยการสถาบันพระบรมราชชนก




นายแพทย์ประดิษฐ์ ไชยบุตร เป็นตัวแทนสมาพันธ์ฯ มอบของที่ระลึกแก่วิทยากร และผู้ดำเนินการอภิปราย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 กุมภาพันธ์ 2015, 21:39:54 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9752
    • ดูรายละเอียด
เซสชั่นสุดท้าย คือ การบรรยายพิเศษ เรื่องใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม


บรรยาย โดย นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา



นายแพทย์ประดิษฐ์ ไชยบุตร เป็นตัวแทนมอบของที่ระลึกให้นายกแพทยสภา




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 กุมภาพันธ์ 2015, 21:32:24 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9752
    • ดูรายละเอียด
ของที่ระลึกในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ๒๕๕๘
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2015, 21:38:43 »

today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9752
    • ดูรายละเอียด
ผู้ป่วยคือผู้บริโภค? โดย นพ.วิสุทธิ์ ลัจฉเสวี(1)
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 14 มีนาคม 2015, 02:19:17 »
                     พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551ได้กำหนดลักษณะของคดีผู้บริโภคไว้ว่า ต้องเป็นคดีแพ่งดังต่อไปนี้
                    1) คดีพิพาทระหว่างผู้บริโภค (รวมถึงผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทน)กับผู้ประกอบธุรกิจอันเนื่องมาจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ
                    2) คดีพิพาทตาม ก.ม ว่าด้วยความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้า ไม่ปลอดภัย (Product Liability Law)
                    3) คดีที่เกี่ยวพันกับคดีสองประเภทข้างต้น
                    4) คดีที่มีกฎหมายบัญญัติให้ใช้วิธีพิจารณาตามพ.ร.บ. นี้
    และยังกำหนดไว้ว่า ในกรณีที่มีปัญหาว่าเป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่ ต้องส่งให้ประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
                      และส่วนหนึ่งของหลักการและเหตุผลในการออก พรบ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551คือ
“..............สมควรให้มีระบบวิธีพิจารณาคดีที่เอื้อต่อการใช้สิทธิเรียกร้องของผู้บริโภค...........”
คำจำกัดความสำคัญที่กฎหมายบัญญัติ
                    “ผู้ประกอบธุรกิจ” หมายความว่า ผู้ขาย ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้สั่งหรือนําเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายหรือผู้ซื้อเพื่อขายต่อซึ่งสินค้า หรือผู้ให้บริการ และหมายความรวมถึงผู้ประกอบกิจการโฆษณาด้วย
                    “บริการ” หมายความว่า การรับจัดทําการ งาน การให้สิทธิใด ๆ หรือการให้ใช้หรือให้ประโยชน์ในทรัพย์สินหรือกิจการใดๆโดยเรียกค่าตอบแทน เป็นเงินหรือผลประโยชน์อื่นแต่ไม่รวมถึงการจ้างแรงงานตามกฎหมายว่าด้วยแรง งาน
                   “ผู้บริโภค” หมายความว่า ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือการชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการและหมายความ รวมถึงผู้ใช้สินค้าหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบ แม้มิได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม
                    ซึ่งจากคำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ในหลายกรณีที่วินิจฉัยว่าคดีทางการแพทย์และสาธารณสุขรวมถึงคดีที่เกี่ยวข้องเป็นคดีผู้บริโภค นั่นหมายถึงว่าผู้ให้การรักษาพยาบาลทั้งหลายทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนตกอยู่ในฐานะ"ผู้ให้บริการและเป็นผู้ประกอบธุรกิจ"และผู้ป่วยกลายเป็น"ผู้ได้รับบริการและเป็นผู้บริโภค"ตามนัยแห่งคำวินิจฉัยดังกล่าว

คราวนี้เรามาดูข้อเท็จจริงแล้วเปรียบเทียบกันตามตัวอย่างดังต่อไปนี้
กรณีที่ 1(การบริการ)
เอารถไปซ่อมวันอู่ปิด>>บังคับให้ช่างเปิดอู่ได้ไหม?
ซ่อมรถเสร็จบอกไม่มีเงินเจ้าของอู่ยอมไหม?

หิวข้าวตาลายไปร้านอาหารตอนตีสอง>>ปลุกคนขายมาทำข้าวให้ทานได้ไหม?

อยากไปฟิตเนสตอนปิดแล้ว>>บอกให้เจ้าของเปิดร้านได้ไหม?

แอร์ที่บ้านเสียตอนตีหนึ่ง ปลุกให้ช่างมาซ่อมได้ไหม?

อยากเช่าพื้นที่ในเซ็นทรัล แต่ไม่มีเงิน เจ้าของยอมให้เช่าไหม?

อยากไปเที่ยวเมืองนอกแต่ไม่มีค่าเครื่องบิน สายการบินยอมให้ขึ้นไหม?

ถูกเบี้ยวหนี้จำนวนหลายล้านบาท จะนำเรื่องไปฟ้องศาลล้มละลายวันอาทิตย์ได้ไหม?

จำเป็นต้องใช้เงิน จะตามผู้จัดการแบ๊งค์ มาทำเรื่องขอกู้เงินตอนเที่ยงคืนได้หรือไม่?

