ผู้เขียน หัวข้อ: แพทยสภาแถลงข่าว กรณีความช่วยเหลือของแพทย์ไทยต่อประเทศญี่ปุ่นจากการเผชิญมหันตภัย  (อ่าน 1694 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
แพทยสภาแถลงข่าว กรณีความช่วยเหลือของแพทย์ไทยต่อประเทศญี่ปุ่น
จากการเผชิญมหันตภัยธรรมชาติ

จาก เหตุการณ์แผ่นดินไหวบริเวณ ชายฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมา ที่มีความรุนแรงในระดับ 9.0 ริกเตอร์ เป็นอันดับเข้าขั้นทำลายล้าง ส่งผลให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิขนาดใหญ่กว่า 10 เมตร ถล่มบ้านเรือนและอาคารตามจังหวัดที่อยู่แนวชายฝั่งทะเลกว่า 20000หลัง คาดว่าจะมีผู้เสียชีวิตกว่า 10, 000 คน มีผู้คนอพยพออกจากบ้าน เรือนกว่า สามแสนคน ใน 5 จังหวัด ขณะนี้มีผู้สูญหายมากกว่า 1 หมื่นคนและความสูญเสียในครั้งนี้ยังไม่สามารถประเมินได้

            แพทยสภาในฐานะตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทย  ขอ แสดงความเสียใจต่อการสูญเสียในครั้งนี้แทนแพทย์ไทยทั้งประเทศ และได้ส่งสารแสดงความเสียใจ ตลอดจนเจตนารมณ์ให้ความสนับสนุนช่วยเหลือต่อแพทยสมาคมแห่งประเทศญี่ปุ่นแล้ว  และ แพทยสภาจะได้จัดประชุมวาระด่วนเพื่อวางแนวทางการช่วยเหลือประชาชนทั้งชาว ญี่ปุ่นและคนไทยในประเทศญี่ปุ่น ในวันพุธที่ ๑๖ มีค.๒๕๕๔ โดยเชิญ เจ้าหน้าที่สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย มาสรุปสถานการณ์และประสานงานร่วมกับ๑๔ ราชวิทยาลัย และ ๑๘ คณะแพทยศาสตร์ ระดมความคิดและแนวปฏิบัติร่วมกันช่วยแก้ไขปัญหาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโศกนา ฎกรรมที่เกิดจากธรรมชาติในครั้งนี้

            โดย มีผลสรุปว่า แพทยสภามีการประสานงานกับสถานทูตญี่ปุ่น เพื่อส่งสารแสดงความเสียใจและในการประชุมครั้งนี้แพทยสภาได้รับความร่วมมือ จาก คณะแพทยศาสตร์ ราชวิทยาลัย รวมถึงกรมแพทย์ทหารบก  กรม แพทย์ทหารเรือ กรมแพทย์ทหารอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นอย่างดี โดยพร้อมจะให้ความช่วยเหลือคนไทยในประเทศญี่ปุ่น และหากสถานทูตญี่ปุ่นมีความประสงค์ต้องการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในด้านใด ให้แจ้งความประสงค์มายังแพทยสภา ซึ่งจะเป็นศูนย์รวมในการประสานงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข อีกทั้ง ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย และราชวิทยาลัยรังสีแพทย์ จะเป็นผู้ให้ความรู้กับประชาชนคนไทยทั้งในประเทศญี่ปุ่นและ ประเทศไทย ในกรณีของรังสีที่มีการแพร่กระจาย และในขณะเดียวกันจะมีการสร้างเว็บไซต์เครือข่าย เพื่อการอัพเดทข้อมูล และการแจ้งความประสงค์ในการเข้าร่วมการให้ความช่วยเหลือ

ทั้งนี้แพทยสภาขอเชิญชวนสมาชิกแพทยสภา แพทย์ผู้มีจิตอาสา ตลอดจนแพทย์สาขาด้านการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ที่มีเจตนารมณ์ร่วมในการช่วยเหลือภัยพิบัติต่อประเทศญี่ปุ่น  ไม่ ว่าท่านจะมีความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น หรือมีความถนัดเกี่ยวกับการจัดการด้านภัยพิบัติ หรือไม่ก็ตาม สามารถลงทะเบียนได้ที่แพทยสภา เพื่อในกรณีที่สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องการความช่วยเหลือมา แพทยสภาจะส่งชื่อท่านประสานไปยังหน่วยงานดังกล่าวต่อไป

