ผู้เขียน หัวข้อ: ชี้แจงเรื่องการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่น  (อ่าน 1436 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
เพื่อโปรดกระจายข่าวข้อเท็จจริงเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ Fukushima/Japan (11/3/2011)
สาเหตุ
1. แผ่นดินไหว 9 Richter (ออกแบบไว้เพียง 8 Richter) ทำให้เครื่องหยุดเดินทันทีอัตโนมัติ, ไฟดับทั้งเมือง
2. เกิด Tsunami ตามมา น้ำท่วม เครื่องปั่นไฟสำรองเสียหาย
สถานการณ์ในโรงไฟฟ้า
1. อุณหภูมิของเครื่องปฎิกรณ์นิวเคลียร์/แท่งยูเรเนียมจะอยู่ที่ประมาณ 200 – 400 C ถึงแม้เครื่องดับแล้วก็ต้องมีน้ำมาหล่อเย็นตลอดเวลา
2. เจ้าหน้าที่จึงต้องใช้ไฟสำรองจากข้างนอกมาเดินปั้มน้ำ เพื่อฉีดน้ำระบายความร้อน
3. ความร้อนของเครื่องสูงทำให้น้ำแตกตัวเป็นไฮโดรเจน และรวมตัวเป็นก๊าซไฮโดรเจนลอยไปสู่ด้านบนของโรงไฟฟ้า เมื่อสะสมตัวมากขึ้น ก็จะกลายเป็นลูกโป่งไฮโดรเจนความร้อนสูง เมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำก็จะระเบิด
สรุป โรงไฟฟ้าหมายเลข 1, 3 และ 4 ระเบิด เป็นการระเบิดเนื่องจากก๊าซไฮโดรเจนที่ลอยอยู่บนเพดานของโรงไฟฟ้า ไม่ใช่เกิดการระเบิดจากแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ (ยูเรเนียม) แบบเชอร์โนบิล ของรัสเซีย จึงทำให้มีสารกัมมันตรังสีที่เล็ดรอดออกมาน้อยมาก
1. ญี่ปุ่นจึงอพยพคนเพื่อความปลอดภัย ในรัศมี 30 กิโลเมตร รอบโรงไฟฟ้า และให้กินเกลือไอโอดีนเพื่อป้องกันสารรังสีเข้าสู่ร่างกาย
2. โอกาสที่ฝุ่นกัมมันตรังสีจะมาถึงเมืองไทยมีน้อยมาก ไม่ควรเป็นกังวล เพราะทิศทางลมส่วนใหญ่จะวิ่งไปทางมหาสมุทรแปซิฟิก สู่อเมริกา และระยะทางก็ไกลมาก
3. ประเทศไทยเรามีสถานีตรวจวัดรังสีในสิ่งแวดล้อมทั้งหมด 8 แห่งรอบประเทศ (กรุงเทพฯ, เชียงใหม่, ขอนแก่น, นครปฐม, สงขลา, ฯลฯ) สามารถตรวจวัดระดับรังสีที่ผิดปกติได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยการส่งข้อมูล Online มายังศูนย์กลางที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ที่กรุงเทพฯ
4. ประเทศไทยเรามีมาตรการควบคุมสถานการณ์ฉุกเฉินทางรังสี มาตรฐานเดียวกับญี่ปุ่น โดยใช้ของทบวงการพลังงานปรมาณูเป็นต้นแบบ
จึงเรียนมาเพื่อให้พี่ๆ และทุกคนในครอบครัวได้คลายความวิตกกังวลจากกระแสข่าวลือที่ post ไปทาง facebook, twitter, etc.

สมพร จองคำ
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ March 15, 2011