สั่งก๋วยเตี๋ยวแล้วรอนานแถมเด็กเสิร์ฟพูดไม่ถูกหู จะตะโกนต่อว่าคนขายด้วยเสียงอันดังได้ไหม?

และถ้าประชาชนเกิดความไม่พอใจ”ผู้ให้บริการ”ดังกล่าว สามารถฟ้องร้องต่อศาลได้หรือไม่?

คราวนี้มาเปรียบเทียบกับการรักษาพยาบาลบ้าง
กรณีที่ 2(การรักษาพยาบาล)
ลูกเป็นไข้สูงตอนตีสี่ ไปร.พ.ปลุกหมอมารักษาได้ไหม?

ถูกยิงที่ท้องนำส่งร.พ.หมอบอกไม่มีเงิน ไม่รับรักษาได้ไหม?

ปวดท้องคลอดวันเสาร์ไปร.พ.หมอบอกวันหยุดราชการให้มาคลอดใหม่วันจันทร์ได้ไหม?

มาร.พ. รอคิวนานแถมเจ้าหน้าที่พูดไม่ถูกหู จะตะโกนต่อว่าแพทย์พยาบาลด้วยเสียงอันดังได้ไหม?

และถ้าประชาชนเกิดความไม่พอใจ”ผู้ให้การรักษาพยาบาล”ดังกล่าว สามารถฟ้องร้องต่อศาลได้หรือไม่?
และคำตอบของคุณเป็นเช่นไร?

            ถ้าคุณตอบว่ากรณีทั้งสองเหมือนกันทุกประการทุกฝ่ายสามารถเลือกกระทำหรือไม่กระทำตามสิทธิและหน้าที่ของตัวเองได้อย่างอิสระก็ต้องยอมรับว่าผู้ให้การรักษาพยาบาลเป็น”ผู้ให้บริการ”และผู้ป่วยเป็น”ผู้บริโภค”

           แต่ถ้าคุณตอบว่ากรณีทั้งสองแตกต่างกัน ต้องกลับมาคิดไตร่ตรองใหม่แล้วว่าจริงๆแล้วการรักษาพยาบาลควรจะอยู่ในฐานะเช่นไร
หลักการ เหตุผล ทฤษฎี และปรัชญาทางกฎหมาย

           ความต้องการพื้นฐานของประชาชนนับตั้งแต่ได้มาอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มก้อนเป็นสังคมและมีผู้นำของตนเอง แบ่งได้เป็น2ประการคือ
                     1) ความต้องการได้รับความปลอดภัยในชีวิต
                     2) ความต้องการได้รับความสะดวกสบายในชีวิต

            ดังนั้นจึงเป็นที่มาของกิจการที่ฝ่ายปกครองจะต้องจัดทำหรือเป็นการใช้อำนาจทาง ปกครองหรือเป็นการดำเนินกิจการทางปกครองเพื่อจัดทำบริการสาธารณะ(Service Public) เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานของประชาชนดังกล่าวข้างต้น อันประกอบด้วย
                    1)กิจการที่จัดทำเพื่อคุ้มครองประชาชน
            ได้แก่ การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ การป้องกันประเทศ การสงวนรักษาสาธารณะสมบัติของรัฐ กิจการประเภทนี้ถือเป็นหน้าที่ของฝ่ายปกครองที่ต้องเข้าจัดทำเองเพื่อความ มั่นคงความปลอดภัยของประเทศโดยไม่อาจมอบหมายให้เอกชนจัดทำได้
                     2)กิจการที่จัดทำเพื่อบำรุงส่งเสริมหรือสนองความสะดวกสบายของประชาชน
              ได้แก่กิจการอันเป็นสาธารณูปโภคและสาธารณูปการต่างๆเช่นการไฟฟ้า การประปา การคมนาคม การสาธารณสุข……….
             กิจการ เหล่านี้ถ้าหากฝ่ายปกครองเห็นว่าเป็นกรณีที่เกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ เกี่ยวกับเศรษฐกิจของประเทศหรือเป็นกิจการที่ช่วยเหลือในการครองชีพของ ประชาชนหรือเพื่ออำนวยบริการแก่ประชาชน รัฐต้องเป็นผู้จัดทำเองจะมอบหมายให้เอกชนจัดทำไม่ได้