ขอให้ท่านสมาชิกกรุณาลงชื่อได้ที่เว็ปไซต์แพทยสภา www.tmc.or.th หรือโทรศัพท์เพื่อแจ้งความประสงค์ได้ที่ 02 -590 -18888 ต่อ 510,520  /แพทยสภาขอขอบคุณ
...
สรุปการประชุม- ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๔ แพทยสภาจัดระดมสมอง “เครือข่ายแพทย์ไทยช่วยเหลือภัยพิบัติประเทศญี่ปุ่น”


แพทยสภา ในฐานะองค์กรที่เป็นตัวแทนของแพทย์ทั้งประเทศ ที่มี หน่วยงานภายใต้คือ ราชวิทยาลัยทั้ง ๑๔ แห่ง ดูแลแพทย์ ๔๐,๐๐๐ คน ใน ๗๕ สาขาผู้เชี่ยวชาญ และมีกรรมการแพทยสภา คือ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข คณบดีคณะแพทย์ ๑๘ แห่ง เจ้ากรมแพทย์ ทหารบก เรือ อากาศ แพทย์ใหญ่ ตำรวจ แพทย์สังกัด กทม. และดูแลทั้งแพทย์รัฐและแพทย์ในภาคเอกชนทั้งหมด ร่วมใจกันเป็น “เครือข่ายแพทย์ไทยช่วยเหลือภัยพิบัติประเทศญี่ปุ่น” มาประชุมระดมสมอง รับฟังข้อมูลจาก ตัวแทนสถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และหาแนวทางปฏิบัติช่วยเหลือ แบบบูรณาการ ในวันที่ ๑๖ มีค.๕๔  สรุปได้ดังนี้

1.แพทยสภาเป็นแกนกลางในประสานงานกับหน่วยแพทย์ทุกสังกัดในประเทศ โดยร่วมกับวอร์รูม กระทรวงสาธารณสุขและประสานตรงกับหน่วยงานแพทยสมาคมประเทศญี่ปุ่น และสถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยและจัดทำข้อมูลผ่าน เว็บไซด์แพทยสภา

2. แพทยสภาเปิดรับสมัคร “แพทย์อาสา” ทางเว็บไซด์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ญี่ปุ่น เพื่อเตรียมพร้อมในกรณีที่ทางสถานทูต และหน่วยงานอื่นร้องขอ “แพทย์อาสา” โดยตรวจสอบคุณสมบัติและอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานนอกประเทศให้ตัวแพทย์ตามที่สามารถปฏิบัติได้

3.แพทยสภาจะทำแผนเชื่อมโยงข้อมูลทุกหน่วยเข้าหากัน เช่นกรณี กองทัพอากาศ ส่งเครื่องบิน C-130 ไปประเทศญี่ปุ่น จะแจ้งประสานให้ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องทราบ และดำเนินการร่วมไปพร้อมกัน แบบบูรณาการ (ไม่ใช่ต่างคนต่างปฏิบัติ) เนื่องจากคาดว่าการช่วยเหลือต้องมีต่อเนื่องอีกเป็นเวลาหลายเดือน

          4.แพทยสภาจะประสานงานกับราชวิทยาลัยและคณะแพทยศาสตร์ในการให้ความรู้ที่ถูกต้องเผยแพร่ต่อสาธารณชน ในกรณีที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเตรียมข้อมูลวิชาการสนับสนุนเหตุการณ์ต่างๆที่ได้รับผลกระทบในประเทศ เช่นกัมมันตภาพรังสี และการป้องกัน

5.แพทยสภาจะจัดประสานงานหา “ผู้เชี่ยวชาญ”ที่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องต้องการในเพื่อช่วยเหลือในกรณีดังกล่าวโดยร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขและแพทย์ทหารทั้ง ๓ เหล่าทัพ

6.แพทยสภาจะเปิดรับบริจาคเข้ากองทุน “น้ำใจแพทย์ไทยช่วยเหลือภัยพิบัติประเทศญี่ปุ่น” เพื่อร่วมบริจาคให้กับผู้ประสบภัยในครั้งนี้

ทั้งนี้จะมีการประชุมติดตามงานกันต่อเนื่องเป็นระยะๆ และแถลงข่าวให้สังคมทราบต่อไป

สุดท้ายแพทยสภาขอเชิญชวน แพทย์ผู้มีจิตอาสา และเจตนารมณ์ร่วมในการช่วยเหลือภัยพิบัติต่อประเทศญี่ปุ่น  โดยเฉพาะท่านที่มีความสามารถทางภาษาหรือจบการศึกษาจากประเทศญี่ปุ่น หรือมีความถนัดเกี่ยวกับการจัดการด้านภัยพิบัติ เพื่อเตรียมพร้อมในกรณีที่สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องร้องขอความช่วยเหลือ โดยขอให้แพทย์ลงทะเบียนได้ที่ เว็ปไซต์แพทยสภา www.tmc.or.th

แพทยสภา ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้