ผู้เขียน หัวข้อ: ม็อบหมอบุก"สธ."กดดัน เพิ่มค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย  (อ่าน 3876 ครั้ง)

admin

  • Administrator
  • Newbie
  • *****
  • กระทู้: 21
    • ดูรายละเอียด
ข้อมูลจาก www.matichon.co.th หนังสือพิมพ์มติชน
ประจำวันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11436 หน้า10


เมื่อ เวลา 08.00 น. วันที่ 1 กรกฎาคม ที่กระทรวงสาธารณสุข พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธานสมาพันธ์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแห่งประเทศไทย พร้อมแพทย์และพยาบาลจากโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์/โรงพยาบาลทั่วไป กว่า 300 คน ได้เรียกร้องขอความเป็นธรรม กรณีขอเพิ่มค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายแก่บุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาล ศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป


โดย พญ.เชิดชูกล่าวว่า มาทวงคำตอบจากนายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งได้เรียกร้องให้มีคำสั่งจ่ายเบี้ยเลี้ยงแก่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ในอัตราที่เท่ากับโรงพยาบาลชุมชน โดยให้มีผลทันทีในวันที่ 1 กรกฎาคม 2552 แต่เมื่อเลยกำหนดวันที่ได้หารือกันก่อนหน้านี้แล้วแต่ไม่มีการดำเนินการใดๆ จึงต้องรวมตัวกันเพื่อให้ได้รับความเป็นธรรม ซึ่งค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงสามารถนำเงินบำรุงของโรงพยาบาลมาจ่ายให้บุคลกรทั้ง แพทย์และพยาบาลได้

พร้อมกันนี้ขอให้เพิ่มค่าตอบแทนการปฏิบัติ ราชการในเวลาวิกาลและนอกเวลาราชการ ให้มีอัตราเท่ากับของราชการท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร และให้ปรับอัตราเงินเดือนของบุคลากรทางการแพทย์ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ที่กำหนดให้มีการพิจารณาจ่ายค่าตอบแทนแพทย์ตามภาระงานที่ต้องรับผิดชอบ

"แพทย์ ในโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป ถือว่ามีภาระงานหนัก ทุกคนต้องอดทนทำงาน สัปดาห์ละ 120 ชั่วโมง ทั้งกลางวันกลางคืน ได้เงินเดือนน้อย ยิ่ง สธ.เพิ่มค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงให้กับโรงพยาบาลชุมชน ยิ่งเพิ่มภาระงานเป็น 3 เท่า แต่ไม่ได้ค่าตอบแทนที่เป็นธรรมคิดแต่จะบังคับให้ทำงาน ที่ผ่านมาได้มีการเรียกร้องผ่าน นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีสาธารณสุขแล้ว แต่กลับไม่ดำเนินการอะไรเลย" พญ.เชิดชูกล่าว และว่า ในอนาคต สธ.จะต้องปฏิรูประบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยในการตรวจรักษาสุขภาพ เนื่องจากมีผู้ป่วยเข้ามารับบริการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่แพทย์ในระบบราชการลดลงและเกิดการขาดแคลนแพทย์ ซึ่งจะต้องมีการจัดสรรบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาให้มีความเหมาะสม รวมทั้งให้ประชาชนที่มีความสามารถจ่ายได้ ร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาล

นาย วิทยากล่าวว่า ได้รับเรื่องร้องเรียนจากกลุ่มแพทย์และพยาบาลที่มาเรียกร้องขอเพิ่มค่าตอบ แทนแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือร่วมกัน ในส่วนของข้อเรียกร้องที่ต้องการให้มีการบรรจุแพทย์และพยาบาลที่เป็นลูกจ้าง ของโรงพยาบาลให้เป็นข้าราชการนั้น สธ.ได้เสนอขออัตราบรรจุไปยังสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) แล้ว 11,000 อัตรา ซึ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้มีการกำชับไปยัง ก.พ.ให้พิจารณาเรื่องนี้เป็นพิเศษ เนื่องจากแพทย์และพยาบาลเป็นสาขาที่มีความขาดแคลน

"ปัจจุบันแพทย์ และพยาบาลที่เป็นลูกจ้างโรงพยาบาล โรงพยาบาลใช้งบประมาณจากรายได้ของโรงพยาบาลในการจ่ายค่าตอบแทน ซึ่งหาก ก.พ.อนุมัติอัตราบรรจุเป็นข้าราชการตามที่ สธ.เสนอ ก็จะไม่ไปสร้างภาระงบประมาณของภาครัฐ เพราะโรงพยาบาลสามารถเลี้ยงตัวเองได้ แต่ในบางโรงพยาบาลที่มีรายได้ไม่เพียงพอ ก็จะให้โรงพยาบาลที่อยู่ในเขตเดียวกันเกลี่ยรายได้กันเอง" นายวิทยากล่าว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 ตุลาคม 2009, 11:53:18 โดย admin »