            แต่ถ้าฝ่ายปกครองพิจารณาแล้วเห็นว่าการมอบหมายให้เอกชนนำไปจัดทำจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ส่วนรวมหรือแก่ประชาชนส่วนใหญ่ ฝ่าย ปกครองก็อาจมอบหมายให้เอกชนนำไปจัดทำเองได้ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบของสัญญา ทางปกครอง หรือการสัมปทาน ซึ่งฝ่ายปกครองยังเป็นผู้ควบคุมกำหนดเงื่อนไขของการจัดทำบริการสาธารณะพร้อม ทั้งต้องให้อำนาจฝ่ายปกครองที่จะเพิกถอนหรือยุบบริการสาธารณะที่กระทำโดย เอกชนนั้นได้
ปัจจุบันองค์กรที่จัดทำบริการสาธารณะแบ่งเป็น4 รูปแบบคือ
                      1)ราชการ ได้แก่กิจการที่กระทรวง ทบวง กรม จังหวัด อำเภอรวมทั้งองค์กรปกครองท้องถิ่นต่างๆเป็นผู้ดูแลโดยมีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฏษฏีกาที่ออกตามพระราชบัญญัติกำหนดให้ดำเนินการในกิจการ นั้นๆ
                      2)รัฐวิสาหกิจ ที่จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฏษฏีกาซึ่งถือเป็นองค์กรของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการใช้วิธีดำเนินงานอย่างเอกชน
                      3)องค์กรของรัฐที่ไม่ใช่ราชการและไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ ที่จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติหรือพระราช กฤษฏีกาที่ออกตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ.2542
                      4) เอกชนทำกิจการที่เกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะโดยได้รับมอบหมายจากฝ่ายปกครองและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลและควบคุมของฝ่ายปกครองด้วย อาจเรียกว่า “สัมปทานบริการสาธารณะ”ซึ่ง ถือว่าเป็นสัญญาทางปกครองอย่างหนึ่งและยังหมายรวมถึงองค์กรวิชาชีพต่างๆที่ ทำหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมวินัยและจริยธรรมในการประกอบอาชีพด้วยมาตรการ ต่างๆเช่นการวางกฏข้อ บังคับทางวิชาชีพ การพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ การพิจารณาลงโทษเมื่อมีการกระทำผิดและการเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเป็น ต้น  ตัวอย่างเช่น แพทยสภา สภาทนายความ

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9752
    • ดูรายละเอียด
ผู้ป่วยคือผู้บริโภค? โดย นพ.วิสุทธิ์ ลัจฉเสวี(2)
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 14 มีนาคม 2015, 02:22:19 »
ความแตกต่างระหว่าง “การบริการสาธารณะ” และ “การบริการ”

การบริการสาธารณะ (Service Public)ตามหลักกฎหมายมหาชนเป็นกิจการระหว่างฝ่ายปกครองกับประชาชนโดยมีลักษณะที่สำคัญคือ เกี่ยวข้องกับประโยชน์มหาชนและดำเนินงานโดยองค์กรหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือที่ฝ่ายปกครองมอบหมายภายใต้ระบบกฏหมายที่แตกต่างจากกฏหมายเอกชน
การบริการ (service)เป็นกิจการระหว่างเอกชนต่อเอกชนและอยู่ภายใต้ระบบกฎหมายเอกชน

คำนิยามที่สำคัญคือ
1) ผู้บริโภค( Consumers) 
2) ผู้ประกอบธุรกิจ > ผู้ขายหรือผู้ให้บริการ (Services)

ถ้า 1)ผู้บริโภค พิพาทกับ 2) ผู้ให้บริการ ก็เข้าองค์ประกอบของ”คดีผู้บริโภค”
แต่ “การรักษาพยาบาล” จะตรงกับความหมายของ “ผู้ให้บริการ” หรือไม่ ต้องกลับมาตีความใน
ความหมายของ“บริการ” ว่า การรักษาพยาบาลถือเป็นการรับจัดทําการงาน การให้สิทธิใด ๆ หรือการให้ใช้หรือให้ประโยชน์ในทรัพย์สินหรือกิจการใดๆโดยเรียกค่าตอบแทนเป็นเงินหรือผลประโยชน์อื่น.......”หรือไม่


ซึ่ง พิจารณาแล้วเห็นว่า"การรักษาพยาบาล"ไม่น่าจะตรงกับความหมายของ"การบริ การ"ตามที่กฎหมาย(เอกชน)กำหนด แต่น่าจะเข้าได้กับความหมายของ "การบริการสาธารณะ"ตามหลักกฎหมายมหาชน

จากหลักการและเหตุผลดังกล่าวข้างต้นพอจะกล่าวได้ว่า

               การรักษาพยาบาลจัดเป็น บริการสาธารณะ(Service public) ตามหลักกฎหมายมหาชน ประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์มากซึ่งรัฐต้องจัดหาไว้ให้แก่ประชาชนเพราะเป็น1ในปัจจัย 4 ของ มนุษย์ซึ่งเป็นไปตามหลักกฎหมายมหาชนและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสห ประชาชาติรวมถึงที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

              การรักษาพยาบาล ต้องมีความต่อเนื่องอย่างถาวรเช่นเดียวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย การดูแลความมั่นคงของประเทศ หรือการดูแลการคมนาคมทางอากาศ

               การรักษาพยาบาล อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลโดยรัฐทั้งในระดับชาติและในระดับองค์กรปกครองท้องถิ่น
              รัฐอาจมอบหมาย การรักษาพยาบาลให้ภาคเอกชนรับไปจัดการแทนภายใต้การควบคุม ดูแลของหน่วยงานภาครัฐก็ได้ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของการสัมปทาน(concession) หรือ สัญญาทางปกครอง (Administrative Contract) หรือการมอบอำนาจ (habilitation) หรือในรูปของ องค์กรวิชาชีพ (OrganismesProfessionnels) ต่างๆ
              การวินิจฉัยชี้ขาดขององค์กรวิชาชีพมีสถานะเช่นคำพิพากษาของศาล (des decisions  jurisdictionnelles) ด้วย เหตุผลที่เนื่องมาจากองค์กรวิชาชีพเหล่านี้ได้รับมอบอำนาจจากรัฐให้เป็นผู้ ดูแลควบคุมและดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพนั้นเพื่อให้เกิด ประโยชน์แก่ประชาชนมากที่สุดจึงมีการมอบอำนาจรัฐ(habilitation) บางประการที่เป็นอำนาจฝ่ายเดียวของฝ่ายปกครองและมีอำนาจเช่นศาลเพื่อที่จะสามารถจัดระเบียบในการประกอบวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ (อ้างอิง หนังสือ"สัญญาทางปกครอง" โดย ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์)
               ถ้าจัดให้ “การรักษาพยาบาล”เป็น “การให้บริการ” และข้อพิพาทจากการรักษาพยาบาลจัดเป็น คดีผู้บริโภค ข้อพิพาทระหว่างประชาชนกับ ศาล อัยการ ตำรวจ ทนายความก็น่าจะจัดเป็นคดีผู้บริโภคเช่นกันเพราะมีบริบทเกี่ยวกับการบริการเช่นกัน
              ในบทความเรื่อง Patients are not consumers (ผู้ป่วยมิใช่ผู้บริโภค) ของ Dr.Paul Krugman ซึ่งเป็น Professor of Economics and International Affairs ของPrinceton University และเป็นนักเศรษฐศาตร์รางวัลโนเบลในปีค.ศ.2008 ( Nobel Prize Economist 2008) ก็สนับสนุนหลักการนี้เช่นกันดังเช่นส่วนหนึ่งของบทความที่กล่าวว่า

               “สิ่ง ที่สะดุดตาผมในขณะที่ผมพิจารณา............. “ทำให้นโยบายของรัฐในการรักษาพยาบาลตอบสนองต่อทางเลือกของผู้บริโภคให้มากยิ่งขึ้น” และนี่คือคำถามของผมว่า ทำไมมันถึงกลายเป็นเรื่องปกติหรือยอมรับกันได้ที่ไปกำหนดให้ “ผู้ป่วย” กลายเป็น “ผู้บริโภค”ได้”

               “............การรักษาพยาบาลที่ใช้ผู้บริโภคเป็นหลัก (Consumer-based Medicine) ได้กลายเป็นความล้มเหลวในทุกที่ที่มีการลองใช้”
 
              “ประเทศ สหรัฐอเมริกา มีระบบการรักษาพยาบาลที่ถูกผลักดันจากผู้บริโภคมากที่สุดเมื่อเทียบกับ ประเทศอื่นๆที่พัฒนาแล้ว มีค่าใช้จ่ายสูงสุดแต่คุณภาพของการดูแลไม่ได้ดีไปกว่าระบบที่มีค่าใช้จ่าย ต่ำกว่าในประเทศอื่นๆ”

              “ตามที่ผมได้เคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่าถือเป็นความผิดพลาดอย่างมหันต์กับความเห็นที่ว่า
“คนไข้คือผู้บริโภค”และว่า “การรักษาพยาบาลคือการทำธุรกรรมทางการเงินธรรมดาๆ”

              “ถึง ที่สุดแล้ว การรักษาพยาบาลเป็นอะไรที่ต้องมีการตัดสินใจอย่างเด็ดขาดเกี่ยวกับความเป็น ความตาย การตัดสินใจอย่างชาญฉลาดเช่นว่านั้นจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยภูมิความรู้ความ เชี่ยวชาญเฉพาะทางอย่างมากมายมหาศาล นอกเหนือจากนั้นก็คือการตัดสินใจดังกล่าวอาจต้องกระทำภายใต้เงื่อนไขพิเศษ เช่นผู้ป่วยอยู่ในภาวะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้(Incapacitate) หรืออยู่ในภาวะที่มีความเครียดอย่างรุนแรง(severe stress)หรือ ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนทันทีทันใด โดยไม่มีเวลาที่จะพูดคุย แลกเปลี่ยนกันหรือแม้แต่มีเวลาที่จะหาทางเลือกอื่นเพื่อการเปรียบเทียบเลย” ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการที่เราต้องมี “Medical Ethics” “หลักจริยธรรมหรือจรรยาบรรณทางการแพทย์” ทำไมแพทย์ถึงต้องมีวิถีประเพณีปฏิบัติที่ดูแล้วเป็นพิเศษ เป็นที่คาดหวัง ในมาตรฐานที่สูงกว่าอาชีพอื่นๆโดยเฉลี่ย............”

               นอกจากนี้ในการประชุม 1'st ASEAN Medical and Dental Disciplinary Board meeting ที่กรุง Jakarta ประเทศ Indonesia เมื่อวันที่ 27-29 April 2014 นั้นมีข้อสรุปที่น่าสนใจไว้ในข้อที่5ว่า

             “ทุกประเทศในประชาคมอาเซียนเห็นพ้องต้องกันว่าคดีทุรเวชปฏิบัติ(คดีทางการแพทย์)ไม่ควรอยู่ภายใต้การบังคับของกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค” (All ASEAN countries agree that the medical malpractice cases should not be covered under Consumer Protection Act)

            ด้วยเหตุผลต่างๆข้างต้นพอที่จะสรุปได้หรือไม่ว่า “ผู้ป่วยมิใช่ผู้บริโภค” และคดีทางการแพทย์มิใช่ “คดีผู้บริโภค”


ท.ค. น.พ.วิสุทธิ์ ลัจฉเสวี
วท.บ.,พ.บ., น.บ.(เกียรตินิยม อันดับ2),น.ม. บ.ป.ค.


story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9752
    • ดูรายละเอียด
พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551
สาระสำคัญและผลกระทบต่อสาธารณสุขไทย

   พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผุ้บริโภค พ.ศ.2551 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125 ตอนที่ 38 ก หน้า 32 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2551 และ ในมาตรา 2 ของ พระราชบัญญัติฉบับนี้ บัญญัติว่า ให้ใช้เมื่อพ้นหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ดังนั้นกฎหมายฉบับนี้จึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2551 และ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา การฟ้องร้องคดีแพ่งจำนวนมากที่เป็นคดีผู้บริโภคได้ฟ้องร้องตามกำหมายฉบับนี้
   เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ขอสรุปสาระสำคัญ เรียงตามลำดับดังนี้
1.   ความหมายของคดีผู้บริโภคตามพระราชบัญญัตินี้
2.   เรื่องทั่วไป
3.   บทบัญญัติที่ส่งผลกระทบต่อสาธารณสุขไทย

1.   ความหมายของคดีผู้บริโภคตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 3 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติไว้ว่า
คดีผู้บริโภค หมายความว่า
(1)   คดีแพ่งระหว่างผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคตามมาตรา 19 หรือตามกฎหมายอื่น
กับ ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายอันเนื่องมาจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ
(2)   คดีแพ่งตามกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
(3)   คดีแพ่งที่เกี่ยวพันกับคดีตาม (1) และ (2)
(4)   คดีแพ่งที่มีกฎหมายบัญญัติให้ใช้วิธีพิจารณาตามพระราชบัญญัตินี้
จากบทบัญญัติจะเห็นว่าคดีผู้บริโภคตามกฎหมายนี้ต้องเป็นคดีแพ่งเท่านั้น จะเป็นคดีอาญาหรือ
คดีอื่นใดนอกจากคดีแพ่งไม่ได้ คดีดังกล่าวต้องเป็นคดีที่พิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายอันเนื่องมาจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ โดยมีคู่กรณีคือผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจ

   ผู้ที่มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคตามมาตรา 19 คือ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือสมาคมที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครับรองตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค  (1)
   การฟ้องส่วนใหญ่ในคดีผู้บริโภคจะเข้าตามความหมายใน (1)  ส่วนการฟ้องบริษัทยาในฐานะผู้ผลิต / นำเข้า / จัดจำหน่ายยา ซึ่งถือได้ว่าเป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย จากความหมายของคำว่า สินค้า และ สินค้าที่ไม่ปลอดภัย จากบทบัญญัติในมาตรา 4 และบัญญัติความรับผิดของผู้ประกอบการในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 จะเข้าตามความหมายใน (2)
   กรณี  นิติสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจอาจมีเรื่องประกันแห่งหนี้ ซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณ์ที่เกี่ยวพันกับสัญญาหลักซึ่งเป็นคดีผู้บริโภคตามความหมายใน (1) หรือ (2) คดีดังกล่าวที่เกี่ยวข้องจะเข้าตามความหมาย (3) ส่วนความหมายใน (4) บัญญัติเผื่อไว้ในอนาคตว่าหากมีคดีแพ่งที่มีกฎหมายบัญญัติให้ใช้วิธีพิจารณาตามพระราชบัญญัตินี้ ก็ถือได้วาคดีเช่นว่านั้นเป็นคดีผู้บริโภคด้วย (2)
   กฎหมายได้ให้คำจำกัดความของคำว่า ผู้บริโภค และ ผู้ประกอบธุรกิจ อ้างอิงตามความหมายในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 (1)
   พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522  ให้ความหมายผู้บริโภคไว้ดังนี้ ผู้บริโภคหมายความว่า ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ หรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือการชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ  และหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้าหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบ  แม้มิได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม ส่วนคำว่าผู้ประกอบธุรกิจหมายความว่า ผู้ขาย ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายหรือผู้ซื้อเพื่อขายต่อซึ่งสินค้า หรือผู้ให้บริการและให้หมายความรวมถึงผู้ประกอบกิจการโฆษณาด้วย

2.   เรื่องทั่วไป
กฎหมายฉบับนี้มีเนื้อหาผสมกันระหว่างกฎหมายวิธีสบัญญัติ ที่กำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว ประหยัด และกฎหมายสาระบัญญัติที่กล่าวถึงสิทธิ และหน้าที่ของคู่กรณี  เนื้อหาในมาตรา 7  วางหลักการดำเนินคดีผู้บริโภคโดยให้อ้างอิงจากกฎหมายนี้และข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา  หากไม่มีบทบัญญัติดังกล่าวให้พิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพง หากมีปัญหาว่าคดีใดเป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่  มาตรา 8 ให้อำนาจประธานศาลอุทธรณ์เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด  กระบวนการพิจารณาคดีค่อนไปทางระบบไต่สวนแต่มากกว่าที่จะเป็นระบบกล่าวหา
ตั้งแต่มีการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ มีกรณีที่ผู้ให้บริการสาธารณสุขได้ฟ้องผู้รับบริการ
สาธารณสุขเป็นจำเลยที่ 2 ให้ชำระเงินค่ารักษาพยาบาล และฟ้องผู้รับประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยที่ 1 ให้ร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาล เป็นคดีผู้บริโภค ซึ่งมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยตามมาตรา 8  ว่าเป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่ และประธานศาลอุทธรณ์ได้อาศัยบทบัญญัติในมาตรา 3 ร่วมกับความหมายของคำว่าผู้บริโภค – ผู้ประกอบธุรกิจ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
วินิจฉัยว่าคดีนี้เป็นคดีผู้บริโภค ตามความหมายของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาผู้บริโภค มาตรา 3
(1)   (1)  และมีกรณีหนึ่งที่ผู้รับบริการสาธารณสุขฟ้องผู้ให้บริการสาธารณสุขเป็นคดีผู้บริโภค  จำเลยได้
ยื่นคำร้องขอให้ประธานศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีนี้เป็นคดีผู้บริโภคหรือไม่ ซึ่งประธานศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยว่าเป็นคดีผู้บริโภค เช่นกัน แต่คำวินิจฉัยในกรณีหลังนี่ศาลให้ปรับเข้ากับความหมายตาม
มาตรา 3 (3)  (4)   อย่างไรก็ตามแม้ว่าผู้รับบริการสาธารณสุขที่ใช้สิทธิบัตรทองเข้ารับบริการสาธารณสุขและไม่ต้องชำระเงินเพราะรัฐจ่ายให้ ถือได้ว่าเป็นผู้ได้รับบริการโดยชอบ แม้มิได้เสียค่าตอบแทน หากมีการฟ้องผู้ให้บริการสาธารณสุข ถือว่าเป็นคดีผู้บริโภคเช่นกัน (2)

3.   บทบัญญัติที่ส่งผลกระทบต่อสาธารณสุขไทย
การฟ้องคดี  การพิจารณาคดี  คำพิพากษาและคำสั่งตัดสินคดี  ในส่วนที่กระทบต่อสาธารณสุขไทยสรุปดังนี้

3.1   เรื่องของอายุความ
มาตรา 13  วางหลักเรื่องอายุความในกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัย  โดยผลของสารที่สะสมในร่างกายหรือเป็นกรณีที่ต้องใช้เวลาในการแสดงอาการ ใช้สิทธิฟ้องได้ในสามปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องรับผิดแต่ไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่ถึงความเสียหาย ซึ่งต่างจากการฟ้องคดีผู้บริโภคแบบเดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 448 กรณีละเมิด มีอายุความหนึ่งปี นับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวฯ และในมาตรา
14 ยังกำหนดให้อายุความสะดุดหยุดลงไม่นับอายุความในระหว่างที่มีการเจรจาเกี่ยวกับค่าเสียหายอีกด้วย

3.2   ค่าฤชาธรรมเนียม
มาตรา 18 วางหลักไว้ว่า หากเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย การยื่นคำฟ้องตลอดจนการดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ให้ได้รับยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง แต่ไม่รวมถึงความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นที่สุด ซึ่งแตกต่างจากประประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 ผู้ฟ้องไม่ได้รับสิทธิยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม
(ความรับผิดชอบในค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นที่สุดหมายถึงคำพิพากษาของศาลที่สั่งให้คู่ความฝ่ายใดต้องรับผิดชอบ)

3.3   การฟ้องคดีจะฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้
มาตรา 20 วางหลักเรื่องคำฟ้องด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือก็ได้ถ้าฟ้องด้วยวาจา  เจ้าพนักงานคดีจะจัดให้มีการบันทึกรายละเอียดแห่งคำฟ้องให้โจทก์ลงลายมือชื่อไว้ คำฟ้องต้องมีข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุ
แห่งการฟ้องรวมทั้งคำขอบังคับชัดเจนพอที่ทำให้เข้าใจได้ หากศาลเห็นว่าคำฟ้องนั้นไม่ถูกต้องหรือขาดสาระสำคัญบางเรื่อง ศาลอาจมีคำสั่งให้โจทย์นั้นแก้ไขคำฟ้องในส่วนนั้นให้ถูกต้อง สำหรับคดีแพ่งอื่นๆ  ที่มิใช่คดีผู้บริโภค โจทก์ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแห่ง มาตรา 172
ที่ต้องทำคำฟ้องเป็นหนังสือแสดงข้อหาและคำขอบังคับโดยชัดแจ้ง  มิฉะนั้นอาจเข้าเกณฑ์เป็นฟ้องเคลือบคลุม และการที่กฎหมายวางหลักให้ศาลสั่งให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องส่วนที่มีปัญหาให้ถูต้อง แสดงว่าหลักเกณฑ์เรื่อง ฟ้องเคลือบคลุมหรือฟ้องขาดสาระสำคัญ ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 จะนำมาใช้ในคดีผู้บริโภคไม่ได้เป็นอันขาด (2)

3.4   ภาระการพิสูจน์
มาตรา 29 วางหลักเรื่องภาระการพิสูจน์กรณีการผลิต การประกอบ การออกแบบส่วนผสมของสินค้า การให้บริการ เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจนั้น ดังนั้นหลักของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84/1  เรื่อง คู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนคำคู่ความของตน ให้คู่ความฝ่ายนั้นมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงนั้น จึงใช้ไม่ได้กับคดีผู้บริโภคตามกฎหมายนี้
   หลักกฎหมายมาตรานี้ หากผู้รับบริการสาธารณสุขฟ้องผู้ให้บริการสาธารณสุขเป็นคดีผู้บริโภค จึงเป็นเรื่องที่ผู้ให้บริการสาธารณสุขต้องพิสูจน์ว่าตนไม่ได้กระทำผิดตามคำฟ้อง

3.5    อำนาจศาลมนการพิพากษาเกินคำขอ การแก้ไขคำพิพากษา การสั่งให้จ่ายค่าเสียหายเชิงลงโทษ

เรื่องนี้มีรายละเอียดแยกเป็น  3 ประเด็น ดังนี้

   3.5.1 อำนาจศาลในการพิพากษาเกินคำขอ
   มาตรา 39 วางหลักเรื่องการพิพากษาเกินคำขอว่า ในคดีที่ผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภคเป็นโจทก์ ถ้าศาลเห็นว่าจำนวนค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องไม่ถูกต้อง หรือวิธีการบังคับตามคำขอของโจทก์ไม่เพียงพอต่อการแก้ไขเยียวยาความเสียหายตามฟ้อง ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องหรือกำหนดวิธีบังคับให้เหมาะสมได้ แม้จะเกินกว่าที่ปรากฏในคำขอบังคับของโจทก์ก็ตาม แต่ต้องเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงที่คู่ความได้ยกขึ้นมากล่าวอ้างกันมาแล้วโดยชอบซึ่งทำลายกฎเหล็กอย่างสิ้นเชิง ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแห่ง มาตรา 142 ที่วางหลักเรื่องนี้ว่า คำพิพากษาชี้ขาดคดีต้องตัดสินตามข้อหาในคำฟ้องทุกข้อ ห้ามมิให้พิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง
   จากหลักกฎหมายมาตรานี้  สรุปได้ว่าการพิพากษาเกินคำขอสงวนสิทธิไว้เฉพาะกรณีที่ฝ่ายผู้บริโภคเป็นโจทย์เท่านั้น โดยอาจเป็นโจทก์ผู้เริ่มคดีหรือเป็นจำเลยที่ฟ้องแย้งผู้ประกอบธุรกิจก็ได้ ตรงกันข้ามศาลจะให้อำนาจตามมาตรานี้ในคดีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นโจทก์หรือเป็นจำเลยที่ฟ้องแย้งคดีนี้ไม่ได้  (2)  คำพิพากษาเกินคำขอมีที่ใช้ 2 กรณี คือ
1.   จำนวนค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องไม่ถูกต้อง
2.   วิธีการบังคับตามคำขอของโจทก์ไม่เพียงพอต่อการแก้ไขเยี่ยวยาความเสียหายตามฟ้อง
อย่างไรก็ตามกฎหมายยังให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบธุรกิจอยู่บ้างคือ คำพิพากษาเกินคำ
   ขอที่ศาลหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยดังกล่าว ต้องเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงที่คู่ความได้กล่าวอ้างแล้ว

       3.5.2   การแก้ไขคำพิพากษา
มาตรา 40 วางหลักเรื่องการแก้ไขคำพิพากษาว่า ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นแก่ร่างกาย สุขภาพ
หรืออนามัย และในเวลานั้นไม่สามารถรู้ได้แน่ว่าความเสียหายที่แท้จริงมีเพียงใด ศาลอาจกล่าวไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งว่า ยังสงวนไว้ซึ่งสิทธิที่จะแก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นอีกภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด ทั้งนี้ต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่ศาลกำหนด ทั้งนี้ต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง การแก้ไขคำพิพากษาในคดีแพ่งทั่วไปจะเป็นเฉพาะกรณีแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย หรือข้อผิดหลงอื่นหากจะแก้ไขคำพิพากษาต้องเป็นการแก้ไขโดยศาลที่สูงกว่า ดังรั้นที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143
   จากหลักกฎหมายมาตรา 40 จะเห็นได้ว่าการแก้ไขคำพิพากษานี้จะกระทำได้เมื่อในเวลาพิพากษาคดีไม่สามารถรู้ได้ชัดว่าความเสียหายนั้นแท้จริงมีเพียงใด และจำกัดอยู่เฉพาะกรณีความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัย เท่านั้น ถ้าเป็นกรณีอื่นๆ ย่อมไม่เข้าเกณฑ์ แต่ยังเปิดโอกาสให้อีกฝ่ายได้คัดค้าน อันเป็นหลีกการพื้นฐานเรื่องการฟังความทุกฝ่ายอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับเรื่องการสงวนไว้ซึ่งสิทธิฯ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 444 ได้วางหลักไว้ว่า ถ้าเวลาพิพากษาโพ้นวิสัยจะหยั่งรู้ได้ว่าความเสยหายนั้นมีเพียงใด สงวนไว้ซึ่งสิทธิจะแก้ไขได้ภายใน 2 ปี

   3.5.3 การสั่งจ่ายค่าเสียหายเชิงลงโทษ
   มาตรา 42 วางหลักเรื่องการสั่งจ่ายค่าเสียหายเชิงลงโทษว่า ถ้าการกระทำที่ถูกฟ้องเป็นการ
กระทำที่ฝ่าฝืนต่อความรับผิดชอบในฐานะผู้มีอาชีพ หรือธุรกิจอันเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้ผู้ประกอบธุรกิจชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้บริโภค ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจจ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้น จากจำนวนค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนดได้ตามที่ศาลเห็นสมควร แต่ไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนด ทั้งนี้โดยคำนึงถึงพฤติการณ์ต่างๆ เช่น ความเสียหายที่ผู้บริโภคได้รับ ผลประโยชน์ที่ผู้ประกอบกิจได้รับสถานะทางการเงินของผู้ประกอบธุรกิจ  การที่ผู้ประกอบธุรกิจได้บรรเทาผลเสียหายที่เกิดขึ้นตลอดจนการที่ผู้บริโภคมีส่วนในการก่อให้เกิดความเสียหายด้วย ถ้าค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนดไม่เกินห้าหมื่นบาท ให้ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายเพื่อการลงโทษได้ไม่เกินห้าเท่าของค่าเสียหายของค่าเสียหายที่แท้จริงที่ศาลกำหนด
   หลักการในมาตรานี้ศาลต้องกำหนดค่าเสียหายที่แท้จริงก่อน จากนั้นศาลจึงจะพิจารณากำหนดจำนวนค่าเสียหายเพื่อการลงโทษตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร คือเป็นส่วนที่เสริมเพิ่มเติมจากค่าเสียหายที่แท้จริง แต่ต้องคำนึงพฤติการณ์ต่างๆ เหล่านี้ประกอบด้วย คือ
1.   ความเสียหายที่ผู้บริโภคได้รับ
2.   ผลประโยชน์ที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับ
3.   สถานะทางการเงินของผู้ประกอบธุรกิจ
4.   การที่ผู้ประกอบธุรกิจได้บรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้น
5.   การที่ผู้บริโภคมีส่วนในการก่อให้เกิดความเสียหาย
ค่าเสียหายดังกล่าวที่เพิ่มขึ้นมา ศาลมีอำนาจสั่งให้จ่ายได้ไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหายที่แท้จริง  แต่ถ้าค่าเสียหายที่แท้จริงไม่เกินห้าหมื่นบาท ก็ขยายเพดานให้ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายเพื่อการลงโทษได้ไม่เกินห้าเท่าของค่าเสียหายที่แท้จริง

พระราชบัญญัตินี้ได้เปลี่ยนแปลงระบบการฟ้องและการพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งในศาลยุติธรรมไปอย่างมาก นับจากพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ พบว่าคดีแพ่งในศาลชั้นต้นประมาณ 60-70% เป็นคดีผู้บริโภค ผลในทางปฏิบัติพบว่าแม้ผู้บริโภคจะได้รับความคุ้มครอง และมีความสะดวกในการฟ้องผู้ประกอบการธุรกิจโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม แต่ในด้านกลับกันผู้ประกอบธุรกิจโดยเฉพาะสถาบันทางการเงินได้ใช้กฎหมายนี้ฟ้องลูกหนี้ผู้บริโภคเสร็จเร็วขึ้น ทำให้มีการกล่าวกันในหมู่นักกฎหมายฉบับนี้ทำหน้าที่เสมือนหนึ่งพนักงานเร่งรัดหนี้สินของสถาบันทางการเงิน (5)   และนักกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาก็ยอมรับเรื่องนี้ โดยปรากฏมีบทความวิชาการเรื่องนี้ออก
เผยแพร่ (6)  
   ผู้ให้บริการสาธารณสุขจะต้องระมัดระวังตัวในการปฏิบัติหน้าที่มากขึ้น เพราะการฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทกแทน จากผลอันไม่พึงประสงค์จากการรับบริการสาธารณสุข สามารถกระทำได้อย่างง่ายมากตามพระราชบัญญัตินี้  สามารถฟ้องด้วยวาจา ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องจ้างทนาย ผู้ฟ้องแทบจะปิดประตูแพ้ในประเด็นข้อกฎหมายอย่างสิ้นเชิง  คำพิพากษานั้นเอื้อประโยชน์แก่ผู้ฟ้องเป็นอย่างยิ่ง

   ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อค้า กับ ผู้บริโภคสินค้า/บริการ  นับแต่กฎหมายฉบับนี้มีผลใช้บังคับ กระทรวงสาธารณสุขถูกฟ้องเป็นจำเลยมากขึ้นและมีการใช้เงินเพื่อไกลเกลี่ยจำนวนมาก อีกทั้งกฎหมายฉบับนี้ก็กลายเป็นอาวุธย้อนกลับมาทำร้ายผู้บริโภคที่มีฐานะเป็นลูกหนี้สถาบันการเงินอีก หวังว่าในอนาคตอันใกล้นี้จะมีการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรมมากขึ้น

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
1.   พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551
2.   ธานิศ เกศวพิทักษ์ คำอธิบายกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2
3.   คำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ ที่ 8/2551
4.   คำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์ ที่ 31/2552
5.   สุรินทร์ ทองมา เอกสารประกอบคำบรรยาย พรบ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551
6.   เรวดี ขวัญทองยิ้ม บทความวิชาการเรื่อง พระบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค
พ.ศ.2551 : กฎหมายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคหรือเครื่องมือทวงหนี้ใหม่ของนายทุน (?)

นายแพทย์โชติศักดิ์ เจนพาณิชย์
พบ.,วว. โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา, ป. ฝังเข็ม, นบ., บธ.ม.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 มีนาคม 2015, 18:48:55 โดย story »